เดือนต.ค.64-ก.พ65 ภาคการผลิตเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนไปแล้ว 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากสถิติของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่จับตาภาคการผลิตเพื่อการลงทุนในเมียนมา เพราะสามารถดึงเงินลงทุนใน 25 โครงการ มีมูลค่าประมาณ 138.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือนมี.ค. 2565) ปัจจุบัน บริษัทที่เน้นใช้แรงานเป็นหลักได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่งผลให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting, Making และ Packing) บางแห่งปิดตัวลงอย่างถาวรและชั่วคราว ทำให้คนงานหลายพันคนตกงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับในหมู่คนงานมากขึ้น ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตแบบ CMP และถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ทั้งนี้ในช่วงเดือนต.ค.2564 -ก.พ.2565 เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 530.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบรรษัทข้ามชาติ 34 แห่ง แบ่งเป็น การลงทุนในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การก่อสร้าง การขนส่งและการสื่อสาร การโรงแรมและการท่องเที่ยว และบริการอื่นๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-over-138-mln-in-october-february/#article-title

ยอดส่งออกข้าวโพดเมียนมาพุ่ง ดันราคาพุ่งแตะ 1,000 จัตต่อ viss

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung) เผย ราคาข้าวโพดในประเทศพุ่งสถึง 1,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ผลมาจากความต้องการจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง และค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลง ปัจจุบันราคา FOB ข้าวโพดอยู่ที่ 310-330 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทั้งนี้ราคาอาจพุ่งไปถึง 1,010-1,030 จัตต่อ viss ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ไทยได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับการนำเข้าระหว่างเดือนก.พ ถึงเดือนส.ค. อย่างไรก็ตามไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุดร้อยละ 73 สำหรับการนำเข้าเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ โดยเมียนมาตั้งเป้าส่งออก 1.5 ล้านตันไปยังไทยในปีการผลิต 2564-2565 ซึ้งปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา ประเทศส่งออกข้าวโพดมากกว่า 1.7 ล้านตันไปยังไทย เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตัน ส่วนใหญ่ส่งกลับไทย ที่เหลือส่งออกไปจีน อินเดีย และเวียดนาม ปัจจุบันมีการเปลูกข้าวโพดในรัฐฉาน รัฐคะฉิ่น คะยา และกะเหรี่ยง มัณฑะเลย์ ซากาย และมาเกว โดยมีการเพาะปลูกได้ทั้ 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม มีผลผลิตอยู่ที่ 2.5-3 ล้านตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/foreign-demand-kyat-depreciation-drive-corn-price-up-to-over-k1000-per-viss/#article-title

 

เกษตรกรตำบลโหโป๊ง ปลื้ม! ราคากล้วยไม้ดินพุ่ง

เกษตรกรจากหมู่บ้านนองสน ตำบลโหโป๊ง เขตปกครองตนเองปะโอ ของรัฐฉาน (ใต้) ประสบผลสำเร็จจากการปลูกกล้วยไม้ดิน ซึ่งแต่ก่อนปลูกตามวิธีธรรมชาติ แต่ต่อมาได้เริ่มเรียนรู้จากการปลูกบนแปลงทดลองจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยกล้วยไม้ดินจะใช้เวลาปลูกและออกดอกผลิบานได้ภายในหนึ่งปี ซึ่งกล้วยไม้ดินเป็นพืชที่ระบายน้ำได้ดีและชอบอากาศที่เปียกชื้น ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเกี่ยหรือตัดขายจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,000 จัตต่อต้น แต่เมื่อได้รับออเดอร์จากเมื่องอื่นๆ  ราคาจะพุ่งไปถึง 1,500 จัตต่อต้น ทั้งนี้แหล่งเพาะปลูกสำคัญจะมาจาก หมู่บ้านนองสน ตำบลโฮปง และจะส่งออกไปขายยังส่งงตลาดโฮปง ตลาดน้ำโกด และตลาดบ้านยินในรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/growing-of-ground-orchid-in-hopong-township-succeeds/

ราคาทองคำเมียนมาพุ่งเป็น 2 ล้านจัต ด้านราคาน้ำมันเบนซินตลาดย่างกุ้งพุ่งแตะ 2,130 จัตต่อลิตร

สมาคมผู้ประกอบการทองคำแห่งย่างกุ้ง ระบุว่า ราคาทองคำได้แตะระดับ 2,012,000 จัต ในขณะที่ราคาทองคำโลกแตะระดับ 2,014 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำในวันที่ 7 มี.ค.65 ปิดที่ 199,000จัต เพิ่มขึ้นอีก 22,000 จัตในวันนี้ (8 มี.ค.65) ส่วนราคาน้ำมันเบนซินของตลาดย่างกุ้งเพิ่มขึ้นอีก 92 จัตต่อลิตร เป็น 2,130 จัตต่อ ส่งผลให้ราคาน้ำมันก๊าดพุ่งขึ้นเป็น 200 จัต ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ราคาน้ำมันขายในตลาดน้ำมันย่างกุ้ง อย่าง น้ำมันดีเซล 95 อยู่ที่ 2,195 จัตต่อลิตร, ดีเซลธรรมดาราคา 2,325 จัตต่อลิตร และดีเซลพรีเมียมราคา 2,335 จัตต่อลิตร

ที่มา : https://news-eleven.com/article/227070

เดือนก.พ.65 การค้าเมียนมา-บังคลาเทศ ลดฮวบ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์ เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. ถึง 25 ก.พ.65 ของงบประมาณย่อย การค้าเมียนมา-บังคลาเทศผ่านชายแดนมีมูลค่า 18.002 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว 20.498 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 2.49 ล้านเหรียญสหรัฐจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการส่งออก 17.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 0.080 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การค้าชายส่วนใหญ่ผ่านจุดเข้าเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ ซึ่งสินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งทะเลและปลา ลูกพลัมแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพลัม รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

หัวหอมราคาดิ่ง กระทบเกษตรกรแบกต้นทุนอ่วมหนัก

เกษตรกรในอำเภอปหวิ่น-พยู เขตมะกเว ทำการปลูกหัวหอมตลอดทั้งปีโดยใช้นำจากชลประทานและน้ำบาดาล แม้จะให้ผลผลิตสูงแต่ก็ได้รับผลกระทบจากราคาลดลง ปัจจุบันผลผลิตหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ต่อเอเคอร์ เมื่อปีก่อนราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 จัตต่อ viss แต่ในปัจจุบันราคาดิ่งลงเหลือ 300-400 จัตต่อ viss ทำให้รายได้ไม่สามารถครอบคลุมต้นทุนที่พุ่งไปถึง 1 ล้านต่อเอเคอร์ อีกทั้งตลาดหัวหอมยังคงซบเซา เนื่องจากความต้องต่างประเทศลดลง ซึ่งก่อนหน้าในปี 2562 ราคาหัวหอมพุ่งไปถึง 4,000 จัตต่อ viss กระตุ้นให้เกษตรเพิ่มปริมาณการปลูก แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดค้าขายหัวหอมเสียหายอย่างหนัก ทั้งนี้หัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มาเกว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-market-fallout-hits-growers/#article-title

“อินเดีย” เมิน นำเข้าถั่วเขียวจากตลาดเมียนมา

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย อินเดียจำกัดการนำเข้าถั่วเขียวจากเมียนมา คาดจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อตลาดเมียนมา โดยอินเดียเป็นผู้นำเข้าถั่วดำและถั่วแระของเมียนมารายใหญ่ แต่การนำเข้าถั่วเขียวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% อินเดียจำกัดการนำเข้าเพื่อป้องกันราคาและผลผลิตช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของอินเดียและการแทรกแซงราคาที่จะไม่ต่ำไปกว่าราคาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้ แม้จะปิดด่านชายแดนแต่ถั่วเขียวส่วนใหญ่ถูกส่งออกทางทะเลไปยังจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป ซึ่งการจำกัดการนำเข้าของอินเดียนี้จะมีผลตั้งแต่หลังวันที่ 11 ก.พ.2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาพร้อมที่จะเจรจากับคู่ค้าอินเดียผ่านรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ สมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยามที่จะค้นหาและเจาะตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้นรวมทั้งตลาดใหม่ๆ ในสหภาพยุโรป เพราะได้ราคาได้ดีกว่า ส่วนด้านผลผลิต เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกเมล็ดถั่วและถั่วพัลส์ต่างๆ ประมาณ 9.9 ล้านเอเคอร์ มีผลผลิตที่ได้ต่อปีอยู่ที่ 4.1 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วเขียวประมาณ 700,000 ตันไปยัง 64 ประเทศ ซึ่งระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 ก.พ. 2565 มีการส่งออกถั่วเขียวไปแล้วจำนวน 147,326 ตัน ในจำนวนนี้ 18,842 ตันถูกส่งไปยังอินเดีย โดยราคาในปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,900-2,350 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/indias-policy-changes-indifferent-to-myanmar-green-gram-market/

ณ วันที่ 18 ก.พ.65 ค้าต่างประเทศเมียนมาดิ่งฮวบ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.65 การค้าภายนอกของเมียนมาร์ ในช่วง 6 เดือนของงบประมาณย่อยปี 2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ลดลงมาอยู่ที่ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้ารวมที่ก 12.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณ 2563-2564  ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 18 ก.พ. 2565 เมียนมาการส่งออกสินค้า 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 5.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากการปิดชายแดนของจีน อย่างไรก็ตาม การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยมีมูลค่ากว่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา คือ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนสินค้านำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยภาคการส่งออกจะพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-tops-11-95-bln-as-of-18-february-2022/#article-title

เดือนก.พ.65 ค้าชายแดนเมียนมาแตะ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.2565 ของปีงบประมาณ 2564-2565 :ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนต.ค.2564 มีมูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา อยู่ที่ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออก 1.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสถิติพบว่าลดลง 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 4.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดที่ 998 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยด่านตีกี 776 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยด่านชายแดนที่ทำการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนผ่านชายแดน มูเซ ลิวจี กัมปะติ ชินฉ่วยฮ่อ  และเชียงตุง กับประเทศไทยผ่าน ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง, ทิกิ มุต่อง และแม่เส้า กับบังคลาเทศผ่านชายแดนซิตเว่ และมองตอ และกับอินเดียผ่านตามู และรีด ตามลำดับ เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าการผลิต ฯลฯ  ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา:  https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-over-2-67-bln-as-of-18-feb/#article-title

รอบ1 ปี เขตพะโค ดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสะพัดกว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุน ในประเทศอีก 8.3 พันล้านจัต

จากรายงานของคณะกรรมการการลงทุนเขตพะโค (BRIC) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 2564 ถึง 1 ก.พ. 2565 เขตพะโคสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 110.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการลงทุนภายในประเทศจำนวน 8.329 พันล้านจัต สร้างตำแหน่งงานกว่า 4,953 ตำแหน่ง โดยพื้นที่ของเขตพะโคนั้นขึ้นอยู่กับการเกษตรและปศุสัตว์เป็นหลัก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบมากมายในการผลิตปุ๋ยธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานในการตัด การผลิต และการบรรจุ (Cutting Making and Packaging : CMP) ที่น่าสนใจเพราะมีแรงงานฝีมืออยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การอนุมัติให้เข้ามาลงทุนต้องผ่านการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/bago-region-pulls-over-110-mln-foreign-investment-k8-3-bln-domestic-investment-in-one-year/#article-title