ปีงบฯ 63-64 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตรพุ่ง 33%

7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาพุ่งแตะ 33.36% มูลค่า 3.46 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 ในปัจจุบัน แม้จะมีข้อจำกัดของการเปิดทำการของธนาคารและมาตรการควบคุมโควิด-19 แถบชายแดน สะท้อนจากการเพิ่มขึ้น 866.066 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณ (2562-2563) ที่ 2.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 22% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ได้แก่ ข้าวและปลายข้าว เมล็ดถั่ว ข้าวโพด ผักและผลไม้ งา ใบชา แห้งน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เกษตรอื่น ๆ ตลาดส่งออกสำคัญ เช่น จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา แต่บางครั้งตลาดสำคัญยังคงมีความไม่แน่นอนความต้องการของตลาดโลก ปัจจุบันภาครัฐได้เข้ามาช่วยเกษตรกรในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การจัดหาเมล็ดพันธุ์ และรับมือกับกับสภาพอากาศที่ยากจะคาดเดา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-up-33-per-cent-this-fy/

ราคาหม้อดินเผาในหมู่บ้านงามพญาอก ยังนิ่ง แม้เป็นที่ต้องการของตลาด

ความต้องการหม้อดินแบบดั้งเดิมอยู่ในระดับปานกลาง และราคาส่วนใหญ่มีเสถียรภาพในงามพญาอก  อำเภอญองอู้ จังหวัดญองอู้ เขตมัณฑะเลย์ ราคาของหม้อดินเผาอยู่ระหว่าง 2,000-7,000 จัตขึ้นอยู่กับลวดลายการออกแบบ ขนาด และคุณภาพ หมู่บ้าน Taunggon ใน ตำบลงามพญาอก ประกอบกิจการหม้อดินเผามาหลายชั่วอายุคน โดยทำการค้าและส่งท่าเรือไปยังเขตและรัฐอื่น ๆหมู่บ้านสามารถผลิตหม้อดินเผามากกว่า 250,000 ต่อปี โดยเฉพาะหม้อดินสำหรับน้ำดื่มเป็นที่ต้องการตลอดทั้งปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/prices-of-traditional-clay-pots-stable-in-ngapthayauk/#article-title

กัมพูชาได้รับประโยชน์จากการกระจายการลงทุนไปยังเมียนมาที่คาดว่าจะลดลง

การปฏิวัติในเมียนมาคาดส่งผลประโยชน์เชิงบวกจากการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในเมียนมาไปยัง กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย และไทย เป็นสำคัญจากปัจจัยสนับสนุนทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งจากรายงานผลการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าการส่งออกของไทยไปยังเมียนมาคาดว่าจะลดลงสูงสุด 9.6 หมื่นล้านบาท ในปีนี้ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองของเมียนมา ซึ่งผลกระทบจากการปฏิวัติในเมียนมา 100 วันหลังการปฏิวัติครั้งที่ 4 โดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง ลาย (MIN AUNG HLAING) ได้คาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาในปี 2021 จะติดลบร้อยละ 10 ถึงลบร้อยละ 20 โดยไตรมาส 1/2021 เศรษฐกิจเมียนมาหดตัวร้อยละ 2.5 สูญเสีย FDI กว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีปริมาณการว่างงานกว่า 6 แสนคน ค่าเงินจ๊าดอ่อนค่าร้อยละ 18 (24/5/2564) และรายได้ของครัวเรือนเมียนมาลดลงถึงร้อยละ 83 ส่วนราคาน้ำมันเพิ่มร้อยละ 15 ราคาข้าวขายปลีกเพิ่มร้อยละ 35 ทั้งนี้ FDI ของเมียนมาที่ลดลงจะอยู่ในกลุ่ม พลังงาน อุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ น้ำมันและก๊าซ ขนส่ง และนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50864456/cambodia-stands-to-benefit-from-fdi-diversion-as-exports-to-myanmar-expected-to-drop/

โควิด! พ่นพิษฉุดราคาส่งออกมะม่วงเซ่งตะโลงไปจีน ดิ่งลง

สมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีแห่งเมียนมา เผย ราคามะม่วงเซ่งตะโลงส่งออกไปจีนลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จาก 120 หยวนต่อตะกร้า แต่ในปีนี้ราคาร่วงเกลือ 100 หยวนต่อตะกร้า (1 ตะกร้าละ น้ำหนัก 16 กิโลกรัม) ผลจากการที่รถบรรทุกหลายพันคันติดอยู่ที่ชายแดนเมียนมา – จีน จากการปิดด่านเพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้คุณภาพมะม่วงลดลงและราคาก็ลดลงตามไปด้วย ปัจจุบันมีการส่งออกทางรถบรรทุกมะม่วงประมาณ 10 หรือ 15 คันไปยังจีนทุกวัน ส่วนใหญ่ผลผลิตมาจากเมืองสะกายและเมืองกะธา โดยมะม่วงส่วนใหญ่จะปลูกกันในเขตอิรวดีบนพื้นที่ประมาณ 46,000 เอเคอร์ ตามด้วยเขตพะโค 43,000 เอเคอร์ เขตมัณฑะเลย์ 29,000 เอเคอร์ รัฐกะเหรี่ยง 24,000 เอเคอร์ รัฐฉาน 20,400 เอเคอร์ และเมืองซะไกง์ 20,000 เอเคอร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-seintalone-mango-exported-to-china-plummets-this-year/#article-title

พ่อค้าถั่วชี้ เกษตรควรปลูกถั่วดำ ถั่วแระเพิ่ม คาดราคาพุ่งขึ้นถึงปีหน้า

ผู้ค้าถั่ว เผย เกษตรกรควรหันมาปลูกถั่วดำและถั่วแระให้มากขึ้นเนื่องจากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นจนถึงปีหน้าจากความต้องการของอินเดียที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันอินเดียขอโควต้าการนำเข้า 400,000 ตัน ขณะที่สต๊อกถั่วมีประมาณ 250,000 ตัน ส่งผลให้ราคาเพิ่มตามไปด้วย โดยถั่วดำจะทำการเพาะปลูกในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคม ในเขตพะโคและเขตอิระวดี พื้นที่ตอนบนของมัณฑะเลย์และเขตมะกเว ส่วนถั่วแระจะมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วประเทศและส่วนใหญ่ผลิตในตอนกลางของประเทศ ราคาของถั่วดำและถั่วแระขึ้นอยู่กับความต้องการของอินเดีย โดยราคาส่งออกถั่วเมียนมาลดลง 97,000 จาก 120,000 จัตในปี 2558 ซึ่งตั้งแต่ปี 60 จะเห็นว่าราคถั่วเมียนมาลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อปีที่แล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของอินเดียส่งผลต่อพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเริ่มหันมานำเข้าถั่วจากเมียนมามากขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 64 ราคาถั่วดำอยู่ที่ 100,000-130,000 จัตต่อ 60 visses ในขณะที่ถั่วแระราคาอยู่ที่ 86,000-95,000 จัตต่อ 60 visses (1 visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/more-black-beans-pigeon-peas-to-be-grown-as-prices-likely-to-rise-higher-until-next-year/

พิษปฏิวัติฉุดจีดีพีเมียนมาปี 64 ดิ่ง 10% หวั่นกระทบส่งออกไทยสูญ 9.6 หมื่นล้าน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผย 100 วันหลัง “มิน อ่อง ลาย” ปฏิวัติ ทุบจีดีพีเมียนมาปี 64 ติดลบ 10% ขณะนี้มูลค่าการส่งออกของไทยไปเมียนมา คาดว่าจะ -51.6% ถึง – 82.2% หรือมีมูลค่าลดลง 60,670 ถึง 96,590 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทย -0.8% ถึง -1.3% สำหรับ 10 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเสี่ยงที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมาก เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล เหล็ก ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เภสัชภันฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเซรามิก ทั้งนี้คาดว่า FDI ในเมียนมาปี 2564 จะ -76.1% ถึง -85.4% หรือมีมูลค่าหายไป 202,902 ล้านบาท ถึง 227,698 ล้านบาท

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-677777

เกษตรกรเมือง Kyaukse ปลื้ม ขายมะนาวได้ราคาดี

เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวเมือง Kyaukse เขตมัณฑะเลย์เผยค่อนข้างพอใจกับการขายผลมะนาว เนื่องจากปลูกและดูแลได้ง่าย ให้ผลผลิตสูง และเก็บจำหน่ายได้เกือบตลอดทั้งปี ทั้งนี้พบว่าราคาหน้าสวนขายได้ 100-150 จัตต่อ 1 ลูกขึ้นอยู่กับขนาด สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lemon-growers-in-kyaukse-happy-with-good-sale-of-lemon-fruits/#article-title

5 เดือนแรกของงบฯ ปี 63-64 เมียนมานำเข้าเหล็กมากกว่า 315 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค. – ก.พ. )  มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของเมียนมามีมูลค่าประมาณ 315.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกรมศุลกากรเมียนมา ปัจจุบันเมียนมามีความต้องการเหล็กประมาณ 2.5 ล้านตันต่อปีและนำเข้าถึง 92% จากข้อมูลของ Myanmar Steel Association (MSA) ตลาดมีแนวโน้มเติบโตถึง 5.4 ล้านตันต่อปีในปี 2573 ดังนั้นจึงมีการจัดตั้ง บริษัท เอ็มเอสเอ จำกัด (มหาชน) ขึ้น และพยายามตั้งเขตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าเพื่อลดการนำเข้าและผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งการศึกษาเพื่อดำเนินโครงการจะอยู่ในเขตอิระวดี เขตตะนาวศรี รัฐยะไข่ และรัฐมอญ ดังนั้นรัฐจึงสนับสนุนโดยการลดหย่อนภาษีและสิทธิในที่ดินเพื่อควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมายและการทุ่มตลาด เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมเหล็กมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม โครงการนี้จึงมีความจำเป็นเพราะถือว่าเป็นอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้จีนเป็นซัพพลายเออร์หลักของเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังนำเข้าจากอินเดียและสาธารณรัฐเกาหลี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-iron-steel-materials-imports-exceed-315-mln-in-five-months/

ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร มัณฑะเลย์ ปล่อยกู้77 พันล้านจัต อุ้มเกษตรกรช่วงมรสุม

ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 64 เป็นต้นไป ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร สาขามัณฑะเลย์ปล่อยเงินกู้เพื่อการเกษตรกว่า 77 พันล้านจัตให้กับเกษตรกรจาก 23 เมืองเพื่อการเพราะปลูกข้าวและพืชอื่นๆ ในช่วงฤดูมรสุม โดยธนาคารจะปล่อยกู้ให้กับเกษตรกรที่ชำระหนี้ของฤดูกาลที่แล้ว (2563) แล้วเท่านั้น และคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี โดยการปล่อยเงินกู้ให้เกษตรกรที่ปลูกพืชในช่วงฤดูมรสุมจะแบ่งเป็น การปล่อยเงินกู้ 150,000 จัตต่อเอเคอร์สำหรับการปลูกข้าวเปลือกและ 100,000 จัตต่อเอเคอร์สำหรับการปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว งา ไผ่ ถั่วลูกไก่ ถั่วดำ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-k77-bln-loans-to-be-disbursed-to-farmers-to-grow-monsoon-crops-this-year/

ชาวสวนยางเมืองโฮนมะลี่นปลื้ม ยางพาราราคาพุ่ง สร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำ

ชาวสวนยางจากเมืองโฮนมะลี่น เขตซะไกง์ สร้างกำไรงามจากราคายางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขยับราคาจาก 700 จัตต่อปอนด์ เป็น 900 จัตต่อปอนด์ในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วผลผลิตยางต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 800-1,000 ปอนด์ซึ่งเกษตรกรจะได้กำไร 400,000-500,000 จัต โดยแผ่นยางจากจะถูกส่งไปยังเมืองโมนยวา และ มัณฑะเลย์ การปลูกยางพาราของเมืองโฮมาลินเริ่มในปี 2548 พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นขึ้นทุกปี โดยในปี 2564 มีพื้นที่เพาะปลูกเถึง 8,187 อเคอร์ ซึ่งปีนี้สามารถกรีดยางได้ 531 เอเคอร์และสามารถผลิตยางธรรมชาติประมาณ 300,000 ปอนด์ต่อปี นอกจากนี้ยังมีการปลูกผสมผสานกับต้นกาแฟภายในสวนยางพาราเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-rubber-price-boosts-profit-in-homalin-township/#article-title