รัฐบาล สปป.ลาวออกคำสั่งเตรียมชดเชยคนตกงาน

นาย Oudone Maniboune รองอธิบดีกรมการจัดการแรงงาน กล่าวเมื่อวันอังคารว่า กระทรวงได้สั่งให้บางธุรกิจที่ระงับการดำเนินการในเดือนเมษายน ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงให้จ่ายเงินค่าจ้างตามปกติให้ลูกจ้าง ทั้งนี้ธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างร้ายแรงควรจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติ นส่วนคนงานที่ค่าจ้างกำหนดโดยผลผลิตหรือจ่ายเป็นรายวันและมีรายได้น้อย ควรจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่พวกเขามักจะได้รับ หรือประมาณ 550,000 กีบต่อเดือน ขณะนี้มีผู้ว่างงานหลายพันคนต้องการความช่วยเหลือทางการเงินอย่างรวดเร็วเพื่อครอบคลุมค่าครองชีพรายวัน ภาคเอกชนเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซง โดยขอให้ธนาคารขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ย และให้สถาบันไมโครไฟแนนซ์จัดหาเงินกู้ฉุกเฉินสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้ข้อเรียกร้องและคำสั่งของรัฐบาลเป็นไปเพื่อรักษาระดับการจ้างงานให้ได้ดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบันที่ตัวพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องและหากไม่มีการควบคุมที่ดีอาจนำมาซึ่งวิกฤตด้านเศรษฐกิจและแรงงานในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt191.php

ภัยแล้งนำความเสียหายมาสู่ภาคการผลิตข้าวในกัมพูชา

รายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อมกัมพูชา ระบุว่า การสูญเสียผลผลิตข้าวที่เกิดจากภัยแล้งมีมูลค่าความเสียหายมากถึง 100 ล้านดอลลาร์ โดยกล่าวเสริมว่าภัยแล้งในช่วงระหว่างปี 2015 ถึง 2019 ภายในประเทศกัมพูชาได้รับผลกระทบบนพื้นที่การเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งพื้นที่จำนวน 201,490 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายทั้งหมด โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตข้าวคิดเป็นจำนวนรวม 624,262 ตัน หรือมูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ทางด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกัมพูชา ทราบถึงปัญหา จึงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาและสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการน้ำและดินได้ว่า ควรใช้เทคนิคการทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ซึ่งสามารถช่วยให้เกษตรกรปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และถือเป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวในเวลาเดียวกัน โดยกระทรวงได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ ทักษะ การแบ่งปันประสบการณ์ และการเพิ่มการเผยแพร่เทคนิคใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชน ให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการทำการเกษตร ควบคู่ไปกับภาครัฐให้การสนับสนุน

ที่มา : http://khmertimeskh.com/50943617/droughts-caused-about-100-million-in-rice-production-losses/

ADB อนุมัติเงินกู้เพื่อการปรับปรุงถนนแก่รัฐบาลกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้จำนวน 82 ล้านดอลลาร์ ให้กับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อใช้ในการปรับปรุงถนนในเขตพื้นที่จังหวัด ไพรแวง และกันดาล โดยคาดว่าโครงการนี้จะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจอนุภาคกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่ง ADB ได้ให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นระยะที่ 2 ของโครงการปรับปรุงเครือข่ายถนน โดยความพยายามนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับเวียดนาม และสนับสนุนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดนระหว่างจังหวัด ไพรแวง และกันดาล ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดแผนในการพัฒนาระดับชาติเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง และมีมันคง โดยสามารถรองรับภาคการขนส่งภายในประเทศที่กำลังเผชิญอยู่กับความท้าทายในปัจจุบัน อาทิเช่น ถนนในชนบทส่วนใหญ่เป็นถนนราดยาง และมีเส้นทางอยู่จำกัด ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดด้านการขนส่ง รวมถึงเพื่อรองรับปัจจัยด้านการเติบโตของประชากรและการจ้างงานของประเทศภายในปี 2030

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50944155/adb-approves-82-million-loan-to-government-towards-road-improvement-projects/

พาณิชย์เผยค้าชายแดน-ผ่านแดน สค.โต 32.56%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในช่วงเดือน ส.ค.64 พบว่า มีมูลค่ากว่า 1.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.56 โดยเป็นการส่งออกกว่า 9.1 หมื่นล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 39 โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี การค้าชายแดนและผ่านแดน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.11 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.18 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกกว่า 6.82 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.03 โดยการค้าผ่านแดนไปยังประเทศจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากการส่งออกผลไม้ไปจีน มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท รวมถึงการเปิดด่านรอบประเทศที่มีอยู่ 97 ด่าน เปิดได้แล้ว 46 ด่าน โดยเฉพาะ ด่านฝั่ง สปป.ลาว มาเลเซียและกัมพูชา มีนโยบายเร่งรัดผลักดันให้มีการเปิดด่านได้เร็วขึ้นและมากที่สุด เพื่อให้การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนขยายตัวมากกว่าที่เป็นอยู่

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_201148/

เศรษฐกิจภูมิภาคยังชะลอตัว ด้านสปป.ลาวเศรษฐกิจเริ่มมีฟื้นตัว

ธนาคารโลกระบุ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงในสปป.ลาว ซึ่งสร้างลกระทบให้กับบริษัทและภาคครัวเรือนยาวนานขึ้น ตามข้อมูลอัปเดตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 ของธนาคารโลกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสที่สองของปี 2564 และการคาดการณ์การเติบโตได้รับการปรับลด ในส่วนสปป.ลาวการเติบโตของ GDP ในสปป.ลาวคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 2.2% ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 0.5% ในปี 2563 การคาดการณ์นี้ได้รับการแก้ไขลงจากการเติบโต 4% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิดครั้งล่าสุดยังคงรุนแรงและควบคุมไม่ได้ ปัจจัยภาคเกษตรและอุตสาหกรรมคาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตของสปป.ลาว จากการสนับสนุนจากอุปสงค์จากภายนอก เนื่องจากคู่ค้ารายสำคัญจะค่อยๆ ฟื้นตัว

ที่มา : เศhttps://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Economic_190.php

ธ.โลกหั่นคาดการณ์ศก.เอเชียตะวันออกเหตุโควิดสายพันธุ์เดลตาฉุดการเติบโต

ธนาคารโลกเปิดเผยรายงาน “East Asia and Pacific Fall 2021 Economic Update” โดยระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจอ่อนแรงลง และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในภูมิภาคเหล่านี้ ทั้งนี้ ‘มานูเอลา เฟอร์โร’ ประธานธนาคารโลกฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความพลิกผันในอนาคต ในปี 2563 นั้น ภูมิภาคแห่งนี้สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในปี 2564 นี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งให้การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคอ่อนแอลง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/962527

‘นครโฮจิมินห์’ เรียกร้องให้ปรับลดภาษีแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

คณะกรรมการประชาชนของเมืองโฮจิมินห์ ให้คำแนะนำหลายประการสำหรับพระราชกฤษฎีกาของกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 2% โดยในเอกสารที่ส่งไปยังรัฐบาลนั้น ยังเสนอเพิ่มเติมให้ทำการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าเช่าที่ดิน ตลอดจนขยายเวลาชำระภาษีและเงินอุดหนุนดอกเบี้ย อีกทั้ง เรียกร้องให้ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลง 50% แก่ธุรกิจที่มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 2 แสนล้านล้านดอง (8.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีนี้ นอกจากนี้ สำหรับประเด็นการยื่นภาษี ควรขยายออกไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า โดยไม่มีการปรับการชำระเงินที่ล่าช้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1049629/hcm-city-wants-tax-reduction-for-covid-affected-businesses.html

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าอีก 5 ปีข้างหน้า ยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่ 710,000 ราย

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ได้ประสานงานกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังร่างประกาศการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจปี 2564-2568 ตั้งเป้าการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 710,000 ราย ซึ่งภายใต้เอกสารดังกล่าว วัตถุประสงค์ของนโยบายเพื่อช่วยเหลือธุรกิจในการฟื้นฟู ขยายธุรกิจและพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน และในปี 2568 เวียดนามคาดว่าจะมีบริษัทกว่า 2.1 ล้านราย ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะผลักดันโซลูชั่น 8 กลุ่ม มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงการลงทุนและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนขยายตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้เสนอให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่างๆ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-expects-710000-newlyestablished-enterprises-in-next-five-years/208759.vnp

ราคายาง รัฐมอญ พุ่งทะลุ 1,150 จัต สูงกว่าปีที่แล้ว ผลจากค่าเงินจัตอ่อนค่า

ปัจจุบันรัฐมอญ ราคายาง 1 ปอนด์มีราคา 1,150 จัต เพิ่มขึ้นจาก 700 จัตในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ผลจากการอ่อนค่าของเงินจัตและการซื้อยางทางเลือก แม้การส่งออกที่ชายแดนจีนปิดตัวลง สถานการณ์ปัจจุบันคือเมื่อเงินอ่อนค่าลง ผู้ที่ถือเงินจัตมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากขึ้น จึงทำให้คนเมียนมาเลือกที่จะถือเงินสกุลอื่นหรือสิ่งอื่นเพื่อซื้อสินค้าแทน ส่งผลให้ปัจจุบันราคายางต่อปอนด์จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,150 / 1,200 จัต

ที่มา : https://news-eleven.com/article/216737

ในช่วง 8 เดือน เวียดนามส่งออกไปกัมพูชาเพิ่มขึ้น

เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังกัมพูชามูลค่ารวม 3.15 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2021 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้รายงานถึงการขาดดุลการค้ากับกัมพูชาอยู่ราว 354.4 ล้านดอลลาร์ ในช่วงดังกล่าว มีสาเหตุหลักจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์หลัก 6 รายการ จากกัมพูชาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการนำเข้า เม็ดมะม่วงหิมพานต์และยางพาราเพิ่มขึ้นสูงสุด ซึ่งเวียดนามนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์จากกัมพูชาในช่วง 8 เดือนแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เท่าเมื่อเทียบปีต่อปีคิดเป็นมูลค่า 1.83 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน การนำเข้ายางของเวียดนามจากประเทศเพื่อนบ้านนั้นสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 5.3 เท่า ซึ่งอยู่ที่มูลค่า 821.8 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50942886/vietnams-exports-to-cambodia-up-16-7-percent-in-eight-months/