“อินเดีย” เมิน นำเข้าถั่วเขียวจากตลาดเมียนมา

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย อินเดียจำกัดการนำเข้าถั่วเขียวจากเมียนมา คาดจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อตลาดเมียนมา โดยอินเดียเป็นผู้นำเข้าถั่วดำและถั่วแระของเมียนมารายใหญ่ แต่การนำเข้าถั่วเขียวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% อินเดียจำกัดการนำเข้าเพื่อป้องกันราคาและผลผลิตช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของอินเดียและการแทรกแซงราคาที่จะไม่ต่ำไปกว่าราคาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้ แม้จะปิดด่านชายแดนแต่ถั่วเขียวส่วนใหญ่ถูกส่งออกทางทะเลไปยังจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป ซึ่งการจำกัดการนำเข้าของอินเดียนี้จะมีผลตั้งแต่หลังวันที่ 11 ก.พ.2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาพร้อมที่จะเจรจากับคู่ค้าอินเดียผ่านรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ สมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยามที่จะค้นหาและเจาะตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้นรวมทั้งตลาดใหม่ๆ ในสหภาพยุโรป เพราะได้ราคาได้ดีกว่า ส่วนด้านผลผลิต เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกเมล็ดถั่วและถั่วพัลส์ต่างๆ ประมาณ 9.9 ล้านเอเคอร์ มีผลผลิตที่ได้ต่อปีอยู่ที่ 4.1 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วเขียวประมาณ 700,000 ตันไปยัง 64 ประเทศ ซึ่งระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 ก.พ. 2565 มีการส่งออกถั่วเขียวไปแล้วจำนวน 147,326 ตัน ในจำนวนนี้ 18,842 ตันถูกส่งไปยังอินเดีย โดยราคาในปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,900-2,350 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/indias-policy-changes-indifferent-to-myanmar-green-gram-market/

กัมพูชาเตรียมเปิดตัวยุทธศาสตร์พัฒนาภาคเครื่องนุ่งห่ม และกระเป๋า

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนเปิดตัวกลยุทธ์พัฒนาภาคสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงกระเป๋า และรองเท้า เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่การเติบโตและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันระดับภูมิภาค โดย Phan Phalla รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้กล่าวไว้ในการประชุมสาธารณะล่าสุด เกี่ยวกับการจัดการด้านเศรษฐกิจมหภาค และกรอบงบประมาณประจำปี 2022 ซึ่งในปี 2021 กัมพูชาทำการส่งออกเสื้อผ้ามีมูลค่ามากกว่า 11,389 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับปี 2020 ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501033259/cambodia-plans-to-launch-strategy-to-develop-garment-bag-and-footwear-sector/

ธนาคารโลกสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุงถนนแก่กัมพูชา

กระทรวงโยธาธิการและคมนาคมกัมพูชาได้เริ่มก่อสร้างและปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (NR4) ภายใต้เงินทุน 110 ล้านดอลลาร์ จากธนาคารโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของการจราจรในปัจจุบัน ซึ่งการก่อสร้างและปรับปรุงถนนสาย NR4 เริ่มต้นจากชุมชน Bek Chan อำเภอ Ang Snuol จังหวัดกันดาล ไปจนถึงชุมชน Bit Trang อำเภอ Prey Nup จังหวัดพระสีหนุ โดยโครงการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2021 และมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2026  ซึ่งกระทรวงกล่าวว่าโครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนสาย NR4 จะทำการขยายถนนจากความกว้าง 7 เมตร ในปัจจุบัน เป็น 10 เมตร รวมถึงการปรับปรุงสะพานและท่อระบายน้ำคอนกรีตอีก 46 แห่ง และก่อสร้างสะพานใหม่ 8 แห่ง เพื่อให้แน่ใจว่าจะลดความแออัดของการจราจร ไปจนถึงแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/1033275/110-million-from-world-bank-to-improve-national-road-number-four-to-sihanoukville/

เที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เสียมราฐ จะกลับมาให้บริการอีกครั้ง ในวันที่ 3 มี.ค.

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ประกาศว่าสายการบินไทยจะกลับมาให้บริการเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-เสียมราฐ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2022 เป็นต้นไป โดยสายการบินไทยสมายล์จะให้บริการเที่ยวบินตรง 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวได้ขอความร่วมมือต่อสมาคมการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชาได้รายงานเสริมว่าปัจจุบันกัมพูชาได้เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนแล้วกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด รวมถึงการดำเนินการตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาได้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว ในกรณีที่ผู้โดยสารมีผลตรวจโควิด-19 เป็นลบ เมื่อเดินทางถึงกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501032546/bangkok-siem-reap-flights-will-resume-from-march-3-2022/

ปัจจุบัน กัมพูชาฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแตะร้อยละ 91 ของเป้าหมาย

กัมพูชาเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนแล้วอย่างน้อยร้อยละ 91 ของประชากรทั้งหมด โดย ณ วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกทั้งหมดอยู่ที่ 14,563,512 ราย ของประชากรกลุ่มเป้าหมายประมาณ 16 ล้านราย ซึ่งปัจจุบัน จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 เข็ม เพิ่มขึ้นเป็น 12,846,457 ราย ในขณะที่ผู้ที่ได้รับวัคซีนครั้งที่ 3 เพิ่มขึ้นเกือบ 7 ล้านราย โดยได้มีนโยบายในการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับเด็กกลุ่มอายุ 3-4 ปี เป็นกลุ่มล่าสุด ซึ่งได้ฉีดไปแล้ว 125,606 ราย จากเป้าหมาย 610,730 หรือสำเร็จไปแล้วร้อยละ 20.57

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501032898/cambodias-vaccination-status-finally-crosses-91-percent-of-total-population-with-14563512-people-vaccinated/

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มต้องการคนงานมากกว่า 5,000 คน

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มต้องการคนงานในโรงงานอย่างน้อย 5,000 คนในปีนี้ ทั้งผู้มีทักษะและไม่มีประสบการณ์ความต้องการที่สำคัญที่สุดคือในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในขณะที่โรงงานในเขตเวียงจันทน์ก็มีรายงานการขาดแคลนแรงงานเช่นกัน สาเหตุการหนึ่งที่ขาดแคลนเนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวนมากลดชั่วโมงการทำงานหรือถูกเลิกจ้าง อีกทั้งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าทั้งหมดในสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงและคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดาที่ลดลง ตามรายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โครงการผู้บริจาคหลายรายได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือทั้งคนงานและธุรกิจภาคเอกชนในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพวกเขาขึ้นใหม่ อีกทั้งบรรเทาการหยุดชะงักเพิ่มเติมในห่วงโซ่อุปทาน และให้การสนับสนุนโดยตรงแก่คนงานในภาคตัดเย็บเสื้อผ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Australia_40.php

“เวียดนาม” เผยภาคโลจิสติกส์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ

หนังสือพิมพ์ Lao Dong สื่อทางการเวียดนามอ้างคำพูดจากคุณ Piyush Rathorenoi ผู้จัดการทั่วไปขององค์กร Transworld QBV ICD ประเมินว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามจะเติบโตได้ดีในอนาคต และจะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสจิกส์ของโลก ทั้งนี้ CapitaLand Development (CLD) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดจังหวัดบั๊กซาง เมื่อวันที่ 26 ก.พ. เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการลงทุนที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเวียดนาม อีกทั้ง คุณ Ronald Tay ผู้อำนวยการทั่วไปของ CLD Vietnam กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นการร่วมมือในการสร้างเครือข่ายซัพพลายเชนในภูมิภาคทางเศรษฐกิจที่สำคัญทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานคนในท้องถิ่นกว่า 20,000 คน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-logistics-sector-attracts-more-foreign-investment-inflows-post927212.vov

 

‘เวียดนาม’ เผย CPI เฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.68%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ก.พ.65 เพิ่มขึ้น 1.42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.68% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เพิ่มขึ้น 0.67% ถือว่าต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปโดยเฉลี่ย สะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สาเหตุสำคัญมาจากราคาอาหารและราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-up-168-percent-in-first-two-months-of-2022/222733.vnp

 

พาณิชย์หารือภาคเอกชน เช็คผลกระทบความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวว่าจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ร่วมกับทุกส่วนราชการของกระทรวงพาณิชย์ ติดตามสถานการณ์ร่วมกับภาคเอกชนโดยใกล้ชิด สำหรับเรื่องราคาน้ำมันที่เป็นห่วงว่าจะพุ่งสูง อาจกระทบภาคการผลิตและราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคในประเทศไทยได้ และเรื่องค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย ซึ่งมีความสำคัญต่อการนำเข้าส่งออกของไทย ถือว่ายังไม่เสถียร สำหรับรัสเซียขณะนี้กำลังพิจารณานำเข้าสินค้าจากไทยบางรายการ ต้องดูว่าค่าเงินยังมีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน เมื่อค่าเงินรูเบิลมีความเสถียรแล้ว ทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ โดยในภาพรวมยังไม่กระทบอย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา: https://www.naewna.com/business/638530

 

ณ วันที่ 18 ก.พ.65 ค้าต่างประเทศเมียนมาดิ่งฮวบ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.65 การค้าภายนอกของเมียนมาร์ ในช่วง 6 เดือนของงบประมาณย่อยปี 2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ลดลงมาอยู่ที่ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้ารวมที่ก 12.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณ 2563-2564  ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 18 ก.พ. 2565 เมียนมาการส่งออกสินค้า 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 5.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากการปิดชายแดนของจีน อย่างไรก็ตาม การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยมีมูลค่ากว่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา คือ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนสินค้านำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยภาคการส่งออกจะพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-tops-11-95-bln-as-of-18-february-2022/#article-title