ธนาคารแห่งชาติกัมพูชาทบทวนมาตรการควบคุมราคาบ้าน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กำลังทบทวนมาตรการควบคุมราคาบ้านที่มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของกัมพูชาจะต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้ ด้านดัชนีราคาบ้านพักและที่อยู่อาศัย (RPPI) ซึ่งเริ่มเปิดตัวในกลางปี 2022 เพื่อวัดราคาบ้านโดยรวมทั่วประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 9 ภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2020 โดย NBC กำลังติดตามราคาบ้านอย่างใกล้ชิด และอาจใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมราคาหากจำเป็น ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นตัววัดเงินเฟ้อของกัมพูชาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในปี 2022 และคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ภายในปีนี้ สำหรับมาตรการควบคุมราคาบ้านอาจส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกัมพูชา รวมถึงผู้ซื้อบ้านอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยอันเนื่องจากมาตรการและราคาบ้านที่อาจชะลอตัวลงหรือลดลงในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501490347/the-national-bank-of-cambodia-reviews-measures-of-housing-prices/

รัฐบาล สปป.ลาว ออกมาตรการเข้มแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาเศรษฐกิจ

รัฐบาล สปป.ลาว ได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการคุมเข้าการเพาะปลูก ไม่ให้เผาเศษซากพืชในที่ที่โล่งแจ้ง ซึ่งทำให้เกิดหมอกควันในปัจจุบัน ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่หน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่นจะต้องทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหานี้ โดยสั่งการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยกระดับการป้องกันภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดจาก PM2.5 เนื่องจากตัวชี้วัดคุณภาพอากาศบ่งชี้ว่าระดับฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายอยู่ในระดับสูงมากถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีความหนาแน่นของอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากในอากาศ ซึ่งสามารถเข้าสู่ส่วนลึกของปอด ทำให้เกิดหรือทำให้โรคทางเดินหายใจรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติให้เร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มการเก็บรายได้สูงสุด และปรับปรุงระบบจัดเก็บรายได้ให้ทันสมัย ​​อุดช่องโหว่ที่ทำให้สูญเสียรายได้ พร้อมยึดนโยบายเข้มงวด รวมถึงการใช้เงินตราต่างประเทศอย่างประหยัด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_80_Cabinet_y24.php

เงินบาทอ่อนค่าแรงทะลุระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์อีกครั้ง หลังตลาดกังวลเสถียรภาพการคลังของไทยจากมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต

ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันนี้ (13 พฤศจิกายน) ที่ระดับ 36.10 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงหนักจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ กดดันโดยจังหวะการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลวธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะปรับฐาน หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงหนัก นอกจากนี้ เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากความกังวลเสถียรภาพการคลังของไทย ซึ่งได้สะท้อนผ่านแรงขายหุ้นและบอนด์ โดยนักลงทุนต่างชาติในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้าน พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ย Fed และความกังวลเสถียรภาพการคลังของไทย ทำให้ในสัปดาห์นี้ยังต้องระวังความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน พร้อมติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลักและลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ขณะเดียวกัน ตลาดการเงินไทยอาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต โดยหากพิจารณาจากแรงขายหุ้นและบอนด์ รวมถึงการอ่อนค่าลงของเงินบาทล่าสุด อาจประเมินได้ว่าผู้เล่นในตลาดต่างกังวลต่อความเสี่ยงเสถียรภาพการคลังของไทยมากขึ้น

ที่มา : https://thestandard.co/baht-depreciate-36-baht-per-usd/

ส.อ.ท. ชี้จีนเปิด ปท.กระตุ้นเศรษฐกิจอาเซียน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า การที่ประเทศจีนเปิดประเทศแม้อาจมีความกังวลในเรื่องของโควิด-19 อยู่บ้าง แต่ก็ต้องยอมแลกกันเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า และมั่นใจในกระบวนการคัดกรองของแต่ละประเทศที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้นายเกรียงไกร ได้กล่าวเพิ่มเติม ว่าการเปิดประเทศของจีน ถือเป็นข้อดีมากกว่าข้อเสีย เมื่อภาคอุตสาหกรรมเดินหน้า ภาคบริการต่างๆ กลับมา ก็ทำให้ซัพพลายเชนต่างๆ ที่เคยมีปัญหาก็คลี่คลาย และจีนก็เป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียนรวมถึงไทยด้วย ก็จะช่วยทำให้เศรษฐกิจในอาเซียนแข็งแกร่งขึ้น พร้อมมองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยปีนี้จะอยู่ที่ 25 ล้านคน

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_480456/

‘นายกฯ เวียดนาม’ สั่งคุมราคาน้ำมัน เหตุรักษาเสถียรภาพตลาดในประเทศ

นาย ฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ (Pham Minh Chinh) นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้สั่งการให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ราคาพลังงาน รักษาเสถียรภาพระหว่างอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ อีกทั้งสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าทำการตรวจสอบศูนย์หน่วยจำหน่ายและสถานีการค้าทั่วประเทศ เพื่อจัดการกับผู้ที่ทำการกักตุนน้ำมันในการแสวงหากำไรและการละเมิดอื่นๆ นอกจากนี้ รัฐบาลได้สั่งให้กระทรวงการคลังเข้ามาประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อทำการศึกษาและเสนอแนวทางปรับนโยบายภาษีเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงขอความร่วมมือไปยังคณะกรรมการประชาชนจังหวัดและส่วนกลางให้ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมการขายน้ำมันที่ร้านค้าปลีกในท้องที่อย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11199502-pm-orders-balance-of-petrol-demand-supply-for-domestic-market.html

กัมพูชา-ไทย ยืนยันไม่ล็อกดาวน์ หลังมีการแพร่ระบาดของ Omicron

แม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron แต่ทางการกัมพูชาและไทย ยืนยันว่าจะไม่การบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ โดยเมื่อวันที่ 22 ก.พ. นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ได้เน้นย้ำถึงนโยบายว่าจะไม่มีการล็อกดาวน์เมืองหลวงและจังหวัดต่างๆ อย่างในปีที่แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะขาดแคลนสินค้า รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ ตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา ปัจจุบันกัมพูชาตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron 598 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ 2 ราย ซึ่งปัจจุบันประชากรของกัมพูชามีทั้งสิ้น 16 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วที่ร้อยละ 89.99 ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่าไทยจะไม่ออกคำสั่งล็อกดาวน์เช่นเดียวกัน แม้ว่าไทยจะยกระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 เป็นระดับ 4 ภายใต้การรักษาระยะห่างและหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501030209/covid-19-cambodia-thailand-reject-lockdown-possibility/

รัฐบาลกัมพูชากำหนดยกเลิกการกักตัว 30 พฤศจิกายน

ทางการกัมพูชามีความพยายามอย่างมากที่จะเปิดประเทศใหม่อีกครั้ง โดยจะเริ่มดำเนินการภายใต้โครงการ “แซนด์บ็อกซ์” ในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วสามารถเดินทางมายังกัมพูชาได้โดยไม่ต้องกักตัว ในพื้นที่นำร่อง อาทิเช่น สีหนุวิลล์ เกาะร่อง และดาราสาครรีสอร์ท ในจังหวัดเกาะกง ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน เป็นต้นไป โดยแพ็คเกจท่องเที่ยวปลอดภัยไม่ต้องกักตัว (Quarantine Free Relaxation Package) จะนำมาใช้กับนักท่องเที่ยวที่ได้จองห้องพักอย่างน้อย 5 วัน ในสถานที่ท่องเที่ยวที่ทางการได้กำหนดไว้ จากนั้นนักท่องเที่ยวจะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังที่ใดก็ได้ในประเทศ หากมีผลตรวจโควิด-19 เป็นลบ ซึ่งโฆษกกระทรวงการท่องเที่ยว เชื่อว่ากลยุทธ์นี้จะมีส่วนช่วยในการดึงดูดนักเดินทางต่างชาติมายังกัมพูชามากขึ้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกักตัวอีกต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50959494/sville-sandbox-govt-to-initiate-quarantine-free-tourism-on-november-30/

เอกชนวอนรัฐบาลยกเลิกข้อจำกัดโรงงาน

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) ได้ขอให้คณะทำงานด้านโควิด-19 พิจารณาเปิดโรงงานในเมืองหลวงอีกครั้ง เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและเศรษฐกิจปัจจุบันจนถึงขณะนี้ โรงงานเหล่านี้ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอีกครั้งภายหลังการแพร่กระจายของไวรัสร้ายแรง หอการค้าอธิบายถึงความท้าทายที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและโรงงานผลิตอื่น ๆ เผชิญเนื่องจากการปิดตัวลง โดยชี้ให้เห็นว่านักลงทุนบางรายอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังกัมพูชาหรือบังคลาเทศ หากการระบาดของไวรัสยังดำเนินต่อไปอีกนาน ดังนั้นการผ่อนคลายนโยบายเกี่ยวกับโรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การปิดโรงงานที่เกิดจากการระบาดของโควิด ทำให้ธุรกิจต่างๆ สูญเสียโอกาสทางการตลาดและเงินที่จำเป็นในการรักษาการดำเนินงานของพวกเขา ด้วยโครงการฉีดวัคซีนที่กำลังดำเนินไปได้ดี การยกเลิกการจำกัดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวตาม LNCCI

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Private196.php

รัฐบาล สปป.ลาวออกคำสั่งเตรียมชดเชยคนตกงาน

นาย Oudone Maniboune รองอธิบดีกรมการจัดการแรงงาน กล่าวเมื่อวันอังคารว่า กระทรวงได้สั่งให้บางธุรกิจที่ระงับการดำเนินการในเดือนเมษายน ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงให้จ่ายเงินค่าจ้างตามปกติให้ลูกจ้าง ทั้งนี้ธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างร้ายแรงควรจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติ นส่วนคนงานที่ค่าจ้างกำหนดโดยผลผลิตหรือจ่ายเป็นรายวันและมีรายได้น้อย ควรจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่พวกเขามักจะได้รับ หรือประมาณ 550,000 กีบต่อเดือน ขณะนี้มีผู้ว่างงานหลายพันคนต้องการความช่วยเหลือทางการเงินอย่างรวดเร็วเพื่อครอบคลุมค่าครองชีพรายวัน ภาคเอกชนเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซง โดยขอให้ธนาคารขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ย และให้สถาบันไมโครไฟแนนซ์จัดหาเงินกู้ฉุกเฉินสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้ข้อเรียกร้องและคำสั่งของรัฐบาลเป็นไปเพื่อรักษาระดับการจ้างงานให้ได้ดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบันที่ตัวพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องและหากไม่มีการควบคุมที่ดีอาจนำมาซึ่งวิกฤตด้านเศรษฐกิจและแรงงานในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt191.php

ถอดบทเรียนโลกสู้วิกฤตโควิดสู่มาตรการเศรษฐกิจไทย

โดย วิจัยกรุงศรี I ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

การระบาดของโควิดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสูงกว่าที่คาด โดยตัวเลขการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันเข้าสู่กรณีเลวร้าย จากทั้งประสิทธิภาพของมาตรการล็อกดาวน์และประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันสายพันธุ์เดลตาต่ำกว่าที่คาด ทำให้มาตรการควบคุมการระบาดมีแนวโน้มลากยาวไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2564 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยค่าเฉลี่ยของการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จาก 31 สำนักวิจัยลดลงจาก 3.4% (มีนาคม 2564) อยู่ที่ 1.8% (สิงหาคม 2564)

การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในวงกว้าง จากตัวเลขของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนพบว่า มีธุรกิจจำนวน 754,870 รายอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรืออยู่ใน 9 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง คิดเป็น 93.9% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งมีการจ้างงานถึง 24.8 ล้านคน คิดเป็น 65% ของแรงงานทั้งหมด และในจำนวนนี้มีแรงงานประมาณ 13.7 ล้านคนเป็นผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

จากวิกฤตโควิดที่มีความรุนแรงและยาวนาน รวมถึงมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง มาตรการเยียวยาจึงมีความจำเป็นเพื่อควบคุมการระบาดและประคองให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนไทยอยู่รอดต่อไปได้

วิจัยกรุงศรีจึงศึกษาเปรียบเทียบการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากโควิดในประเทศต่างๆ พบว่า

  • มาตรการให้เงินสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักตัว: เน้นการสร้างแรงจูงใจและข้อบังคับเพื่อให้คนที่มีความเสี่ยงยอมกักตัวอยู่บ้านเพื่อควบคุมการระบาด
  • มาตรการรักษาระดับการจ้างงาน: เป็นมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานผ่านภาคธุรกิจ เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนของธุรกิจและรักษาระดับการจ้างงาน เน้นการช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานที่มีรายได้น้อย
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคธุรกิจ: เป็นมาตรการให้เงินช่วยเหลือครั้งเดียวเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่อง โดยจำนวนเงินช่วยเหลือขึ้นกับผลกระทบและความอ่อนไหวของธุรกิจ
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือน: รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี ด้านอุปกรณ์ป้องกันโรค ด้านที่อยู่ และด้านรายจ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าอาหาร และค่าการศึกษา เป็นต้น
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคธุรกิจ: รวมถึงการลดต้นทุนค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และต้นทุนค่าธรรมเนียมภาษี
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคครัวเรือน: เน้นไปที่กลุ่มที่เข้าถึงความช่วยเหลือค่อนข้างยาก ได้แก่ กลุ่มเปราะบางและแรงงานนอกระบบ

อย่างไรก็ตาม มาตรการเยียวยาทั้ง 6 มาตรการที่ทำการศึกษาจะช่วยให้ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสามารถประคองตัวอยู่ที่ 3.25% โดยทั้ง 6 มาตรการมีวงเงินรวมกันประมาณ 7 แสนล้านบาทในช่วง 6 เดือนข้างหน้า การใช้มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น และสามารถสร้างรายได้ถึง 8.6 แสนล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า หรือระหว่างปี 2564-2568

ที่มา : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/Covid19-Response-Policy-2021