ส่งออกข้าวไทยพุ่งอินโดนีเซียเจอภัยแล้ง ชี้เป็นโอกาสพร้อมเร่งพัฒนาสายพันธุ์

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ติดตามข้อมูลสถานการณ์การค้าสินค้าข้าว พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม – ตุลาคม) อินโดนีเซียกลายเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับ 1 ของไทย สาเหตุหลักมาจากอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหาขาดแคลนข้าว เนื่องจากภัยแล้งที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมถึงฤดูมรสุมที่ล่าช้า ทำให้อินโดนีเซียปลูกข้าวได้น้อยลง

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/356781

การส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาร์มีรายได้ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 8 เดือน

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์สร้างรายได้มากกว่า 1.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามสถิติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 24 พฤศจิกายน ระบุว่าการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่าอยู่ที่ 1.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณ 286 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้ 2.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผู้ส่งออกเชื่อว่าการลดลงนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ อย่างไรก็ดี การส่งออกของประเทศครอบคลุมผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแบบตัดบรรจุ (CMP) และสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะที่ เมียนมาร์นำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และวัสดุสำหรับผลิตสินค้า CMP เป็นหลัก นอกจากนี้ ผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าว ข้าวหัก ถั่วและถั่ว ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และสินค้าเกษตรอื่นๆ โดยประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-exports-earn-us1-9-bln-in-eight-months/#article-title

‘ปราโมทย์’ เผยข้าวไทยขายดี รับอานิสงค์เวียดนาม

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่าข้าวไทยหลายพันธ์มีราคาสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ราคาข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000–9,500 บาทต่อตัน แต่ราคาข้าวในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12,000 บาทต่อตัน (344 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศพุ่งสูงสุดในรอบ 17 ปี

ในขณะที่นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่าความต้องการข้าวไทยจากบราซิลและฟิลิปปินส์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ จากการสอบถามไปยังโรงสีข้าวไทย พบว่าจากราคาข้าวของเวียดนามในขณะนี้ที่สูงกว่าราคาข้าวของไทย ประมาณ 70-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เนื่องจากผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอ

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20231205/thai-rice-sells-well-thanks-to-vietnam-association-president/77099.html

‘เวียดนาม-กัมพูชา’ เปิดให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code

นางเหงียน ทิ ห่ง (Nguyen Thi Hong) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศเวียดนาม และนางเจีย สะเร็ย (Chea Serey) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศกัมพูชา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. โดยเป้าหมายในครั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการชำระเงิน มีความปลอดภัยและมั่งคง รวมถึงส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนชาวกัมพูชาและเวียดนาม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวและพ่อค้าแม่ค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-cambodia-launch-crossborder-qr-payment-link/272312.vnp

โครงการลงทุน 3 โครงการ ได้รับการอนุมัติ สร้างงาน 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

ในการประชุมที่จัดขึ้นที่สำนักงานของรัฐบาลสหภาพในกรุงเนปิดอว์ คณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 3 โครงการ ที่จะมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คิดเป็นมูลค่า 0.180 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 300 พันล้านจ๊าด ซึ่งจะสร้างโอกาสในการทำงานในท้องถิ่น 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในวันที่ 1 ธันวาคม อย่างไรก็ดี จากต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2566 ใน 52 ประเทศและภูมิภาคที่ลงทุนในเมียนมาร์ ประเทศนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ จีน และไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ ในบรรดาธุรกิจ 12 ประเภทในเมียนมาร์ ร้อยละ 28.49 ของการลงทุนทั้งหมดไหลเข้าสู่ภาคพลังงาน ร้อยละ 24.44 ลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็น และร้อยละ 14.39 เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/three-invested-businesses-approved-to-generate-744-jobs-in-industrial-agricultural-sectors/

กัมพูชาเริ่มดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งใหม่

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำตาไตทางตอนบนของจังหวัดเกาะกง ขนาดกำลังการผลิต 150 เมกะวัตต์ คืบหน้าไปแล้วร้อยละ 31.5 โดยคาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 4 ปี และจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราว 527 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีเมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต และ Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา ได้เป็นประธานในพิธีปิดแม่น้ำเพื่อการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำในเฟสถัดไป ซึ่งใกล้กับเขื่อนในเขต Thmar Baing สำหรับโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเป็นสัญญาสิทธิ์ในการก่อสร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ (BOT) เป็นเวลา 39 ปี โดยได้รับการลงทุนจากบริษัท China National Heavy Machinery Corporation (CHMC) และจะขายกระแสไฟฟ้าให้กับองค์การไฟฟ้ากัมพูชาตลอดอายุสัญญา ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อเศรษฐกิจกัมพูชา และจะช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้ากระแสไฟฟ้า รวมถึงเป็นการเพิ่มเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้กับกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501400180/work-on-new-hydropower-plant-in-cambodia-goes-smoothly/

สนามบินแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญก่อสร้างแล้วเสร็จ 55%

โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญเสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 55 และคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2023 ตามกำหนดการที่สำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (SSCA) ได้กำหนดไว้ กล่าวโดย Sinn Chansereyvutha รองเลขาธิการ ซึ่งในเฟสแรกของการก่อสร้างสนามบินดังกล่าวใช้เงินลงทุนประมาณ 800 ล้านดอลลาร์ โดยหากสนามบินแห่งใหม่เริ่มดำเนินการ จะทดแทนสนามบินนานาชาติพนมเปญแห่งเก่าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน สำหรับสนามบินนานาชาติของกัมพูชารองรับผู้โดยสารทางอากาศรวม 4.11 ล้านคน ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมของปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 144 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งนับเป็นจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมด 41,596 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 93 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501399940/new-phnom-penh-airport-55-completed/

‘ภูมิธรรม’ มอบนโยบาย ‘กรมเจรจาฯ’ ลุยเปิด FTA กับตลาดใหม่ หนุนเกษตรกร SMEs เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ตรวจเยี่ยมและประชุมมอบนโยบายกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พร้อมด้วยนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ คณะที่ปรึกษา และคณะทำงาน โดยนายภูมิธรรม กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อขยายโอกาสให้สินค้าและบริการของไทย รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยเฉพาะสาขาเป้าหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภายในประเทศ จึงได้สั่งการให้กรมมุ่งการเจรจาเชิงรุกเพื่อเปิดประตูสู่ตลาดใหม่ๆ และจัดทำแผนการเจรจา FTA ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดลำดับความสำคัญและเร่งด่วน โดยคำนึงถึงประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและด้านยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหภาพยุโรป (อียู) ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรมากกว่า 447 ล้านคน สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (เอฟตา) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเป็นนักลงทุนในระดับโลก และเกาหลีใต้ ที่จะเตรียมเปิดเจรจาเพิ่มเติมในปี 2567 ซึ่งจะช่วยสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีความเข้มแข็งในการผลักดัน Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

ที่มา : https://www.dtn.go.th/th/content/category/detail/id/22/iid/12547