สมัชชาแห่งชาติปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจหลังการระบาด Covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกครั้งหลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 คณะรัฐมนตรีกำลังสรุปรายงานและคาดว่าจะลดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ของประเทศจากร้อยละ 6.4 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ตามสรุปรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติได้ส่งรายงานของเดือนเมษายนที่ระบุว่าจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ส่งผลในทุกภาคส่วนของประเทศทั้ง แรงงานที่ตกงานจนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดตัวรวมถึงภาคการท่องเที่ยวสูญเสียเงินมากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนแรกของปี 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ GDP ของสปป.ลาวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/23/national-assembly-to-address-gdp-target-amid-economic-downturn/

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 1.8% ในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมาคาดจะเติบโตเพียง 1.8% ในปี 2563 จากข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เบื้องต้นในเดือนเมษายน ADB คาดว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.2% จากการขยายตัวที่ 6.8% ในปี 2562 ผลจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และรับรองว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แต่เมียนมายังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นบวกในภูมิภาคในปีนี้หลังการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของเวียดนามที่ 4.1% และคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 จะขยายตัวที่ 6% ADB คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 จะโต 6.2 % แต่ยังต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-expand-18-year-adb.html

นายกรัฐมนตรีคาดการณ์เศรษฐกิจหดตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปีนี้

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศอาจหดตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้ เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 เป็นสำคัญ โดยการเติบโตของของประเทศขึ้นอยู่กับการส่งออกเสื้อผ้า, รองเท้า, การท่องเที่ยว, การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการเกษตร ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้า, รองเท้าและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการระบาดของ Covid-19 โดยนายกรัฐมนตรียังคงมองในแง่ดีว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะกลับมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในปี 2564 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์จากต่างประเทศ โดยคาดการณ์เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ที่ร้อยละ 2.8 ในปีนี้และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถึงร้อยละ 3.1 ในปีหน้าเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันระหว่างประเทศ ซึ่งธนาคารโลกกล่าวในรายงานล่าสุดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มหดตัวระหว่างร้อยละ 1 ถึง 2.9 ในปีนี้ โดยถือเป็นอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 รวมถึงหน่วยงานจัดอันดับเครดิตของมูดี้ส์เมื่อเดือนที่แล้วคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจขยายตัวประมาณ 0.3% ในปี 2020 และ 6% ในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50733913/pm-forecasts-economic-contraction-of-1-9-percent-this-year/

ธนาคารโลกชี้ปี 63 เศรษฐกิจเมียนจะชะลอ แต่จะเริ่มฟื้นในปีหน้า

รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของธนาคารโลก แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจเมียนมาคาดชะลอตัวลงถึง 1.5% ในปี 2563 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่สามารถฟื้นตัวได้ถึง 6% ในปี 2564 หากการระบาดถูกควบคุมและการค้าโลกมาเป็นปกติ ปัจจุบันเมียนมาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการค้าและการลงทุนด้วยนโยบายที่ยืดหยุ่นในการกระตุ้นการเงินแก่ธุรกิจและส่งเสริมแพลตฟอร์มดิจิทัลภายใต้แผนบรรเทาเศรษฐกิจของ COVID – 19 (CERP) นอกจากนี้ยังสร้างความมั่นใจในการไหลเวียนของสินค้าสำคัญ เช่น อาหาร สินค้ายาและเวชภัณฑ์ในระยะสั้น ส่งเสริมการลงทุนและร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระยะยาว การลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-growth-slow-2020-rebound-next-year-world-bank-says.html

เมียนมาพร้อมอำนวยความสะดวกด้านการค้าภายในอาเซียน

อาเซียนรวมถึงรวมถึงเมียนมาจะร่วมกันเพื่อฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการเสริมสร้างการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามจัดการกับอุปสรรคทางการค้าส่งเสริมการค้าและการลงทุนและขยายสาขาของความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID-19 โดยมีผู้นำอาเซียน ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีตกลงที่ประสานงานเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดไปยังประเทศของตนและภูมิภาค ซึ่งเมียนมาจะร่วมมือกันเพื่อลดขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกภายในภูมิภาค การอำนวยความสะดวกในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์สำหรับการป้องกัน COVID-19 และการยกเว้นอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการนำเข้าและข้อกำหนดของ FDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเพื่อรักษาการหมุนเวียนของสินค้าและบริการ ยกเว้นจากการใช้มาตรการที่ไม่จำเป็นที่ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร สินค้ายา และเวชภัณฑ์ในภูมิภาค

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-commits-facilitating-trade-within-asean.html

รัฐบาลอนุญาตให้ธุรกิจกลับมาเดินกิจการได้ปกติเปิดใหม่

รัฐบาลอนุญาตให้ธุรกิจกลับมาเดินกิจการได้ปกติเพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ผู้จัดการโครงการและธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อลดการแพร่กระจายของ Covid-19 อย่างเคร่งครัด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนดร. Kikeo Chanthaboury ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจที่รับผิดชอบในการจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของ Covid- กล่าวว่า ” โครงการเหมืองแร่ 20 แห่ง, โครงการไฟฟ้า 13 แห่ง, โครงการรถไฟและทางด่วน, โรงงาน 20 แห่งในเขตพัฒนาที่ครอบคลุม ไชเชษฐาโรงงานเก้าแห่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ สะหวัน-เซโน และโรงงาน 4 แห่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษจำปาสักสามารถดำเนินการต่อได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโต” สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติและศูนย์สถิติแห่งชาติสปป.ลาวคาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วง 3.3-3.6% ในปีนี้ซึ่งการคาดการณ์ใหม่นี้ถือเป็นอัตราที่ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ถึง 7.2% ในปีนี้ลดลงมา 5.9% ซึ่งหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้นแล้ว รัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจและเข้าสู่แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในแต่ละด้านต่อไป

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt89.php

รัฐบาลสปป.ลาวออกมาตรการยกเว้นภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19

เศรษฐกิจสปป.ลาวคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวร้อยละ 6.1 ในปีนี้จากก่อนหน้านี้ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 6.5 ในปีนี้ ซึ่งมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19ในปัจจุบันถึงแม้สปป.ลาวจะพบผู้ติดเชื้อเพียง 19 คนเท่านั้นในขณะนี้ แต่เศรษฐกิจกลับพบว่ามีผลกระทบเชิงลบอย่างมากโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การก่อสร้างและการผลิตทำให้รัฐบาลต้องมีการออกมาตราเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยมีการออกมาตราการยกเว้นการจ่ายภาษีเป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ทั้งในส่วนภาษีของธุรกิจและภาษีเงินได้ส่วนบุคคลมาตราการดังกล่าวจะช่วยให้กระแสเงินสดของภาคธุรกิจมีมากขึ้นเพื่อนำไปหมุนเวียนในธุรกิจเพื่อรักษาธุรกิจให้รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะภาคธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม SME มีมากถึงร้อยละ 90ของธุรกิจที่จดทะเบียนในสปป.ลาวหากเกิดปัญหามีการปิดตัวไปหรือล้มละลาย จะทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรวมถึงแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลตระหนักจึงทำให้มีการยกเว้นภาษีขึ้นมาเพื่อรักษาระบบเศรษฐกิจในขณะนี้

ที่มา : https://www.aseanbriefing.com/news/laos-issues-tax-relief-measures-mitigate-covid-19-impact/

คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะหดตัวจากการผลิตการใช้จ่ายในประเทศลดลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวจะชะลอตัวลง เนื่องจากการผลิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะหดตัวประมาณร้อยละ 50 แม้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจะถูกควบคุมได้บางส่วนแล้ว แต่ด้วยความกังวลต่อโรคและมาตราการป้องกันต่างๆ ของรัฐไม่ว่าจะเป็นการให้ประชาชนกักตัวอยู่ที่บ้านร่วมถึงการให้โรงงานต่างๆ ปิดตัวลงชั่วคราวทำให้มีแรงงานบางส่วนตกงานและโรงงานขาดรายได้ไปชั่วคราวในขณะนี้ ซึ่งนักวิชาการสปป.ลาวด้านเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวว่า “ การคาดการณ์ว่าการเติบโตของจีดีพีในลาวจะลดลง 50% นั้นสมเหตุสมผล นอกจากการผลิตและการใช้จ่ายที่ลดลงแล้วภาคการท่องเที่ยวจะเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักร่วมถงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างโรงแรม ร้านอาหารก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง” ในขณะเดียวกันโครงการรถไฟที่เชื่อมต่อไปจีนที่มีกำหนดการแล้วเสร็จในปลายปีนี้ก็ต้องหยุดชะงักไปก่อน ดังนั้นจากปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาจะทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวหดตัวลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/growth-04102020151706.html

รัฐบาลเมียนมาเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลในการจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ได้ออกแถลงการณ์ว่าภาคเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำฉุกเฉินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเน้นไปที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โรงแรมและธุรกิจการท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับสิทธิพิเศษในการกู้ยืมเงิน สินเชื่อมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 สำหรับธุรกิจในหมวดหมู่นี้จะถูกเบิกจ่ายจากกองทุนจำนวน 100 พันล้านจัต ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล แบ่งออกเป็นทุนหมุนเวียน 50 พันล้านจัตและกองทุนสวัสดิการสังคม 50 พันล้านจัต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จะให้กู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผู้สมัครสินเชื่อต้องแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างรายได้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาและมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ หากไม่สามารถชำระคืนเงินกู้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สามารถสมัครได้ระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึง 9 เมษายน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ประกาศว่าบริษัทจะร่วมมือกับรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและช่วยให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการขอสินเชื่อรัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการด้วยว่าจะมีการยกเลิกภาษีล่วงหน้า 2% สำหรับการส่งออกจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-priority-sectors-emergency-loans-myanmar.html