ธนาคารกลางเมียนมาดำเนินนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพราคา ในวันที่ 3 พ.ค. ทั้งนี้ CBM กำลังวางนโยบายการเงินเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากวิเคราะห์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนสินเชื่อของธนาคารต่อ GDP อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เป็นต้น นอกจากนี้ ในบรรดานโยบายการเงิน แทนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ อัตราเงินสำรองของธนาคารเอกชนในสกุลเงินเมียนมาและการจ่ายดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินก็เช่นกัน ส่งผลให้ปัจจุบันเงินฝากธนาคารและสินเชื่อมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินหมุนเวียนและลดอัตราเงินเฟ้อ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำจึงเพิ่มขึ้นเป็น 3.75 จากร้อยละ 3.5 ดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินก็เพิ่มขึ้นเป็น 3.8 จากร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม 2567 การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินอาจสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยรายปีสำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และส่งผลให้ภาคเอกชนมีแหล่งเงินทุนมากขึ้น สามารถลดจำนวนเงินหมุนเวียนและลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่อธนาคารฝากเงินในบัญชี CBM ในปัจจุบันมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-implements-monetary-policies-to-curb-inflation/

‘ภาวะเงินเฟ้อ’ กดดันประเทศในเอเชีย ใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้น

รายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ฉบับใหม่ ระบุว่าแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงสปป.ลาว ผลักดันให้มีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่มีผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกและทิศทางการส่งออกของภูมิภาคที่แย่ลง ทั้งนี้ สปป.ลาว มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในเอเชีย และคนจำนวนมากมีรายได้ที่ต่ำ ทำให้ต้องหันไปซื้อสิ้นค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

อีกทั้ง สำนักงานสถิติของสปป.ลาว เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ.2566 เพิ่มขึ้น 41.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. ที่ 40.3% การปรับเพิ่มขึ้นของราคาในครั้งนี้ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (49.3%) ในขณะเดียวกัน แขวงคำม่วน มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดของประเทศ (49.82%) รองลงมาแขวงเวียงจันทน์และแขวงหลวงพระบาง เป็นต้น

ที่มา : https://vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Inflation48.php

ทางการกัมพูชารณรงค์ต่อเนื่อง เพื่อการส่งเสริมการใช้เงินสกุลเรียล

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชาได้เร่งส่งเสริมการใช้เงินเรียลในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านการดำเนินนโยบายการเงิน ผนวกกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด เพื่อผลักดันให้ปริมาณเงินเรียลหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงินท้องถิ่น โดยปัจจุบันกัมพูชาใช้สกุลเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจสูงมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินเรียล ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในแง่ของอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ที่ทำธุรกรรมภายในประเทศ ซึ่งธนาคารกลางคาดว่าจะใช้วิธีการลดต้นทุนการทำธุรกรรมผ่านสกุลเงินเรียล เพื่อเป็นการดึงดูดการใช้เงินเรียลแทนที่เงินดอลลาร์ นอกจากนี้ กัมพูชายังพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างมาก จึงเห็นถึงความสำคัญในการใช้สกุลเงินเรียลเป็นหลัก เพื่อให้ธนาคารกลางสามารถส่งเสริมการส่งออกต่อไปโดยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาผ่านการแทรกแทรงค่าเงิน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501194382/sustained-campaign-for-riel-promotion-2/

ส่องจังหวะการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินอาเซียน หลังจากสหรัฐฯ ส่งสัญญาณในการปรับลดขนาดมาตรการ QE

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

สถานการณ์การระบาดของโควิดเริ่มมีทิศทางผ่อนคลายลงโดยเฉพาะในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นกลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญและเติบโตเหนือระดับก่อนโควิด ตลาดแรงงานที่เริ่มกลับสู่ระดับปกติมากขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อมีสัญญาณเร่งตัวเป็นปัจจัยที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของตลาดการเงินโลกรวมทั้งตลาดการเงินของอาเซียนอีกครั้ง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มส่งสัญญาณพิจารณาถึงการปรับลดขนาดของมาตรการ QE ที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้และนำไปสู่คาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้นนโยบายสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2565

 

ในทำนองเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรปก็ได้ส่งสัญญาณที่จะลดขนาด QE ลงในการประชุมรอบล่าสุดที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้เป็นธนาคารกลางแรกๆ ที่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินเดือนสิงหาคม 2564  จากหลังเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาสู่ระดับ 2.6% ในเดือนสิงหาคม 2564 อันเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี ตลอดจน การปรับขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือนที่เป็นผลจากการระบาดของโควิดที่ส่งผลให้ระดับหนี้ครัวเรือนทะลุระดับ 100% ของจีดีพีเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ธนาคารกลางยุโรป ตลอดจน ธนาคารกลางเกาหลีใต้ อาจเป็นภาพสะท้อนถึงทิศทางของคลื่นการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินที่กำลังเข้าใกล้เศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าประเทศสิงคโปร์น่าจะเป็นผู้นำของเศรษฐกิจกลุ่มอาเซียน-6 ที่เริ่มปรับท่าทีการดำเนินโนยายการเงินให้เข้มงวดขึ้นผ่านการปรับความชันของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2565 หลังจากที่เศรษฐกิจสิงคโปร์กลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและขนาดเศรษฐกิจกลับไปสูงกว่าระดับก่อนโควิดแล้วเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนฟิลิปปินส์คงจะเป็นประเทศที่เผชิญกับแรงกดดันในการขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นรายต่อไป ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การไหลออกของเงินทุน ตามมาด้วยเศรษฐกิจเวียดนามที่คงมีปรับท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินหลังจากที่เศรษฐกิจกลับมาเติบโตตามระดับศักยภาพมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจตลอดจนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เวียดนามอาจถูกจัดในกลุ่มประเทศที่แทรกแซงค่าเงิน

 

ขณะที่มาเลเซียและอินโดนีเซียคงเลือกจังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สอดคล้องกับเฟดเนื่องจากตลาดการเงินของอินโดนีเซียและมาเลเซียมีระดับของการพึ่งพิงเงินทุนต่างชาติที่ค่อนข้างสูงโดยเปรียบเทียบ โดยช่วงเวลาดังกล่าวเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศกลับมาฟื้นตัวเหนือระดับก่อนโควิดไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไทยคาดว่าจะเป็นประเทศท้ายๆ ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิดมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน-6 อย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องอาศัยการดำเนินโยบายการเงินผ่อนคลายที่นานกว่าประเทศอื่นๆ

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/QE-z3269.aspx

ธนาคารชาติแห่งกัมพูชาเรียกร้องนโยบายการเงินสีเขียว

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ยังคงเรียกร้องให้สถาบันการเงินในกัมพูชาวางนโยบายเพื่อส่งเสริมด้านการเงินและการลงทุนที่เป็นมิตร โดยสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศของสวิส (BIS) ได้เปิดตัวกองทุนเปิดสำหรับธนาคารกลางที่ลงทุนในพันธบัตรสีเขียว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่เน้นลงทุนในโครงการที่สนับสนุนการลดสภาวะโลกร้อน โดย NBC ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษา BIS ได้แสดงจุดยืนการสนับสนุนสำหรับความคิดริเริ่มนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนถูกมองว่าเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่อาจจะสร้างความไม่แน่นอนสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่ง NBC สนับสนุนให้กับสถาบันทางการเงินทุกแห่งที่ร่วมมืออย่างจริงจังเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการเงินสีเขียว โดย ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมสมาคมธนาคารในประเทศกัมพูชาได้ลงนามสองฉบับเพื่อบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับ “ ความร่วมมือทางการเงินที่ยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือทางการเงินที่ยั่งยืนในภาคการธนาคาร

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/national-bank-cambodia-calls-green-finance-policies-105291