‘ข้าวเวียดนาม’ ได้รับความนิยมพุ่งในตลาดยุโรป

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานทางสถิติพบว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าว จำนวน 53,910 ตัน เป็นมูลค่า 38.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.8% ในแง่ของปริมาณ และ 21.6% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 63 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศได้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลง EVFTA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และต้นทุนค่าขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้น ทั้งนี้ คุณ Nguyen Thi Hoang Thuy ที่ปรึกษาการค้าเวียดนามประจำประเทศสวีเดนและตลาดนอร์ดิก กล่าวว่านับตั้งแต่มีการบังคับใช้ข้อตกลง EVFTA ยอดการส่งออกในช่วง 9 เดือนของปีก่อน สูงถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเป็นรายปี โดยเฉพาะราคาส่งออกข้าวอยู่ที่ 781 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 20.3%

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-becomes-increasingly-popular-in-eu-market-post917338.vov

 

‘เวียดนาม’ เล็งเห็นศักยภาพของตลาดฮาลาลโลก

นาย Nguyen Quoc Dung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม กล่าวว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้และประเทศในแถบแปซิฟิกใต้ ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพด้วยจำนวนผู้บริโภคชาวมุสลิมมากเกือบ 860 ล้านคน (66% ของประชากรมุสลิมทั่วโลก) โดยเวียดนามมีจุดแข็งและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับเศรษฐกิจฮาลาลโลก รวมถึงอาหาร การท่องเที่ยว สิ่งทอ เภสัชกรรมและสื่อ
อีกทั้ง เวียดนามยังมีบทบาทสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศในระดับภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) 17 ฉบับ ตลอดจนข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ เช่น EVFTA และ RCEP โดยเฉพาะสินค้าที่มีข้อได้เปรียบ ได้แก่ ข้าว พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์และเมล็ดกาแฟ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงการใช้จ่ายสำหรับอาหารฮาลาล คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.1% จาก 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 63 มาอยู่ที่ 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567 นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าฮาลาลยังเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศ เนื่องจากชาวมุสลิมต่างชาติเดินทางมาเวียดนาม เพื่อมาทำงานและศึกษาเพิ่มขึ้น ทำให้ชุมชนชาวมุสลิมในเวียดนามก็เพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วย
ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1108848/viet-nam-sees-great-potential-in-global-halal-market.html

ข้อตกลงการค้าเสรี ‘EVFTA’ มอบโอกาสทางการค้าระหว่างเวียดนาม-เยอรมนี

การรวมตัวขององค์กรต่างๆ ที่งานสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสทางธุรกิจในเยอรมนี ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA)” ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศผ่านข้อตกลง EVFTA จัดโดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม และมูลนิธิฟรีดริช เนามัน (FNF) เยอรมนีเป็นผู้ซื้อสินค้าเวียดนามรายใหญ่อันดับที่ 2 ในหมู่สมาชิกของสหภาพยุโรป และอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลกในปีที่แล้ว ทั้งนี้ นาย Hoang Quang Phong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม กล่าวว่ายอดการค้าระหว่างเยอรมนีและเวียดนาม เพิ่มขึ้นจาก 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 และเมื่อทั้งสองประเทศได้บรรลุพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทำให้มูลค่าขึ้นแตะ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ทางสภาหอฯ เวียดนาม แนะให้ภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี EVFTA รวมถึงศึกษาข้อมูลทางการตลาดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/10917002-evfta-presents-opportunities-for-vietnam-germany-trade-seminar.html

‘ธุรกิจเวียดนาม-เช็ก’ แนะใช้ EVFTA อย่างมีประสิทธิภาพ

การประชุมโต๊ะกลมของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจและผู้บริหารธุรกิจระหว่างเวียดนาม-สาธารณรัฐเช็ก ณ กรุงปราก เมื่อวันที่ 10 พ.ย. มีมุมมองว่าธุรกิจเวียดนามและสาธารณรัฐเช็ก ควรยกระดับความร่วมมือเพื่อแสวงหาโอกาสสูงสุดจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป (EVFTA) และข้อตกลงการคุ้มครองการลงทุนเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVIPA) ทั้งนี้ แม้ว่าห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกหยุดชะงัก เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับสาธารณรัฐเช็ก เพิ่มขึ้น 22% ในปีที่แล้ว มีมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ การค้าทวีภาคีเพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นมูลค่า 936 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากผลประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสาธารณรัฐเช็กยังคงกังวลกับปัญหาหลายอย่าง ได้แก่ นโยบายการดึงดูดการลงทุนของเวียดนามและความซับซ้อนของการบริหาร ตลอดจนคุณภาพของสินค้าส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดสาธารณรัฐเช็กและยุโรป

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-czech-businesses-advised-to-effectively-utilise-evfta-904323.vov

 

“เวียดนาม” ส่งออกไปอียูพุ่ง 15.5%

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่ามูลค่าจากการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 22.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, รองเท้า, เครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้า, อาหารทะเล, กระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าของเวียดนามจากสหภาพยุโรป อยู่ที่ 9.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนามที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้เวียดนามได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-155-percent-rise-in-exports-in-eu-market/205702.vnp

‘EVFTA’ ผลักดันหนุนการส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดออสเตรเลีย

ยอดการค้าระหว่างเวียดนามและออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก 256.8 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2552 มาอยู่ที่ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 อย่างไรก็ดี เมื่อปีที่แล้ว จากการได้รับผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ยอดการค้ารวมลดลงเหลือเพียง 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และข้อสังเกตจากการค้า ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามเกินดุลการค้ากับออสเตรเลียมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 ทั้งนี้ ตามข้อมูลของศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (ITC) เผยว่ายอดการนำเข้าของออสเตรเลียจากเวียดนาม พุ่ง 184% เป็นมูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในบรดาตลาดนำเข้า 50 อันดับแรกของออสเตรเลีย โดยการเติบโตของการค้านั้น เป็นผลมาจากได้รับอนิสงค์จากความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA)

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/evfta-set-to-boost-vietnamese-exports-to-austrian-market-870415.vov

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้ ความตกลงการค้าเสรีของเวียดนาม ผลักดันการส่งออกและนำเข้า

ผู้เชี่ยวชาญ เผยไตรมาสแรก ยอดการส่งออกและนำเข้าของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี ได้รับแรงหนุนมาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) หากแบ่งออกเป็นการส่งออก เพิ่มขึ้น 22% และการนำเข้า 26.3% ทำให้เวียดนามเกินดุลการค้าราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งด้านการผลิตและการค้าในประเทศ ถึงแม้จะเผชิญโควิด-19 ระบาด ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. Pham Tat Thang อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าหลังจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ยอดการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ เพิ่มขึ้น 18% ในเดือนมกราคมจนถึงมีนาคม ปีนี้ ในขณะที่การส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/expert-vietnams-ftas-driving-up-exportsimports/201562.vnp

เวียดนามเผยราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่

ตามรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่ อยู่ที่ 567 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคายังคงปรับตัวสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค อาทิ ไทย อินเดียและปากีสถาน สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาข้าวขาวหัก 5% ส่งออกของเวียดนาม อยู่ที่ราว 513-517 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาข้าวขาวหัก 25% อยู่ที่ราว 488-492 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับข้าวประเภทเดียวกัน พบว่าราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทย 5-7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และแพงกว่าทั้งอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมมองว่าข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวของเวียดนาม ตลอดจนผลบังคับใช้ของข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามรุกตลาดยุโรป นอกจากนี้ นาย Dao The Anh รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร กล่าวว่าในปีนี้ จะเห็นแนวโน้มการเติบโตของการส่งออกข้าวในทิศทางที่ดี ทั้งในแง่ของมูลค่าและขีดความสามารถที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-records-new-price-peak-841926.vov

ผู้ประกอบการยุโรป มองสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในเวียดนามสดใส

การสำรวจดัชนีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของ EuroCham (BCI) ระบุว่าผู้ประกอบการยุโรปส่วนใหญ่มองสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของเวียดนาม อยู่ในแนวโน้มสดใส ซึ่งดัชนี BCI เพิ่มขึ้น 6 จุดในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 แตะ 63.6% ตลอดทั้งปี ถือว่าเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ BCI เติบโตได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้ เป็นผลมาจากความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และผลบังคับใช้ของข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม โดยปัจจัยทั้งสองดังกล่าว ช่วยให้ความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและกระตุ้นการทำธุรกิจ อีกทั้ง ตามการสำรวจของ EuroCham เผยว่าธุรกิจส่วนใหญ่ 57% เชื่อว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีเสถียรภาพและดีขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนั้น ประมาณ 70% ธุรกิจได้รับประโยชน์จาก EVFTA ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ธุรกิจราว 33% ชี้ว่าขั้นตอนการบริหารของทางราชการยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบจากข้อตกลงดังกล่าว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/eu-firms-show-optimism-on-vietnams-business-climate-in-2021-28010.html

การส่งออกยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 64

หลังจากเติบโตไปในทิศทางที่เป็นบวก 6.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในปี 2563 ภาคการส่งออกคาดว่ายังคงเป็นแรงคับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้ นายเหงียน ซวน ทัญ (Nguyen Xuan Thanh) นักเศรษฐศาสตร์และที่ปรึกษาสำนักงานนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเครือข่ายตลาดส่งออก จะช่วยให้เวียดนามชดเชยจากการสูญเสียการส่งออกไปยังตลาดดั้งเดิมที่ลดลง อาทิ สหภาพยุโรปหรืออาเซียน อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังสหรัฐฯ จะเผชิญกับอุปสรรคมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากเวียดนามเกินดุลการค้า 62.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว แต่ด้วยข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จะช่วยให้การค้าระหว่างประเทศดีขึ้น ทั้งนี้ ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เปิดเผยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ควรมีบทบาทมากขึ้นในการทำกิจกรรมระหว่างช่วงการบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามเป็นสมาชิกอยู่ รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมการค้าให้แก่ตลาดที่มีศักยภาพ และนำเทคโนโลยีมาใช้กับการค้าและอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/exports-set-to-remain-growth-driver-for-vietnam-in-2021-315931.html