เม็ดเงินลงทุน 564 ล้านดอลลาร์สหรัฐในนิคมอุตสาหกรรม Da Nang Hi-Tech Park

นิคมอุตสาหกรรม Da Nang Hi-Tech Park (DHTP) ได้เปิดตัวในปี 2556 ฐานะศูนย์กลางสีเขียวและการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง จนสามารถดึงดูดโครงการลงทุน 18 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) 9 โครงการ ด้วยเงินทุนรวม 564 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ผู้อำนวยการของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ระบุว่านิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวถูกออกแบบให้เป็น 1 ใน 3 ของนิคมอุตสาหกรรมหลักที่สามารถใช้งานได้หลายประเภท ตามมาด้วยกรุงโฮจิมินห์และฮานอย รวมถึงมีจำนวนธุรกิจ FDI 4 แห่ง ประกอบไปด้วยบริษัทญี่ปุ่น 2 ราย, บริษัทเกาหลีใต้ 1 ราย และบริษัทสหรัฐฯ 1 ราย ที่ได้ตัดสินใจทุ่มเงินลงทุน 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและตลาดในประเทศ รวมถึงมีนักลงทุนในประเทศอีก 2 ราย ได้แก่ Long Hau company และ Bien Dong electric automation technology company ทั้งนี้ จากรายงานของคณะกรรมการ ระบุว่า UAC ได้ลงทุนก่อสร้างโรงงาน 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ ซึ่งได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างแล้วและเริ่มต้นการผลิตในสิ้นปี 2562 นอกจากนี้ เมืองแห่งนี้ได้เรียกร้องให้มีการลงทุนจาก Silicon Valley และธุรกิจจากสหรัฐฯที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค การศึกา อสังหาริมทรัพย์และยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม DHTP และ IZs

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/653256/564-million-poured-in-da-nang-hi-tech-park.html

สนง.สถิติแห่งชาติเผยผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรกโต แม้เผชิญกับโควิด-19

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) คาดว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมร้อยละ 9 และ 10.45 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 และ 2561 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เป็นภาคที่มีสัดส่วนมากที่สุดของอุตสาหกรรมในประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 ทั้งนี้ หากไม่เกิดสถานการณ์ของการแพร่ระบาดไวรัส จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปจะขยายตัวร้อยละ 10.47 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัส ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ ทางสำนักงาน GSO ระบุว่าปัจจัยที่ทำให้การผลิตในประเทศมีเสถียรภาพนั้น ภาครัฐฯควรจัดการกับกิจกรรมการค้า โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าและตลาดสำคัญ รวมถึงการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตและผู้ค้าและส่งเสริมธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดเงินทุนจากการแพร่ระบาดของไวรัส โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เหล็กและอาหารแปรรูป

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/industrial-production-grows-in-first-quarter-if-covid19-ends-gso-411042.vov

ผลสำรวจชี้ 74% ธุรกิจล้มละลายจากการแพร่ระบาดของไวรัส

ผลการสำรวจของคณะกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเอกชน ภายใต้สภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ระบุว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 กินเวลานานกว่า 6 เดือน ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 73.8 ล้มละลาย โดยจากการสำรวจบริษัทมากกว่า 1,200 ราย ในช่วงวันที่ 2-3 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก ด้วยจำนวนพนักงานน้อยกว่า 100 คน และร้อยละ 98.2 ได้รับผลกระทบเชิงด้านลบจากการแพร่ระบาดของไวรัส ขณะที่ มีเพียงร้อยละ 9.2 ที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก จากการสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าธุรกิจร้อยละ 19 ได้เตรียมมาตรการมารองรับผลกระทบในเชิงลบ ในขณะที่ร้อยละ 7.2 มองหาตลาดใหม่, ร้อยละ 2.4 ยกระดับคุณภาพบริการสูงขึ้น และร้อยละ 1.7 ใช้เวลานี้ในการฝึกอบรมพนักงาน ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัทได้เสนอ 3 ข้อแก่รัฐบาล ได้แก่ ช่วยเหลือปัญหาและอุปสรรคที่บริษัทเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัส ตามมาด้วยการดำเนินนโยบายเฉพาะอย่างที่ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมากในแง่ของภาษี และการส่งเสริมสินเชื่อและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/nearly-74-percent-of-firms-to-go-bankrupt-if-epidemic-lingers-survey-411041.vov

รัฐมนตรีเร่งให้ทางจังหวัดทั่วประเทศแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) ได้ขอความร่วมมือหน่วยงานประจำ 28 จังหวัดชายทะเล เพื่อส่งเสริมในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม (IUU) ซึ่งอาจช่วยให้ภาคการประมงเวียดนามได้ปลดใบเหลืองภายในปีนี้ หลังจากการประชุมของคณะกรรมมาธิการยุโรปครั้งที่ 3 ในช่วงกลางปีนี้ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามคำแนะนำของฝ่ายคณะฯยุโรป ซึ่งหากทีมตรวจสอบของคณะกรรมการดังกล่าว มองว่าเวียดนามยังคงทำการประมงที่ผิดกฎหมายอยู่ในครั้งที่ 3 ปีนี้ ส่งผลให้เวียดนามไม่สามารถปลดใบเหลืองได้ และอาจได้รับใบแดง (ห้ามนำเข้า) ด้วยเหตุนี้ รัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงานชายฝั่งทะเล เพื่อต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมายและการดำเนินกฎหมายด้านการประมงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเข้า-ออกของเรือประมง การตรวจสอบย้อนกลับสำหรับแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น โดยหลังจากการตรวจสอบ พบว่าคณะทำงานยุโรปยอมรับถึงความโปร่งใสในการทำงานและการให้ความร่วมมือมากขึ้นของเวียดนาม และในปัจจุบันเวียดนามยังคงทำตามคำแนะนำของคณะทำงานยุโรป อาทิ การติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และเผยแพร่ข้อบังคับกับเจ้าของเรือ รวมถึงจัดเตรียมอุปกรณ์ทำเครื่องหมายบนเรือ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/653114/minister-urges-provinces-to-boost-fight-against-iuu-fishing.html

ฮว่า ฟ้าด (Hoa Phat) ส่งออกเหล็กเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 3 เท่าต่อปี

บริษัทฮว่า ฟ้าด (Hoa Phat) ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ระบุว่าในเดือนกุมภาพันธ์ มีปริมาณการส่งออกมากกว่า 40,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ ยอดส่งออกไปยังแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างมาก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.4 ของการส่งออกรวม รองลงมาไทยและมาเลเซีย สำหรับยอดขายเหล็กก่อสร้างของบริษัทในเดือนที่แล้ว แตะระดับ 205,000 ตัน ทำให้ยอดขายรวมในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 381,000 ตัน รวมถึงปริมาณการส่งออก 69,000 ตัน ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน ผู้ผลิตเหล็กได้วางแผนที่จะทดสอบสายการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของบริษัท โดยในปี 2562 บริษัทดังกล่าวมีปริมาณส่งออกเหล็กก่อสร้างมากกว่า 265,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน กัมพูชาเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ที่สุดของบริษัท รองลงมาญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย ซึ่งกลุ่มประเทศข้างต้นมีความต้องการสินค้า แสดงให้เห็นจากขีดความสามารถและคุณภาพสินค้าของบริษัทฮว่า ฟ้าด ในตลาดโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hoa-phat-s-february-steel-exports-almost-triple-year-on-year/169637.vnp

ดัชนีอุตฯ IIP เพิ่มขึ้น 6.2% ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อกิจกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งไวรัสข้างต้นส่งผลต่อแหล่งวัตถุดิบนำเข้าจากจีนในอุตสาหกรรมบางอย่าง หากจำแนกภาคอุตสาหกรรม พบว่าภาคแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4, การผลิตไฟฟ้าและจำหน่าย (+8.4%), น้ำประปาและบำบัดน้ำเสีย (+4.9%) แต่การขุดเหมือง (-3.7%) อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญบางอย่างที่อยู่ในธุรกิจ FDI มีการผลิตขยายตัวสูงขึ้น อาทิ ชิ้นส่วนโทรศัพท์เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 30, โทรศัพท์มือถือ (+25.5%), สมาร์ทโฟน (+3.2%), ถ่านหินสะอาด (+10.3%) และการผลิตไฟฟ้า (+8.6%) นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของสำนักงาน GSO ระบุว่าจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่รัฐและธุรกิจ FDI จากข้อมูลข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการพร้อมที่จะฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ผ่อนคลายลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/iip-rises-62-in-first-two-months-410915.vov

ราคาส่งออกข้าวพุ่ง ตามความต้องการเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าเมื่อไม่นานมานี้ ราคาส่งออกข้าวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นของตลาดบางแห่ง อาทิ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นต้น ทางตลาดมาเลเซียได้ตกลงที่จะซื้อธัญพืชจากเวียดนาม 90,000 ตัน และจะนำเข้าเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า สำหรับเกาหลีใตให้โควตานำเข้าอาหารเวียดนาม 55,112 ตันในปีนี้ ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจำนวนมากจากเวียดนาม ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2562 และคาดว่ายังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดในปี 2563 คิดเป็นปริมาณนำเข้า 2.6 ล้านตัน ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ มีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปข้าวเวียดนาม เพื่อที่จะเตรียมนำเข้าในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ จีนที่เคยเป็นตลาดข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปีนั้น แต่ในปี 2562 ยอดส่งออกข้าวไปยังประเทศดังกล่าวลดลงอย่างมากร้อยละ 64.2 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัวสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-export-prices-surge-amid-high-demand/169579.vnp

ยอดส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นราว 145% ในช่วงครึ่งเดือนแรกกุมภาพันธ์

จากสถิติของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกกุมภาพันธ์ ปริมาณการส่งออกยางพารารวมของเวียดนามอยู่ที่ 42,690 ตัน คิดเป็นมูลค่า 62.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 144.9 ด้านปริมาณ และร้อยละ 139.3 ด้านมูลค่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ 15 วันก่อน ซึ่งตัวเลขข้างต้น ในด้านปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.3 และด้านมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 124.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับราคาส่งออกพาราเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,462 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ 15 วันก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีนี้จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปริมาณการส่งออกพาราของเวียดนามไปยังต่างประเทศ อยู่ที่ 132,620 ตัน คิดเป็นมูลค่า 193.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.8 ในด้านปริมาณ และร้อยละ 15 ในด้านมูลค่า นอกจากนี้ ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าการส่งออกยาพาราของเวียดนามขึ้นอยู่กับการบริโภคยางพาราในตลาดจีน ดังนั้น ความผันผวนของความต้องการยางพาราจากจีนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมยางพาราในประเทศ สุดท้ายแล้วจากตัวเลขสถิติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561, 2562 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนการส่งออกยางพาราไปยังจีน อยู่ที่ร้อยละ 15-20 ของการส่งออกยางพาราไปยังต่างประเทศรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rubber-exports-skyrocket-nearly-145-per-cent-in-first-half-of-february-410851.vov

ธุรกิจที่จัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้น แต่เงินทุนกลับลดลง ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ 17,400 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และธุรกิจที่กลับมาดำเนินกิจการ 11,900 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินทุนจดทะเบียนใหม่รวมอยู่ที่ 956 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวนคนงาน 157,500 คน ลดลงร้อยละ 11.1 และ 3.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ สำหรับธุรกิจที่หยุดดำเนินกิจการมีอยู่ประมาณ 16,200 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 9,163 ราย คิดเป็นมูลค่าทุนจดทะเบียน 96.8 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว หากจำแนกภาคเศรษฐกิจ พบว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ของภาคเกษตรกรรม 265 ราย, ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 4,700 ราย และภาคบริการ 12,500 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3, 8.4 และ 9.2 ตามลำดับ นอกจากนี้ จากข้อมูลของ CIEM ระบุว่าภาครัฐจำเป็นต้องเร่งปฏิรูปและการให้บริการในการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่และทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโต

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/652980/newly-established-firms-up-but-capital-down-in-two-months.html

ยอดค้าปลีกและบริการเวียดนาม 37.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ว่ารายได้จากการค้าปลีกและบริการของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 863.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงเดือนมกราคมจนถึงกุมภาพันธ์ มียอดค้าปลีกอยู่ที่ประมาณ 674 ล้านล้านด่อง (29.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากจำแนกรายสินค้าที่มียอดขายเพิ่มขึ้น พบว่ารถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ตามมาด้วยน้ำมันเบนซินและน้ำมัน (11%), เครื่องใช้ในบ้าน (9.5%), เครื่องนุ่งห่ม (8.9%), อาหาร (8.6%), ยานยนต์ (7.1%) และวัฒนธรรมและอุปกรณ์การเรียน (4.7%) สำหรับเมือง/นครที่มีรายได้จากการค้าปลีกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ Quang Ninh, Hai Phong, Thanh Hoa, Nghe An และ Hanoi เป็นต้น ทั้งนี้ รายได้จากที่พักและบริการจัดเลี้ยงอยู่ที่ 95 ล้านล้านด่อง (4.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกัน รายได้จากบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่ที่ 7.4 ล้านล้านด่อง (320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-service-revenues-post-374-billion-usd-in-two-months/169460.vnp