รัฐบาลกัมพูชาจัดหาเงินทุน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) จัดการประชุมเพื่อทบทวนกระบวนการแผนแม่บทด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เนื่องจากรัฐบาลกัมพูชา (RGC) ได้จัดหาเงินลงทุนเกือบมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานกว่า 174 โครงการ มุ่งพัฒนาการเชื่อมต่อทั่วราชอาณาจักรกัมพูชา สำหรับดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (LPI) ที่จัดทำโดยธนาคารโลก สะท้อนว่ากัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 98 ในปี 2018 และตกลงมาอยู่ที่ 115 ทำให้ประเทศอยู่ในอันดับทัดเทียมกับ สปป.ลาว ส่งผลทำให้รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ เช่นการพัฒนาทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ (PPSE) และโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงทางด่วน PP-Bavet ทางด่วนพนมเปญ-เสียมราฐ-ปอยเปต และคลองฟูนันเตโช เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501443206/govt-seeks-40b-capital-to-build-infrastructures-by-2033/

คาดรัฐบาลชุดใหม่กัมพูชา ดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศเพิ่มขึ้น

คาดหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของกัมพูชาจะนำมาซึ่งการลงทุนใหม่ๆ จากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น และมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น และการอยู่ของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ตลอดจนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ เป็นส่วนทำให้กัมพูชามีศักยภาพในการลงทุนมากยิ่งขึ้น กล่าวโดยรัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ระบุเสริมว่า ปัจจุบันในช่วงครึ่งแรกของปีกัมพูชาดึงดูดโครงการลงทุนกว่า 113 โครงการ นับเป็นสินทรัพย์ถาวรเพื่อการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ เกิดการจ้างงานใหม่ประมาณกว่า 122,000 ตำแหน่ง โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501347755/new-government-formation-to-bring-more-new-investments/

‘หอการค้าไทย’ แนะรบ.ใหม่เร่งกระตุ้นศก. ดูแลปากท้องประชาชน จี้ทบทวนแจกเงินดิจิทัล

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หากพิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบัน หอการค้าไทยยังมีความมั่นใจว่าประเทศน่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ได้ในกรอบเดือน ส.ค.-ก.ย. 2566 โดยมองว่าไทยควรมีรัฐบาลชุดใหม่ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาภาคเอกชนติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งรัฐบาลอย่างใกล้ชิด และเห็นทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสามารถรวบรวมเสียงได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่สิ่งสำคัญ คือเสถียรภาพของรัฐบาลที่จะต้องมีเสียงเพียงพอและเข้มแข็ง เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายเป็นไปอย่างราบรื่น และมีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลใหม่ในการดูแลเศรษฐกิจ โดยครอบคลุม 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะเร่งด่วนโดยสิ่งที่รัฐบาลใหม่จำเป็นต้องดูแลทันที คือ การแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และลดต้นทุนภาคเอกชน รวมถึงแก้ปัญหาภาคการส่งออกที่ชะลอตัว และเร่งส่งเสริมภาคท่องเที่ยว 2.ระยะกลาง ต้องวางแผนและป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลใหม่จำเป็นต้องเตรียมแผนบริหารจัดการทั้งพื้นที่ และการกักเก็บน้ำที่เหมาะสม รองรับความต้องการของภาคการเกษตร ภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสานต่อข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ 3.ระยะยาว ต้องเริ่มปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของทุกภาคส่วน ถึงประเด็นการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/431818/

รัฐบาลท้องถิ่น สปป.ลาว เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม

หลายร้อยหมู่บ้านในหลายจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ของ สปป.ลาว กำลังดิ้นรนเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมหลังจากฝนตกหนักมาในช่วงหลายวัน ส่งผลทำให้ฟาร์มจำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบ และประชาชนหลายพันคนในพื้นที่กำลังเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ บอลิคำไซ คำม่วน และสะหวันนะเขต ได้รับผลกระทบเป็นอย่างหนัก ซึ่งหน่วยงานท้องถิ่นและพันธมิตรอื่นๆ กำลังเร่งดำเนินการอย่างหนักเพื่อให้ทันต่อการตอบสนองสถานการณ์เร่งด่วน โดยล่าสุดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้จัดส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปยังหน่วยงานแรงงานและสวัสดิการสังคมในเขตพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมในการแก้ไขเหตุฉุกเฉินกรณีเกิดภัยพิบัติต่างๆ เพิ่มเติม พร้อมกันนี้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะประสานงานกับจังหวัดที่ประสบอุทกภัยต่อไปเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว ด้านกระทรวงและคณะกรรมการป้องกันและควบคุมภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งทำงานร่วมกับภาคีการพัฒนาได้ส่งมอบเครื่องอุปโภคบริโภคมูลค่ารวมกว่า 573.93 ล้านกีบ ในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในแขวงบอลิคำไซ คำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_152_Local_y23.php

รัฐบาลไทยหนุนธุรกิจสินค้าฮาลาลในมาเลเซีย มุ่งเป้า 1.02 ล้านล้านบาทในปี 68

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีกับความร่วมมือทางการค้าของไทย-มาเลเซียที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นการค้าทั้งสองฝ่ายจะบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.02 ล้านล้านบาท) ในปี 2568 รวมถึงจะมีการหารือเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับรัฐมนตรี ซึ่งมีแผนจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2566นี้

ที่มา : https://www.posttoday.com/politics/domestic/697479

ความหวังผู้ส่งออกไทย เร่งตั้ง ‘รัฐบาลใหม่’ ดันตลาดครึ่งปีหลัง

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การส่งออกเดือน พ.ค.2566 มีมูลค่ารวม 24,340 ล้านดอลลาร์ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วหดตัวร้อยละ 4.6 แต่ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเดือน ม.ค.2566 ที่มูลค่า 20,249 ล้านดอลลาร์ ติดลบร้อยละ 4.5 ต่ำที่สุดในรอบ 23 เดือน ซึ่งกล่าวเสริมว่าการส่งออกได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วและยังดีกว่าบางกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงมองว่าเดือน มิ.ย. นี้จะเห็นตัวเลขที่ดีขึ้น และหากดูในแง่ของดัชนีผู้ซื้อ เรื่องการฟื้นตัวของจีนแม้ว่าจะฟื้นตัวช้าแต่ก็ยังสามารถบังคับคองไปได้ ดีกว่าโซนภูมิภาคยุโรป และอีกตลาดที่มีกำลังซื้อที่สำคัญ คือ อินเดีย สำหรับสถานการณ์ความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 29 มิ.ย.2566 อยู่ที่ 35.64 บาทต่อดอลลาร์ หากมองปีต่อปีพบว่าอ่อนค่า 1.7% และหากเทียบกับช่วงเดือน ม.ค.2566 อ่อนค่าที่ 3.19% เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินภูมิภาค แต่ถือเป็นทิศทางที่ดีของผู้ประกอบการส่งออกในไทย และอีกปัจจัยคือสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอน จึงส่งผลให้การไหลออกของตลาดทุนในช่วงที่ผ่านมากระทบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องมุ่งส่งสินค้าที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นไปยังคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐที่ไทยส่งออกเกือบร้อยละ 20 รวมถึงเร่งสิ่งสินค้าไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางและอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ที่จะพึ่งพาและพึ่งพิงได้ รวมถึงกลุ่มประเทศ CLMV (เวียดนาม สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา) ที่ต้องเร่งการค้าชายแดน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1076884

5 เดือนแรกของปี ทางการกัมพูชาจัดเก็บภาษีแตะ 1.8 พันล้านดอลลาร์

กรมภาษีอากร (GDT) หน่วยงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชา รายงานการจัดเก็บภาษีมูลค่ากว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 51 ของเป้าหมายการจัดเก็บภาษีประจำปี รายงานโดย Kong Vibol ผู้อำนวยการกรมภาษีอากร ในระหว่างการประชุมสรุปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (15 มิ.ย.) โดยทางการได้เร่งพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับปี 2023 รัฐบาลกัมพูชาตั้งเป้าหมายในการจัดเก็บภาษีไว้ที่ประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501309834/cambodia-collects-1-8-billion-in-tax-income-for-first-5-months-of-this-year/

รัฐบาลให้คำมั่นแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำมัน กีบอ่อน หนี้สินประเทศ

รัฐบาลให้คำมั่นที่จะดำเนินการที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงและหนี้ที่เป็นหนี้กับบริษัทเอกชนและต่างประเทศ คำมั่นสัญญานี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายของสองวาระแห่งชาติ ซึ่งพยายามบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ และควบคุมกับการป้องกันค้ายาเสพติด ในการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีที่จัดขึ้นที่เวียงจันทน์เมื่อเร็วๆ นี้ เห็นชอบที่จะจัดหาแหล่งการลงทุนระยะยาวเพิ่มเติมจากภาคเอกชนในประเทศลาวและประเทศอื่นๆ และผลักดันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ให้ก้าวหน้าตามแผนที่วางไว้ การเคลื่อนไหวเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควบคุมการใช้จ่ายและรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีเสถียรภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten103_Govtvows.php

รัฐบาลมีแผนเพิ่มทางด่วนเพื่อปรับปรุงการขนส่ง

รัฐบาลกำลังปรับปรุงเครือข่ายถนนของประเทศ และกำลังวางแผนที่จะสร้างทางด่วนเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงการขนส่งและช่วยบรรลุเป้าหมายสำหรับการให้สปป.ลาวเป็นประเทศที่เชื่อมโยงทางบกในภูมิภาค จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางพิเศษเวียงจันทน์-ปากเซสำหรับส่วนที่ 1, 2, 3 และ 4 แต่บันทึกความเข้าใจในส่วนที่ 5 ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาถนนเพื่อปรับปรุงการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและในระยะไกล การพัฒนาปรับปรุงการขนส่งดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ในประเทศอีกทั้งสร้างจุดแข็งให้กับสปป.ลาวในการเป็นประเทศเชื่อมโยงระบบการขนส่งระดับภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_42_22.php

รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะลดการขาดดุลงบประมาณ

รัฐบาลสปป.ลาวได้ประกาศว่าจะพยายามลดการขาดดุลงบประมาณลงเหลือเพียง 3,098 พันล้านกีบในปี 2565 ซึ่งเท่ากับ 1.61 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คำมั่นสัญญาดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่รัฐบาลพยายามย่างมากในการลดภาระหนี้สาธารณะในช่วงเวลาที่ประสบปัญหาในการหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติ รัฐบาลจะปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย ​​และพิจารณาเกณฑ์ในการเก็บภาษีที่จ่ายสำหรับเชื้อเพลิงนำเข้า อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้านำเข้าอื่นๆ ตลอดจนภาษีและค่าธรรมเนียมที่มาจากการทำเหมืองและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะแก้ไขค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับที่ดินและจำนวนภาษีเงินได้จากการโอนสิทธิการถือครองที่ดินตามมูลค่าที่ดินที่คาดการณ์ไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ในส่วนของรายจ่าย รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง และคำนึงถึงความประหยัดและประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงิน รัฐบาลจะลดการใช้จ่ายในกิจกรรมบางอย่าง เช่น การเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดและต่างประเทศ การประชุม สัมมนา และกิจกรรมทางสังคม รัฐบาลได้ให้คำมั่นว่าจะลดการขาดดุลงบประมาณลงต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงินรอบด้าน และลดภาระหนี้ของประเทศในอนาคตอันใกล้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt09.php