รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลุยหารือฟื้นเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงกลางเดือนก.ย.2564 ที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ผ่านการประชุมทางไกล เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และติดตามความคืบหน้าความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยการประชุมร่วมกับกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า ได้เห็นชอบแผนงานด้านการค้าและการลงทุนร่วมกัน การหารือเกี่ยวกับการเตรียมการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป โดยจะจัดประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในประเด็นการค้าใหม่ ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการค้าและพัฒนาที่ยั่งยืน และเห็นพ้องที่จัดประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงกิจกรรมความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้แน่นแฟ้นขึ้น

ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/118394

นครโฮจิมินห์กลับมาเปิดประกอบการค้าปลีกใน ‘โซนสีเขียว’

เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการและผู้ค้าปลีกในเมืองโฮจิมินห์ เตรียมเปิดกิจการอีกครั้งในพื้นที่ “โซนสีเขียว” ทันทีหลังจากมาตรการเว้นระยะทางสังคม หลายๆพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ของประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ เช่น กู๋จี, เกิ่นหย่อ, ฟูญวนและท๋าบิ่ญ เป็นต้น ในเมืองถูดึ๊ก (Thu Duc) ทั้งนี้ คุณเหงวียน ถิ กีม เงิน (Nguyen Thi Kim Ngoc) รองผู้อำนวยการเมืองอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าทางสำนักงานได้ประสานงานกับผู้ประกอบการ ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าจัดสรรสินค้าจำเป็นพร้อมแล้วและยังส่งเสริมการขายแก่ผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งได้ร้องขอให้เขตต่างๆ และเมืองถูดึ๊ก วางแผนที่จะเปิดตลาดอีกครั้ง ในขณะที่ยังควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-resumes-retail-activities-in-green-zones/208885.vnp

 

‘เวียดนาม’ เผยการเติบโตทางเศรษฐกิจดิ่งลง เหตุโควิด-19 ระบาดหนัก

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)  ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.42% เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการเว้นระยะทางสังคม โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวของจีดีพีในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คาดว่าจะลดลง 6.17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรก การผลิตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 4.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่เงินลงทุนไหลเข้ารวมจากต่างประเทศ มีมูลค่าราว 22.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออก-นำเข้า ประมาณ 53.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 69.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-gdp-growth-sees-sharp-decrease-in-first-nine-months-of-2021-due-to-pandemic-36326.html

 

เมียนมางดนำเข้ารถยนต์ หวังลดการใช้สกุลเงินต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาประกาศระงับการนำเข้ารถยนต์ต่างประเทศเพื่อลดการใช้เงินตราต่างประเทศ โดยจะระงับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.64 ผลพวงของการระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจล่าช้า หวังลดการใช้เงินตราต่างประเทศอันเนื่องมาจากการส่งออกที่ลดลงของประเทศ ทั้งนี้การนำเข้าและการออกใบอนุญาตนำเข้ารายบุคคลต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้าราชการ ตำรวจ และทหารที่มีความประพฤติที่ดีหรือได้รับเหรียญตราของหน่วยงานเท่านั้น

ที่มา: https://news-eleven.com/article/216866

สถานี Kasy ในโครงรถไฟลาว-จีนสร้างแล้วเสร็จ

ขณะนี้สถานีส่วนใหญ่ในโครงการรถไฟลาว-จีนสร้างเสร็จก่อนแผนเปิดรถไฟในเดือนธันวาคม สถานี Kasy ในแขวงเวียงจันทน์เป็นสถานีล่าสุดที่จะแล้วเสร็จและเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน สถานีนี้สร้างโดย China Railway Construction Group และได้รับการออกแบบให้คล้ายกับสถานีขนส่ง โดยมีจุดจอดเดียวและรถไฟสายกลาง 3 สาย และสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 150 คน สถานีครอบคลุมพื้นที่ 1498.7 ตารางเมตร  การรถไฟลาว-จีนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ One Belt, One Road ของจีน และจะช่วยทำให้ลาวที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นทางเชื่อมทางบก โดยมีทางรถไฟวิ่งจากคุนหมิงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และสิ้นสุดที่เวียงจันทน์ ส่วนถัดไปจะดำเนินต่อไปทางใต้ผ่านประเทศไทยไปยังสิงคโปร์

ที่มา:https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Economic_190.php

กัมพูชาลงนาม MoU ร่วมกับออสเตรเลีย ลงทุนด้านอาหาร

กัมพูชาและออสเตรเลียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนสำหรับ Agri-Food Investment Desk (AFID) ที่สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) มีเป้าหมายเพื่อสร้างงานและปรับปรุงมาตรฐานในภาคการเกษตรของกัมพูชา โดยพิธีการดังกล่าวจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ ได้รับเกียรติจากเลขาธิการ CDC และรัฐมนตรี Sok Chenda Sophea พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นโดย CDC ร่วมกับกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (MAFF) และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย (DFAT) โดย CDC กล่าวว่า พิธีดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ CDC, MAFF และ DFAT ในการส่งเสริมการลงทุนด้านการเกษตรภายใต้กรอบของโครงการห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรของกัมพูชา-ออสเตรเลีย (CAVAC) ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นตัวช่วยในการปรับปรุงความปลอดภัยทางอาหารและลดความยากจน ผ่านการสร้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อเดือนที่แล้ว CDC อนุมัติโครงการ 376 โครงการมูลค่าเกือบ 9.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งลงทุนในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50944283/deal-on-food-investment-signed-with-australia/

IMF คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาโตร้อยละ 2.2

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกัมพูชา (GDP) ว่าจะมีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ในปีนี้ ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 4.2 โดยได้รายงานเพิ่มเติมว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับว่ากัมพูชาจะควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีเพียงใด จนสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางกลับมาท่องเที่ยวในกัมพูชาอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาได้ทำการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชากรแล้วกว่าร้อยละ 83 ของประชากรทั้งหมดประมาณ 16 ล้านคน โดยตั้งเป้าการกระจายวัคซีนไว้อย่างน้อยร้อยละ 91 ของประชากร ซึ่ง IMF กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าการขาดดุลทางการคลังของกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบร้อยละ 6 ในปีนี้ เนื่องจากรายรับทางด้านภาษีที่ลดลงและความต้องการใช้จ่ายด้านสุขภาพและความช่วยเหลือทางสังคมที่สูงขึ้น โดยคากว่าหนี้สาธารณะจะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 36 ของ GDP ซึ่งในปี 2019 ปริมาณหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละ 29

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50944430/economy-will-grow-2-2-before-recovery-says-imf/

จีดีพีเวียดนาม Q3 ติดลบ 6.17%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 3/64 หดตัว 6.17% เนื่องจากมาตรการเว้นระยะทางสังคมและข้อจำกัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในขณะที่ จีดีพีในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.42% เมื่อเทียบกับ 2.12% ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย. ภาคบริการหดตัว 0.69% เมื่อเทียบต่อปี ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง ขยายตัว 3.57% และภาคเกษตร ป่าไม้และประมง 2.74% อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีจำนวน 85,500 ราย ลดลง 13.6% เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งจากการสำรวจพบว่าธุรกิจที่อยู่ในภาคการผลิตส่วนใหญ่ 43.4% มองว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในไตรมาสสุดท้าย นอกจากนี้ ธนาคารโลก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตที่ 4.8% ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1049629/hcm-city-wants-tax-reduction-for-covid-affected-businesses.html

‘เวียดนาม’ เผย GDP ช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 โต 1.42%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 1.42% โดยเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ และหลายพื้นที่ของประเทศยังคงดำเนินมาตรการเว้นระยะทางสังคม โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คาดว่าจะลดลง 6.17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจรายไตรมาส ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ยังคงเป็นแรงผลักดันของเศรษฐกิจ ด้วยอัตราการขยายตัว 6.05% ในขณะที่ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.24% นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจ พบว่าภาคเกษตร ป่าไม้และประมง มีสัดส่วน 12.79% ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง และภาคบริการ คิดเป็น 38.03% และ 40.19% ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/gdp-grows-by-only-142-during-nine-month-period-894286.vov

เดือนส.ค.ของปีงบฯ 63-64 FDI ภาคการเกษตรเมียนมา คิดเป็นเพียง 1% ของการลงทุนทั้งหมด

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย ณ เดือนส.ค. 2564 ของปีงบประมาณ 2563-2564 การลงทุนจากต่างประเทศในภาคเกษตรของเมียนมามีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2560-2561 มีการลงทุนในภาคเกษตรจำนวน 134.485 ล้านดอลลาร์ แต่ไม่มีการลงทุนในปีงบประมาณ 2559-2560 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 จนถึงสิ้นเดือนก.ย. 2561 มีการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนกว่า 77.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีการลงทุนในภาคการเกษตร กว่า 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 0.51% ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด .จนถึงปัจจุบัน มีเม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 87.969 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการลงทุนในภาคการเกษตร เพียง 441.838 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในด้านการปศุสัตว์และการประมงมีการลงทุน 926.218 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/216778