กรุงศรีฯ ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 66 ขยายตัว 3.6% แรงหนุนท่องเที่ยว จับตาปัจจัยภายนอกกระทบ

วิจัยกรุงศรี บทวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงิน (ฉบับพิเศษ) โดยระบุถึงทิศทางเศรษฐกิจปี 2566 คาดว่าจะเป็นปีแรกที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยสามารถกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือสูงกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 วิจัยกรุงศรีคาดเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะยังเติบโตต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 จากร้อยละ 3.2 ในปี 2565 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เติบโตจากการจ้างงานที่ปรับดีขึ้นโดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยว การลงทุนที่ยังมีสัญญาณเชิงบวกอยู่บ้างจากการฟื้นตัวของภาคบริการ ความต่อเนื่องของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการขยายตัวของการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

อย่างไรตาม การลงทุนในบางอุตสาหกรรมและการส่งออกในภาพรวมจะเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น การเติบโตต่ำของเศรษฐกิจจีน สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ปัจจัยเหล่านี้อาจจำกัดการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/296943/

เมื่อไทยเริ่มไม่ใช่จุดสนใจของโลก ส่งออกไม่ดี ไม่มีเทคชั้นสูง ได้แค่รับจ้างผลิต นักลงทุนไทยยังหนี

โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research)

บทวิเคราะห์ของ KKP Research เกียรตินาคินภัทร จับสัญญาณว่าประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจลดลงในหลายมิติ

มิติแรก “การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน” เช่น

  • ตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง
  • นักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี 2021 รับเพียงในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

มิติที่สองคือ “การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ” เช่น

  • ในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค
  • ในขณะที่บริษัทไทยก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

มิติที่สามคือ “การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก” ดังนี้

  • ในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว
  • แต่สัญญาณที่เราเห็นคือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยมีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้นและต่างชาติกำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง

ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ดังต่อไปนี้ สาเหตุในชั้นแรก เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ โดยสินค้าใน 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ สินค้าเกษตรและปิโตรเคมี

สาเหตุในชั้นที่สอง ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์

ในขณะที่ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน

  • เมื่อเทียบกับต่างประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19%
  • เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดเท่านั้นในปี 2019 เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26%
  • ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพียง 2.2% ในขณะที่เอเชียโตเฉลี่ยถึง 6.6%

โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่า ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค

อีกประเด็นที่น่ากังวลคือ ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าและไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมายังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ประเทศไทย

สาเหตุในชั้นสุดท้าย นโยบายของรัฐยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019 ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลกทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศจากปัญหาการคอร์รัปชั่น การเอื้อประโยชน์พวกพ้องทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน  ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสมพร้อมดึงดูดการลงทุน

จุดเปลี่ยนประเทศไทย

ปัญหาความสามารถในการแข่งขันอาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทยก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนในอย่างน้อยสองประเด็นสำคัญ คือ

  1. เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต
  2. ดุลการค้าของไทยอาจจะเกินดุลลดลงและสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว

ข้อเสนอของ KKP Research

สินค้าส่งออกไทยยังมีข้อได้เปรียบในแง่ความซับซ้อนของสินค้าที่อยู่ในระดับค่อนข้างดีและสามารถต่อยอดสู่สินค้าใหม่ ๆ ได้ แนวทางการพัฒนาสินค้าของไทยยังสามารถต่อยอดจากสินค้ากลุ่มเดิมทั้งจากการเร่งให้เกิดการถ่ายโอนเทค​โนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย และการขยายการผลิตสินค้าไปในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และรัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ส่งเสริม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ

  1. การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ
  2. การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตามไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก
  3. โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้วางแผนและเข้าใจง่าย การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband
  4. สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้

ที่มา :

/1 บทวิเคราะห์โดย KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

/2 https://brandinside.asia/turing-point-of-thai-export-kkp-research/

“หุ้นเวียดนาม” ยังถูก-ปัจจัยหนุนต่อเนื่อง แนะทยอยสะสมหวังผล ‘ระยะยาว’

โดย กฤษฎิ์ รัตนธีระธาดา I WEALTHY THAI

Wealthy Thai ได้รวบรวมมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ จากหลากหลายสถาบัน มาฉายภาพพื้นฐานเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียดนาม

‘วิน พรหมแพทย์’ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด ได้ให้ความคิดเห็นว่า การฟื้นตัวของตลาดหุ้นเวียดนามที่เยอะกว่าประเทศเพื่อนบ้านนั้น เพราะการควบคุมสถานการณ์ระบาดไวรัส COVID-19 ได้ดี โดยไม่มีท่าทีของตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ รวมทั้งผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดไวรัส COVID-19 ที่น้อยมาก จากการเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่ล็อกดาวน์ประเทศก่อนประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ผลกระทบต่อจีดีพีไม่มากนัก ซึ่งตัวเลขจีดีพีของประเทศเวียดนามเป็นไม่กี่ประเทศที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ยังคงเป็น ‘บวก’ โดยคาดการณ์จีดีพีปีนี้จะเติบโตได้ 4% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 7-8%

“ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเอง ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าลงทุน เนื่องด้วยระดับ P/E ที่ 14 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะสามารถดึงดูดฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติแล้ว ยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นอย่างการปรับเกณฑ์ ETF ใหม่ของรัฐบาล ที่จะช่วยดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ง่ายขึ้น และการเป็นแหล่งฐานผลิตระดับต้นๆ ที่ผู้ประกอบการให้น้ำหนักการย้ายฐานผลิตเป็นอันดับต้นๆ หากเกิดประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ”

‘คมสัน ผลานุสนธิ’ กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาดและผลิตภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ได้ให้ความคิดเห็นว่า ในระยะยาวตลาดหุ้นเวียดนามถือว่าน่าสนใจทั้งพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้ในสถานการณ์ระบาด ‘ไวรัส COVID-19’ และปัจจัยสนับสนุนอย่างสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่เวียดนามถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงอาจได้เห็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในเวียดนาม อย่างอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

“อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดไปต่อได้ แต่ในระยะสั้นก็ยังต้องระมัดระวังการแรงขายเพื่อกำไรหลังจากตลาดปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างสูง ซึ่งในช่วงนี้ที่ตลาดปรับตัวลงก็ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะทยอยสะสมได้เช่นกัน”

สำหรับ “ตลาดหุ้นเวียดนาม” ใน ‘ระยะยาว’ ยังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่นักลงทุน สามารถทยอยสะสมได้ แต่อย่างไรก็ตามใน ‘ระยะสั้น’ นักลงทุนอาจจะระมัดระวังแรงขายเพื่อทำกำไร หลังจากที่ดัชนีฟื้นตัวขึ้นมาค่อนข้างเยอะในช่วงที่ผ่านมา อาจเห็นการย่อตัวลงมาพักฐานของตลาดได้เช่นกัน

ที่มา : https://www.wealthythai.com/web/contents/WT200600126

เจาะลึก การตลาดดิจิทัลเวียดนาม โอกาสดีห้ามมองข้ามเด็ดขาด

โดย เอเจนซี่การตลาดดิจิทัลเวียดนาม

หากคุณอยากจะขยับขยายธุรกิจของคุณออกไปยังประเทศแถบอาเซียน ประเทศเวียดนาม คือตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างมาก ที่คุณจะบุกเข้าไปตีตลาดด้วยกลยุทธ์ การตลาดดิจิทัลเวียดนาม เพราะเป็นหนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ประเทศที่มีการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไวที่สุดในอาเซียน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเวียดนามมีมูลค่าทางการค้ารวมสูงถึง 517,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยจำนวนประชากรกว่า 97 ล้านคน ส่วน GDP เวียดนามในปี 2562 อยู่ที่ 7.02% ซึ่งเกินเป้าหมาย 6.8% ที่รัฐบาลตั้งเอาไว้

ปัจจัยของความน่าดึงดูดตลาดดิจิทัลเวียดนาม ได้แก่

  • การเข้าถึงของอินเทอร์เน็ต
  • ความนิยมของโซเชียลมีเดีย
  • E-Commerce ในเวียดนาม

กลยุทธ์น่าสนใจสำหรับการทำตลาดดิจิทัลเวียดนาม ได้แก่

  • กลยุทธ์การทำตลาดอินฟลูเอนเซอร์เวียดนาม
  • กลยุทธ์การตลาดเครื่องมือค้นห
  • กลยุทธ์การตลาดโซเชียลมีเดีย

ที่มา : https://www.ihdigital.co.th/go-vietnam-digital-marketing/

พานาโซนิคย้ายโรงงานจากไทยไปเวียดนาม

โดย nuttachit I Marketeer

สำนักข่าวนิคเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่าพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มีแผนปิดโรงงาน ผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในประเทศไทย เพื่อย้ายกำลังการผลิตไปรวมกับโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในเวียดนามให้เป็นโรงงานหลักในการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้า เหตุผลสำคัญ คือ ลดต้นทุนการจัดหาชิ้นส่วน ซึ่งการย้ายกำลังการผลิตในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยมีเป้าหมายลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย 100 ล้านเยนหรือประมาณ 29.56 ล้านบาทในเดือนมีนาคม 2565

‘Marketeer’ วิเคราะห์ออกเป็น ดังนี้

  1. ลดต้นทุนค่าแรงสูงบนรายได้การผลิตที่ลดลง ลดต้นทุนในการจัดหาชิ้นส่วน และลดต้นทุนในการจ้างแรงงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำถูกกว่าประเทศไทย
  2. ยอดขายในไทยลดลงบนการแข่งขันที่สูง แม้พานาโซนิคจะเข้ามาทำธุรกิจในไทยมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พานาโซนิค ถูกสินค้าแบรนด์เกาหลี และจีน เข้ามาท้าทายตลาดอย่างต่อเนื่องจนรายได้และกำไรในการขายสินค้าพานาโซนิคลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2562

ทั้งนี้ ศิริรัตน์  ยงค์เจริญชัย ผู้จัดการทั่วไปสายสื่อสารองค์กร บริษัท พานาโซนิค แมนเนจเม้นท์ ประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การควบรวมโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าไปอยู่ที่ประเทศเวียดนามเป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น ที่มีพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งเรื่องของพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า และการบริหารด้านการผลิตและต้นทุนให้มากขึ้น

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/165880

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในกัมพูชา

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกของไทยในกัมพูชา Download

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในสปป.ลาว

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในเมียนมา

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในเวียดนาม

เจาะตลาดเวียดนาม 5 ช่องทางการขายที่คุณต้องรู้

โดย IH DIGITAL

เวียดนามถือว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ด้วยประชากรกว่า 90 ล้านคนและส่วนใหญ่ก็เป็นหนุ่มสาววัยทำงานที่กำลังช่วยพัฒนาประเทศ แน่นอนว่าด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจ ย่อมทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของชาวเวียดนามเพิ่มมากขึ้นและต้องมีนักลงทุนที่อยากไปเจาะตลาดเวียดนาม ทั้ง 5 ช่องทางนี้ เหมาะกับผู้ประกอบการ ดังนี้

  1. ใช้ผู้แทน/ตัวแทนจำหน่าย เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่มีประสบการส่งออกน้อย ควรเลือกใช้ตัวแทนจำหน่าย (Distributor)
  2. เปิดร้านค้าใน E-Commerce เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการขายของออนไลน์เป็นอย่างดี เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในเวียดนาม ได้แก่ Lazada, Shopee, TIKI, LOTTE, Sendo.VN
  3. เปิดร้านค้าผ่าน Social Media คล้ายกันกับข้อที่ 2 – ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังไม่เชี่ยวชาญในด้าน E-Commerce สามารถขายได้บนช่องทาง Social Media โดยแพลทฟอร์มที่ได้รับความนิยมในเวียดนามคือ FACEBOOK และ Instagram
  4. การส่งออก สำหรับบริษัทขนาดใหญ่หรือผู้ที่มีประสบการณ์การส่งออกสูง
  5. ก่อตั้งบริษัทการค้า เหมาะสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีภาพลักษณ์ของแบรนด์มั่งคงและน่าเชี่อถือในตลาดเวียดนาม

แต่อย่างไรก็ตาม แผนการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญมาก ผู้ประกอบการอาจเลือกการโปรโมทสินค้าด้วยการแจก หรือให้ส่วนลดพิเศษต่าง ๆ ที่ดูฮาร์ดเซลส์ เมื่อเข้าสู่ตลาดเวียดนามในระยะแรก ส่วนในระยะยาวอาจใช้โฆษณา ป้ายประกาศ หรือช่องทางออนไลน์เพื่อให้คนเวียดนามจดจำตัวสินค้าและซื้อมาบริโภค  “สิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะพลาดคือไม่ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับแผนการตลาด”

ที่มา : https://www.ihdigital.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-5-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97/