การส่งออกการ์เม้นท์และสินค้าด้านการท่องเที่ยวกัมพูชามีมูลค่าถึง 9.3 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้า,รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวมูลค่ากว่า 9.35 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมของกัมพูชา โดยรายงานดังกล่าวได้เผยแพร่ในการประชุมประจำปีเพื่อทบทวนและกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับปี 2563 ซึ่งรายงานระบุว่ามีโรงงานกว่า 1,069 แห่ง ในปีที่แล้วซึ่งมีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอประกอบด้วย 823 แห่ง โรงงานสินค้าด้านการท่องเที่ยว 114 และโรงงานรองเท้า 132 แห่ง มีการจ้างแรงงานรวมกัน 923,313 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกล่าวในการกล่าวเปิดงานว่ากระทรวงกำลังทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนในอุตสาหกรรมและจัดหาสินค้า รวมถึงบริการที่ดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายของกระทรวงคือการช่วยให้ภาคเอกชนมีความก้าวหน้าซึ่งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าแห่งกัมพูชา (GMAC) การส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชาคิดเป็น 75% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของกัมพูชาและ 90% ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้ซื้อเสื้อผ้ากัมพูชารายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692028/garment-footwear-and-travel-goods-exports-valued-at-9-3-billion

ผู้เชี่ยวชาญชี้เวียดนามจำเป็นหาตลาดข้าวใหม่ แทนตลาดจีน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-2019) จะส่งผลต่อการส่งออกของเวียดนามไปยังประเทศจีน สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ใบไม้ผลิที่จะเริ่มต้นเก็บเกี่ยวในพื้นที่กู๋ลองยาง (ราบลุ่มแม่น้ำโขง) ทั้งนี้ ในจังหวัดเหิ่วซางมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ 1,000 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบจากการรุกตัวของน้ำเค็ม แต่ชาวเกษตรได้เก็บเกี่ยวข้าวก่อนที่จะได้รับผลกระทบอยู่หลายร้อยเฮกตาร์และผลผลิตเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 7.7 ตันต่อเฮกตาร์ ในส่วนราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากต้องหาตลาดใหม่ นอกจากนี้ ทางบริษัท VinaFood เปิดเผยว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดจีนเป็นตลาดข้าวของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ในปัจจุบันมีการขยายตัวส่งออกไปยังหลายๆประเทศ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัสอาจไม่กระทบมากนักต่อการส่งออกของเวียดนาม ซึ่งในปีที่แล้ว ตลาดฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่วุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงควรขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ได้แก่ แอฟริกาและตะวันออกลาง เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592304/viet-nam-needs-to-find-new-rice-markets-to-replace-china-experts.html

การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเวียดนามในไตรมาสที่ 1 คาดว่าขยายตัว 3%

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถ้าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อยู่ในการควบคุมได้ ซึ่งอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศและมีส่วนแบ่งของสาขาอุตสาหกรรมมากที่สุด มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.38 สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากประเทศจีน จะได้รับผลกระทบอย่างมากเนื่องจากจีนเป็นแหล่งซัพพลายเออร์วัสดุและส่วนประกอบรายใหญ่ของเวียดนาม ขณะเดียวกัน อุตฯการผลิตที่ได้รับผลกระทบในทิศทางลบ ได้แก่ กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มผลิตยานยนต์และโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวดำเนินไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ทางสำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ได้เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส ได้แก่ การหาซัพพลายเออร์ ลดอัตราภาษีการส่งออก-นำเข้าและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมไปถึงควบคุมเงินเฟ้อและรักษาเสียรภาพเศรษฐกิจมหภาคและตลาดการเงิน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592301/industrial-sectors-growth-likely-to-hit-almost-3-in-q1.html

ธปท.คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นโตเกิน 3% ปีหน้า

ธปท.ประเมินผลกระทบโควิด-19 รุนแรงสุดไตรมาสแรก จ่อปรับเป้าจีดีพี 25 มี.ค.นี้ มั่นใจเศรษฐกิจกลับมาโตเกิน 3% ได้ในปี 64 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย ตัวเลขจีดีพีของสศช.ที่ออกมานั้น ต่ำกว่าตัวเลขที่ ธปท. ประมาณไว้ จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงแรง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบของภัยแล้งต่อผลผลิตเกษตร และผลกระทบจากความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณปี 63 ต่อการใช้จ่ายภาครัฐ ที่มากกว่าคาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 62 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปีนี้ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า(โควิด-19) ตั้งแต่ปลายเดือนม.ค. 63 ซึ่งเป็นปัจจัยใหม่ที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายของทุกฝ่าย.ทั้งนี้ ธปท.เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยใหม่ในวันที่ 25 มี.ค.นี้ โดยในระหว่างนี้ ธปท. จะติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นปัจจัยลบที่มีนัยสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เบื้องต้นคาดว่าผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่าจะรุนแรงที่สุดในไตรมาสแรกของปีนี้ ก่อนที่จะทยอยปรับดีขึ้นหลังสถานการณ์คลี่คลาย โดยเศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาขยายตัวเกิน 3% ได้อีกในปี 64 หากไม่มีปัจจัยลบอื่นเพิ่มเติม

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/758041

การก่อสร้างทางด่วนยกระดับในย่างกุ้งจะเริ่มสิงหาคมนี้

กระทรวงการก่อสร้างของเมียนมา (MOC) คาดว่าการก่อสร้างระยะแรกของทางด่วนยกระดับย่างกุ้ง (YEX) จะเริ่มขึ้นในเดือน กระทรวงพาณิชย์เปิดตัวคำขอขั้นสุดท้ายสำหรับข้อเสนอสำหรับการพัฒนาเฟส 1 ภายใต้ Public Private Partnership (PPP) มีผู้ประมูล 10 คนที่ผ่านการคัดเลือกโดยกำหนดวันสุดท้ายของการยื่นประมูลในวันที่ 30 เมษายน การก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้คาดใช้เวลาประมาณ 3.5 ปี ตั้งแต่ปี 61 รัฐบาลได้มองหานักลงทุนในการพัฒนา YEX ซึ่งจะต้องเชื่อมโยทางงธุรกิจและชุมชนที่อยู่อาศัยและลดความแออัดของการจราจรในศูนย์กลางการค้าของประเทศ และเพื่อเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จากการประมาณ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระยะแรกของ YEX ควรอยู่ระหว่าง 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 100 ล้านดอลลาร์ YEX เป็นโครงการที่มีความสำคัญสำหรับรัฐบาลและจะเป็นโครงการขนส่งแห่งแรกที่ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการ PPP โครงการจะประกอบด้วยถนนยกระดับสี่เลนระยะทาง 47.5 กิโลเมตรซึ่งจะเชื่อมโยงทางใต้ของย่างกุ้งซึ่งรวมถึงท่าเรือย่างกุ้งและเขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาว่าไปทางด้านทิศเหนือของเมืองซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติย่างกุ้ งสวนอุตสาหกรรม Mingaladon และทางด่วนย่างกุ้ง – มันดาเลย์ตั้งอยู่ ระยะที่หนึ่งของโครงการจะเกี่ยวข้องกับถนนวงแหวนสี่เลน 27.5 กม. ที่เชื่อมต่อตะวันออกและตะวันตกของย่างกุ้งรวมถึงสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง การประมูลระยะที่สองของโครงการคาดว่าจะเริ่มในปลายปีนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-yangon-elevated-expressway-start-august.html

งานแสดงสินค้าสร้างโอกาสแก่แรงงานและผู้ประกอบการสปป.ลาว

งานแสดงสินค้าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในการช่วยกระตุ้นยอดขายและทำให้คนในสปป.ลาวรู้จักสินค้าจากรายย่อยมากขึ้นนอกจากนี้ยังทำให้ ลูกจ้างมีโอกาสติดต่อกับนายจ้างได้โดยตรงภายในงาน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่พึ่งจบการศึกษาที่ต้องการงานในขณะนี้ซึ่งคาดว่าภายในงานจะมีตำแหน่งงานรองรับนักศึกษากลุ่มดังกล่าวมากถึง 2,000 ตำแหน่ง จากบริษัทมากกว่า 30 บริษัท งานดังกล่าวไม่เพียงแค่สร้างโอกาสแก่นักศึกษาในการได้งานแต่ยังมีการอบรมเพื่อเป็นแรงงานที่มีประสิทธิภาพอีกด้วยเพื่อประโยชน์ของทั้งฝั่งแรงงานได้โอกาสพัฒนาฝีมือและธุรกิจที่จะได้แรงงานที่มีคุณภาพกลับไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/job-fairs-successful-linking-employers-candidates-minister-113946

รองนายกรัฐมนตรีส่งเสริมการใช้ไอซีทีระบบดิจิตอลเพื่อพัฒนาประเทศ

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Somdy Duangdy ได้ให้คำแนะนำแก่ภาคการสื่อสารและโทรคมนาคมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อกระตุ้นการพัฒนาสำหรับการดำรงชีวิตของประชาชนและการพัฒนาโดยรวมของประเทศ ในปัจจุบันสปป.ลาวได้มีการนำอินเตอร์เน็ตเข้าไปบูรณาการกับการทำงานแต่ละกระทรวงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าจะเป็น ระบบการชำระเงินอออนไลน์ที่จัดการเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงยังอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจ SME ในสปป.ลาวอีกด้วย นอกจากยัง e-post, e-logistics, e-Finance และ e-commerce ที่เข้ามามีส่วนในการพัฒนาประเทศโดยรวมซึ่งถือเป็นรากฐานที่ดี ที่อนาคตสปป.ลาวจะนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการผลักดันประเทศไปข้างหน้า

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/deputy-pm-advises-ministry-maximise-use-ict-digitalisation-113945

ด้วยสถานการณ์ EBA ภาคเอกชนกำลังตัดสินใจที่จะโยกย้ายเงินลงทุนบางส่วนออกจากกัมพูชา

หอการค้ากัมพูชาและหอการค้าธุรกิจอื่นๆรวมถึงสภาธุรกิจมาเลเซียแห่งกัมพูชา หอการค้ายุโรปและหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา แสดงความเสียใจต่อการที่ยุโรปคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีการส่งออกของประเทศไปยังสหภาพยุโรปร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐจากสินค้าส่งออกทั้งหมด 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยจะคิดภาษีร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์รองเท้า ส่วนการนำเข้ารถจักรยานและข้าวจากกัมพูชาจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ซึ่งภาคเอกชนได้เรียกร้องให้พิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการตัดสินใจเพราะการย้ายจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาประมาณ 140 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับสินค้าที่ถูกขึ้นภาษี อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการในรูปแบบของการปฏิรูปโครงสร้างในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเพื่อรับมือกับผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของสหภาพยุโรป โดยภาคเอกชนยังคงเรียกร้องให้ทั้งสหภาพยุโรปและรัฐบาลมีส่วนร่วมในการหารือเกี่ยวกับประเด็นที่คณะกรรมาธิการเสนอขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691649/private-sector-regrets-eba-partial-withdrawal-decision

FTA ระหว่างกัมพูชาและจีนใกล้ประสบผลสำเร็จ

กัมพูชาและจีนกำลังวางแผนที่จะลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีในช่วงปลายปีนี้ โดยความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นหลังจากที่ทั้งคู่ปิดการเจรจารอบแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วในกรุงปักกิ่งประเทศจีน ซึ่งกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินเป็นผู้จัดประชุมหารือ โดยผลการเจรจารอบแรกของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัมพูชาและจีนซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้กำหนดหลักการแนวทางให้กับทีมเจรจาเพื่อให้พวกเขามีพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการอภิปรายรอบต่อไปที่มุ่งสู่การหาข้อสรุป ซึ่งหากหาผลสรุปได้เขตการค้าเสรีนี้จะเป็นกลไกใหม่ที่ส่งเสริมและกระจายศักยภาพทางเศรษฐกิจและวิสัยทัศน์ของทั้งสองประเทศ โดยข้อตกลงทางการค้านี้จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายการค้าการลงทุน การบริการและความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 5.16 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 6.04 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2560 และ 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ตามตัวเลขของรัฐบาล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691647/cambodia-china-closer-to-fta-signing-deal

กัมพูชามุ่งหวังส่งเสริมการส่งออกสิ่งทอไปยังญี่ปุ่น

กัมพูชาเช่นเดียวกับ สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม ได้รับการสนับสนุนในการปรับปรุงพัฒนาห่วงโซ่การผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของกลุ่ม ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้แทนจากกลุ่ม CLMV เกี่ยวกับศักยภาพการส่งออกจากทั้ง 4 ประเทศไปยังญี่ปุ่นและห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์นโยบายที่ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นกล่าวว่ากัมพูชาตั้งอยู่ในศูนย์กลางภูมิศาสตร์ของอาเซียนและมีเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการอธิบายประโยชน์ของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในกลุ่ม CLMV เกี่ยวกับการส่งออก ซึ่งผู้เข้าร่วมคาดว่าจะเข้าใจประเด็นและโอกาสที่ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอต้องเพิ่มการส่งออกไปญี่ปุ่นทุกปี ตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นคือ เสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์ โดยในปี 2561 กัมพูชาส่งออกไปญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 27.3% ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 17.8% ตามข้อมูลจากองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691648/hopes-to-boost-textile-exports-to-japan-with-added-value