‘เวียดนาม-ฟิลิปปินส์’ จับมือลงนามบันทึกข้อตกลงด้านการจัดหาข้าว

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์ เดินทางมาเยือนเวียดนาม เพื่อร่วมหารือที่จะลงนามข้อตกลงการค้าข้าวระหว่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ ซึ่งครอบคลุมระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า โดยทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันทำงานเพื่อส่งเสริมการค้าผลไม้และเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ กระทรวงการค้า ระบุว่าฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวและธัญพืชรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม นอกจากนี้ ไทยยังคงมองราคาข้าวในเชิงบวก และคาดการณ์ว่าราคาข้าวจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/general/2733029

‘เวียดนาม’ คาดส่งออกทุเรียน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นาย Nguyen Dinh Tung ผู้อำนวยการของบริษัท Vina T&T Group กล่าวว่าตลาดจีนเป็นเพียงตลาดเดียวที่มีการบริโภคทุเรียนสด จำนวน 400 ตู้คอนเทนเนอร์ในปี 2566 และบริษัทยังได้ลงนามในสัญญาส่งออกทุเรียนสดไปยังจีน จำนวน 2,000 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ปริมาณทุเรียนอาจไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก บริษัทจำเป็นที่จะต้องพร้อมสำหรับการส่งออกทุเรียน เพื่อบรรบุสัญญาณในปีนี้ ทั้งนี้ กรมศุลกากร (GDC) รายงานว่าในเดือน พ.ย.66 มูลค่าการส่งออกทุเรียนอยู่ที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.8 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ เวียดนามยังส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งและทุเรียนอบแห้งอีกด้วย และคาดว่าเวียดนามจะทำรายได้จากการส่งออกทุเรียนในปีนี้สูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vn-expected-to-earn-3-5-billion-from-durian-exports-2234891.html

 

เครือข่าย CCG สปป.ลาว จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์

สมาชิกของเครือข่าย Climate Compatible Growth (CCG) รวมตัวกันที่เวียงจันทน์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน สปป.ลาว ให้บรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ด้วยการสนับสนุนการพัฒนานโยบายพลังงานและการขนส่งตามหลักฐาน ภายใต้โครงการของ Climate Compatible Growth (CCG) และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (NUOL) โดยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปี CCG ของ สปป. ลาว ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมคราวน์ พลาซ่า เวียงจันทน์ การประชุมครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น การเงินสีเขียว การขนส่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ การสร้างแบบจำลองระบบพลังงานและประสิทธิภาพของวัสดุ สมาชิกของคณะผู้แทนได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมกับเพื่อนสมาชิกของเครือข่าย CCG ของ สปป. ลาว ขณะเดียวกันก็พบปะผู้ร่วมงานและเครือข่ายในอนาคตด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_21_Laos_makes_y24.php

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเริ่มขึ้นแล้วที่หลวงพระบาง สปป.ลาว

รัฐมนตรีต่างประเทศจาก 10 ชาติสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่หลวงพระบาง เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยการประชุมครั้งนี้เป็นหนึ่งในการประชุมครั้งแรกที่จัดขึ้นภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว โดยการประชุมได้หารือและสนับสนุนลำดับความสำคัญ ของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มการเชื่อมโยงและความแข็งแกร่งของอาเซียน องค์ประกอบการเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วยลำดับความสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) การบูรณาการและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (2) การสร้างอนาคตการมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน (3) การเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตดิจิทัล และ (4) การส่งเสริมวัฒนธรรมและศิลปะในอาเซียน องค์ประกอบความเข้มแข็งที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วยลำดับความสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) การสร้างแผนยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2045 (2) การเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียน (3) ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม (4) การเสริมสร้างบทบาทของสตรีและเด็ก และ (5) การปรับปรุงการสาธารณสุขในประเทศอาเซียน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_21_Asean_y24.php

มีการส่งออกสินค้ารายวันไปยังประเทศจีน ด้วยรถบรรทุกมากกว่า 800 คัน ผ่านทางกัมปะติ

U Myint Zaw Moe ผู้รับผิดชอบด่านการค้าชายแดนเมือง Lweje ของกรมการค้าภายใต้กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่า การค้าชายแดนเมียนมาร์-จีนผ่านกัมปะติ ในรัฐกะฉิ่น มีการขนส่งสินค้าส่งออกด้วยรถบรรทุกมากกว่า 800 คันต่อวัน ทั้งนี้ การส่งออกผ่านด่านการค้าชายแดน Lweje จากรัฐกะฉิ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของจีนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของรัฐกะฉิ่น และสินค้าจากภูมิภาคอื่น ๆ เช่น แตงโม มะม่วง ข้าว พริก หัวหอม ปลาแห้ง และข้าวโพด เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ และอาหารจะถูกนำเข้า ผ่านด่านชายแดน Lweje

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/daily-export-of-goods-transported-to-china-with-over-800-trucks-via-kampaiti/#article-title

แนวโน้ม FDI ในเมียนมาร์ : ภาคพลังงานเป็นผู้นำด้วยมูลค่า 374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัทรายงานว่าในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2566-2567 ภาคพลังงานกลายเป็นผู้รับการลงทุนจากต่างประเทศสูงสุด โดยดึงดูดเงินได้มากกว่า 374 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมา คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งมีรายได้ 112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคการขนส่งและการสื่อสารด้วยการลงทุน 77.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ ในทางตรงกันข้าม ภาคบริการมีการลงทุนน้อยที่สุดเพียง 0.809 ล้านดอลลาร์ ซึ่งโดยรวมแล้ว มีการลงทุนใน 7 ภาคส่วนมีมูลค่าทะลุ 602 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การลงทุนจากต่างประเทศลดลงอย่างมากเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีมูลค่าเพียง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งภูมิทัศน์การลงทุนของเมียนมาร์ประกอบด้วย 7 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การขนส่งและการสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ และการบริการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fdi-trends-in-myanmar-energy-sector-leads-with-us374m/#article-title