สภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน พร้อมร่วมมือลงทุนสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ขับเคลื่อนนโยบายอุตฯ 4.0

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมหารือคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) พร้อมร่วมมือกับรัฐบาลไทยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งยกภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 และสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนในไทยต่อไป นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) นำโดยนายไมเคิล มิคาลัก รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการภูมิภาค สภาธุรกิจ USABC พร้อมด้วยนักธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯ และผู้แทนจากบริษัท รวม 38 บริษัท ได้เข้าหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมแบบกึ่งออนไลน์ โดยพร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนรัฐบาลไทยเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ทั้งนี้การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องสร้างปัจจัยแวดล้อมเพื่อรับรองการทำธุรกิจยุคดิจิทัล

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3184086

Apple ย้ายสายการผลิต iPad MacBook ไปยังเวียดนาม

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่าฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน (จีน) ดำเนินแผนที่จะย้ายสายการผลิตทั้ง iPad และ MacBook จากจีนไปเวียดนามตามคำร้องของ Apple บริษัทเทคยักษ์ใหญ่ โดยสายการผลิตใหม่ดังกล่าว คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ในขณะเดียวกัน สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ได้ยืนยันว่าพันธมิตรด้านการผลิตของ Apple พยายามเพิ่มกำลังการผลิต iPhone ในอินเดีย ขณะเดียวกัน ธุรกิจสายประกอบ AiriPod ได้เพิ่มสายการผลิตใหม่ในเวียดนาม ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Phonearena.com ระบุว่าการย้ายฐานการผลิตครั้งล่าสุดนั้น จะช่วยให้ Apple สามารถกระจายการผลิตออกไปจากจีน เพราะฉะนั้น จึงช่วยลดผลกระทบในเขิงลบจากความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาที่กำลังดำเนินอยู่

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/apple-to-move-ipad-macbook-assembly-lines-to-vietnam-824736.vov

‘แบงก์ชาติ’ โต้สหรัฐ เวียดนามบิดเบือนค่าเงิน

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) แถลงการณ์เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ว่าการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อยู่ภายใต้กรอบนโยบายการเงินแบบทั่วไป มีเป้าหมายเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค และไม่สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลข้างต้นนั้น เพื่อโต้กระทรวงการคลังสหรัฐ ที่ระบุว่าเวียดนามกับสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศบิดเบือนค่าเงิน ทั้งนี้ ทางธนาคารกลางเวียดนาม เปิดเผยว่าการเกินดุลการค้ากับสหรัฐและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง อีกทั้ง ประเด็นในการการเข้าซื้อสกุลเงินต่างชาติ ธนาคารกลางเวียดนามมีเป้าหมายเพื่อให้ตลาดเงินตราต่างประเทศมีความราบรื่น มีส่วนช่วยในการรักษาเสียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและการสำรองเงินตราต่างประเทศ

  ที่มา : https://vietreader.com/business/27250-vietnam-rejects-currency-manipulator-label.html

COVID-19 กระทบส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังไทย

ปีงบประมาณนี้ การส่งออกข้าวโพดของเมียนมาไปยังไทยอาจลดลงเนื่องจากการระบาดของโควิด -19 ตลาดจะหดตัวในปีหน้าความล่าช้าอาจเกิดขึ้นได้ในการขนส่งจากเมียวดีไปยังไทยในช่วงที่โควิด -19 ระบาด แนวทางการป้องกัน COVID-19 ผู้ขับรถบรรทุกต้องได้รับการกักกัน 14 วัน ดังนั้นจึงมีคนขับน้อยซึ่งทำให้ไม่เพียงพอ ทั้งยังได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการเมืองของไทย เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศจีนถูกระงับตั้งแต่ปี 61 ผลผลิตข้าวโพดถูกส่งออกไปไทยมากกว่าหนึ่งล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตันในปีก่อนหน้า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-maize-exports-thailand-take-hit-due-covid-19.html

สปป.ลาวสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้น

สปป.ลาวจำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมให้มากขึ้นพื่อพัฒนาให้กลายแหล่งศึกษาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและป่าได้มีการส่งเสริมให้มีการผลิตกาแฟคุณภาพของสหกรณ์ผู้ผลิตกาแฟ Bolaven Plateau ในแขวงจำปาสัก กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรจะช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนได้อย่างมหาศาล ในช่วงเวลาของการระบาดของ COVID -19 ในหลายประเทศทั่วโลกทำให้สปป.ลาวสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจึงเกิดการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศเกิดขึ้น เป็นโอกาสสำหรับนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่จะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศและทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ การส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับเกษตรกรรมยังมุ่งปรับปรุงมาตรฐานของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมทั้งดึงดูดการลงทุนในการพัฒนาการท่องเที่ยวมากขึ้น สปป.ลาวยังคงมองการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไม่ใช่การลงทุน แต่การพัฒนาในภาคเกษตรกรรมการส่งเสริมดังกล่าวจึงทำให้สปป.ลาวได้รับประโยชน์ท้ะงในด้านการได้พัฒนาการท่องเที่ยวในขณะเดียวกันภาคเกษตรกรรมก็เติบโตควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos246.php

ผลผลิตข้าวของกัมพูชาในช่วงฤดูฝนคาดว่าจะสูงถึง 8.5 ล้านตัน

แม้จะมีภัยน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ของกัมพูชาแต่ผลผลิตข้าวในฤดูฝนคาดว่าจะมีสูงถึง 8.5 ล้านตันภายในปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้ให้ข้อมูลล่าสุดหลังจากการติดตามการอภิปรายข้อมูลผลผลิตข้าวล่าสุดกับหน่วยงานในจังหวัด ซึ่งการเก็บเกี่ยวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,122 ตันต่อเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 3,095 ตันต่อเฮกตาร์ในปีที่แล้ว โดยรัฐมนตรีกล่าวว่าประมาณร้อยละ 89 หรือ 57,557 เฮกตาร์ของพื้นที่นาข้าวทั้งหมดใน 19 จังหวัด ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันครั้งล่าสุด นอกจากนี้กระทรวงยังได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนหลายพันตันให้กับชาวนาเพื่อนำไปเพาะปลูกในพื้นที่นาที่ได้รับการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ซึ่งตัวเลขจากสมาพันธ์ข้าวกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าในช่วง 11 เดือนของปี 2020 การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 17 โดยมีปริมาณรวม 601,045 ตัน คิดเป็นมูลค่า 415 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50794313/wet-season-rice-yield-expected-to-reach-8-5-million-tonnes-this-year/

ธนาคารโลกคาดการเศรษฐกิจกัมพูชาโต 4 เปอร์เซ็นต์ในปีหน้า

ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจกัมพูชาจะหดตัวร้อยละ 2 ในปี 2020 แต่คาดว่าจะกลับมาเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4 ในปี 2021 ตามรายงานเกี่ยวกับการฟื้นตัวของธนาคารโลก (Restrained Recovery) ซึ่งเป็นการอัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดของธนาคารโลกสำหรับกัมพูชาที่เผยแพร่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ด้วยการผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางสังคม กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศจึงค่อยๆ กลับคืนสู่สภาวะปกติ โดยการบริโภคส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากการแทรกแซงของรัฐบาล ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ การไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศไปยังโครงการในอุตสาหกรรมนอกภาคเครื่องนุ่งห่มและการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าการส่งออกโดยรวมจะได้รับผลกระทบจากโรคระบาด แต่การส่งออก จักรยาน ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนยานยนต์ เพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งออกข้าวและสินค้าเกษตรอื่นๆ ก็พุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยนักท่องเที่ยวภายในประเทศได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบางส่วน

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50794321/world-bank-cambodias-economic-growth-projected-to-grow-by-four-percent-next-year/

5 สัญญาณบ่งชี้จากเวียดนาม ที่ไทยต้องเร่งยกระดับความสามารถในการแข่งขัน

โดย ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ I ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน I Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในบทความก่อน ๆ เราเคยมีการพูดถึงแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (scarring effects) ที่วิกฤต COVID-19 จะทิ้งผลกระทบไว้กับเศรษฐกิจไทย ซึ่งเราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องค่อย ๆ จัดการกับแผลเป็นเหล่านี้ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบททางธุรกิจและเศรษฐกิจหลัง COVID-19

นอกจากเรื่องของแผลเป็นแล้ว COVID-19 ยังจะเป็นตัวเร่งสำคัญหนึ่ง ร่วมกับสงครามการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงการเร่งตัวของการใช้ digital technology ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่การผลิตของโลก (global supply chain rearrangement) ซึ่งมีการคาดกันว่าส่วนหนึ่งจะทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตออกมาจากจีนเพื่อลดความเสี่ยงการกระจุกตัวของฐานการผลิต

คำถามคือแล้วบริษัทที่จะย้ายฐานการผลิตออกมาจากจีนซึ่งมีทั้งบริษัทขนาดใหญ่และเล็ก และเป็นบริษัทจากหลายประเทศจะย้ายฐานการผลิตไปที่ไหน ภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะได้รับประโยชน์ และจากการศึกษาของ SCB EIC ก็พบว่าเวียดนามจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลบวกจากการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานออกจากจีนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องด้วยความสามารถทางการแข่งขันของเวียดนามที่เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านต้นทุนค่าแรง การพัฒนาทุนมนุษย์ ที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้กับจีน สิทธิประโยชน์ทางภาษี ข้อตกลงทางการค้ากับนานาประเทศ และโครงสร้างการส่งออก

ดังนั้น EIC จึงยังคงมุมมองทางบวกต่อเศรษฐกิจเวียดนามในระยะกลาง สำหรับไทย แน่นอนว่าเราจำเป็นต้องเร่งยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่พูดกันมานานแล้วแต่อาจจะยังไม่ค่อยได้ทำ (execute) กันมากเท่าที่พูด แต่มาถึงจุดนี้เราช้าไม่ได้แล้วครับ และ EIC ขออนุญาตชี้ถึงสัญญาณน่ากังวล 5 ข้อ เปรียบเทียบระหว่างเวียดนามและไทยที่บ่งชี้ว่าเราต้องรีบแล้วครับ

สัญญาณแรก : มูลค่า FDI เข้าเวียดนามเติบโตสูงและเข้าลงทุนในภาคการผลิตเป็นหลัก ในขณะที่ FDI เข้าไทยค่อนข้างผันผวน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นและจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ลงทุนหลักในไทยยังขยายการลงทุนในเวียดนามมากขึ้นในระยะหลัง

สัญญาณที่สอง : เวียดนามได้พัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกอย่างมีนัย

สัญญาณที่สาม : ช่องว่างระหว่างค่าแรงไทยและเวียดนามมีแนวโน้มลดลงในระยะข้างหน้า เนื่องจากกำลังแรงงานในไทยลดลงต่อเนื่อง สวนทางกับผลิตภาพแรงงานเวียดนามที่เติบโตสูงขึ้น

สัญญาณที่สี่ : ความสามารถทางการแข่งขันของเวียดนามด้านทักษะทางวิชาการและวิชาชีพคาดว่าจะพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

สัญญาณที่ห้า : เวียดนามมีข้อตกลงการค้าที่ครอบคลุมประเทศคู่ค้ามากกว่าไทย

ประเทศไทยจึงต้องเร่งนำยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง (Execution) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเป็นสิ่งจำเป็นที่ได้ผ่านการถกเถียงและวิเคราะห์มาเป็นเวลานานและเป็นวงกว้าง ในด้านผลิตภาพแรงงาน ปัญหาทักษะแรงงานที่ไม่ตรงความต้องการตลาดและคุณภาพการศึกษาเป็นประเด็นสำคัญในวงสัมมนาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ในช่วง 2-3 ปีล่าสุด การเพิ่มทักษะและปรับเปลี่ยนทักษะแรงงาน (Upskill and Reskill) ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดก็เป็นประเด็นสำคัญในเวทีเสวนาต่าง ๆ จำนวนมาก ในประเด็นของข้อตกลงทางการค้า ประเทศไทยในปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาสนธิสัญญาการค้าใหม่หลายฉบับ แต่ตราบใดที่เรายังไม่ได้นำเอายุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถไปปฏิบัติ หรือบรรลุข้อตกลงทางการค้า ผลประโยชน์จากการศึกษาก็จะไม่เกิดขึ้นจริง

อ่านต่อ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7283