‘เวียดนาม – จีน’ ลงนามพิธีสาร 4 ฉบับ เปิดส่งออกสินค้าเกษตร

จากการเดินทางมาเยือนเวียดนามของเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) และประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน มีการร่วมลงนามพิธีการส่งออกสินค้าเกษตร 4 ฉบับ ได้แก่ พิธีสารว่าด้วยการกักกันโรคพืชและตรวจสอบสำหรับการส่งออกพริก มะเฟือง รำข้าวและรังนกที่ส่งออกจากเวียดนามไปยังจีน ทั้งนี้ จีนเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในขณะเดียวกัน เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนในอาเซียน โดยยอดการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศในไตรมาสแรกของปีนี้ มีมูลค่าอยู่ที่ 51.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1715958/viet-nam-signs-four-more-agricultural-export-protocols-with-china.html

‘ทุเรียนเวียดนาม’ เผชิญคู่แข่งรายใหม่ในตลาดจีน อินโดนีเซียรุกตลาดส่งออก

ตามรายงานของสำนักข่าว Channel News Asia (CNA) เปิดเผยว่าอินโดนีเซีย มีแผนที่จะส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังตลาดจีนในปีนี้ โดยตั้งเป้าเป็นคู่แข่งทุเรียนเวียดนามและทุเรียนไทยในตลาดจีน ภายหลังจากอินโดนีเซียบรรลุข้อตกลงการส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังจีน ทางบริษัท PT Silvia Amerta Jaya เป็นหนึ่งใน 14 โรงงานแปรรูปทุเรียนในเขตการปกครองปารีจีมูตง (Parigi Moutong) ที่ได้รับการอนุญาตในการส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังจีนโดยตรง อย่างไรก็ดี ตลาดจีนมีข้อกำหนดที่เข็มงวดในการส่งออกทุเรียน ทำให้ผู้ประกอบการอินโดนีเซียต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวด เพื่อควบคุมคุณภาพและจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่การเพาะปลูกไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnamese-durian-faces-new-competition-in-china-as-indonesia-eyes-export-market-2383786.html

ผู้ผลิตยานยนต์ยักษ์ใหญ่จากจีน รุกตลาดเวียดนาม

‘Geely Automobile’ ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของจีน เล็งขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดเวียดนาม โดยมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ 3 รุ่น ในเวียดนาม ได้แก่ รุ่น Standard ที่ขายในราคา 538 ล้านดอง หรือประมาณ 21,000 เหรียญสหรัฐ รุ่น Premium ที่ขายในราคา 578 ล้านดอง และรุ่น Flagship ที่ขายในราคา 628 ล้านดอง ซึ่งรถยนต์ทั้ง 3 รุ่นมาพร้อมเครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบชาร์จ 1.5 ลิตร กำลังสูงสุด 177 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 255 นิวตันเมตร

อีกทั้ง บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย 15 แห่ง ศูนย์ทดสอบรถยนต์ 15 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนที่จะขยายตัวแทนจำหน่าย 50 แห่งภายในปี 2025

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/chinese-auto-giant-stakes-its-claim-in-vietnamese-market-post312049.vnp

‘เวียดนาม’ ใช้มาตรการตอบโต้ทุ่มตลาดเหล็กแผ่นนำเข้าจากจีน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ประกาศใช้มาตรการชั่วคราวตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) ที่นำเข้าจากจีน ด้วยอัตราภาษีตั้งแต่ 19.38% – 27.83% ในขณะที่การนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อน HRC จากอินเดีย ได้รบการยกเว้นภาษี เนื่องมาจากมีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่มากนัก ทั้งนี้ เหล็กของจีนอยู่ในช่วงกระบวนการสอบสวนและอยู่ภายใต้อากรตอบโต้การทุ่มตลาดใหม่ มีผลบังคับใช้ 15 วัน หลังจากประกาศใช้ และคงอยู่เป็นระยะเวลา 120 วัน

นอกจากนี้ กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าการนำเข้าเหล็กกล้ารีดร้อนในปี 2567 มีปริมาณ 12.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่สิ่งที่น่าสังเกต คือ ถึงแม้ว่ากระทรวงฯ ทำการสอบสวนในเดือน ก.ค. 2567 แต่การนำเข้าเหล็กกล้าจากจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดในประเทศได้ กระทรวงฯ จึงตัดสินใจบังคับใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดชั่วคราวเพื่อควบคุมการนำเข้า และปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กกล้าในประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-imposes-temporary-anti-dumping-duties-on-chinas-hrc-steel-post310423.vnp

‘เวียดนาม’ ส่งออกทุเรียน ดิ่งลง 80%

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามไปยังตลาดจีน ลดลง 80% ในช่วงครึ่งแรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ด้วยปริมาณการส่งออกเพียง 3,500 ตัน ส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกผักและผลไม้รวมของเวียดนาม โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกลดลง เนื่องมาจากมาตรการที่เข้มงวดในการตรวจสอบสารปนเปื้อน “Basic Yellow 2” ของทุเรียนที่มีการนำเข้า ซึ่งความเข้มงวดในการตรวจสอบดังกล่าว สำหรับการขนส่งทุเรียน จำเป็นที่จะต้องได้การรับรองจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทำให้ขั้นตอนการส่งออกมีความล่าช้าอย่างมาก และเกิดความแออัดที่ประตูชายแดน ผู้ค้าบางรายหันไปส่งออกในตลาดมืด แต่แนวทางนี้ไม่ยั่งยืน สำหรับอุตสาหกรรมทุเรียนของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-s-durian-exports-to-china-plummet-by-80-2373158.html

‘ศึกทุเรียน’ เวียดนาม-ไทย แข่งเดือดชิงตลาดส่งออกจีน

จีนยังคงเป็นผู้บริโภคทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วนสูงถึง 91% และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกหลายราย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เข้ามาแข่งขันสูงขึ้นในการส่งออกทุเรียนไปยังจีน อย่างไรก็ดี ทุเรียนไทยที่เป็นผู้นำตลาดนี้ เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม

ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติ พบว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนามไปยังตลาดจีนในกลางปี 2565 เติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลมาจากการลงนามข้อตกลงระหว่างเวียดนาม-จีน ทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2565 อยู่ที่ 421 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาอยู่ที่ 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า ด้วยเหตุนี้ ส่วนแบ่งตลาดทุเรียนของเวียดนามในตลาดจีน เพิ่มขึ้นจาก 5% ในปี 2565 ขึ้นมาอยู่ที่ 35% ในปี 2566

นอกจากนี้ ทางการไทยได้เตือนว่าทุเรียนไทยเผชิญกับความท้าทายในอนาคต เนื่องจากการส่งออกทุเรียนเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนาม มีแนวโน้วที่จะเท่ากับทุเรียนไทยในระยะเวลาไม่ถึง 1-2 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-thailand-in-fierce-competition-exporting-durian-to-china-2369200.html

‘จีน-เวียดนาม’ ให้คำมั่นส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี

จีนและเวียดนามร่วมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 75 ปี ณ กรุงปักกิ่ง โดยให้คำมั่นสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ H.E. Mr. Li Hongzhong รองประธานสภาประชาชนแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่าจีนพร้อมทำงานร่วมกับเวียดนามเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองฝ่าย ภายใต้การนำของผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.globaltimes.cn/page/202501/1327524.shtml

‘จีน’ เพิ่มมาตรการความเข้มงวด เวียดนามเจอศึกหนักส่งออกทุเรียน

สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) รายงานว่าได้รับแจ้งทุเรียนที่ส่งออกไปจีนพบสารย้อมสี “Basic Yellow 2 (BY2)” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่องค์กรอนามัยโลกจัดให้อยู่ในประเภทสารก่อมะเร็งกลุ่ม B2 ในทุเรียนส่งออกของไทย การตรวจสอบดังกล่าว มีผลทำให้ทุเรียนส่งออกของเวียดนามถูกส่งคืนหรือรอพิธีการศุลกากรที่ด่านชายแดน

ทั้งนี้ ตัวแทนของบริษัทส่งออกทุเรียน เปิดเผยว่าเป็นครั้งแรกที่ผลไม้ของบริษัทถูกส่งคืน เนื่องจากไม่มีใบรับรองการตรวจสอบ BY2 ในขณะที่คุณ Phùng Văn Ba รองผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรด่านสากลหูหงิ (Huu Nghi) กล่าวว่าความล่าช้าของพิธิการศุลกากรส่วนใหญ่นั้นมาจากจีนเข้มงวดมาตรการส่งออกทุเรียน และอนุญาตให้ผ่านเฉพาะสินค้าที่เป็นไปตามกฎระเบียบใหม่เท่านั้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1691153/viet-nam-s-export-durians-face-stricter-regulation-in-china-market.html

‘เวียดนาม’ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดทุเรียนโลก

เวียดนามได้ก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดทุเรียนโลก โดยในปี 2567 มีมูลค่าส่งออกทุเรียนถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  การส่งออกทุเรียนของเวียดนามเพิ่มขึ้นถึง 7.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ทั้งหมด ความสำเร็จครั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการที่แข็งแกร่งจากประเทศจีน ซึ่งถือว่าทุเรียนเป็นผลไม้หรูหราและเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารที่สร้างสรรค์

ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 จีนนำเข้าทุเรียนรวม 1.53 ล้านตัน มูลค่า 6.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเวียดนามครองส่วนแบ่งตลาดนี้ถึง 47% ตามหลังประเทศไทย ซึ่งยังคงเป็นผู้นำในตลาดทุเรียน

นอกจากนี้ ความสำเร็จของเวียดนามมาจากกลยุทธ์ที่หลากหลาย ทั้งการปรับปรุงคุณภาพ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการขยายตลาดระหว่างประเทศ ขณะที่เวียดนามมีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 150,000 เฮกตาร์ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคที่ราบสูง

ที่มา : https://www.nationthailand.com/news/asean/40045143

ยอดขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟจีน-เวียดนาม เติบโตก้าวกระโดด

บริษัทขนส่งรถไฟ China Railway Construction Group รายงานว่าการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟข้ามพรมแดนจีน-เวียดนามในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรถไฟออกจากกว่างซีและได้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ รวมทั้งสิ้น 19,670 ตู้ เพิ่มขึ้นอย่างมาก 1,153% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สิ่งที่น่าสังเกต คือปริมาณการขนส่งสินค้ารายเดือนอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณืถึง 5 เดือน ได้แก่ มีนาคม เมษายน กรกฎาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1690473/freight-transport-via-china-viet-nam-cross-border-trains-posts-rapid-growth.html