‘GDP’ เวียดนามไตรมาสสองปี 67 โต 6.93%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ขยายตัว 6.93% นับว่าเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงสุดครั้งที่ 2 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากภาคบริการที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม ขยายตัว 7.06% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามมาด้วยภาคเกษตรกรรม ขยายตัว 3.34% และภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว 8.29% ในขณะที่เมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ GDP เวียดนาม ขยายตัว 6.42% ซึ่งต่ำกว่าเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ขยายตัว 6.58%

นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้น 4.39% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-gdp-grows-6-93-in-q2/

10 เดือนของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกกุ้ง พุ่ง 13,000 ตัน

กรมประมงเมียนมา เผย 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน 2565 – เดือนมกราคม 2566) เมียนมาส่งออกกุ้งมากกว่า 13,260.329 ตัน มูลค่า 47.655 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางทะเลจำนวน 12,268.366 ตัน มูลค่า 43.257 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออกผ่านชายแดนจำนวน 991.963 ตัน มูลค่า 4.398 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2564-2565 พบว่า เมียนมาส่งออกกุ้งจำนวน 11,646.185 ตัน มูลค่า 51.617 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางทะเล 9,091.21 มูลค่า 42.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออกผ่านชายแดน 2,554.975 ตัน มูลค่า 8.707 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ภาคการเกษตรและการประมงคิดเป็น 30% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมาและคิดเป็นรายได้หลักมากกว่า 68% ของประชาชนในชนบท

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-13000-tonnes-of-shrimp-to-external-markets-in-past-ten-months/#article-title

9 เดือน ของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกกุ้ง พุ่ง! 12,000 ตัน ทำรายได้เข้าประเทศกว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรมประมงของเมียนมา เผย ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน 2565-เดือนธันวาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศมากกว่า 12,355 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 10,388 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณก่อน โดยสินค้าประมงของเมียนมาถูกส่งออกไปยัง 45 ประเทศในทุกๆ ปี ส่วนใหญ่ส่งออกผ่านการค้าชายแดนเป็นหลัก ในธุรกิจเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่นำเข้าลูกพันธ์กุ้งจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้ ภาคการเกษตรถือเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของเมียนมา โดยคิดเป็นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และคิดเป็นร้อยละ 68 ของรายได้หลักของชุมชนในประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us44-mln-from-export-of-over-12000-mt-of-shrimps-to-foreign-markets-in-9-months/

“เวียดนาม” เติบโตเร็วสุดในอาเซียน คาด GDP ปีนี้เพิ่มขึ้น 8%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ว่า Pham Minh Chinh นายกรัฐมนตรีเวียดนาม มั่นใจว่าการเติบโตของเวียดนามจะเกินความคาดหมายในปีนี้ และยังคงรักษาตำแหน่งเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในปี 2566  โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะเพิ่มขึ้น 8% ในปี 2565 ซึ่งเร็วกว่าค่าเฉลี่ย 7.3% ที่ประเมินไว้ในแบบสำรวจของ Bloomberg และขยายตัว 6.5% ในปีต่อไป ทั้งนี้ ในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อการประชุมสภาแห่งชาติช่วงฤดูใบไม้ร่วง นายกรัฐมนตรีเวียดนามอธิบายว่าการคาดการณ์ปี 2566 นั้นสมเหตุสมผล เนื่องจากต้องเผชิญกับความท้าทายและความยากลำบากมากมายที่เศรษฐกิจเผชิญท่ามกลางแนวโน้มทั่วโลกที่แย่ลง ผลการดำเนินงานของ GDP ในปีปัจจุบันจะเพิ่มความท้าทายสำหรับการเติบโตในปีหน้าด้วยฐานที่สูงขึ้น

ที่มา : https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/vietnam-gdp-20102022

คาด RCEP กระตุ้นส่งออกกัมพูชาร้อยละ 9-18 ต่อปี

สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับภาคการค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) แสดงให้เห็นว่าการส่งออกของกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 9.4-18 ต่อปี จากการเข้าเป็นสมาชิกภายใต้ข้อตกลง RCEP ซึ่งจะส่งผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาจากที่เคยเติบโตร้อยละ 2 เพิ่มขึ้นเป็นเติบโตร้อยละ 3.8 กล่าวโดย Pan Sorasak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งปัจจุบัน RCEP ครอบคลุมกลุ่มประชากรประมาณร้อยละ 30 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลก และคิดเป็นร้อยละ 28 ของการค้าโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501041189/rcep-set-to-boost-cambodia-exports-by-9-18-yearly/

รัฐบาลตั้งเป้า GDP เติบโตอย่างน้อยร้อยละ 4

รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปีอย่างน้อย 4% นับจากนี้จนถึงปี 2025 แม้ว่าจะไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เมื่อใด ภาครัฐตั้งเป้าภาคการเกษตรคาดว่าจะเติบโตที่อัตราเฉลี่ย 2.5 % ต่อปี คิดเป็น 15.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ภายในปี 2568 ด้านอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 4.1 ต่อปี และจะประกอบด้วยร้อยละ 32.3 ของ GDP ภายในปี 2568 ในขณะที่ภาคบริการคาดว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6 คิดเป็นร้อยละ 40.7 ของ GDP ใน อีก 3-4 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ภาคภาษีและภาษีคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.8 และควรคิดเป็นร้อยละ 11.7 ของ GDP ภายในปี 2568 รัฐบาลเชื่อว่ารายได้ GDP ต่อหัวต่อปีจะสูงถึง 2,880 ดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568 ทั้งนี้สปป.ลาวสามารถบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้หากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่มีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ โครงการเหล่านี้รวมถึงเมืองอัจฉริยะ ทางด่วน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ไฟฟ้าพลังน้ำ เหมืองแร่ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบอื่นๆ ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของ GDP ได้อย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งก็คือความสามารถของรัฐบาลในการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govtaims_47_22.php

รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะลดการขาดดุลงบประมาณ

รัฐบาลสปป.ลาวได้ประกาศว่าจะพยายามลดการขาดดุลงบประมาณลงเหลือเพียง 3,098 พันล้านกีบในปี 2565 ซึ่งเท่ากับ 1.61 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คำมั่นสัญญาดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่รัฐบาลพยายามย่างมากในการลดภาระหนี้สาธารณะในช่วงเวลาที่ประสบปัญหาในการหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติ รัฐบาลจะปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย ​​และพิจารณาเกณฑ์ในการเก็บภาษีที่จ่ายสำหรับเชื้อเพลิงนำเข้า อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้านำเข้าอื่นๆ ตลอดจนภาษีและค่าธรรมเนียมที่มาจากการทำเหมืองและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะแก้ไขค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับที่ดินและจำนวนภาษีเงินได้จากการโอนสิทธิการถือครองที่ดินตามมูลค่าที่ดินที่คาดการณ์ไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ในส่วนของรายจ่าย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง และคำนึงถึงความประหยัดและประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงิน รัฐบาลจะลดการใช้จ่ายในกิจกรรมบางอย่าง เช่น การเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดและต่างประเทศ การประชุม สัมมนา และกิจกรรมทางสังคม รัฐบาลได้ให้คำมั่นว่าจะลดการขาดดุลงบประมาณลงต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงินรอบด้าน และลดภาระหนี้ของประเทศในอนาคตอันใกล้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt09.php

GDP เวียดนามโต 5.64% ในไตรมาสแรก

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ประกาศว่าเวียดนามมีอัตราการ​เติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขยายตัว 5.64% เมื่อเทียบเป็นรายปี และยังสูงกว่าระดับ 1.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันชองปีที่แล้ว แต่ต่ำกว่า 7.05% และ 6.77% ในปี 2562 และ 2563 ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปเป็นปัจจัยหนุนของการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยอัตราการเติบโต 11.42% อย่างไรก็ดี การเติบโตของ GDP ได้สะท้อนให้เห็นถึงการควบคุมการระบาดไวรัสของรัฐบาล ตลอดจนความร่วมมือทั้งระบบการเมือง ภาคธุรกิจ ประชาชนและบุคลากรแนวหน้าในการต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-gdp-up-564-percent-in-h1-gso/203791.vnp

รัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า

รัฐบาลมีแผนที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจโดยกรอบของแผนจะเริ่มในปี 2564-2568 และแผนดังกล่าวรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เติบโตอย่างยั่งยืน มีการกำหนดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 4-5 ต่อปีเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2564-2568 ขณะที่ระดับอัตราเงินเฟ้อไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน Mr.Sonexay Siphandone กล่าวว่า “มีเป้าหมายหลายประการที่จะบรรลุในอีกห้าปีข้างหน้าและยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพิ่มรายได้ของประเทศและการลดการรั่วไหลทางการเงิน” อีกด้านหนึ่งการปรับปรุงโครงสร้างของเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับ SMEs และการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาว อย่างไรก็ตามความท้าทายอย่างหนึ่งของสปป.ลาวคือภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ผันผวนปัจจัยนี้เองจะเป็นอุปสรรคที่ท้าทายต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาวในการเติบโตให้ได้ตามเป้าในอีก5 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_239.php