‘ตะวันออกกลาง’ ผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลุ่มประเทศในตะวันออกกลางกลายมาเป็นผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและกลุ่มตลาด CPTPP และเวียดนามมีสัดส่วนการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพียง 10% ของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าทั้งหมด โดยจากตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร ชี้ให้เห็นว่าเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง มูลค่า 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศอิสราเอล เลบานอน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และตุรกี เพิ่มขึ้น 37%, 17%, 23% และ 73% ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดอื่นๆ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อียิปต์และซาอุดีอาระเบีย ลดลง 47% และ 78%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650464/middle-east-the-fourth-largest-importer-of-vietnamese-tuna.html

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล สปป.ลาว แนะนำทุกภาคส่วนร่วมกันปรับปรุงการท่องเที่ยว

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล สปป.ลาว ได้แนะนำให้ภาครัฐและเอกชนสร้างการเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว และบริการที่โรงแรม รวมถึงร้านอาหาร  ศาสตราจารย์ ดร.กิแก้ว เคยคำพิทูน รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมเพื่อรายงานผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ประจำปี 2566 ว่า ควรมีการปรับปรุงเพื่อให้มั่นใจในการบริการที่มีคุณภาพ พัฒนากิจกรรมและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ของประเทศ ตลอดจนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยรัฐบาลและภาคธุรกิจควรร่วมมือกันในการโฆษณา พัฒนา และจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การเกษตร และความยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น สิ่งนี้จะกระตุ้นให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว และใช้ผลิตภัณฑ์ของลาว รวมถึงช่วยให้แน่ใจว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดได้รับการควบคุมที่ดีขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_32_DPM_y24.php

สปป.ลาว เปิดตัวระบบการเงินใหม่ เพื่อส่งเสริมการจัดการเงินตราต่างประเทศ

กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ และธนาคารแห่ง สปป. ลาว จะร่วมกันใช้ระบบทางการเงินใหม่ เพื่อช่วยติดตามและจัดการการไหลของเงินตราต่างประเทศในประเทศลาว ระบบนี้เรียกว่า Capital Flow Management System (CMS) ซึ่งจะเชื่อมโยงการจดทะเบียนธุรกิจ รหัส Asycuda และธุรกรรมของผู้ส่งออกและนักลงทุนกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางของ สปป.ลาว ระบบนี้ยังจัดให้มีแดชบอร์ดสำหรับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามมูลค่าและผลิตภัณฑ์ของกิจกรรมการส่งออกและนำเข้า นอกจากนี้ ระบบจะมอบสิทธิประโยชน์หลายประการให้กับภาครัฐ ผู้ประกอบการ และธนาคาร ให้ได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการชำระเงินจากปลายทางที่เฉพาะเจาะจง วางแผนรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ลดเวลาในการโต้ตอบกับธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสินค้าและเวลาที่มาถึง สรุปบัญชีการลงทุนต่างประเทศในรูปแบบวัสดุและเงินสด และตรวจสอบข้อมูลกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องแบบเรียลไทม์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_32_New_y24.php

รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรแตะ 2.8 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์มีมูลค่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงจาก 3.108 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยลดลงประมาณ 301.79 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-export-earnings-hit-us2-8-bln-in-past-ten-months/

ราคาขายส่งอ้างอิงน้ำมันปาล์มของย่างกุ้ง ลดลงเล็กน้อย

ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันบริโภค รายงาน อัตราขายส่งอ้างอิงน้ำมันปาล์มสำหรับตลาดย่างกุ้งถูกกำหนดให้ลดลงรายสัปดาห์ที่สองตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 18 กุมภาพันธ์อยู่ที่ 5,140 จ๊าดต่อ viss ซึ่งบ่งชี้ว่าลดลงเล็กน้อยที่ 135 จ๊าดต่อ viss เมื่อเทียบกับของสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 5,275 จ๊าดต่อ viss อย่างไรก็ดี คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคา FOB ในมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด โดยเพิ่มค่าขนส่ง ภาษี และบริการทางธนาคาร เพื่อกำหนดอัตราอ้างอิงตลาดขายส่งรายสัปดาห์สำหรับน้ำมันบริโภค ทั้งนี้กระทรวงกำลังพยายามร่วมกันควบคุมความผันผวนสูงของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดค้าปลีก และเสนอราคาที่ยุติธรรมมากขึ้นแก่ผู้บริโภค โดยประสานงานกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาร์และบริษัทนำเข้าน้ำมัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-price-falls-at-small-pace/#article-title

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาในช่วงเดือน ม.ค. 2024 ขยายตัวกว่าร้อยละ 16.7

ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาแตะมูลค่ารวม 4.05 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. ปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.7 จากมูลค่า 3.47 พันล้านดอลลาร์ ที่ได้บันทึกไว้ในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นการส่งออกรวมของกัมพูชามูลค่า 1.96 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ขณะที่การนำเข้ารวมอยู่ที่ 2.09 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 8.7 ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ตามมาด้วยเวียดนาม สหรัฐฯ ไทย และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าส่งออกหลักยังคงเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว จักรยาน ยางแห้ง ข้าวสาร กล้วย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง และลำไย ด้านสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสินค้าท่องเที่ยว รวมถึงปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไปจนถึงสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439008/cambodias-international-trade-up-16-7-pct-in-january/

รายได้จากภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาในปี 2023 แตะ 3 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชามีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวในช่วงปี 2023 มูลค่ารวมกว่า 3.03 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 115 จากมูลค่า 1.41 พันล้านดอลลาร์ ที่ได้บันทึกไว้ในช่วงปี 2022 ซึ่งหากวัดเป็นปริมาณคิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.43 ล้านคน ในช่วงเวลาดังกล่าว คิดเป็นการขยายตัวถึงร้อยละ 139.5 รายงานโดยกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาเมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกัมพูชาหลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าการเติบโตจะยังไม่ถึงระดับที่ทำได้ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อภายในประเทศที่ดีขึ้น เป็นส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนกัมพูชามากขึ้น โดยเสริมว่ากระทรวงและภาคเอกชนกำลังเร่งทำงานร่วมกัน เพื่อปรับปรุงบริการด้านการท่องเที่ยวและสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้สอดรับกับความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501438735/kingdom-earns-3-billion-from-tourism-in-2023/

‘ท่าอากาศเติ่นเซินเญิ้ต’ รองรับผู้โดยสารทะลุ 126,000 คน นับเป็นวันที่สามของเทศกาลเต็ต

ท่าอากาศยานนานาชาติเติ่นเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat International Airport) มีเที่ยวบินเกือบ 800 เที่ยวบินในวันที่ 12 ก.พ. นับว่าเป็นวันที่สามของเทศกาลเทศกาลเต๊ด (Tet) และรองรับผู้โดยสารมากกว่า 126,000 คน โดยจากเที่ยวบินที่ให้บริการทั้งหมด 766 เที่ยวบินเมื่อวานนี้ มี 386 เที่ยวบินเป็นเที่ยวบินขาออก และ 390 เที่ยวบินมาถึงสนามบินในนครโฮจิมินห์ จำนวนผู้โดยสารภายในประเทศที่ขาเข้าและขาออก มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 63,000 คนต่อเส้นทาง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/tan-son-nhat-handles-over-126000-passengers-on-third-day-of-tet/

‘เวียดนาม’ เผยผปก. SMEs เติบโตบนแพลตฟอร์มอเมซอน ดันส่งออกโต 50%

จากรายงานของแพลตฟอร์มชื่อดัง ‘อเมซอน (Amazon)’ เปิดเผยว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของเวียดนาม เล็งเห็นถึงประโยชน์จากแพลตฟอร์มอเมซอน ทั้งการเพิ่มยอดขายของสินค้าและการสร้างแบรนด์ให้สามารถตีตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งจากข้อมูลสถิติพบว่ายอดการส่งออกของคู่ค้าเวียดนามบนแพลตฟอร์มอเมซอน ขยายตัวกว่า 50% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะสินค้าในหมวดของใช้ในครัว สุขภาพ เครื่องแต่งกายและความงามที่กลายเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้มากที่สุดบนแพลตฟอร์มอเมซอน และมีแนวโน้มที่จะผลิตและส่งออกสินค้าประเภทอื่นๆ ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น

ทั้งนี้ อีคอมเมิร์ซเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการส่งออกของธุรกิจเวียดนาม โดยจำนวนพันธมิตรการขายบนแพลตฟอร์มของอเมซอน เพิ่มขึ้นมากกว่า 40% และขยายไปสู่ธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่ผู้ค้าปลีกที่มีชื่อเสียงอย่าง ‘Lamer’ ไปจนถึงผู้ผลิตแบบดั้งเดิม ‘Beefurni’ และสตาร์ทอัพอย่าง ‘Tidita’ และ ‘Abera’ ได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคต่างประเทศ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650393/vietnamese-smes-thrive-on-amazon-export-growing-50.html

สมาคมกาแฟเมียนมาเสนอการแปรรูปกาแฟขั้นกลาง ในเมือง PyinOoLwin

สมาคมกาแฟเมียนมา (MCA) จะจัดหลักสูตร Coffee Processing Intermediate Course และชั้นเรียน CQI Intro PHP (Coffee Quality Institute – ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการหลังเก็บเกี่ยว) ที่ MCA Knowledge Center และโรงงานกาแฟ MCG ในเมือง PyinOoLwin  ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งหลักสูตรเร่งรัดเหล่านี้จะนำเสนอความรู้และมาตรฐานของการแปรรูปกาแฟเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากลสำหรับเมล็ดกาแฟ วิธีการแปรรูป และผลิตภัณฑ์ของกาแฟผ่านแนวทางเชิงปฏิบัติและทางเทคนิค ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรองการสำเร็จหลักสูตร CQI Post-Harvest Processing Class ค่าเรียนอยู่ที่ 450,000 จ๊าด และหลักสูตรระดับกลางในการแปรรูปกาแฟรอบที่สองจะเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 26 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีค่าธรรมเนียม 600,000 จ๊าด โดยสมาชิกที่ชำระค่าสมาชิกรายปีแล้ว จะได้รับส่วนลด 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม หลักสูตรยังครอบคลุมถึงประวัติความเป็นมาของกาแฟ การแปรรูปกาแฟ หลักการพื้นฐานและแนวปฏิบัติของมาตรฐานกาแฟ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแปรรูปกาแฟ ลักษณะของเมล็ดกาแฟสุก วิธีการเก็บเกี่ยวและคุณประโยชน์ของกาแฟ การวิเคราะห์ตัวอย่างเมล็ดกาแฟและการควบคุมคุณภาพ อุปกรณ์ในการ วัดความชื้นของกาแฟและเครื่องวัดการหักเหของแสงเพื่อทดสอบปริมาณน้ำตาลและทดสอบการสุกของกาแฟ และวิธีการแปรรูปกาแฟตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การคั่ว ไปจนถึงการต้มเบียร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-coffee-association-to-offer-intermediate-coffee-processing-cqi-intro-php-class-in-pyinoolwin/#article-title