รอบ 1 ปี เมียนมาส่งออกใบชาไปแล้วกว่า 4,900 ตัน

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 30 ก.ย. 2564 เมียนมาส่งออกใบชาประมาณ 4,900 ตัน ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ เยอรมนี จีน ประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศต่างๆ ในเอเชีย มากกว่า 4,000 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเน้นส่งเสริมการส่งออกของรัฐฉาน โดยเน้นเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการพัฒนาทางเลือกในการเพาะปลูก ขณะที่ตลาดใบชาโลกผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราชอาณาจักร เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน โมร็อกโก เยอรมนี จีน และฮ่องกง ด้านผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน อินเดีย ศรีลังกา เคนยา โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และใต้หวัน ส่วนผู้ผลิตชารายใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เคนยา ตุรกี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และอิหร่าน เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตรจะทำให้เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกชารายใหญ่ที่สุดของโลก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-4900-tonnes-of-tea-leaves-exported-within-one-year/

ความต้องการเมล็ดงาในเมียนมาลดฮวบ ! ส่งผลราคาดิ่งลง

ผลผลิตเมล็ดงาที่เก็บเกี่ยวใหม่ราคาลดฮวบเหลือ 220,000 จัตต่อถุง ลดลง 20,000 จัต เมื่อเทียบกับราคาเมื่อช่วงต้นเดือนพ.ย.64 ที่ 240,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนพ.ย. โดยทั้งเมล็ดงาดิบและเมล็ดงาแปรรูปที่เพิ่มมูลค่าถูกแล้วส่งออกไปยังจีน และเมื่อมาตรการผ่อนคลายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลาย ตลาดเมล็ดงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้งแน่นอน ปกติแล้วเมียนมาส่งออกเมล็ดงาประมาณ 80% ไปยังต่างประเทศ โดยตลาดหลักๆ จะเป็น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งเมล็ดงามีการปลูกตลอดทั้งปี โดยเขตมะกเว ถือว่าเป็นหลักเพาะปลูกและเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้สำหรับการประกอบอาหาร เมล็ดงาเป็นพืชที่ใช้พื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fresh-sesame-supply-brings-down-price/

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์ฯ เมียนมา จับมือภาคเอกชน ตั้งเขตขยายพันธุ์ 28 แห่ง ทั่วประเทศ

เพื่อพัฒนาภาคปศุสัตว์ของเมียนมา กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานของเมียนมาร่วมมือกับภาคเอกชน ได้จัดตั้งเขตปศุสัตว์ 28 แห่งในแต่ละภูมิภาคของรัฐเพื่อตอบสนองตามความต้องการของตลาด และเป็นการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม การบริโภคผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่สดและเพียงพอ ส่งเสริมการส่งออก การเพิ่มรายได้ของประชาชนและยกระดับการครองชีพ กรมวิจัยปศุสัตว์จะขยายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในภาคปศุสัตว์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวย จากสถิติการลงทุนของต่างชาติในภาคเกษตรและประมงคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 2% ของเงินลงทุนทั้งหมดต่อปี ดังนั้น ภาคเกษตรจึงเป็นส่วนสำคัญของประเทศที่จะต้องหาหาวิธีที่จะพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 จนถึงเดือนก.ย. 2561 เมียนมามีเงินลงทุนจากต่างประเทศกว่า 7.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการลงทุนในภาคการเกษตร 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 0.51% ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

ที่มา: https://news-eleven.com/article/220848

ราคาถั่วดำตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งสูง !

ราคาถั่วดำพุ่งเป็น 152,000 จัตต่อถุง ในปีนี้ เพิ่มจากปีแล้ว 120,000 จัตต่อถุง จากการที่ฤดูเก็บเกี่ยวมาเร็วกว่าปีก่อนทำให้ผลผลิตทะลักเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์ดันราคาให้สูงขึ้น ถั่วดำหรือนี้เรียกอีกอย่างว่าถั่วนาดอ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และยุโรป และการที่ชายแดนกำลังจะเปิดในเร็วๆ นี้ ดังนั้นผู้ค้าจากจีนจะต้องกลับเข้ามารับซื้ออย่างแน่นอน จากสถิติของกรมศุลกากรเมียนมา ณ วันที่ 20 ส.ค.64 ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วดำมากกว่า 48,336 ตัน ซึ่งสร้างรายได้กว่า 26.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-black-eyed-peas-enter-mandalay-market-at-high-price/#article-title

“สิงคโปร์” รั้งอันดับ 2 ผู้นำสินค้ารายใหญ่จากเมียนมา

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผย ปีงบประมาณ 2563-2564 สิงคโปร์เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมา มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปีงบประมาณที่แล้ว มูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศอยู่ที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯแบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่าถึง 207.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามีมูลค่ากว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมียนมาขาดดุลการค้าประมาณ 2.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสิงคโปร์เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมาในภูมิภาค รองจากไทย โดยเมียนมาส่งออกสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ขณะที่นำเข้าพลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/singapore-ranked-myanmars-second-largest-importer-in-fy2020-2021/

เมียนมาพร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวต้นปีหน้า

เมื่อวันพุธ (24 พ.ย.64) กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวของเมียนมา เปิดเผยว่ามีแผนเริ่มกลับมารับท่องเที่ยวต่างประเทศในต้นปีหน้า ระยะแรกคาดจะรับนักท่องเที่ยวจากประเทศในภูมิภาคและร่วมหารือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบเมื่อสนามบินและชายแดนกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง ข้อมูลล่าสุดชายแดนเมียนมา-ไทยจะเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนหน้า จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข มีประชากรได้รับวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วกว่า 10.4 ล้านคน ซึ่งการระบาดชองโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของเมียนมาหยุดชะงัก ส่งผลให้โรงแรมและเกสต์เฮาส์บางแห่งต้องปิดกิจการลง เมื่อเดือนก.ย.64 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ ราว 100,000 คน ลดลง 88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีนักท่องเที่ยว 900,000 คน เนื่องมาจากการจำกัดการเดินทางในประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : http://www.news.cn/english/asiapacific/2021-11/24/c_1310330100.htm

25 พ.ย. 64 พร้อมเปิดชายแดนเมียนมา-จีน (Kyinsankyawt)

วันที่ 22 พฤศจิกายน การค้าผ่านแดนจะเริ่มทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นเวลาสามวัน หากการทดสอบเสร็จสิ้นลงแล้ว จะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 25 พ.ย. ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าประมาณ 10,000 คันซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้าในด่านมูเซ 105 ไมล์ จะถูกวิ่งเพื่อทำการทดสอบก่อนก่อน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2564 จีนได้ปิดชายแดน (Kyinsankyawt, Wamting) หลังแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ส่งผลให้คนงานราว 400,000-600,000 คนต้องตกงาน นอกจากนี้ ผู้ค้าจากด่านชายแดนมูเซยังสูญเสียรายได้จากการปิดด่านในครั้งนี้ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติของเมียนมาไปยังจีนยังดำเนินการผ่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบ CMP เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-kyinsankyawt-border-post-to-resume-operations-on-25-nov/#article-title

พื้นที่ปลูกแตงโมเขตซะไกง์ ลดฮวบเหลือ 200 ไร่

จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนถูกระงับส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกแตงโมลดลงกว่า 200 ไร่ ในเมืองช่องอู้ เขตซะไกง์ ก่อนหน้านี้ มีการพบแตงโมที่ทำการเพาะปลูกกว่า 10,000 เอเคอร์ในทุกฯ ปี ทำให้เกษตรกรบางรายหันไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ถั่วลูกไก่ เพราะการปลูกแตงโมต้องใช้เงินลงทุนมาก อยู่ที่ประมาณ 5-6 ล้านจัตต่อเอเคอร์ โดยราคาแตงโมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากจีนปิดชายแดนเมื่อเดือนกรกฎาคมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แตงโมส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังจีน ส่งผลให้ราคาลดลงท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด ด้วยเหตุนี้ หากจีนขยายเวลาปิดประเทศเป็นเวลานาน เกษตรกรจะประสบความสูญเสียมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาในทุกๆ ปี เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปีและกว่า 150,000 ตันไปถูกส่งออกไปยังจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-sown-acreage-drops-to-200-in-sagaing-region-due-to-market-obstacle/

เมียนมานำเข้าวัตถุดิบ CMP 179 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เผย ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 64 เมียนมานำเข้าวัตถุดิบเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตด้วยการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ CMP (cut-make-pack) 179.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อยปี 64-65 (ต.ค.63 ถึง มี.ค.64) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งภาคการผลิต CMP เป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ขณะนี้อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่สภาวะปกติหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของเมียนมา โดยตลาดส่งออกหลักๆ จะเป็นญี่ปุ่น ยุโรป เกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา ระหว่าง 1 ต.ค.63 ถึง 30 ก.ย.64 ในปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้า CMP แตะระดับต่ำสุดที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/raw-materials-import-by-cmp-businesses-stand-at-179-mln-as-of-5-november/

ราคาพริกขี้หนูสดชายแดนเมียวดี ราคาพุ่งเป็น 10,000 จัตต่อ 5 viss

ราคาพริกสดที่ชายแดนเมียวดี อยู่ที่ 10,000 จัตต่อ 5 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ปัจจุบันพริกสดในประเทศขาดแคลน ราคาพุ่งไปถึง 1,400-2,000 จัตต่อ viss ซึ่งผลมาจากสต็อกที่ต่ำ ผลผลิตลดน้อยลง และเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวพริกของไทย อย่างไรก็ตาม การปิดด่านมูเซ ซึ่งเป็นด่านสำคัญของเมียนมาและจีนตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 ส่งผลให้การส่งออกพริกสดต้องหยุดชะงัก ทั้งนี้พริกสดในประเทศนิยมปลูกในเขตอิรวดี มัณฑะเลย์ มาเกว และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-chilli-pepper-priced-at-k10000-per-five-visses-in-myawady-border/#article-title