ความกังวลทวีความรุนแรงขึ้นภายหลังกรณีผู้ติดเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดในพื้นที่ทั่วประเทศ

กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่บันทึกไว้ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาได้จุดชนวนให้เกิดความกลัวที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชุมชนในเวียงจันทน์และต่างจังหวัด ทำให้ทางการต้องเสริมมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย ปัจจุบันสปป.ลาวมีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมแล้ว 15,015 ราย หลังจากได้รับการยืนยันผู้ป่วยรายใหม่ 199 รายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สถานการณ์วิด-19 สปป.ลาวอาจไม่ได้รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวค่อนข้างมีความอ่อนแอ ทำให้ยอดจำนวนติดเชื้อดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะรับมือไม่ไหวในระยะยาว ทั้งนี้ประชาชนสปป.มากกว่า 2.4 ล้านคนได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก คิดเป็นร้อยละ 33.3 ของประชากร ขณะที่เกือบ 1.8 ล้านคนได้รับวัคซีน 2 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 24.4 ถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจสำหรับรัฐบาลสปป.ลาว แต่ถึงอย่างไรเห็นได้ชัดว่าการแร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้ครอบคลุมที่สุดจะเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาลและจะทำให้สปป.ลาวรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ ถึงกระนั้นในระยะแรกมาตรการที่เข้มงวดเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดอย่างแพร่กระจายและรุนแรง รัฐบาลควรเข้มงวดกับมาตรการและในขณะเดียวกันแผนการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจก็ควรมีอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Concerns_171.php

ภาคการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำในกัมพูชา เร่งปรับตัวใช้พลังงานสะอาด

บริษัท EnergyLab ของกัมพูชา กำลังร่วมมือกับบริษัทในประเทศอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำพลังงานสีเขียวมาปรับใช้กับภาคการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำในกัมพูชา โดย ATEC Biodigesters, Sevea Consulting, CHAMROEUN Microfinance Plc และ People in Need Cambodia กำลังสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าร่วมโปรแกรมที่ถูกเรียกว่า SWITCH to Solar ซึ่งโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงคุณภาพและปริมาณผลผลิต ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน โดยทางด้านโครงการวางแผนที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ MSME ด้านการประมงและเกษตรภายในประเทศสูงถึง 9,000 ราย ภายในสิ้นปี 2024 ร่วมกับซัพพลายเออร์ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในท้องถิ่น 20 ราย ตัวกลางทางการเงิน 15 ราย และสร้างช่องทางการตลาดกว่า 70 ช่องทาง ในการช่วยเหลือ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50926340/aquaculture-sector-helped-to-use-sustainable-clean-energy/

กัมพูชาและเวียดนาม วางแผนเชื่อมทางด่วนระหว่างกัน

กัมพูชาและเวียดนามได้เพิ่มความเป็นไปได้ในการสร้างทางด่วนเชื่อมระหว่างสองประเทศ ณ จุดชายแดน หลังจากที่ทั้งสองประเทศได้หารือกันในประเด็นดังกล่าว โดยกระทรวงได้ขอให้บริษัทจีนผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางด่วนภายในกัมพูชา ให้ส่งรายงานขั้นสุดท้ายให้กระทรวงตรวจสอบ ซึ่งเร็ว ๆ นี้ทางการเวียดนามจะเริ่มก่อสร้างทางด่วนจากโฮจิมินห์ซิตี้ไปยังประตูชายแดนระหว่างประเทศ เพื่อเชื่อมต่อทางด่วนจากพนมเปญไปยังบาเวต โดยทางการหวังว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมปีนี้ และจะเร่งตรวจสอบการลงนามในสัญญาเงินกู้สัมปทานบนทางด่วนพนมเปญ-บาเวต ในระยะถัดไป และเมื่อรัฐบาลอนุมัติโครงการทางด่วน พนมเปญ-บาเวต แล้วจะถือเป็นทางด่วนแห่งที่ 2 ในกัมพูชา หลังจากที่ก่อนหน้าทางการกัมพูชาได้ก่อสร้างทางด่วนสาย พนมเปญ-สีหนุวิลล์ ที่จะมีความยาวกว่า 109 กิโลเมตร ซึ่งแล้วเสร็จไปแล้วมากกว่าร้อยละ 60

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50926403/cambodia-vietnam-boost-expressway-connection-hopes/

ครม. เห็นชอบแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนหลังโควิด-19 พร้อมแนวปฏิบัติ 5 เสาหลัก

น.ส.ไตรศุลี  ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และถ้อยแถลงข่าวร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนว่าด้วยเรื่องแผนฟื้นฟูฯดังกล่าว พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้การรับรองผลการศึกษาฉบับสุดท้ายของแผนฟื้นฟูฯ และถ้อยแถลงข่าวร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน  โดยผลการศึกษาดังกล่าวประกอบด้วยข้อเสนอแนะและแนวปฏิบัติ 5 เสาหลัก 1.สนับสนุนธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยการฟื้นฟูและการปรับตัว 2.ฟื้นฟูการเดินทางภายในภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ 3.สร้างความมั่นใจในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามหลักการของความยั่งยืนและมีความครอบคลุม 4.นำเสนอรูปแบบใหม่ของการบริการด้านการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนการแข่งขัน 5.สนับสนุนการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้เร็วในระยะยาว และการเตรียมความพร้อมในภาวะวิกฤติ

ที่มา : https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/38489

‘เวียดนาม’ เผย 8 เดือนแรก ปิดกิจการ 85,000 แห่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ธุรกิจกว่า 85,000 แห่ง ปิดกิจการ เนื่องจากได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 และจำนวนธุรกิจดังกล่าว ธุรกิจทั้งหมด 43,200 แห่งได้ปิดกิจการชั่วคราว เพิ่มขึ้น 25.9% ขณะที่ธุรกิจ 30,100 แห่งหยุดดำเนินงานและอยู่ระหว่างเลิกกิจการ เพิ่มขึ้น 24.5% โดยสิ่งที่น่าสังเกต คือในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจกว่า 24,000 แห่งออกจากตลาดในเมืองโฮจิมินห์ ถือเป็นฮอตสปอตการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คิดเป็น 28.1% ของตัวเลขทั้งหมด และเพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 นั้น ส่งผลกระทบสำคัญต่อการผลิตของกิจการในท้องถิ่นอย่างรุนแรง

ที่มา : https://tienphongnews.com/business-closures-hit-85000-over-eight-months-199878.html

‘เวียดนาม’ เผย 8 เดือนแรก รายได้ท่องเที่ยวดิ่งลงเหว

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รายได้รวมจากการท่องเที่ยวในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลง 61.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอง ขณะที่เดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียว มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าเวียดนามเพิ่มขึ้น 24.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน อยู่ที่ 9,300 คน ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวนนักท่องเที่ยวชาวเอเชียลดลง 96.7% มาอยู่ที่ 90,600 คน คิดเป็นสัดส่วน 86.2% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมที่เดินทางเข้าเวียดนาม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ดิ่งลง 98.6% ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวอเมริกา 98.5% อีกทั้ง เป็นผลมาจากบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศลดลง 5.5% เหลือเพียง 31.2 ล้านคน รายได้รวมจากการท่องเที่ยวในช่วงดังกล่าว ลดลง 36.5% อยู่ที่ 136,520 พันล้านดอง

ที่มา : https://tienphongnews.com/tourism-revenue-endures-steep-plunge-over-eight-months-199899.html

Economist ชี้ ย่างกุ้งรั้งท้ายอันดับที่ 60 เมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ของปี 2021

ย่างกุ้งติดอันดับหนึ่งใน 60 เมืองที่ต่ำที่สุดในดัชนีเมืองปลอดภัยปี 2564 ในการจัดอันดับของ Economist Intelligence Unit .ในปีนี้ โดยอิงจากสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยเมืองซิดนีย์หนึ่งในเมืองที่มีความปลอดภัยทางดิจิทัลมากที่สุดในโลก ส่วนย่างกุ้งอยู่ในลำดับที่ 60 ด้านความมั่นคงของสุขภาพ ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ส่วนเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นอยูในลำดับที่ 1 ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ส่วนสิงคโปร์ โคเปนเฮเกน โตรอนโต และ โตเกียว อยู่ในอันดับต้นๆ ในแง่ของความปลอดภัยส่วนบุคคล ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ขณะที่โคเปนเฮเกนเป็นหนึ่งในเมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 54 ในด้านความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนอันดับหนึ่งคือเมืองเวลลิงตัน โดยภาพรวมแล้ว ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 60 ด้วยคะแนนรวม 39.5 คะแนน

ที่มา : https://news-eleven.com/article/214875

สิงคโปร์กลายเป็นประเทศนำเข้าหลักอันดับสองของเมียนมา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย สิงคโปร์กลายเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมา โดยมีมูลค่าประมาณ 2.14 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 ของปีงบประมาณปัจจุบัน มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมีมูลค่า 166.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าถึง 2.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมียนมาขาดดุลการค้า 1.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) สิงคโปร์จึงกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองในภูมิภาครองจากไทย โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ส่วนการนำเข้าจะเป็นพลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/singapore-placed-myanmars-second-largest-importer/#article-title

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ จับมือ สปป.ลาว-สหรัฐฯ อย่างรอบด้านให้ผลพัฒนาที่ดีมากขึ้น

สปป.ลาวและสหรัฐฯ ได้บันทึกความร่วมมือที่ได้ผลดียิ่งขึ้น หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีขึ้นสู่ระดับใหม่ ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ในการกวาดล้าง UXO อยู่ที่ 2-3 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายใต้กรอบความร่วมมือจะทำให้รัฐบาลสปป.ลาวบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 18 เพื่อเคลียร์ UXO อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2573 ทั้งนี้หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ยังได้ขยายขอบเขตความร่วมมือกับสปป.ลาวตั้งแต่มีด้านสุขภาพ โภชนาการ การศึกษา ความพยายามในการป้องกันการค้ามนุษย์และการค้าสัตว์ป่า การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การส่งเสริมเศรษฐกิจ และการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายในเชิงเศรษฐกิจ แม้ว่าการค้าสองทางระหว่างลาวและสหรัฐฯ จะน้อยกว่าการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคมากนัก แต่เอกอัครราชทูตตั้งข้อสังเกตว่าการค้าสองทางระหว่างลาวและสหรัฐฯ มีมูลค่าอย่างน้อย 130 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 เพิ่มขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มูลค่าการค้าแบบสองทางอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านดอลลาร์ในปี 2553 “คาดว่า (การค้า) จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต” เอกอัครราชทูตเฮย์มอนด์กล่าว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US_Ambassador_169.php

ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP ลดฮวบ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ 63-64

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่มการตัด การผลิต และบรรจุ (CMP : Cut Make Pack) ดิ่งลงระดับต่ำสุดที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วงระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 ในปีงบประมาณ 63-64 การส่งออกลดลงมากกว่า 20% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดสหภาพยุโรป โดยการส่งออกลดลงกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 62—63 ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีแม้มีสิทธิพิเศษทางการค้าจากประเทศตะวันตกและเป็นส่วนสำคัญของจีดีพีประเทศ แต่เกิดการหยุดชะงักในภาคการขนส่งและอุปทาน และผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้เมียนมาส่งออกเสื้อผ้า CMP ไปยังตลาดหลัก เช่น ในญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-exports-plummet-to-us2-5-bln-in-current-fy/