“EXIM BANK” ออกสินเชื่อวงเงิน 20 ล.ดอกเบี้ย 3.99% ช่วย SMEs ใน CLMV

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ธสน. ได้ดำเนินการออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SMEs) ใน ตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งประกอบด้วยมาตรการสินเชื่อ CLMV อุ่นใจ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (Covid-19) และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี ใช้เพียงหนังสือค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลค้ำประกันได้ ทั้งนี้ ตลาด CLMV ไต่อันดับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 CLMV เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของไทย รองจากสหรัฐฯ อาเซียนเดิม 5 ประเทศ และจีน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี จากการติดตามสถานการณ์ความไม่สงบภายในเมียนมาอย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบต่อลูกค้า ผู้ประกอบการไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากการชำระเงินล่าช้าและการชะลอคำสั่งซื้อของคู่ค้าในเมียนมา EXIM BANK จึงได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านมาตรการต่าง ๆ ตามความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/477549

‘CPTPP’ เปิดโอกาสดันส่งออกเวียดนามไปตลาดสหรัฐฯ

จากงานสัมมนา “CPTPP – โอกาสส่งออกเวียดนามในตลาดสหรัฐฯ” เมื่อวันที่ 27 เมษายน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ เติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ที่มีผลบังคับใช้ในเวียดนามเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562 ซึ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกนั้น การค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐ อยู่ที่ 111.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 2562 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวในกลุ่มประเทศ CPTPP โดยเฉพาะแคนาดา ชิลี เม็กซิโกและเปรู อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีช่วยฯ แนะให้บริษัทเวียดนามทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิก เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและกระจายตลาดส่งออกและสินค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cptpp-opens-up-prospects-for-vietnams-exports-to-the-americas/200708.vnp

ข้าวพันธุ์เวียดนาม “ST25” เป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก แต่เผชิญกับความเสี่ยงกับการสูญเสียแบรนด์

เครื่องหมายการค้า “สายพันธุ์ข้าว ST25” ของเวียดนาม ถือเป็นข้าวหอมที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2562 มีแนวโน้มที่จะตกไปอยู่กับมือนักธุรกิจชาวอเมริกันในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทเวียดนามดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าล่าช้า ข้อเท็จจริงดังกล่าว ชี้ว่ามีจำนวนบริษัทสหรัฐฯ 5 แห่งอยู่ในขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสายพันธุ์ข้าว ST25 สิ่งนี้ได้ส่งสัญญาเตือนไปยังบริษัทในท้องถิ่นให้ปกป้องสินค้าเกษตรของเวียดนามในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ คุณ Nguyen Tri Hieu นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าสินค้าส่งออกทางการเกษตรของเวียดนามในตลาดโลกนั้น ยังมีสินค้าอีกจำนวนมากที่ตามหลังประเทศอื่น ในประเด็นของความน่าเชื่อถือของตราสินค้า สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการจดทะเบียนแบรนด์และทรัพย์สินทางปัญญายังคงเป็นจุดอ่อนของผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนาม

ที่มา : http://hanoitimes.vn/local-enterprises-urged-to-learn-from-potential-loss-of-st25-rice-brand-in-us-317118.html

HLH ร่วมกับ CMEC พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 200 เมกะวัตต์ในกัมพูชา

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Hong Lai Huat Group Ltd (SGX: CTO) และ China Machinery Engineering Corp (HKG: 1829) หรือ CMEC ได้ร่วมมือกันพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 200 เมกะวัตต์ที่ Aoral Eco-City ในกัมพูชา โดย HLH และ CMEC ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน (MoU) เพื่อสร้างนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) และทำงานร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาตามที่ผู้จัดการทั่วไปและกรรมการบริหารของ HLH ได้กล่าวไว้ โดย Aoral Eco-City เป็นโครงการ “การพัฒนาเมืองเชิงนิเวศเกษตรผสมผสานขนาดใหญ่” ที่พัฒนาโดย HLH ภายในกัมพูชา ด้วยการสร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง CMEC จะเป็นฝ่ายกำหนดโซลูชันที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรสำหรับโครงการนี้ เมื่อเสร็จสิ้นสวนพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถขายไฟฟ้าให้กับ Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐ

ที่มา : http://khmertimeskh.com/50846094/hlh-cmec-to-co-develop-200-mw-solar-project-in-cambodia/

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในกัมพูชาต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐฯ

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) กำลังมองว่าโครงสร้างพื้นฐานใยแก้วนำแสงภายในประเทศกัมพูชา ที่กำลังจะเสื่อมสภาพลง จึงเห็นถึงปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขเป็นการเร่งด่วน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในเมืองหลวงต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตเพื่อทำงานจากที่บ้าน โดยบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า ณ ปัจจุบันไม่สามารถดูแลรักษาสายไฟเบอร์ออปติกที่สำคัญได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทจะเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพและรวดเร็ว ซึ่งจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 (ประมาณ 1.1 ล้านคน) ในปี 2020 โดยในปัจจุบันทางการกัมพูชาอนุญาตให้พนักงานเดินทางเพื่อทำการปรับปรุงโครงข่ายได้เพียงร้อยละ 2 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายได้อย่างครอบคลุม บริษัทจึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยผ่อนคลายมาตรการ เพื่ออำนวยให้การดูแลเครือข่ายเป็นไปได้อย่างทั่วถึง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50845942/internet-providers-need-more-staff-to-maintain-networks/

คณะกรรมการจัดหางานต่างประเทศของเมียนมาเผยถึงปัญหาแรงงานข้ามชาติ

คณะกรรมการกำกับการจัดหางานนต่างประเทศได้จัดประชุม (ครั้งที่ 1/2564) ที่กระทรวงแรงงานตรวจคนเข้าเมืองและประชากรเมื่อวานนี้ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่จำนวน 18 คน จากผลการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหภาพแรงงาน เผยว่าตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 63 ได้เพิ่มค่าธรรมเนียมหน่วยงานเป็น 25 ล้านจัตจาก 5 ล้าจัตเพื่อให้บริษัท จัดหางานในต่างประเทศที่ได้รับใบอณุญาติที่ให้เพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น และกำจัดหน่วยงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ระหว่างประชุม นาย U Myint Kyaing ประธานคณะกรรมการสหภาพแรงงาน กล่าวว่าสหภาพฯ ให้ความสำคัญกับการนำชาวเมียนมา 1,086 คน กลับจากมาเลเซียในผ่านทางเรือ 3 ลำในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และ 70 คนจากอินเดียเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ขณะนี้รัฐบาลกำลังเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งหน่วยงาน 5 แห่งสำหรับแรงงานที่ทำงานในไทยภายใต้ MoU เพื่อต่ออายุวีซ่าของไปอีก 5 ปี ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้กล่าวถึงแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการความร่วมมือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อโอกาสในการทำงานของแรงงานเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/overseas-employment-supervisory-committee-discusses-migrant-workers-issues/

รัฐบาลสั่งให้เตรียมการสำหรับสถานการณ์โควิด-19 ที่เลวร้ายลง

รัฐบาลสปป.ลาว ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนและจัดทำแผนในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด -19 เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมาสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศขอให้หน่วยงานป้องกันและควบคุมโควิด -19 ทุกระดับรวบรวมรายการทรัพยากรที่จำเป็นรวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ยาและเงินเพื่อใช้เป็นทุนในการยับยั้งการระบาด โดยรัฐบาลจะมีการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และอาสาสมัครที่ทำงานในศูนย์บำบัดทุกแห่งเพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังสั่งการให้เพิ่มความเข้มงวดในการลาดตระเวนชายแดนเพื่อป้องกันผู้ที่เดินทางเข้าสปป.ลาวโดยผิดกฎหมายเพราะอาจนำมาซึ่งการแพร่ระบาดที่ยับยั้งไม่ได้ ในการฉีดวัคซีน รัฐบาลอนุมัติให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีน เพื่อนำมาฉีดให้กับพนักงานของตนได้เพื่อเป็นอีกช่องทางในการเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_orders_79.php

ไตรมาสแรกของปี การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยมูลค่าแตะ 2 พันล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงหดตัวท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ที่ต่อสู้เพื่อจะเอาชนะต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 และทำให้การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ โดยตัวเลขมาจากกระทรวงพาณิชย์ของไทย แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งการค้าทวิภาคีลดลงร้อยละ 21.3 สู่ 2,097 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลงร้อยละ 21.3 เหลือ 1,769 ล้านเหรียญดอลลาร์ และเป็นการส่งออกที่มีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 48.9 หรืออยู่ที่ 330 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าเกษตรสินค้าสำคัญสำหรับการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ในขณะที่สินค้าส่งออกของไทยมายังกัมพูชาส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินค้าด้านพลังงาน ปุ๋ยทางการเกษตร อาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยสำหรับปี 2020 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7,236 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50845150/cambodia-thailands-trade-valued-via-at-2-billion-in-first-quarter/

ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มกัมพูชาเรียกร้องการเยียวยาสำหรับพนักงาน

ด้วยโรงงานมากกว่า 200 แห่ง ในภาคอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋าและสินค้าการเดินทาง ที่ถูกสั่งปิดชั่วคราวในเขตเมืองหลวงและเขตเมืองตาเขมาจังหวัดกันดาล จากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล โดยสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่ากำลังต้องการการสนับสนุนทางด้านค่าตอบแทนเพื่อชดเชยให้กับคนงานนับหมื่นรายเป็นการชั่วคราวหลังโรงงานถูกสั่งปิด ส่งผลทำให้สายการผลิตต้องหยุดชะงัก รวมถึงคนงานขาดรายได้ ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในพนมเปญและตาเขมาถูกสั่งปิดตั้งแต่ในวันที่ 14 เมษายน เป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากพบว่ามีคนงานเกือบ 800 คน จากโรงงาน 36 แห่ง ติดเชื้อโควิด-19 โดยอุตสาหกรรมนี้ถือเป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจกัมพูชาและมีพนักงานมากกว่า 800,000 คน ในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศผ่านการส่งออกสูงถึง 9.5 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วแม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50845549/garment-employers-urged-to-provide-additional-allowances-in-spirit-of-humanity/

ชงเพิ่ม “หัวหิน”เปิดรับต่างชาติไม่กักตัว 1 ต.ค.นี้

รมว.การท่องเที่ยวฯ พร้อมรับข้อเสนอเพิ่มหัวหินอีกพื้นที่เปิดรับต่างชาติฉีดวัคซีน-ไม่มีโควิดมาเที่ยว 1 แสนคน สร้างรายได้ 1,200 ล้านบาท เตรียมเสนอเข้าบอร์ดท่องเที่ยวแห่งชาติไฟเขียว 6 พ.ค.64 โดยจะดำเนินการผ่านโครงการหัวหิน รีชาร์จ ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาครัฐ การท่องเที่ยว โรงพยาบาลและสาธารณสุข และภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการ ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจรถเช่า บริษัททัวร์ ฯลฯ และจะฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้ตั้งแต่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป ให้ได้ 70% ของประชากรภายใน 30 ก.ย.64 เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ พนักงานและแรงงานในภาคธุรกิจบริการกว่า 89,000 คนในพื้นที่ให้มีรายได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/839597