การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาลดลงจากผลกระทบของ Covid-19

โฆษกกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมด้านการส่งออกในภาคเสื้อผ้าลดลงมากกว่าร้อยละ 5 เป็นประมาณ 3.78 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรก โดยโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวในการแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบของ COVID-19 ที่กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) เมื่อวานนี้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาอยู่ที่ราว 3.784 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.4 จากการส่งออกมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 เหตุผลในการลดลงนั้นเป็นเพราะผลกระทบของ COVID-19 รวมถึงการจัดซื้อที่ลดลงทั่วโลก ซึ่งเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าการลดลงโดยทั่วไปนั้นเป็นเพราะการหยุดการดำเนินการชั่วคราวและคำสั่งซื้อที่ลดลง โดยจากรายงานครึ่งปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ซึ่งกัมพูชานำเข้าลดลงร้อยละ 5 การส่งออกสินค้ากัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 45 จักรยานร้อยละ 18 ข้าวร้อยละ 29 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743103/garment-exports-fall-factories-hit-by-virus/

ความกังวลด้านเงินเฟ้อในกัมพูชาที่ส่งผลต่อราคาอาหารและเสถียรภาพภายในประเทศ

ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ได้เริ่มขึ้นส่งผลให้เกิดความกังวลในด้านราคาอาหารที่อาจเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่ายังคงค่อนข้างคงที่สำหรับสินค้าอาหารส่วนใหญ่ในช่วงเจ็ดเดือนที่ผ่านมา โดยราคาสินค้าส่วนใหญ่มีการเพิ่มขึ้นบางอย่างในช่วงโควิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับราคาผักที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ไข่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 และหมูเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งแม้ว่าราคาอาหารขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม โดยเมษายนถึงเดือนมิถุนายนความผันผวนของราคาสินค้าได้ลดลงมาสู่ระดับปรกติ จนถึงขณะนี้ผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ต่อความมั่นคงด้านอาหารมีแนวโน้มที่จะมาจากด้านอุปสงค์มากขึ้นโดยมีครัวเรือนที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจร่วมด้วย จากการสูญเสียรูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตและรายได้เนื่องจากผลกระทบของไวรัส

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743104/fear-of-food-price-inflation-dropping-as-stability-returns/

เวียดนามส่งออกผักผลไม้พุ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการระบาดของโรค COVID-19 ไปทั่วโลก

เวียดนามส่งออกผักและผลไม้เพิ่มขึ้นไปตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และไทย ถึงแม้ว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบไปทั่วโลกก็ตาม มูลค่าการส่งออกของสินค้าดังกล่าวไปไทยที่ 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 233.4, เกาหลีใต้ 67.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (21.8%), สหรัฐฯ 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.1%), ญี่ปุ่น 57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.5%) และเนเธอร์แลนด์ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (9%) อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปตลาดจีนลดลงร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้มูลค่าลดลงที่ 1.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของหน่วยงานด้านการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดส่งออกผักผลไม้ที่ 9061 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีส่วนผลักดันการส่งออกของเวียดนาช่วงครึ่งแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีอียู-เวียดนาม ที่มีผลบังคับใช้วันที่ 1 สิ.ค. จะช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจก้าวข้ามอุปสรรคทางภาษีและเรื่องเทคนิค เพื่อที่จะได้รับโอกาสที่ดีขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-vegetable-export-picks-up-despite-covid19/178201.vnp

เวียดนามส่งออกไปยุโรปเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี “EVFTA”

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าโควตาข้าวเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี อียู-เวียดนาม “EVFTA” จะช่วยผลักดันการส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิ.ค. ยุโรปตกลงจะให้โควตาข้าวแก่เวียดนาม จำนวน 80,000 ตันต่อปีและเปิดเสรีการค้าข้าวหัก (Broken Rice) รวมถึงภายใน 3-5 ปี ภาษีนำเข้าข้าวจะเป็น 0% ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการฝ่ายนำเข้าและส่งออกของ MoIT กล่าวว่าในปี 2562 การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยุโรปที่ 10.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุจากภาษีนำเข้าอยู่ในระดับสูงในตลาดนี้ โดยปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าอียูแก่เวียดนาม อยู่ที่ 175 ยูโรต่อตันข้าวสาร เป็นต้น “โควตาข้าวจำนวน 80,000 ตันให้กับเวียดนาม ตามข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว นับว่าเป็นโอกาสที่ดีแก่ผู้ประกอบการชาวเวียดนาม เพื่อชูการส่งออกข้าวไปยังตลาดนี้” ในขณะเดียวกัน ยุโรปได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับโควตาดังกล่าว ได้แก่ ใบรับรองแหล่งกำเนิดข้าวของเวียดนาม จะต้องมีใบรับรองความถูกต้องที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐของเวียดนาม นอกจากนี้ ตามข้อมูลกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่ารายได้จากการส่งออกข้าวอยู่ที่ 1.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนราว 3.5 ล้านตัน ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 และ 4.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตั้งแต่เดือนม.ค.จนถึงพ.ค. ด้วยมูลค่า 598.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 40 ของยอดส่งออกข้าวรวม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/749265/viet-nam-to-increase-rice-exports-to-eu-under-evfta.html

ซูจีขอให้ผู้เลี้ยงปลาท้องถิ่นขยายตลาดส่งออก

นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐเรียกร้องให้พ่อค้าปลาและกุ้งในเมียนมาทำการส่งเสริมการประมงชนิดใหม่และขยายตลาดส่งออกในระหว่างการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มีปลาหลายชนิดในเมียนมาแต่ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ยังไม่รู้ดังนั้นจำเป็นต้องมีการหาตลาดใหม่ นอกจากนี้การผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น ปลากระป๋องจะช่วยให้อุตสาหกรรมสร้างรายได้ใหม่ ๆ และกระจายออกไปจากปลาและกุ้งสด ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยปกป้องธุรกิจประมงและไม่ให้พึ่งพารายได้จากแหล่งเดียวมากเกินไป ปีงบประมาณ 2562-2563 อุตสาหกรรมการประมงและธุรกิจโลจิสติกสได้สร้างงานมาแล้วกว่า 3.5 ล้านคน ปริมาณการส่งออกถึง 782 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น 100 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า การระบาดของ COVID-19 ให้อุตสาหกรรมตกต่ำลง การส่งออกชะลอตัวหลังจากคำสั่งซื้อถูกยกเลิก สหภาพยุโรปและประเทศตะวันตกอื่น ๆ มีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 45% ในขณะที่จีนและไทยคิดเป็น 55% ในตอนนี้มีการจัดสรรเงินจำนวน 1.4 พันล้านจัต เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมและเทคโนโลยีสำหรับพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ COVID-19 ของรัฐบาล ซึ่งเงินดังกล่าวจะถูกแจกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2563 นี้ จากการวิจัยพบว่า 40% ของธุรกิจปศุสัตว์และประมง 4,900 แห่งได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/state-counsellor-urges-local-fish-breeders-expand-export-market.html

ความต้องการทองคำของเมียนมาลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง

ราคาทองคำในประเทศทรงตัวที่ระดับ 1.22 ล้านต่อทองคำ 1 บาทเนื่องจากความต้องการที่ลดลงแม้ว่าทั่วโลกราคาทองคำจะเข้าใกล้ระดับ 1,800 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผู้ค้าทองคำและนักลงทุนเลือกที่จะถือเงินสดมากกว่าทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ร่วงลงมาที่อยู่ที่ 1365จัต/ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ 1400 จัต/ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤษภาคมและมีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อในตลาด นักลงทุนทองคำจำนวนมากยังเลิกลงทุนในทองคำเนื่องจาก COVID-19 ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียงานและการตกต่ำของเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดทองคำของเมียนมาลดลงประมาณ 50% หลังจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gold-demand-falls-back-lower-dollar-exchange-rate.html

สปป.ลาวกำหนดให้ผู้ที่เดินทางออกจาก สปป.ลาว จำเป็นต้องมีใบนับรองแพทย์

ผู้เดินทางออกจากสปป.ลาวทุกคนจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์สำหรับประเทศจุดหมายปลายทางเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19  คณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 แห่ง สปป.ลาว ได้กล่าวว่าผู้ที่เดินทางทุกคนจะต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเดินทางไปประเทศอื่น ซึ่งผู้ที่ไม่มีใบรับรองแพทย์ที่ถูกต้องจะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง อีกทั้งรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมิดตะพาบกล่าวย้ำความสำคัญของใบรับรองแพทย์สำหรับนักเดินทาง จะมีจุดตรวจสุขภาพหลายแห่งและนักท่องเที่ยวจะต้องจัดทำเอกสารทางการแพทย์จากประเทศต้นทางของตน คนในสปป.ลาวสามารถขอใบรับรองแพทย์ที่โรงพยาบาลเฉพาะแห่งในประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไอ เจ็บคอหรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจหรือมีประวัติติดต่อกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่ได้รับใบรับรองแพทย์ โรงพยาบาลมิดตะพาบ, โรงพยาบาลมโหสถ และสถาบันปาสเตอร์ ในเวียงจันทน์จะอำนวยความสะดวกทำการตรวจสุขภาพสำหรับ COVID-19 ทั้งนี้ใบรับรองแพทย์จะรับรองว่าผู้เดินทางไม่แสดงอาการคล้าย COVID และการตรวจเชื้อ COVID ผลเป็นลบ ซึ่งมาตรการป้องกันนี้จะใช้เวลานานในการป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19

ที่มา : http://en.freshnewsasia.com/index.php/en/internationalnews/18742-2020-07-08-03-07-20.html

การเพิ่มขึ้นของรายได้บริษัทประกันฯในกัมพูชา

รายงานของสมาคมประกันภัยกัมพูชา (IAC) รายงานว่าเบี้ยประกันขั้นต้นของในกัมพูชาเติบโตขึ้นร้อยละ 21.4 ในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายงานรายไตรมาสแสดงให้เห็นว่าเบี้ยประกันขั้นต้นสำหรับการประกันทั่วไปมีมูลค่าสูงถึง 32.76 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 26.98 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2562 ซึ่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์เตประกันภัย จำกัด กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้เป็นเพราะธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงก่อนที่จะมีการระบาดของ COVID-19 คิดเป็นรายได้จากการประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 หรือ 7.14 ล้านดอลลาร์ จาก 5.25 ล้านดอลลาร์ ด้านรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 สู่ 5.9 ล้านดอลลาร์ ด้านอุบัติเหตุส่วนบุคคลและเบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 38

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50742571/insurers-income-rising-for-now/

ADB อนุมัติเงินกู้ยืม 250 ล้านดอลลาร์แก่กัมพูชาเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 250 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชาในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยการเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพของประเทศเพิ่มความช่วยเหลือทางสังคมแก่คนยากจนและผู้อ่อนแอ รวมถึงองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งธนาคารได้มอบเงินช่วยเหลือภายใต้โครงการสนับสนุนการตอบสนองและการใช้จ่าย (CARES) ต่อ COVID-19 ของ ADB โดยโปรแกรมดังกล่าวรวมถึงกรอบการมีส่วนร่วมของประเทศ จะทำให้มั่นใจได้ว่ารัฐบาลและ ADB จะดำเนินการเจรจานโยบายต่อไปเกี่ยวกับการดำเนินการและติดตามการตอบสนองต่อ COVID-19 ในกัมพูชา รวมถึงการปรึกษาหารือกับภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งโปรแกรมนี้ยังเชื่อมโยงกับการสนับสนุนของ ADB ในการปฏิรูปการบริหารการคลังสาธารณะเพื่อเสริมสร้างการกำกับดูแลและความโปร่งใส ไปจนถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการพัฒนางบประมาณและนโยบายการติดตามค่าใช้จ่ายและการตรวจสอบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50742799/adb-approves-250-million-loan-to-cambodia-to-combat-covid-19/

“ยูโอบี” เปิดผลสำรวจ “SMEs ในอาเซียน” ร้อยละ 88 รับรายได้หด 50%

ธนาคารยูโอบี เผยผลสำรวจ “ASEAN SME Transformation Study 2020” ชี้ธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคอาเซียนต่างหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจช่วงสถานการณ์โควิด-19 กว่า 2 ใน 3 ของเอสเอ็มอี หรือประมาณร้อยละ 64 ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นอันดับแรก ประมาณร้อยละ 71 ขณะที่เอสเอ็มอีร้อยละ 88 รับรายได้ปี 63 หายกว่า 50% ธนาคารยูโอบี (UOB) ร่วมกับแอคเซนเจอร์ (Accenture) และดันแอนด์แบรดสตรีท (Dun & Bradstreet) ทำการสำรวจความคิดเห็นของธุรกิจเอสเอ็มอีในอาเซียนกว่า 1,000 ราย เพื่อทำความเข้าใจว่าธุรกิจเอสเอ็มอีปรับตัวอย่างไรต่อสภาพการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปภายใต้สถานการณ์โควิด-19 โดยการสำรวจยังพบว่าธุรกิจเอสเอ็มอียังพยายามที่จะลงทุนในด้านเทคโนโลยี แม้ว่ารายได้จากธุรกิจจะลดลงก็ตาม ซึ่ง 9 ใน 10 หรือร้อยละ 88 คาดการณ์ว่ารายได้ในปี 2563 จะลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ก็ยังวางแผนเพิ่มงบประมาณด้านเทคโนโลยี ซึ่งนั่นหมายความว่าเอสเอ็มอีกำลังมองข้ามความท้าทายในปัจจุบัน และพร้อมจะปรับใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-488140