FSA อนุมัติหลักการประกาศร่างการลงทุนกองทุนรวมในกัมพูชา

Council of Non-Bank Financial Services Authority (FSA) หน่วยงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) ได้อนุมัติในหลักการร่างประกาศเพื่ออนุญาตให้นักลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนรวมภายในตลอดหลักทรัพย์กัมพูชาได้ ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวได้รับการอนุมัติเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (5 ก.ค.) โดยมี Aun Pornmoniroth รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวง MEF เป็นประธาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ FSA รวมทั้ง Sou Socheat ผู้อำนวยการทั่วไปของ Securities and Exchange Regulator (SERC) ของประเทศกัมพูชา ซึ่งร่างดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขและขั้นตอนสำหรับการออกหน่วยลงทุน รวมถึงการดำเนินการของผู้บริหารกองทุนรวม เพื่อเป็นการรับรองกรอบความรับผิดชอบและความโปร่งใส ตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ภายใต้หลักการกฎหมายและข้อบังคับ อีกทั้ง FSA ยังอนุมัติคำขอของบริษัทต่างชาติอย่าง บริษัท Binance KH Co. Ltd. สำหรับการวางแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลใน FinTech Regulatory Sandbox ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนำร่อง แต่ถึงอย่างไร FSA จำเป็นต้องเตรียมการและออกประกาศอื่นเพิ่มเติม เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501321301/fsa-approves-draft-scheme-proclamation/

กองทุน LMC มอบเงินสนับสนุน สปป.ลาว ดำเนินการ 68 โครงการ

สปป.ลาว ได้รับเงินทุนสนับสนุนมากกว่า 18 ล้านดอลลาร์ จากกองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) เพื่อดำเนินการ 68 โครงการ ตามการรายงานของกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว ภายในการประชุมแม่น้ำโขง-ล้านช้าง (MLC) ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีผู้เข้าร่วมระดับรัฐมนตรีจาก สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา ไทย และเวียดนาม โดยกองทุนพิเศษ LMC ริเริ่มโดยรัฐบาลจีนในระหว่างการประชุมผู้นำ LMC ครั้งแรกในมณฑลไห่หนานของจีนเมื่อเดือนมีนาคม 2016 ซึ่งกองทุนพิเศษ LMC มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนโครงการความร่วมมือที่เสนอโดย 6 ประเทศในกลุ่ม LMC ซึ่งในปัจจุบันการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 4 แสนล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten128_68project.php

‘ธนาคารดิจิทัลเวียดนาม’ ระดมทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากข้อมูลรายงานของ TechInAsia เปิดเผยว่าธนาคารดิจิทัลเวียดนาม “Timo” ประกาศระดมทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระดับโลกอย่าง Square Peg ตลอดจนซิสโก้และจังเกิล เวนเจอร์ส (Jungle Ventures) , Granite Oak, Phoenix Holdings และนักลงทุนอิสระรายอื่นๆ ยังได้เข้าร่วมในการระดมทุนครั้งนี้

ทั้งนี้ การระดมทุนดังกล่าว ธนาคาร Timo จะนำเงินไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและมุ่นเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เฉพาะด้านสำหรับตลาดเวียดนาม นอกจากนี้ ตามรายงานของ McKinsey & Company ชี้ว่าผู้ใช้บริการจากบริษัทฟืนเทคในเวียดนาม เพิ่มขึ้นจาก 16% ในปี 2560 เป็น 56% ในปี 2564 ซึ่งความนิยมของการใช้ E-wallets และ Fintech ในเวียดนามนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/sci-tech-environment/vietnamese-digital-banking-startup-gets-20-million-usd-809687.html

กระทรวงสาธารณะ เร่งการค้าข้ามพรมแดน

รัฐบาลกำลังร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานด้านศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร่งการค้าข้ามพรมแดน ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการและกลไกการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าข้ามพรมแดน MOU จัดให้มีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับข้อมูลศุลกากร (ASYCUDA) ระบบจะใช้ระบบนี้ที่จุดผ่านแดนเพื่อให้การตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงร่วมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาโปรไฟล์ความเสี่ยงแบบบูรณาการเพื่ออัปโหลดเข้าสู่ระบบ ASYCUDA ทั้งนี้ MOU ดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มที่สำคัญซึ่งให้กรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชายแดนเพื่อปรับปรุงการกวาดล้างชายแดนผ่านข้อตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO-TFA) ข้อตกลงนี้กำลังดำเนินการภายใต้กองทุน Multi-donors Trust Fund- โครงการการแข่งขันและการค้าของสปป.ลาว ซึ่งได้รับทุนจากธนาคารโลก รัฐบาลของออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministries_245_21.php

‘เวียดนาม’ เผย 8 เดือนแรก ทุ่มเงินต่อสู้กับโควิด-19 กว่า 827 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รัฐบาลเวียดนามใช้เงินราว 18.8 ล้านล้านดอง (827 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะเดียวกัน จำนวนเงินอีก 2.55 ล้านล้านดอง (11.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ได้รับการจัดสรรจากกองทุนเวียดนาม (VFVC) มีบทบาทสำคัญในการจัดหาวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งนี้ นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์  นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้สั่งให้มีการจัดส่งข้าว 74,300 ตัน เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและโควิด-19 นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ชี้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 ส่งผลกระทบต่อรายรับงบประมาณลดลง ขณะเดียวกันกิจกรรมการค้าขายก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/over-827-million-allocated-to-covid-19-fight-in-8-months-318627.html

‘สหรัฐ’ ประกาศมอบ 500,000 ดอลลาร์ เข้ากองทุน ‘อาเซียน’ โควิด

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงในวันนี้ เกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน- สหรัฐว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐในภูมิภาค ขณะที่ นายแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ ได้ประกาศว่า สหรัฐสนับสนุนเงินจำนวน 500,000 ดอลลาร์ ให้แก่กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือโควิด-19 ในที่ประชุม นายดอน ได้เสนอประเด็นส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน-สหรัฐ 4 ด้าน ได้แก่ 1.การสำรองวัคซีนโควิด-19 และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในภูมิภาคสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต 2.การเสริมสร้างดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคโดยมีอาเซียน เป็นเวทีในการขับเคลื่อนความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระหว่างทุกผู้เล่นหลักในภูมิภาค 3.การพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัล 4.การสร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG)เป็นแนวคิดที่สอดคล้องและสามารถสนับสนุนข้อริเริ่ม Build Back Better World (B3W) ของสหรัฐ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953051

รัฐบาลกัมพูชาตั้งกองทุนพิเศษสำหรับรองรับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวในปีนี้

ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) ได้เริ่มสนับสนุนกองทุนพิเศษมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ให้กับโรงสีและผู้ส่งออกข้าวเพื่อทำการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในกัมพูชาในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวปีนี้ โดยผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าเงินสนับสนุนจะถูกปล่อยออกมาทีละช่วง ซึ่งในช่วงแรกปล่อยออกมาประมาณ 3 ล้านดอลลาร์ แล้วจะค่อยๆกระจายยอดไปในระหว่างการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรขายข้าวเปลือกให้กับ Amru ในราคาที่ 1,620 เรียลต่อกิโลสำหรับข้าวคุณภาพดีที่สุดและ 1,580 เรียลต่อกิโลสำหรับเกรดรองลงมา ซึ่งรายได้รวมจากการส่งออกข้าวของกัมพูชาแตะ 366.44 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ตามรายงานของ CRF อยู่ที่ 536,035 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชาทำการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ไปยังตลาดเวียดนามอย่างไม่เป็นทางการมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ตามตัวเลขจากกระทรวงเกษตรกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781705/special-fund-keeps-rice-harvests-on-firm-track-despite-heavy-floods/

รัฐบาลสร้างกองทุนเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน

รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการใช้ไฟฟ้า ในสปป.ลาว นายกรัฐมนตรี Thongloun Sisoulith ได้รับรองพระราชกฤษฎีกานายกรัฐมนตรีที่ให้การสนับสนุนทางกฎหมายสำหรับการจัดตั้งและการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพลังงานสปป.ลาว โดยกองทุนนี้บริหารงานโดยกระทรวงพลังงานและการเหมืองซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก 5 กระทรวงและธนาคารแห่งสปป. ลาวเป็นผู้กำหนดนโยบายจุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการให้เงินกู้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เชื้อเพลิงชีวภาพและก๊าซ ซึ่งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนทางการเงินผ่านกองทุนนี้ นอกจากนี้กองทุนจะจัดหาเงินทุนสำหรับการขยายการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทเพื่อการเกษตรและการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เงินทุนบ้างส่วนยังนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สร้างความตระหนักรู้ในด้านการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt196.php

รัฐบาลออกมาตราการช่วยเหลือแรงงานและภาคธุรกิจจากผลกระทบ COVID-19

พนักงานที่เป็นสมาชิกของโครงการประกันสังคมของธุรกิจจะมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือประมาณ 500,000 กีบเป็นระยะเวลาสองเดือนในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 จัดทำโดยกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) การจ่ายเงินจะทำเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ว่างงานในขณะนี้หลังจากที่โรงงานได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราว ทำให้แรงงานอย่างน้อย 551,200 คนหรือประมาณ 70% ของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมว่างงานและต้องความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังเรียกร้องรัฐบาลขอให้ธนาคารขยายระยะเวลาการชำระคืนสำหรับสินเชื่อและดอกเบี้ยรวมถึงกองทุนกู้เงินฉุกเฉินแบบด่วนสำหรับธุรกิจ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID ในสปป.ลาวมีแนวโน้มดีขึ้นและคาดว่าจะกลับมาเป็นปกติในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt75.php

กองทุนฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกัมพูชา

รัฐบาลเปิดตัวกองทุนพิเศษ 50 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลผลิตและการดำเนินธุรกิจท่ามกลางผลกระทบของการระบาดของโรค Covid-19 และการถูกถอน EBA บางรายการสินค้าของสหภาพยุโรป โดยกองทุนพิเศษของรัฐบาลสำหรับ SMEs จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร, การแปรรูปอาหาร, ธุรกิจเกษตร, พืชผัก, ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำและองค์กรต่างๆที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ซึ่ง SMEs สามารถกู้ยืมเงินได้สูงถึง 3 แสนเหรียญสหรัฐ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีสำหรับเงินทุนหมุนเวียน (สูงสุด 2 ปี) และ 6.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีสำหรับกองทุนการลงทุนตลอดระยะเวลาการชำระ 5 ปี โดยรัฐบาลจะให้การผ่อนผันระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง SMEs ที่มีสิทธิ์ได้รับกองทุนพิเศษคือ SMEs ที่ทำงานเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าเกษตร ที่สามารถขยายการดำเนินงาน สามารถสร้างงานได้จาก 5-30 แห่งและเป็น SMEs ที่จดทะเบียนในกรมสรรพากรและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทและการเกษตร (RDAB)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702354/50-million-emergency-fund-for-small-and-medium-enterprises/