ADB หั่นการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในปี 63 เหลือ 1.8%

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามลงเหลือ 1.8% ในปี 2563 จากครั้งก่อนที่ปรับลดเหลือร้อยละ 4.1 ในเดือนมิ.ย. แต่คาดว่าในปี 64 การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.3 ซึ่งสาเหตุของเศรษฐกิจที่หดตัวลงมาจากการบริโภคในประเทศลดลงและความต้องการทั่วโลกอ่อนแอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามจะยังคงได้รับประโยชน์หลายประการ ได้แก่ การย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน และผลจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-อียู (EVFTA) เป็นต้น ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 3.3 ในปี 63 และร้อยละ 3.5 ในปี 64 แต่ทว่าทางธนาคาร ADB คาดว่าเวียดนามเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่เป็นบวกภายในปีนี้ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะหดตัวร้อยละ 3.8 ในปี 63

ที่มา : http://hanoitimes.vn/adb-cuts-vietnam-gdp-growth-forecast-to-18-in-2020-314210.html

เงินเฟ้อเมียนมาผ่อนคลายลงจากอุปสงค์ที่ลดลง

รายงานของCentral Statistical Organization (CSO)ในเดือนมิถุนายน 63 การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 ได้ส่งผลต่อระดับเงินเฟ้อในเมียนมาลดลงตามไปด้วย สัญญาณของการผ่อนคลายเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคมหลังจากมีผู้ติดเชื้อรายแรกในเมียนมา อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่ร้อยละ 7.9 ในเดือนมิถุนายน ในความเป็นจริงแล้วเงินเฟ้อในเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเกิดการระบาด โดยพุ่งสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วเมื่อรัฐบาลเลิกอุดหนุนอัตราค่าไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ด้วยราคาไฟฟ้าและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เช่น อาหารและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ 63 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8 ของเดือนกรกฎาคม 62 ธุรกิจในท้องถิ่นได้รับความเดือดร้อนส่วนใหญ่ประสบปัญหายอดขายและกระแสเงินสดลดลงส่งผลให้การเข้าถึงสินเชื่อลดลงไปด้วย จากผลการสำรวจของธนาคารโลก ระบุว่าร้อยละ 16 บริษัทต่างๆ ปิดกิจการชั่วคราวเฉลี่ยแปดสัปดาห์จากการระบาดของ COVID-19 เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อของเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้ประมาณร้อยละ 6 จนถึงปีหน้า ขณะเดียวกันการเติบโตของ GDP คาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปีงบประมาณ 61-62 เหลือเพียงร้อยละ 1.8 ในปีงบประมาณปัจจุบัน การคาดการณ์ของธนาคารโลกนั้นเลวร้ายกว่ามาก GDP ของเมียนมาจะลดเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ในปีนี้ ข้อมูลของธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซียเผยหากควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสในประเทศได้รวดเร็วเท่าใด GDP อาจฟื้นตัวได้ในปีหน้าโดยแตะที่ระดับร้อยละ 6 และร้อยละ 7.2

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/pressure-eases-myanmar-inflation-due-declining-consumer-demand.html

ภาวะเงินเฟ้อเวียดนาม คาดว่าจะต่ำกว่า 4% ในปี 2563

แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เฉลี่ยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา อยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 4 และบรรลุตามเป้าของสภาแห่งชาติเวียดนาม (National Assembly)

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-inflation-rate-forecasted-to-remain-below-4-in-2020-23226.html

ความกังวลด้านเงินเฟ้อในกัมพูชาที่ส่งผลต่อราคาอาหารและเสถียรภาพภายในประเทศ

ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ได้เริ่มขึ้นส่งผลให้เกิดความกังวลในด้านราคาอาหารที่อาจเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่ายังคงค่อนข้างคงที่สำหรับสินค้าอาหารส่วนใหญ่ในช่วงเจ็ดเดือนที่ผ่านมา โดยราคาสินค้าส่วนใหญ่มีการเพิ่มขึ้นบางอย่างในช่วงโควิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับราคาผักที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ไข่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 และหมูเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งแม้ว่าราคาอาหารขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม โดยเมษายนถึงเดือนมิถุนายนความผันผวนของราคาสินค้าได้ลดลงมาสู่ระดับปรกติ จนถึงขณะนี้ผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ต่อความมั่นคงด้านอาหารมีแนวโน้มที่จะมาจากด้านอุปสงค์มากขึ้นโดยมีครัวเรือนที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจร่วมด้วย จากการสูญเสียรูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตและรายได้เนื่องจากผลกระทบของไวรัส

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743104/fear-of-food-price-inflation-dropping-as-stability-returns/

อัตราเงินเฟ้อลดลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลง

จากรายงานของธนาคารโลกอัตราเงินเฟ้อในประเทศลดลงเหลือร้อยละ 8.3 ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงของผู้ประกอบการในเมียนมา เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลงท่ามกลางวิกฤติ COVID-19  ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนและคาดว่าจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อรายปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากร้อยละ 9.5 ในเดือนธันวาคม 2562 เป็นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นตัวฉุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 13 ในเดือนเมษายนนี้คาดว่าเดือนกรกฎาคมจะลดลอีกเนื่องจากอัตราภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี การใช้จ่ายที่ลดลงและราคาที่ลดลงคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อโดยรวมในปีงบประมาณ 2563-2563 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อควรอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีงบประมาณนี้ลดลงจากร้อยละ 8.5 ของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อโลกที่คาดไว้ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีนี้อาจสูงกว่าอัตราของธนาคารกลางในปัจจุบันที่ร้อยละ 7 อัตราเงินฝากขั้นต่ำของธนาคารในเมียนมาคือร้อบละ 5 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 10

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-inflation-declines-amid-falling-demand.html

ธปท.ยืนยันเงินเฟ้อ พ.ค.ติดลบ ต่ำสุดรอบ 10 ปี

ธปท.ยืนยันเงินเฟ้อ พ.ค. ติดลบต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี ยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน วันนี้ (4 มิ.ย. 63) นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการดำเนินนโยบายการเงิน ธปท. อิงนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อ ดังนี้ อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period) อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายๆหมวดสินค้าและบริกา การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปรกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น หากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าว พบว่าอัตราเงินเฟ้อไทยติดลบมาเพียง 3 เดือน แม้ประมาณการล่าสุดของ ธปท.จะให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ติดลบ แต่ยังมองว่าปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ อีกทั้งเป็นการติดลบจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี ถือว่าใกล้เคียงกับกึ่งกลางของช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. ที่ร้อยละ 1-3 ต่อปี จึงยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึกหรือฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก โดย ธปท.จะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/293286

เดือนมกราคมเงินเฟ้อเมียนมายังคงเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลล่าสุดขององค์การสถิติกลาง (CSO) เดือนมกราคม 2563 อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2562 ตัวเลขของเดือนมกราคมอยู่ที่ 9.06% เพิ่มขึ้นจาก 8.81% ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าราคาอาหารรวมถึงข้าว น้ำมัน เนื้อสัตว์ ปลา ผัก และสินค้าพื้นฐานอื่น ๆ ลดลง รายการที่ไม่ใช่อาหารเช่น ทองคำ เครื่องดื่ม บุหรี่ เสื้อผ้าและค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อของประเทศพุ่งสูงถึง 10.6% ในเดือนมิถุนายน 2559 IMF คาดเงินเฟ้อจะลดลงเหลือ 6-7% ในระยะปานกลางเนื่องจากผลกระทบจากภาษีค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นสิ้นสุดลงและแรงกดดันจากราคาอาหารที่สูงขึ้น ธนาคารโลกกล่าวว่าอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำและส่งผลความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่ลดลง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/inflation-continued-rise-january-officials-say.html

สนง.สถิติเวียดนาม เผย CPI เดือนก.พ. ลดลง 0.17%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เนื่องมาจากความต้องการสินค้าลดลง หลังจากช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ (เต็ด), ราคาน้ำมันที่ลดลง และการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการแพร่ระบาดไวรัสดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมของภาคการท่องเที่ยวและเทศกาลลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจโรงแรมและบริการด้านความบันเทิง ซึ่งกลุ่มสินค้าและบริการ 11 รายการที่อยู่ในตะกร้าสินค้า โดยมีสินค้า 6 รายการที่ราคาลดลงทำสถิติ ได้แก่ บริการขนส่ง (2.5%), การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เครื่องดื่มและบุหรี่, เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า, วัสดุที่อยู่อาศัยและบริการโทรคมนาคมและไปรษณีย์ ขณะเดียวกัน กลุ่มสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ บริการจัดงานเลี้ยง (0.26%), สินค้าและบริการอื่นๆ, แพทยศาสตร์และบริการทางการแพทย์, เครื่องใช้ในครัวเรือนและการศึกษา ทั้งนี้ ราคาทองคำในเดือน ก.พ. เคลื่อนไหวตามราคาทองคำโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 จากเดือน ม.ค. ที่แตะระดับราว 4.45 ล้านดองต่อตำลึง สาเหตุมาจากนักลงทุนย้ายเงินทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะผลกระทบที่ไวรัสโควิด-19 มีผลต่อเศรษฐกิจ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดองต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังคงอยู่ในระดับคงที่ อยู่ที่ 23,300 ดอง/ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 จากเดือน ม.ค.

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/february-cpi-falls-by-017-percent-410755.vov

CPI เดือน ม.ค.63 โตสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา

จากรายงานขอวสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคม ขยายตัวร้อยละ 1.23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 6.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว บ ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หัวหน้าของสำนักงาน GSO ได้อธิบายถึงดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนม.ค. ว่าสาเหตุที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากมีความต้องการอาหาร อุปโภคบริโภค เครื่องดื่มและสิ่งทอมากขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่เต็ต นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมรายการที่มีการเคลื่อนไหว ได้แก่ อาหาร พลังงาน บริการสุขภาพและการศึกษา รวมไปถึงสินค้าอื่นๆที่รัฐบาลควบคุม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 62 และร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีอัตราการขยายตัวเร็วกว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาส่วนใหญ่มาจากราคาอาหาร บริการและน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cpi-in-january-hits-record-high-in-recent-7-years-409385.vov

ความกดดันในการควบคุมเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ปี 2563

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าในปีนี้การควบคุมราคาและเงินเฟ้อมีความซับซ้อนและยากลำบากมากขึ้น โดยราคาเนื้อหมูมีความผันผวนอย่างมากในปีที่แล้วส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาลดลงในช่วงครึ่งแรกของปีและจากนั้นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ราคาเนื้อหมูลดลงต่ำสุดอยู่ที่ 28,000-32,000 ด่องต่อกิโลกรัม หลังจากนั้น ราคาจะค่อยๆปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ค.-ต.ค. ทั้งนี้ ทางผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์และการเงิน ระบุว่าหลังจากที่ราคาเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว การควบคุมอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าร้อยละ 4 ในปีนี้ ซึ่งมีความไม่แน่นอนเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ธ.ค. เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา นับว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากราคาเนื้อหมูยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาสแรก ค่าเฉลี่ยอาจอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 สำหรับเป้าหมายของสภาแห่งชาติ ต้องการคงระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ในปีนี้ ซึ่งการจัดการราคาและควบคุมเงินเฟ้อในปีนี้จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ยืดหยุ่นและเขิงรุก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pressure-mounts-to-control-inflation-in-2020/167711.vnp