กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ประกาศรหัส HS 1,100 รหัส สำหรับคลังสินค้าศุลกากร

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ตอบรับการนำเข้า 4 ประเภทในคลังสินค้าศุลกากรด้วยรหัส HS 1,100 รหัส ได้แก่ ยา (117 รหัส) ยานพาหนะไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง (56 รหัส) วัตถุดิบและเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม (866 รหัส) และวัตถุดิบอาหาร (61 รหัส) นอกเหนือจากสินค้าที่ได้รับอนุญาตในคลังสินค้าของศุลกากรแล้ว การขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าก่อนถึงท่าเรือถือเป็นข้อบังคับ และการไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับและโทษตามกฎหมายที่มีอยู่ ตามประกาศการค้าฉบับที่ 50/2020 กรมภายใต้กระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 อย่างไรก็ดี หากไม่ได้รับใบอนุญาตจะห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ระบุซึ่งต้องขอใบอนุญาต กรมการค้าเตือนผู้ส่งออกและผู้นำเข้าถึงบทลงโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการส่งออกและนำเข้าคำสั่งและแนวปฏิบัติเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 โดยแจ้งให้พวกเขาขอใบอนุญาตก่อนเป็นเอกสารก่อนมาถึงสำหรับการขนส่งทางอากาศ ทะเล และถนนทุกประเภท ตามประกาศข่าวการส่งออกและนำเข้า 3/2567 ของกรมการค้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-announces-1100-hs-codes-for-customs-warehousing/#article-title

ศุลกากรกัมพูชาตรวจยึดเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย พร้อมเผาทำลายกว่า 7.5 ตัน

กรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เผาทำลายเนื้อสัตว์กว่า 7,595 กิโลกรัม ซึ่งนำเข้าโดยไม่มีเอกสาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อีกทั้งการขนส่งที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้คุณภาพเสียหาย โดยรายละเอียดกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปราบปราม 2 คดี คดีที่ 1 ตรวจยึดและเผาทำลายเนื้อไก่และเครื่องในไก่ราว 395 กิโลกรัม ที่ถูกลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายผ่านทางชายแดน ขณะที่คดีที่ 2 เจ้าหน้าที่สำนักงานสืบสวนและปราบปรามการลักลอบขนสินค้าเข้าเขต 5 ได้ตรวจยึดเครื่องในไก่และขาเป็ดจำนวน 7,200 กิโลกรัม และเผาทำลาย หลังจากปราบปรามและยึดจากผู้ค้า ซึ่งขนส่งโดยรถยนต์โดยสาร 2 คัน เข้ามายังกัมพูชาอย่างผิดกฎหมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476170/more-than-7-5-tonnes-of-damaged-chicken-meat-chicken-parts-and-duck-legs-destroyed/

‘กรมศุลกากร’ เผย 11 เดือน เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยมากที่สุด

จากรายงานทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าไทยขายรถยนต์ให้กับเวียดนาม จำนวนทั้งสิ้น 50,144 คัน มูลค่ามากกว่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18% และ 22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาอินโดนีเซียและจีนที่เป็นซัพพลายเออร์รถยนต์รายใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 โดยมียอดขายรถยนต์ 40,474 คัน และ 9,843 คัน ลดลง 36.7% และ 39% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2566 พบว่าเพียงเดือนเดียว เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 7,508 คัน มูลค่า 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นปริมาณลดลง 21.9% และมูลค่าลดลง 24.3%

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-imports-most-cars-from-thailand-over-11-months-2227668.html

GDCE เตรียมดำเนินกลยุทธ์ใหม่ สำหรับการปฏิรูประบบศุลกากรกัมพูชา ในช่วงปี 2024

กรมศุลกากรและสรรพสามิตทั่วไป (GDCE) หน่วยงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) มีแผนที่จะเปิดตัวยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับการปฏิรูประบบศุลกากรให้มีความทันสมัย สำหรับแผนในช่วงปี 2024-2028 หลังจากดำเนินแผนยุทธศาสตร์ปัจจุบันที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2019-2023 โดยแผนยุทธศาสตร์ใหม่ได้รับการเปิดเผยในระหว่างการประชุมปรึกษาหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ GDCE และหุ้นส่วนการพัฒนาที่เกี่ยวข้องของกัมพูชา เช่น สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำกัมพูชา และ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (28 ก.ย.) โดยมี Kun Nhem ผู้อำนวยการ GDCE เป็นประธาน โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 6 ประการ ซึ่งรวมถึงประสิทธิผลของการรวบรวมรายได้ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือด้านศุลกากร การปฏิบัติตามกฎหมายและการบังคับใช้ กิจการและกฎระเบียบด้านกฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ และสุดท้ายคือเพิ่มขีดความสามารถให้กับหน่วยงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501369454/gdce-to-embark-on-new-strategy-for-customs-reform-in-early-2024/

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ศุลกากรแหลมฉบังเก็บภาษีครึ่งปีทะลุเป้ากว่า 172,028 ล้านบาท

นายประสิทธิ์ ดีจงเจริญ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง กรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงผลประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนั้น ทั้งนี้ จากความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มกลับมาดีขึ้นตามทิศทางของเศรษฐกิจโดยรวมส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ 8 เดือนของปีงบฯ 66 (ต.ค.65 – พ.ค.66) ของสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง สามารถจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 172,028.777 ล้านบาท โดยจัดเก็บเป็นอากรศุลกากร ค่าธรรมเนียมและรายได้เบ็ดเตล็ดรวม 35,069.377 ล้านบาท และจัดเก็บรายได้แทนหน่วยงานอื่นๆ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย) รวม 136,959.399 ล้านบาท

ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230619142059049

“เวียดนาม-จีน” กลับมาเปิดพรมแดนขนส่งผู้โดยสาร

เจ้าหน้าที่ขนส่งท้องถิ่น เปิดเผยกับสำนักข่าวว่าบริการขนส่งผู้โดยสารทางถนนระหว่างประเทศจีนและเวียดนาม เริ่มกลับมาให้บริการอีกครั้ง หลังจากระงับการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2563 โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 1,077 คน และเป็นผู้โดยสารขาเข้า-ขาออก 1,065 คน และ 12 คน ที่เดินทางผ่านด่านโหย่วอี้กวาในเมืองผิงเสียง ประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศจีนจะต้องรายงานผลการตรวจโควิด-19 ทราบผลภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบ นอกจากนี้ พื้นที่ชายแดนกว่างซี เริ่มกลับมาเปิดเส้นทางการขนส่งทางบกระหว่างประเทศจีนและเวียดนาม เพื่อให้บริการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบจุดต่อจุดแก่ผู้โดยสาร

ที่มา : http://en.people.cn/n3/2023/0110/c90000-10193856.html

กระทรวงสาธารณะ เร่งการค้าข้ามพรมแดน

รัฐบาลกำลังร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานด้านศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร่งการค้าข้ามพรมแดน ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการและกลไกการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าข้ามพรมแดน MOU จัดให้มีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับข้อมูลศุลกากร (ASYCUDA) ระบบจะใช้ระบบนี้ที่จุดผ่านแดนเพื่อให้การตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงร่วมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาโปรไฟล์ความเสี่ยงแบบบูรณาการเพื่ออัปโหลดเข้าสู่ระบบ ASYCUDA ทั้งนี้ MOU ดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มที่สำคัญซึ่งให้กรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชายแดนเพื่อปรับปรุงการกวาดล้างชายแดนผ่านข้อตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO-TFA) ข้อตกลงนี้กำลังดำเนินการภายใต้กองทุน Multi-donors Trust Fund- โครงการการแข่งขันและการค้าของสปป.ลาว ซึ่งได้รับทุนจากธนาคารโลก รัฐบาลของออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministries_245_21.php

ปีงบฯ 63-64 เมียนมาตั้งเป้าส่งออกอาหารทะเลทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมาคาดส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 63-64 แม้จะหยุดชะงักจาก COVID-19  ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ 62-63 ถึง 17% ที่ส่งออกได้ 853 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงสุดในรอบ 20 ปีในเวลานั้น เมียนมาคาดว่าจะมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งตั้งแต่ซาอุดีอาระเบียได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าประมงในปี 61  ผลิตภัณฑ์ทางทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังไทย จีน และยุโรป เมื่อเดือนที่แล้วท่าเรือของซาอุดีอาระเบียได้ยึดเรือประมงเมียนมาจำนวน 30 ตู้ มูลค่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้เนื่องจากความสับสนในเรื่องศุลกากรและข้อกำหนดของนโยบาย ทั้งนี้กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทานของเมียนมาจะสนับสนุนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในท้องถิ่นและชาวประมงที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเพื่อเลี่ยงการหยุดชะงัก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-targets-us1b-marine-exports-fiscal-2020-21.html

สำนักงานศุลกากรรับรายได้กว่า4 พันล้านกีบจากการค้าชายแดนจีนและเวียดนาม

ภายในปี 2563 สำนักงานศุลกากรระหว่างประเทศในจังหวัดบอลิคำไซได้รับรายได้ 4 พันล้านกีบโดยที่มาของรายได้กว่าร้อยละ58.98 มาจากการด่านชายแดนการส่งออกเวียดนามและจีน ถึงแม้มาตราฐานการจัดการด้านการส่งออกและคลังสินค้าของชายแดนสปป.ลาวไม่มีประสิทธิภาพและมีความซีบซ้อนและล่าช้าในการตรวจสอบต่างๆ ทำให้จุดนี้เองที่ทำให้รัฐบาลต้องการพัฒนาระบบศุลกากรดังกล่าวเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนด้านการส่งออกและนำเข้าผ่านด่านรอยต่อประเทศ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่ได้มีการพัฒนามากเท่าที่ควร ทั้งด้านระบบการจัดการและเครื่องไม้เครื่องมือที่ยังไม่มีใช้ที่ด่านพรหมแดนทำให้ผู้ประกอบการต้องสูญเสียโอกาสด้านการค้าในบ้างชนิดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุการเก็บได้น้อยและต้องการคลังเก็บสินค้าที่มีคุณภาพ ในอนาคตหากสปป.มีการพัฒนาด้านนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาวอย่างมหาศาล

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/29/77216/

เมียนมาคลายข้อจำกัดศุลกากรบางประการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า

รัฐบาลจะลดข้อจำกัดทางการค้าและความล่าช้าของราชการเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกระหว่างการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนกรมศุลกากรจะลดภาษีศุลกากรสำหรับธุรกิจที่ดำเนินงานด้วยระบบการเคลียร์สินค้าออกจากคาร์โก้แบบอัตโนมัติ (MACCS) ผู้ที่ต้องการสมัครเพื่อลดภาษีศุลกากรจะต้องส่ง E-Form D พร้อมกับหมายเลขอ้างอิงที่ได้รับจากประเทศอื่น ๆ เพื่อยื่นขอเอกสารที่จำเป็นเพื่อขยายเวลา ผู้อำนวยการฝ่ายศุลกากรกล่าวว่าเอกสารจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดโดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับยาและผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/some-customs-restrictions-be-eased-facilitate-trade.html