‘หอการค้ายุโรป’ ชี้การระบาดระลอก 4 ฉุดความเชื่อมั่นผู้ประกอบการยุโรปในเวียดนาม

ตามข้อมูลของสภาหอการค้ายุโรปในเวียดนาม (EuroCham) ระบุว่าการระบาดระลอกที่ 4 ฉุดความเชื่อมั่นของธุรกิจยุโปในเวียดนาม ช่วงเริ่มการระบาดระลอก 4 นั้น ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจ (BCI) ไต่ระดับกลับไปสู่ก่อนเกิดการระบาดมาอยู่ที่ระดับ 73.9 ในไตรมาสแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีร่วงลงมาเกือบ 30 จุดในไตรมาส 2 มาอยู่ที่ระดับ 45.8 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ของปีนี้ นักธุรกิจยุโรป 1 ใน 5 (19%) ของสมาชิกหอฯ มองว่าเศรษฐกิจจะทรวงตัว และอีก 61% มองว่าแย่ในไตรมาส 3 นอกจากนี้ หอฯ ได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง แต่ว่าการล็อกดาวน์ในพื้นที่ การเว้นระยะห่างทางสังคมและข้อจำกัดในการเดินทางนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาและยังก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83139/fourth-covid-19-wave-weakens-confidence-of-european-firms-in-vietnam.html

ราคาแตงโมลดฮวบลงเกือบครึ่ง! เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ผู้ส่งออกแตงด่านมูเซ เผย ราคาแตงโมลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากจีนปิดชายแดนในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมจากการระบาดของโควิด-19 ของเมียนมา ส่งผลให้ราคาตกท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด โดยรถบรรทุกแตงโมบรรทุกได้ 36,000 หยวนต่อครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้ราคาลดลงอย่างมากถึง 13,000 หยวน และยังไม่รวมอัตราค่าระวางรถบรรทุกที่ต้องจ่าย ส่งผลให้ผลไม้อย่างแตงโมและมะม่วงพึ่งพิงตลาดต่างประเทศเสียหายอย่างหนักหากจีนขยายเวลาปิดด่านออกไปเป็นเวลานาน ซึ่งภาครัฐแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% เพื่อรักษาสมดุลของตลาดและรักษาคุณภาพของแตงโมไว้ ขณะที่ในปีนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังชายแดนจีนแต่เน่าเสียหายเพราะติดอยู่ด่านชายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในทุกๆ ปี เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-price-decreases-by-half-as-against-last-year/#article-title

วิกฤตโควิด ระลอก 3 ลามหนัก ส่งผลความต้องการไข่และไก่เพิ่ม หนุนราคาพุ่ง

ราคาเนื้อสัตว์ปีกและไข่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จากความต้องการเพิ่มขึ้นจากวิกฤติ COVID-19 ที่ระลอก 3  ระบาดรุนแรงขึ้นในประเทศ ราคาไข่เพิ่มขึ้นจาก 130 จัตเป็น 220 จัต ส่วนราคาไก่เพิ่มขึ้นเป็น 12,000 จัต/viss การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีความกังวล ต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น การผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกเติบโตขึ้น 10-15% ต่อปี  ตามรายงานของ MLF ปัจจุบัน มีการเลี้ยงไก่เนื้อ 1.35 ล้านตัว กึ่งไก่เนื้อประมาณ 1.465 ล้านตัว และไก่ไข่อีก 2.9 ล้านตัวในฟาร์มไก่และฟาร์มปลาที่เลี้ยงแบบผสมผสาน นอกจากนี้ ภาคปศุสัตว์ในประเทศกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติอย่างจีน ไทย และอินเดีย เพราะการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ปีกส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกรในท้องถิ่น ดังนั้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในท้องถิ่นจึงต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีผสมพันธุ์สมัยใหม่และเพิ่มกำลังการเพาะเลี้ยงเพื่อปรับตัวให้ทันกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/egg-poultry-prices-surge-on-rising-demand-in-covid-19-crisis/

อาเซียน-สหรัฐฯ กระชับความร่วมมือแก้ปัญหาโควิด-19

ผู้นำสหรัฐฯ และอาเซียนเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด อาเซียน-สหรัฐฯ ตกลงที่จะร่วมมือในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนเครือข่าย Asean smart Cities และการเชื่อมต่อของอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ในที่ประชุมยังได้มีแบ่งปันบทเรียนและประสบการณ์ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีว่าประเทศต่างๆ ต่อสู้กับไวรัสอย่างไร โดยรัฐบาลสปป.ลาวกล่าวในที่ประชุมถึงการจัดการกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยได้กำหนดมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส พร้อมสนับสนุนให้ผู้คนจำนวนมากได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศบริจาควัคซีนป้องกันโควิด-19 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จำนวน 1,008,000 โดส ให้กับลาว ซึ่งคาดว่าจะถึงในวันพฤหัสบดีนี้ การส่งมอบดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายในการฉีดวัคซีน 50% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean136.php

กัมพูชาส่งออกจักรยานมูลค่าสุทธิ 247 ล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกจักรยานมูลค่ารวม 247.5 ล้านดอลลาร์ ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2021 ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนผู้ส่งออกจักรยานภายในประเทศกัมพูชา ส่งออกจักรยานรวมกว่า 1.259 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ซึ่งตลาดหลักสำหรับจักรยานของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ประเทศในกลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50893312/bicycle-exports-net-247mn-in-first-semester/

บริษัทขนส่งในกัมพูชาอาจจะเผชิญกับปัญหาหากการแพร่ระบาดไม่คลี่คลาย

ท่าเรือสีหนุวิลล์ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการท่าเรือน้ำลึกในกัมพูชา รายงานว่าบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ในช่วงครึ่งแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 มาอยู่ที่ 44 ล้านดอลลาร์ โดยปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 คิดเป็นกว่า 3.5 ล้านตัน ซึ่งแบ่งออกเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 คิดเป็น 2.6 ล้านตัน การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 สู่ 830,000 ตัน โดยการจัดส่งสินค้าจากกัมพูชาส่วนใหญ่ได้แก่ วัตถุดิบผ้า เสื้อผ้า รองเท้า ข้าว เครื่องจักร ไม้แปรรูป และบุหรี่ เป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ประธานสมาคมโลจิสติกส์แห่งกัมพูชา ได้เตือนว่าบริษัทภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 60 กำลังประสบกับปัญหารายรับที่ลดลง และอีกร้อยละ 30 กำลังจะล้มละลายหรือมีแนวโน้มว่าจะเลิกกิจการลง เว้นแต่สถานการณ์โดยภาพรวมจะดีขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50893244/transport-firms-face-bankruptcy-if-pandemic-worsens/

อาเซียน-ฮ่องกง FTA อีก 5 สาขาไทยได้ประโยชน์

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมการประชุมและทำหน้าที่ประธานฝ่ายอาเซียนในการประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA-JC) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการเจรจาเรื่องการลงทุน กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า และการบังคับใช้ตารางการลดภาษี ที่มีการแปลงพิกัดจากของภาคีสมาชิก ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงบรูไน ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ และที่ประชุมได้เห็นชอบขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการภายใต้ความตกลง AHKFTA เพิ่มเติมใน 5 สาขา ได้แก่ สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค ทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า และ การส่งเสริมการลงทุน จากเดิมที่เห็นชอบแล้ว 5 สาขา โดยไทยมีความตกลงกับฮ่องกง 2 ฉบับ คือ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-ฮ่องกง (AHKIA) ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้าและการค้าบริการ การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/news_144568/

รัฐบาลลาวและ Electricité De France (EDF) ได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนาโครงการ Nam Theun 2-Solar

รัฐบาลลาวและ Electricité De France (EDF) ได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนาโครงการ Nam Theun 2-Solar ซึ่งเป็นโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยตัวแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร คาดจะมีกำลังการผลิตติดตั้ง 240MWp ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาว ผู้พัฒนาโครงการที่นำโดย EDF ร่วมกับ Lao Holding State Enterprise (LHSE) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า (EGCO) ของประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเริ่มการก่อสร้างในปี 2565 และเริ่มดำเนินการในปี 2567 โครงการน้ำเทิน-2 โซลาร์จะจัดหาไฟฟ้าที่สะอาด ปลอดภัย โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสังคม ที่สำคัญประหยัดน้ำซึ่งช่วยให้สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแปรผันเป็นไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมและมีเสถียรภาพ เป็นนวัตกรรมในการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนในลักษณะที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติสปป.ลาวในการส่งเสริมพลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Namtheun2_135.php

เวียดนามเล็งพัฒนา เงินดิจิทัล รับกระแสสังคม ไร้เงินสด

เวียดนามเล็งพัฒนา’เงินดิจิทัล’รับกระแสสังคม’ไร้เงินสด’ หลังจากห้ามประชาชนในประเทศลงทุนสกุลเงินคริปโตมานานหลายปี หลังจากประกาศห้ามประชาชนในประเทศลงทุนสกุลเงินดิจิทัลหรือสกุลเงินเสมือนจริงมานานหลายปี รวมทั้งออกประกาศเตือนว่า สกุลเงินคริปโตอาจทำให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่ แต่ล่าสุด รัฐบาลเวียดนามมีคำสั่งให้ธนาคารกลางทำการศึกษาและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง หวังควบคุมการลงทุนในระบบการเงินที่รัฐบาลมองว่าไม่มีตัวกลางนี้มากขึ้น หลังจากประชาชนจำนวนมากเข้าไปลงทุนในสกุลเงินคริปโตตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948596

เวียดนามเผยครึ่งแรกของปี สินค้าส่งออกสำคัญ 25 รายการ ทำรายได้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม จำนวน 25 รายการ ทำรายได้ต่อชิ้นกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 88.9% ของยอดการส่งออกรวม โดยโทรศัพท์และชิ้นส่วน ทำรายได้สูงที่สุดเป็นมูลค่า 25.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 23.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.1%, เครื่องจักรและอุปกรณ์, เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ตามลำดับ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 45.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 43.3% ตามมาด้วยจีน 24.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกัน อาเซียนมีมูลค่าการส่งออก 13.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.3%, เกาหลีใต้ 10.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.2% และญี่ปุ่น 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.9%

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/25-export-commodities-earning-above-us1-billion-each-in-first-half-873520.vov