“เวียดนาม” เผยภาคอุตสาหกรรมและอสังหาฯ แม่เหล็กดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

กระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.ย. ชี้ว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 18.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 15.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยตัวเลขข้างต้น มีเงินทุนที่ไหลเข้าไปยังโครงการใหม่กว่า 7.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวน 1,355 โครงการ หดตัว 43% และเพิ่มขึ้น 11.8% ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 12.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 64.6% ของทุนจดทะเบียนรวม รองลงมาอสังหาริมทรัพย์ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (19% ของทั้งหมด) อย่างไรก็ดี ถึงแม้ยอดการลงทุนที่จดทะเบียนใหม่จะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อโรคและความไม่แน่นอนทั่วโลก แต่เงินทุนที่เพิ่มขึ้นจะเช้าไปยังโครงการในปัจจุบันและการใช้จ่ายในการซื้อหุ้นยังคงเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://en.nhandan.vn/processing-manufacturing-real-estate-top-fdi-attraction-in-nine-months-post118357.html

ถั่วลิสงเมียนมาล้นตลาด กดราคา น้ำมันถั่วลิสงลดลงเหลือ 11,000 จัตต่อ viss

ผู้ค้าถั่วตลาดมัณฑะเลย์ เปิดเผยว่า ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ราคาของน้ำมันถั่วลิสงลดลงเหลือ 11,000 วอนต่อครั้ง เนื่องจากผลผลิตถั่วลิสงสดออกมาจำนวนมากในตลาดมัณฑะเลย์ ซึ่งเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา น้ำมันถั่วลิสงราคาพุ่งไปถึง 16,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ส่วนราคาถั่วลิสงแตะ 6,500-7,500 จัตต่อ viss แต่เมื่อผลผลิตออกมาล้นตลาดส่งผลให้ราคาลดลงเหลือ 5,300-5,800 จัตต่อ viss นอกจากนี้ การล็อกดาวน์ของชายแดนรุ่ยลี่ทำให้การค้าขายหยุดชะงัก ราคาจึงมีแนวโน้มลดลง เป็นผลดีต่อผู้บริโภค และถั่วลิสงจากภาคกลางและรัฐฉานกำลังจะถูกเก็บเกี่ยว ด้วยเหตุนี้ ราคาน้ำมันถั่วลิสงจึงไม่น่าจะปรับตัวสูงขึ้น โดยถั่วลิสงส่วนใหญ่ปลูกในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ซะไกง์ มะกเว และพะโค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/abundant-supply-of-peanut-drives-oil-price-down-to-k11000-per-viss/#article-title

กระทรวงการท่องเที่ยว สปป.ลาว จับมือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว

กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว สปป.ลาว กำลังพิจารณาร่วมมือกับ Booknea Inc. บริษัทตัวแทนท่องเที่ยวออนไลน์ของ สปป.ลาว เพื่อส่งเสริมการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โดยหลายปีที่ผ่านมาทางรัฐบาล สปป.ลาว มองว่าการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูล ซึ่งเกี่ยวกับการท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว เนื่องจากขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมเรื่องดังกล่าว ส่งผลทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่ค่อยเห็นถึงการเติบโต จนนำมาสู่การร่วมมือกันระหว่าง Booknea inc. กับภาครัฐบาล ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจะเน้นไปที่การทำสื่อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูก เข้าถึงง่าย และเรียลไทม์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Tourism189.php

รัฐบาลกัมพูชาออกพันธบัตรรัฐบาล 10.2 ล้านดอลลาร์ ผ่าน CSX

กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) ออกพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 10.2 ล้านดอลลาร์ ผ่านตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) โดยในรอบนี้ MEF ออกพันธบัตรจำนวน 1 ล้านหน่วย ที่มูลค่า 250 ดอลลาร์ต่อหน่วย ให้อัตราผลตอบแทนร้อยละ 2.2 ซึ่งมีธนาคารและสถาบันการเงินกว่า 8 แห่ง เข้าซื้อพันธบัตร โดยในระยะถัดไปธนาคารแห่งชาติกัมพูชาได้ประกาศว่า MEF วางแผนที่จะออกพันธบัตรรัฐบาลอีกครั้ง บนราคา 243 ดอลลาร์ต่อหน่วย สำหรับพันธบัตรที่จะมีอายุครบในช่วงปี 2022-2023 ซึ่งรายได้ที่เกิดจากการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนำไปลงทุนในโครงการของรัฐ นำไปใช้จ่ายคืนหนี้ของรัฐ หรือนำไปทำภารกิจใดๆ ของรัฐต่อไป โดยผู้ลงทุนที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะได้รับการลดหย่อยภาษีหัก ณ ที่จ่ายครึ่งหนึ่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501158115/10-2m-govt-bond-listed-on-csx-sans-regulators-approval/

ธนาคารโลกปรับ GDP กัมพูชา ปี 2022 โต 4.8%

ธนาคารโลกได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาขึ้นเป็นขยายตัวร้อยละ 4.8 ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาร้อยละ 4.5 โดยในปีหน้าธนาคารโลกคาดว่ากัมพูชาจะเติบโตถึงร้อยละ 5.2 ซึ่งได้กล่าวในรายงาน “East Asia and the Pacific economic update October 2022” โดยคาดว่าการส่งออกที่แข็งแกร่งของกัมพูชาจะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี สะท้อนถึงอุปสงค์ภายนอกที่แข็งแกร่ง ในขณะที่ภาคบริการภายในประเทศยังคงซบเซา ซึ่งการบริโภคภาคเอกชนภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดี โดยในรายงานระบุเพิ่มเติมว่าอัตราเงินเฟ้อภายในกัมพูชาเร่งตัวขึ้นส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของภาคประชาชน จากราคาพลังงานและอาหารที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501158113/world-bank-revises-up-2022-cambodia-gdp-growth-to-4-8/

ราคาประเมินที่ดินใหม่พุ่ง 8% อีอีซีอ่วม 30% ธนารักษ์จ่อประกาศรอบใช้ 1 ม.ค.66

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ จะประกาศใช้ บัญชีราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบใหม่ของปี 2566-2569 เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2566 เนื่องจาก เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่วนสถานการณ์โควิดคลี่คลาย และประเทศไทยได้กลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มที่แล้ว โดยการประกาศราคาประเมินที่ดินจะทำทุก ๆ รอบ 4 ปี แต่ราคาประเมินที่ดินรอบปี 2566-2569 จะนำตัวเลขที่เคยมีการประเมินไว้ช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้มาใช้ โดยไม่มีได้มีการทบทวนราคาประเมินใหม่แต่อย่างใด สำหรับโดยภาพรวมราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่จะเริ่มใช้ปีหน้าจะมีมูลค่าปรับขึ้นเฉลี่ย 7-8% ส่วนการปรับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในปี 2566 อาจส่งผลแก่ประชาชน ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะการเก็บภาษีที่ดินจะใช้ราคาประเมินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์มาเป็นฐานประเมินในการคำนวณภาษี ส่วนจะมีมาตรการบรรเทาภาระผู้เสียหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณา อนึ่ง ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีการประเมินราคาที่ดินแบ่งทั้งหมดเป็น 33 ล้านแปลง โดยภาพรวมทั่วประเทศปรับขึ้นเฉลี่ย 8.9% โดยพื้นที่กรุงเทพฯ ปรับขึ้นประมาณ 3% และต่างจังหวัดประมาณ 8% ส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงอยู่ทำเลแนวรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ถนนตัดใหม่ และพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/article/news/land-price-raise-eec-280965

รัฐบาลคุยมาถูกทาง! ตัวเลขส่งออกกระฉูด ส.ค.โตต่อเนื่อง 7.5%

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขส่งออกของไทยเดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่า 23,632.72 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 7.54% หรือคิดเป็นเงินไทย 861,169.17 ล้านบาท ขยายตัว 20.38% จากช่วงเดือนสิงหาคม ของปี 2564 ขณะที่ภาพรวมการส่งออกของไทย 8 เดือนแรก (มกราคม – สิงหาคม 2565) มีมูลค่า 196,446.83 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 11% หรือคิดเป็นเงินไทย 6,635,446.32 ล้านบาท นับว่าขยายตัว 21.93% จากช่วงเดียวกันของปี 2564 สะท้อนสัญญาณบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย แม้หลายปัจจัยในโลกได้รับผลกระทบจากความท้าทาย แต่สินค้าหลายตัวของไทยยังมีศักยภาพแข่งขันในตลาดโลกได้

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/231028/

“เวิลด์แบงก์” ชี้ภาวะเศรษฐกิจสปป.ลาว ชะลอตัว

รายงานอัพเดทเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (East Asia and Pacific Country Economic Updates) ประจำเดือนต.ค.65 ของธนาคารโลก ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว มีแนวโน้มชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเม.ย. สาเหตุสำคัญมาจากเผชิญกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก โดยธนาคารโลกได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว เหลือ 2.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.8%

ทั้งนี้ ตามข้อมูลของธนาคารโลก เปิดเผยถึงผลการดำเนินทางด้านเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าได้รับแรงกดดันจากภาวะอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว หนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้นและการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในระยะสั้น เพื่อรองรับกับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาอาหารและเชื้อเพลิง

นอกจากนี้ สปป.ลาว ยังคงเผชิญกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง ทำให้เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ กดดันต่อสถานะของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten188_slower.php

“เวิลด์แบงก์” ปรับเพิ่มจีดีพีเวียดนามปี 65 ขยายตัว 7.2%

รายงานอัพเดทเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (East Asia and Pacific Country Economic Updates) ประจำเดือนตุลาคม 2565 ของธนาคารโลก คาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 ขยายตัว 7.2% เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่กำลังฟื้นตัว และการส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธนาคารโลกชี้ว่าการฟื้นตัวของภาคส่งออกและความต้องการสะสมที่ถูกอั้นไว้ (pent-up demand) รวมถึงการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามในระยะกลาง-ระยะยาว สามารถบรรลุเป้าหมายของประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง อย่างไรก็ดีขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นนวัตกรรม

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnams-economy-to-expand-72-in-2022-wb-post118336.html

“หอการค้ายุโรป” มองเศรษฐกิจเวียดนามมีมุมมองเชิงบวก

คุณ เหงียน ไฮ มินห์ รองประธานหอการค้ายุโรป (EuroCham) ประจำเวียดนาม กล่าวว่าธุรกิจยุโรปมองทิศทางเศรษฐกิจของเวียดนามไปในทิศทางที่เป็นบวกและอยู่ในช่วงค่อยๆ ฟื้นตัว หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถึงแม้จะเผชิญกับอุปทานที่หยุดชะงักทั่วโลก แต่เวียดนามยังคงส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหภาพยุโรป มีมูลค่าเกินกว่า 35.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 และมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามทำรายได้จากการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 23.6% คิดเป็นมูลค่า 31.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้าราว 21.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบในเชิงบวกจากผลของข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยุโรปในเวียดนาม เปิดเผยถึงผลประโยชน์ที่ได้รับมากขึ้นจากข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว เนื่องจากการส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดสหภาพยุโรปส่วนใหญ่มาจากบริษัท FDI

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/european-enterprises-optimistic-about-vietnams-economy-eurocham/239016.vnp