เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทย ลดฮวบ !

นาย U Aye Chan Aung ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดของเมียนมา กล่าวว่า การส่งออกข้าวโพดไปไทยลดลงอย่างมาก แม้ว่าก่อนหน้านี้จะสามารถส่งออกข้าวโพดได้ 150,000 ตันต่อเดือน แต่พบว่าการส่งออกเมื่อเดือนก.ค.2565 ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วถึง 30%  ซึ่งเกิดจากการอ่อนค่าของเงินจัตจาก 1,850 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 2,500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและการค้าที่ลดลงอย่างมาก เพราะเงินจัตที่อ่อนค่าจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ สูงขึ้น อีกทั้งปัญหาขั้นตอนทางกฎหมายและกฎระเบียบที่ยุ่งยากและซับซ้อน (red tape) ในการออกใบอนุญาตส่งออกข้าวโพดมีความล่าช้า ส่งผลให้มีสต็อกข้าวโพดในตลาดในประเทศตกค้างเป็นจำนวนมาก  ปัจจุบันราคาข้าวโพดอยู่ที่ประมาณ 800-820 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในตลาดย่างกุ้ง ที่ผ่านมาไทยให้ไฟเขียวการนำเข้าข้าวโพดภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. ถึง 31 ส.ค.2565 อย่างไรก็ตาม ไทยได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าสูงสุด 73% เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดของไทย โดยในปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตันไปยังต่างประเทศ ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังไทย และบางส่วนจะถูกส่งออกไปยังจีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-exports-to-thailand-plummet/#article-title

เดือนเม.ย.-ก.ค.65 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 733,000 ตัน สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย 4 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ (เม.ย.-ก.ค.2565) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักจำนวน 733,098 ตัน โดยมีรายได้ประมาณ 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังพบว่าการส่งออกในเขตชายแดนลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วสาเหตุความล่าช้าเกิดจากความเข้มงวดของชายแดนจีน ปัจจุบันมีการส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 10,000 ถุง ผ่านชายแดนมูเซไปยังจีนทุกวัน ส่วนใหญ่เมียนมาส่งออกข้าวไปยัง 20 ประเทศ เช่น จีน (92,622 ตัน) และฟิลิปปินส์ (91,374 ตัน) เป็นต้น โดยราคาพันธุ์ข้าวขาวอยู่ที่ประมาณ 325-360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และพบว่าราคาข้าวของเมียนมาค่อนข้างต่ำกว่าคู่แข่งอย่างไทยและเวียดนาม ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมามีรายได้ถึง 700 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตันไปยังต่างประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-249-mln-worth-of-over-733000-mt-of-rice-in-past-4-months/

เดือนส.ค.65 เรือบรรทุกสินค้า 55 ลำเข้าเทียบท่าในเมียนมา

การท่าเรือเมียนมา เผย รัฐบาลเมียนมาให้การสนับสนุนภาคการส่งออกและนำเข้ามากขึ้นและเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการส่งออกสินค้าของประเทศ จะมีเรือสินค้าทั้งหมด 55 ลำเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือย่างกุ้งและท่าเรือติละวาซึ่งเป็นท่าเรือสำคัญของประเทศในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ โดยส่วนใหญ่เมียนมาจะส่งออกสินค้าทางทะเล เช่น ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าทางการเกษตร และสินค้าประมงเป็นหลัก ในขณะที่นำเข้าจะเป็น วัตถุดิบสิ่งทอ, วัสดุก่อสร้าง, เครื่องจักร และสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากประเทศมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ในการค้าทางทะเลจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งสินค้า ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจการเกษตรและปศุสัตว์ และยังสามารถสร้างตำแหน่งงานให้กับคนในพื้นที่ได้อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/55-cargo-ships-to-dock-in-myanmar-in-august/

เดือน ก.ค.65 ราคาถั่วแระตลาดย่างกุ้งพุ่งสูง

สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ค. 2565 ราคาของถั่วแระ (red gram) ในตลาดย่างกุ้ง พุ่งแตะ 1.485 ล้านจัตต่อตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 5,000 จัตต่อตันเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอินเดียผู้นำเข้าหลักลดพื้นที่การเพาะปลูกและความผันผวนของค่าเงินจัต ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันถั่วแระส่งออกไปยังอินเดียเป็นหลัก และยังส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย โดยภาคเกษตรกรรมของเมียนมาเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็น 30% ของจีดีพีของประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเปลือก ข้าวโพด ฝ้าย อ้อย ถั่วต่างๆ และถั่วต่างๆ โดยถั่วคิดเป็น 33% ของสินค้าทางการเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้ จากข้อมูลการค้าของกระทรวงพาณิชย์ เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 22 ก.ค.2565 ในปีงบประมาณ (2565-2566) เมียนมาส่งออกถั่วแระ มากกว่า 8,200 ตัน สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-prices-remain-on-high-side-in-last-week-of-july/

ตั้งแต่ 1 เม.ย. ถึง 22 ก.ค.65 เมียนมาส่งออกสินค้าประมงไปแล้วกว่า 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมประมงของเมียนมา เผย ในระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 22 ก.ค.2565 ของปีงบประมาณ 2564-2565 การส่งออกประมงทำรายได้มากกว่า 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผ่านทางทะเล 119.351 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และผ่านชายแดน 62.545 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้สินค้าประมงส่วนใหญ่จะถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ส่วนปลา กุ้ง และปูจะถูกส่งออกไปยังจีน ไทย และประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางเขตการค้าชายแดนมูเซ ชายแดนเมียวดี ชายแดนเกาะสอง ชายแดนซิตเว่ มะริด และชายแดนมองดอ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-marine-exports-collect-over-181-mln-from-1-april-to-22-july/#article-title

สามเดือนครึ่ง ค้าชายแดนผ่านด่านทิกิ พุ่งขึ้น 213 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย สามเดือนครึ่งที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 15 ก.ค.2565) การค้าชายแดนระหว่างไทยและเมียนมาผ่านด่านชายแดนทิกิ มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 644.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 213.755 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีมูลค่า 430.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชายแดนทิกิมีการค้าขายใหญ่เป็นอันดับ 2 ในบรรดาชายแดนไทย-เมียนมา รองจากด่านเมียวดี ซึ่งการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีมีส่วนทำให้การค้าผ่านชายแดนทิกิเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญไปยังไทย ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ, ผลิตภัณฑ์ประมง, ถ่านหิน, ดีบุกเข้มข้น (SN 71.58%), มะพร้าว (สดและแห้ง), ถั่ว, ข้าวโพด, และหน่อไม้ ส่วนการนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน, สินค้าอุตสาหกรรมดิบ เช่น ซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/border-trade-through-hteekhee-post-rises-by-213-mln-in-three-and-a-half-months/

ชาวสวนเมืองปะลัค เขตตะนาวศรี เล็งปลูกบุก เป็นพืชผสมผสาน เพื่อสร้างกำไร

กรมวิชาการเกษตรเมืองปะลัค รายงานว่า ผลกำไรบวกกับความต้องการจากต่างประเทศกระตุ้นให้ชาวสวนในเมืองปะลัค อำเภอปะลอ เขตตะนาวศรี หันมาปลูกบุก (มันเทศช้าง) ภายใต้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานกันมากขึ้น จากที่แต่ก่อนไม่เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศมากนัก อย่างไรก็ตาม ความต้องการจากต่างประเทศที่มากขึ้นส่งผลให้ราคาพุ่งตามไปด้วย เมียนมา เริ่มเพาะปลูกบุกเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วในรัฐคะฉิ่น รัฐชิน รัฐฉาน รัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง และเขตพะโค การปลูกบุกเริ่มขึ้นในเขตตะนาวศรีในปีงบประมาณ 2563-2564 ปัจจุบันได้เริ่มมีการปลูกแซมในสวนยางพารากันบ้างแล้ว ขณะที่ต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านจัตต่อเอเคอร์ โดยราคาในประเทศอยู่ที่ 1,800-2,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งต้องใช้เงินทุนมากในการเพาะปลูก แต่กำไรค่อนข้างสูง ทั้งนี้การทำไร่ปลูกบุกพบได้ทั่วไปในอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากการบริโภคในท้องถิ่นแล้ว เมียนมายังจัดส่งบุกแห้งและผงบุกไปยังจีน ญี่ปุ่น ไทย อินเดีย บังคลาเทศ และมาเลเซีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-eye-konjac-for-mixed-cropping-in-palauk-as-it-raises-profitability/#article-title

เมียนมา จับมือ รัสเซีย หารือความร่วมมือด้านการธนาคาร

ธนาคารกลางของรัสเซียและธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ดำเนินการประชุมความร่วมมือด้านการให้บริการของธนาคารครั้งที่ 2 ผ่านลิงก์วิดีโอเมื่อวันที่ 22 ก.ค.2565 เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้บริการของประชาชน และหารือด้านนโยบายการเงิน การพัฒนาธนาคารให้มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ยังขอความร่วมมือกับธนาคารทั่วประเทศปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่ง กฎและขั้นตอนที่ออกโดย CBM อย่างเคร่งครัด

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-russia-discuss-banking-cooperation

ราคาเมล็ดกาแฟเมียนมา พุ่งแตะ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน

สมาคมกาแฟเมียนมา เผย ราคาเมล็ดกาแฟเมียนมาพุ่งถึง 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จากความต้องการทั้งในและต่างประเทศสูงที่มีมากขึ้น โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์, ไต้หวัน, จีน, ไทย, สหรัฐอเมริกา, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, ไอซ์แลนด์, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, และเยอรมนี  ขณะที่ไร่กาแฟมีมากกว่า 200,000 เอเคอร์ ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 9,000 ตันต่อปี และราคาจะอยู่ระหว่าง 4,500 ถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อตัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นกาแฟอาราบิก้า และร้อยละ 20 เป็นกาแฟโรบัสต้า  ทั้งนี้กาแฟส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-produced-coffee-beans-fetch-us5000-per-tonne/

ซูซูกิ มอเตอร์ เมียนมา เลื่อนส่งมอบรถออกไปอย่างไม่มีกำหนด

Suzuki Motor เมียนมา ออกมาแถลงข่าวว่า ยังไม่สามารถระบุได้ว่ะส่งมอบบรถให้กับลูกค้าได้เมื่อใด เนื่องจากปัจจุบันมีความล่าช้าในการนำเข้าอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และวัสดุในการผลิต เป็นผลประกาศหยุดสายพานผลิตที่ บริษัท ซูซูกิ (เมียนมาร์) มอเตอร์ จำกัด และ บริษัท ซูซูกิติลาวามอเตอร์ จำกัด เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ บรัทฯ จะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในด้านการรับประกันและการบริการให้ถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/suzuki-motor-says-it-is-not-possible-to-predict-when-the-vehicle-will-be-delivered-to-those-who