โรงกลั่นน้ำมันจำเป็นต้องดำเนินการเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศ

เมื่อบ่ายวานนี้ ในการเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันในเมือง Thanlyin เขตย่างกุ้ง ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพิจารณาต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงสำหรับความต้องการพลังงานในประเทศ และต้นทุนอื่นในการดำเนินงานโรงกลั่นของ ประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการพลังงานภายในประเทศ ซึ่งในขั้นต้นจะต้องเน้นไปที่การดำเนินงานโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) โดยมีแผนจะอัพเกรดเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน U Ko Ko Lwin และกรรมการผู้จัดการ U Aung Myint จาก Myanma Petrochemical Enterprise รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) การเตรียมการเพื่อให้เกิดความเพียงพอด้านพลังงานของประเทศโดยอาศัยการจัดตั้งแหล่งพลังงาน การผลิตน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ การปรับปรุงโรงงาน และความพร้อมของวัตถุดิบ นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (ตันลยิน) โรงกลั่นน้ำมัน (B) โรงงานน้ำมันหล่อลื่น และถัง LNG รวมทั้งได้สั่งให้เจ้าหน้าที่พยายามดำเนินการโรงกลั่นให้เร็วที่สุดเพื่อจัดหาความต้องการเชื้อเพลิงของประเทศในด้านหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/oil-refineries-need-soonest-operation-for-fulfilling-domestic-energy-requirement/

กัมพูชาส่งออกยางในช่วง ม.ค.-พ.ย. พุ่งแตะ 445 ล้านดอลลาร์

รายงานจาก General Directorate of Rubber (GER) ระบุว่ากัมพูชาส่งออกยางแห้งไปยังตลาดโลกรวมกว่า 334,176 ตัน สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2023 เพิ่มขึ้นในแง่ปริมาณร้อยละ 3.6 จากปริมาณ 322,586 ตัน เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้เข้าประทศกว่า 445.4 ล้านดอลลาร์ ลดลงในแง่ของมูลค่าร้อยละ 4.4 จากมูลค่า 465.8 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจุบันยางแห้งหนึ่งตันมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,333 ดอลลาร์/ตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 111 ดอลลาร์/ตัน สำหรับประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญของกัมพูชายังคงเป็นมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน ด้านการเพาะปลูกกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 407,172 เฮกตาร์ ซึ่งร้อยละ 78.6 ของพื้นที่เพาะปลูก หรือประมาณ 320,184 เฮกตาร์ สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501408025/cambodia-earns-over-445-million-from-rubber-exports-in-the-first-11-months/

มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การส่งออกสินค้าของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกของปี ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.2 หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 2.05 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานล่าของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐฯ เวียดนาม จีน ไทย และญี่ปุ่น โดยสหรัฐฯ ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาที่มูลค่าการนำเข้ารวม 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามและจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 37.8 และร้อยละ 18.5 ที่มูลค่า 2.61 พันล้านดอลลาร์ และ 1.31 พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ซึ่งเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จากการส่งออกกัมพูชามากที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501407510/cambodias-export-turnover-slightly-rises-in-11-months/

ผู้ประกอบการไทย-จีน MOU ซื้อขายมัน,กาแฟกว่า 5,430 ล้านบาท

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย-จีน ที่โรงแรม Wanda Vista Kunming นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ เกิดขึ้นตามนโยบาย Quick Win ของรัฐบาล ในการผลักดันการส่งออก โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าทางออนไลน์ล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าแป้งมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟ กับผู้นำเข้าสินค้าไทยในจีน (Thai-Yunnan Quick Win Business Matching and Networking) ซึ่งสามารถตกลงซื้อขายกันได้ และนำมาซึ่งการลงนามในครั้งนี้ ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้นำเข้าจีน โดยเป็นการตกลงสั่งซื้อสินค้าแป้งมันสำปะหลังและสตาร์ชที่ผลิตได้จากหัวมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟ คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,430 ล้านบาท

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/politics/news_654821/#google_vignette

‘รถไฟความเร็วสูงเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์’ คาดว่าจสร้างแล้วเสร็จในปี 2571

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงสายหนองคาย-เวียงจันทน์ (HSR) เชื่อมโยงการค้าไทย-จีน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2571 ภายใต้มูลค่าลงทุนประมาณ 3 พันล้านบาท มีระยะทาง 7.3 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และออกแบบโครงการขั้นสุดท้ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2567 ตามด้วยการประมูลก่อสร้างที่มีกำหนดการเริ่มเปิดประมูลในปี 2568 ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะมีระยะทางครอบคลุม 606 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ถึงหนองคาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการระยะแรก ซึ่งตั้งเป้าที่จะวางเส้นทาง 253 กิโลเมตรระหว่างกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา มูลค่าลงทุนกว่า 1.79 แสนล้านบาท ปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์ 28.6% ซึ่งความล่าช้าที่เกิดจากปัญหาการเวนคืนที่ดินได้ขัดขวางความคืบหน้าในการก่อสร้าง กระทบต่อลำดับเวลาของโครงการ ซึ่งตามหลักการแล้วควรจะอยู่ที่ 50% อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับส่วนเชื่อมต่อนครราชสีมาถึงหนองคายได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว กระทรวงฯ รอการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก รฟท. เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนต่างๆ เหล่านี้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศไทยและจีน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/12/15/high-speed-rail-linking-nong-khai-vientiane-expected-to-complete-in-2028/

สปป.ลาว-จีน ‘เล็งขยายทางด่วนเวียงจันทน์ถึงมณฑลยูนนาน’ เชื่อมการค้าและการลงทุน

นายหวัง ห่าว รองผู้ว่าการมณฑลยูนนานของจีนได้เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของ สปป.ลาว และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนโครงการความร่วมมือขยายทางด่วนจากนครหลวงเวียงจันทน์ ของ สปป.ลาว ถึงชายแดนมณฑลยูนนานของจีน จากเดิมที่มีทางด่วนเฟสที่ 1 เชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับวังเวียงที่เปิดให้ใช้งานมาตั้งแต่ปลายปี 2563 นอกจากนี้ สปป.ลาว ได้ขอให้ทางการจีนให้ความช่วยเหลือในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาและการจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หลังจากการค้าชายแดนระหว่าง สปป.ลาวและมณฑลยูนนานมีการเติบโตอย่างมาก จนถึงขณะนี้ มีบริษัทข้ามชาติจากมณฑลยูนนานมาลงทุนในลาวแล้วกว่า 297 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวม 4.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งสองฝ่ายยกย่องความสำคัญของทางรถไฟลาว-จีน ซึ่งเชื่อมโยงมณฑลยูนนานกับเมืองหลวงของลาวที่มีส่วนในการสนับสนุนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_244LaosChina_23.php