สินเชื่อภาคเกษตรกรรมของกัมพูชาลดลงเหลือ 31% จาก 36% ใน 5 ปีก่อน

โครงสร้างสัดส่วนสินเชื่อภาคการเกษตรลดลงจากร้อยละ 35.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 31 สำหรับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยภาคการเกษตรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจกัมพูชาสำหรับในปี 2023 สำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยสะท้อนจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง ที่ได้กล่าวรายงานว่า ภาคการเกษตรมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แต่ด้วยขนาดของเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว รวมถึงโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้สัดส่วนอุตสาหกรรมการเกษตรในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 22 ของ GDP ประเทศ แม้ในปี 2013 จะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 36 ของ GDP ก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สิ่งทอ การท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ MSMEs ในด้านการผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็เริ่มมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501490959/agricultural-loans-fall-to-31-from-36-in-5-years/

เมียนมา-ไทยหารือการพัฒนาการเกษตรและการผลิตปศุสัตว์

วานนี้ 11 พ.ค. 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานแห่งสหภาพเมียนมา อู มิน น่อง เข้าพบ นายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมา และคณะ ณ ห้องประชุมกระทรวง ในการประชุมหารือการอนุญาตให้ผู้ประกอบการเอกชนของไทยลงทุนในการผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ตามกฎหมาย การขยายพันธุ์โคนมและการผลิตผลิตภัณฑ์จากนมเพื่อดึงดูดโอกาสการลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมา การส่งออกถั่วและถั่วชนิดต่างๆ จากเมียนมา การจัดตั้งเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยสำหรับโคในประเทศเมียนมา การดำเนินการเขตควบคุมโรคในสัตว์ นโยบายในการส่งออกสัตว์ข้ามพรมแดน ข้อกำหนดสำหรับการพัฒนาบันทึกความเข้าใจสำหรับการส่งออกโค ความร่วมมือในการอนุรักษ์ปลาดุกหัวสั้น กระบวนการเพื่อการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์ของทั้งสองประเทศ โดยมีปลัดกระทรวงและเจ้าหน้าที่กรมกระทรวงร่วมประชุมด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-discuss-developing-agriculture-and-livestock-production/#article-title

รัฐบาลกัมพูชาพร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรขึ้นเป็นอุตสาหกรรมหลักของชาติ

รัฐบาลกัมพูชา (RGC) ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ ภูมิภาค และต่างประเทศ กล่าวโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต ในระหว่างการเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมประจำปี 2023 ของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากบริษัทต่างชาติอย่าง สิงคโปร์ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลที่ได้เพิ่มการลงทุนไปยังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบชลประทาน ระบบการขนส่งในชนบท โลจิสติกส์ ไฟฟ้าและกระบวนการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อีกทั้งรัฐบาลยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างทุนมนุษย์และให้สิ่งจูงใจทางด้านการเงินเพื่อปรับปรุงคุณภาพประสิทธิภาพ ผลผลิต และความปลอดภัย โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์เกษตรในตลาดภายในประเทศ ภูมิภาค และต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501432466/agricultural-modernisation-govts-top-priority-says-pm/

บริษัทสัญชาติไต้หวัน สนใจเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร และยานยนต์ กัมพูชา

Far East Trade Service Inc พนมเปญ (FETPP) บริษัทสัญชาติไต้หวัน ซึ่งดำเนินงานภายใต้บริษัท TAITRA กำลังสำรวจโอกาสในการขยายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และยานยนต์ ด้วยความช่วยเหลือจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ด้าน Suon Sophal รองเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุนกัมพูชา (CIB) ได้ร่วมสนทนากับ Chen I-Hua ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ FETPP โดย Sophal ชื่นชมความพยายามของรัฐบาลกัมพูชา (RGC) ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุนที่มุ่งสร้างกรอบกฎหมายที่เปิดกว้างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติตามความจำเป็น ตลอดจนการดำเนินการตามแผนงานสำหรับการพัฒนาภาคยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501430458/taiwan-firm-keen-to-invest-in-agri-food-automotive-sectors/

รัฐบาลพยายามรักษาพื้นที่การเกษตร 4.5 ล้านเฮกตาร์เพื่อผลผลิตในอนาคต

กระทรวงเกษตรกำลังร่างพระราชกฤษฎีกาที่มุ่งห้ามการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและชลประทานในการก่อสร้างเชิงพาณิชย์ เพื่อรักษาพื้นที่ 4.5 ล้านเฮกตาร์สำหรับการผลิตทางการเกษตรในช่วง 30 ปีข้างหน้า ดร.เพชร พรมพิภัค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ กล่าวกับสมาชิก NA ในสัปดาห์นี้ว่าการเกษตรอยู่ภายใต้การคุกคามจากโครงการพัฒนา และมีการใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงจึงกำลังร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อสงวนพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกพืช เพื่อปกป้องยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารของรัฐบาล และช่วยให้มีการผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน กระทรวงหวังที่จะจัดสรรพื้นที่ปลูกข้าว 2 ล้านเฮกตาร์ โดยมีพื้นที่ว่างในปัจจุบันอยู่ที่ 700,000 เฮกตาร์ และอีก 1 ล้านเฮกตาร์สำหรับการเพาะปลูกพืชอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกข้าว 700,000 เฮกตาร์ นอกจากนี้ กระทรวงยังต้องการให้มีที่ดิน 700,000 เฮกตาร์สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยปัจจุบันใช้พื้นที่เพียง 100,000 เฮกตาร์ อีกเป้าหมายหนึ่งคือให้ปลูกผลไม้บนพื้นที่ 800,000 เฮกตาร์ โดยปัจจุบันมีไม้ผลที่ปลูกบนพื้นที่ 600,000 เฮกตาร์ ทั้งนี้กระทรวงจะเน้นการผลิตอาหารที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น และช่วยควบคุมราคาอาหารที่สูงขึ้น

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Govt119.php

โอกาสผลผลิตทางการเกษตร ‘เวียดนาม’ ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งในตลาดโลก

ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเติบโตเป็นบวกอย่างต่อเนื่องและหวังว่าจะไปในทิศทางที่เป็นบวกต่อไป มูลค่าการส่งออกของภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงอยู่ที่ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ตามรายงานของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดสหภาพยุโรป (EU) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต และเมื่อปี 2564 เวียดนามมีโควตาไม่เกิน 80,000 ตัน ยกเว้นภาษีนำเข้าให้เวียดนามภายใต้ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) โดยการส่งออกสินค้าประเภทข้าว กาแฟ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยางพาราและผัก ไปยังตลาดอียูจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ นอกจากนี้ นายฝุ่ง ดึ๊ก เตี่ยน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม กล่าวว่าภาคการเกษตรเล็งเห็นโอกาสทางการส่งออกไปยังจีนและแสวงหาตลาดใหม่ดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดยุ างการเกของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/chances-for-vietnam-farm-produce-to-strengthen-position-in-global-market-insiders/223258.vnp

 

กระทรวงเกษตรกัมพูชา คาดส่งออกประมงเติบโตปีหน้า

กระทรวงเกษตรคาดว่าการส่งออกสินค้าประมงของกัมพูชาจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกปลาไปยังประเทศจีนที่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้านรองอธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กล่าวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ว่าปัจจุบันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงสดและแปรรูปไปยังตลาดต่างประเทศมีปริมาณรวมกว่า 3,320 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมองว่าการส่งออกประมงยังไม่แพร่หลายมากนัก รวมถึงตลาดส่งออกยังมีเพียงแค่ประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และสิงคโปร์เท่านั้น โดยรัฐบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ของกรมประมง ซึ่งหวังว่าปีหน้าจะเพิ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายในประเทศให้สอดรับกับความต้องการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50989604/ministry-of-agriculture-expects-fishery-exports-to-increase-significantly-next-year/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรรวม มูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์ ไปยังตลาดต่างประเทศ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ โดยสิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคเกษตรกรรมจะยังคงเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจกัมพูชาในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 7.1 ล้านตัน ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ 68 แห่งทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้คิดเป็นการส่งออกข้าวสารรวม 532,179 ตัน ลดลงร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบปีต่อปี มูลค่ารวม 454 ล้านดอลลาร์ ส่วนข้าวเปลือกส่งออกไปทั้งสิ้นจำนวน 3.1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนพฤศจิกายนปีนี้ มูลค่าการส่งออกรวม 546 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกสินค้านอกภาคเกษตรมีมูลค่ารวม 2.990 พันล้านดอลลาร์ ปริมาณ 4.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.47 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980853/cambodia-nets-4-4-billion-from-agricultural-exports/

ปีเพาะปลูก 63-64 อำเภอยี่นมาบีน เร่งปลูกพืชช่วงมรสุมบนพื้นที่กว่า 170,000 เอเคอร์

รายงานของกรมวิชาการเกษตร เผยนาข้าวและพืชอื่นๆ ในช่วงฤดูมรสุมที่จะปลูกในปี 63 – 64 ในอำเภอยี่นมาบีน เขตสะกาย มีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 170,506 เอเคอร์ ซึ่งเกษตรกรจะต้องไถและหว่านเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะเกิดมรสุมให้ทันเวลา กรมวิชาการเกษตรให้ขู้มูลว่าจากพื้นที่เพาะปลูก 170,506 เอเคอร์ เป็นนาข้าว 30,700 เอเคอร์, ถั่ว 22,667 เอเคอร์,พืชน้ำมัน 59,624 เอเคอร์, ฝ้าย 2,233 เอเคอร์; พืชอาหาร 473 เอเคอร์; และพืชอื่นๆ อีก 87,481 เอเคอร์ กรมวิชาการเกษตรตำบลยินมาบิน เข้ามาช่วยเหลือด้านเทคนิคทางด้านการเกษตร การควบคุมศัตรูพืช และการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในการปรับปรุงผลผลิตของพืชผลฤดูมรสุม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/more-than-170000-acres-of-2020-2021-monsoon-crops-cultivated-in-yinmabin/#article-title

กระทรวงเกษตรและป่าเร่งกระตุ้นส่งออกโคไปจีน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโค ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอกชนผลิตโคเพื่อส่งออกไปยังจีนมากขึ้น กรมวิชาการเกษตรและป่าไม้ทั่วประเทศได้รับคำสั่งให้เปิดตัวแคมเปญประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้เกษตรกรและผู้ผลิตทราบเกี่ยวกับการเปิดตลาดโคของจีนอย่างเป็นทางการ ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ สปป.ลาวได้รับโควตาจำนวน 500,000 ตัวเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน ทั้งนี้การเลี้ยงโคของสปป.ลาวต้องเป็นตามมาตรฐานของทางจีนกำหนด เป็นความท้าทายที่สำคัญของสปป.ลาวในการปรับปรุงพัฒนาการเลี้ยงโคให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการพัฒนาระบบเกษตรโดยรวม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_125.php