รัฐบาลกัมพูชาพร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรขึ้นเป็นอุตสาหกรรมหลักของชาติ

รัฐบาลกัมพูชา (RGC) ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ ภูมิภาค และต่างประเทศ กล่าวโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต ในระหว่างการเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมประจำปี 2023 ของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากบริษัทต่างชาติอย่าง สิงคโปร์ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลที่ได้เพิ่มการลงทุนไปยังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบชลประทาน ระบบการขนส่งในชนบท โลจิสติกส์ ไฟฟ้าและกระบวนการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อีกทั้งรัฐบาลยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างทุนมนุษย์และให้สิ่งจูงใจทางด้านการเงินเพื่อปรับปรุงคุณภาพประสิทธิภาพ ผลผลิต และความปลอดภัย โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์เกษตรในตลาดภายในประเทศ ภูมิภาค และต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501432466/agricultural-modernisation-govts-top-priority-says-pm/

‘ภาคเกษตรเวียดนาม’ ตั้งเป้าการเติบโต 3.2-4% ปี 67

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าภาคเกษตรกรรมของเวียดนาม ได้ตั้งเป้าการเติบโตในปี 2567 อยู่ที่ 3.2-4% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 54-55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งกระทรวงฯ ยังได้เป้าหมายที่จะนำความทันสมัยและเทคโนโลยีเข้าสู่พื้นที่ชนบท คิดเป็นสัดส่วน 80% ตามมาด้วยการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ที่ครอบคลุมพื้นที่ป่า 42.02% และการเข้าถึงแหล่งน้ำของครัวเรือนมากกว่า 58% อีกทั้ง เวียดนามมุ่งมั่นที่จะปรับโครงสร้างของภาคเกษตรกรรม ส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีขั้นสูง เกษตรอัจฉริยะ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1639326/vn-s-agriculture-sector-targets-growth-between-3-2-4-in-2024.html

“มินอ่องหล่าย” เดินหน้าตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ เหตุมั่งคงด้านอาหาร

พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และคณะ ได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานในพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (Thilawa) และมีการรายงานชี้แจ้งถึงผลการดำเนินงานในเขตพื้นที่ดังกล่าวเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ผ่านระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ตลอดจนการกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในเขตย่างกุ้งที่มีความจำเป็นต้องให้แน่ใจว่าอาหารมีเพียงพอและราคาอยู่ในระดับเหมาะสมต่อผู้บริโภคในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจ้งถึงความสำคัญของการขยายพื้นที่เพาะพันธุ์การเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรและกำชับหน่วยงานให้ปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

ที่มา : https://www.myanmaritv.com/news/food-sufficiency-sg-inspects-thilawa-multipurpose-agriculture-livestock-zone

สปป.ลาว เปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรกรรมบนที่ราบสูง

กระทรวงเกษตรและป่าไม้สปป.ลาว ร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ World Vision ในการเปิดตัวโครงการด้านเกษตรกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกสำหรับการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกบนพื้นที่ราบสูงใน สปป.ลาว ภายใต้สภาพแวดล้อมทางอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยโครงการนี้มีงบประมาณประมาณในการพัฒนาอยู่ที่ 3.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Global Environment Facility (GEF) และ FAO ซึ่งจะดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและป่าไม้, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ของ สปป.ลาว ตั้งแต่ในช่วงกลางปีนี้จนถึงปี 2026 ในการตั้งเป้าเพื่อปกป้องพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 4.5 ล้านเฮกตาร์ หรือเท่ากับร้อยละ 19 ของพื้นที่ทั้งหมดของ สปป.ลาว โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อ สปป.ลาว และชุมชนที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นอย่างมากจากแนวโน้มฤดูฝนที่สั้นลงและรุนแรงขึ้น ไปจนถึงภัยธรรมชาติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_New60.php

ระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) อนาคตการเกษตรของสปป.ลาว

มองไปในอนาคตเกษตรกรรมลาวจะได้รับประโยชน์จากระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) ซึ่งสามารถคาดการณ์โดยละเอียดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโปรแกรมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ Global Environment Facility (GEF) ที่มุ่งหวังให้การเกษตรสปป.ลาวเติบโตไปได้ในอนาคตโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเกษตรกรในการวางแผนอนาคตของการเพาะปลูก LRIMS ได้รับการพัฒนาโดยกรมการจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (DALaM) ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เครื่องมือดังกล่าวเป็นแกนหลักของข้อมูลทางการเกษตรสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการหาปริมาณของผลิตภาพที่ดิน และข้อมูลสำคัญหลายประการสำหรับการวางแผนการลงทุนทางการเกษตรและในชนบท

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/23/mapping-present-future-of-lao-agriculture-land-use-insights-with-lrims/

‘เกษตรกรรมเวียดนาม’ เล็งปรับวิธีการให้เข้ากับการเกษตรยุคใหม่

นาย Le Minh Hoan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เผยในการสัมมนาเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ณ กรุงฮานอย ว่าเวียดนามควรยกระดับการเกษตรสีเขียวให้เหมาะสมกับบริบทใหม่ ในขณะเดียวกัน เวียดนามต้องปรับแนวคิดทางด้านการเกษตร โดยมุ่งเน้นไปที่ภาคเกษตรกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แทนที่การสร้างปริมาณผลผลิตสูง ดังนั้น รัฐมนตรีจึงเสนอให้มีการปรับการเกษตรด้วยดิจิทัลและพื้นที่ชนบท รวมถึงการจัดการผลิต เก็บเกี่ยว การกระจาย การฝึกอบรมบุคลากรและความเชื่อโยงในทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างทางการเกษตรจะทำได้โดยการเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบ ซึ่งมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในประเทศและระหว่างประเทศ นับว่าเป็นการสร้างตำแหน่งใหม่ของภาคการเกษตรของเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-agriculture-seeks-ways-to-adapt-to-new-context-905542.vov

เมียนมาตั้งเป้าเศรษฐกิจปี 64 โต 6%

รัฐบาลเมียนมาคาดเศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโต 6% ในปีงบประมาณ 63-64 ตามคำแถลงงบประมาณของกระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตในภาคเกษตรกรรม 2.6% ภาคอุตสาหกรรม 6.5% และภาคบริการ 7.4% ในปีนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ารัฐบาลควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญให้กับภาคการเกษตรเพื่อสร้างการเติบโตเป็นกลยุทธ์ที่ดี ภาคเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด -19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานซึ่งทำให้คนงานหลายพันคนตกงาน ด้าน นาย อู หม่อง หม่อง เล รองประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมากล่าวว่า ควรปลูกพืชผลที่ทำกำไรและต้นทุนให้ต่ำ สร้างตลาดสำหรับผู้ขายและผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ควรให้ความสำคัญกับการประมงมากขึ้นเพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมทางทะเลเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรขยายไปสู่ตลาดส่งออกใหม่ ๆ ด้วยการร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-targets-6pc-economic-growth-2021.html

สปป.ลาวสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้น

สปป.ลาวจำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมให้มากขึ้นพื่อพัฒนาให้กลายแหล่งศึกษาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและป่าได้มีการส่งเสริมให้มีการผลิตกาแฟคุณภาพของสหกรณ์ผู้ผลิตกาแฟ Bolaven Plateau ในแขวงจำปาสัก กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรจะช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนได้อย่างมหาศาล ในช่วงเวลาของการระบาดของ COVID -19 ในหลายประเทศทั่วโลกทำให้สปป.ลาวสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจึงเกิดการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศเกิดขึ้น เป็นโอกาสสำหรับนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่จะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศและทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ การส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับเกษตรกรรมยังมุ่งปรับปรุงมาตรฐานของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมทั้งดึงดูดการลงทุนในการพัฒนาการท่องเที่ยวมากขึ้น สปป.ลาวยังคงมองการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไม่ใช่การลงทุน แต่การพัฒนาในภาคเกษตรกรรมการส่งเสริมดังกล่าวจึงทำให้สปป.ลาวได้รับประโยชน์ท้ะงในด้านการได้พัฒนาการท่องเที่ยวในขณะเดียวกันภาคเกษตรกรรมก็เติบโตควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos246.php