เอสเอ็มอีคนละครึ่ง ก็มารัฐเตรียมลดภาระรายย่อย

รัฐบาลเตรียมเปิดตัวโครงการ “SME คนละครึ่ง” หวังลดภาระต้นทุน เพิ่มศักยภาพรายย่อย ช่วยค่าใช้จ่ายสารพัด คาดเริ่มเปิดโครงการกลางปีนี้ รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มเติม ในลักษณะร่วมกันจ่ายกับ SME (Co-payment) มีสัดส่วนตั้งแต่ 50-80% สำหรับค่าใช้จ่ายในการขอทดสอบผลิตภัณฑ์ จดทะเบียนหรือขอใบรับรองมาตรฐานต่างๆ และการปรึกษาทางธุรกิจ เช่น มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกอช.) มาตรฐานอาหาร (อย.)  ซึ่งที่ผ่านมาการขอรับบริการทางธุรกิจต่างๆ มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้นทุนสำคัญของการประกอบการ และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของเอสเอ็มอีไทยด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวโครงการ SMEs’ Co-payment ในกลางปีนี้ ซึ่งนอกจากจะลดภาระค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ เอสเอ็มอีไทยที่มีอยู่กว่า 3.1 ล้านราย สามารถตัดสินใจเลือกพัฒนาคุณภาพและขอรับมาตรฐานสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมแต่ละราย สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมาตรฐานสากลด้วย นอกจากนี้แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังได้มีการหารือเพื่อปรับปรุงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Softloan) ให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าถึงซอฟต์โลนได้ง่ายและมีวงเงินกู้สูงขึ้น รวมทั้งแนวทาง asset warehousing เพื่อช่วยเหลือไม่ใช้ทรัพย์สินธุรกิจที่ยังมีศักยภาพต้องถูกยึดหรือปิดตัวลง ซึ่งรายละเอียดจะนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/829467

เอกอัครราชทูตจีนในสปป.ลาวรายงานความสำเร็จโครงการ Belt and Road Initiative

โครงการภายใต้ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ถือเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือสปป.ลาว – ​​จีนในยุคใหม่ สปป.ลาวให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ Belt and Road Initiative มาโดยตลอด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสปป.ลาวในการเปลี่ยนประเทศจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นการเชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาค เมื่อทางรถไฟเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและจะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยมากขึ้นสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและกิจกรรมอื่น ๆ ระหว่างสองประเทศ นอกจากนี้ในอนาคตสปป.ลาวและจีนจะยังมีแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและการค้าพลังงานอุตสาหกรรมแปรรูปและการเกษตร ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาว ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจของสปป.ลาวขับเคลื่อนได้มั่นคงและยั่งยืนในภายภาคหน้า

ที่มา : http://www.china.org.cn/world/2021-03/07/content_77280738.htm

RCEP ช่วยให้เวียดนามเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานโลกได้ง่ายขึ้น

นาง Nguyen Thi Thu Trang ผู้อำนวยการ WTO และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวว่าการร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระดับภูมิภาค (RCEP) จากงานประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 ในปี 2563 ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามแสดงถึงความน่าเชื่อถือและความสำเร็จในฐานะที่เป็นประธานอาเซียน โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว ได้สร้างโอกาสที่จะให้เวียดนามสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหญ่ที่สุด และยังเป็นตลาดการบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ตลอดจนครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยสร้างความเชื่อมต่อระหว่างเวียดนามกับสมาชิก RCEP และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลงดังกล่าว เวียดนามต้องปรับปรุง 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ ปฏิรูปหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจและกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมให้ชัดเจน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rcep-smooths-way-for-vietnam-to-join-global-supply-chains/197191.vnp

เวียดนามเป็นจุดหมายปลางทางเชิงกลยุทธ์ทางด้านการวิจัยของซัมซุง

ผู้อำนวยการซวง จู โฮ ผู้อำนวยการทั่วไปซัมซุง กล่าวว่าซัมซุงเวียดนามวางแผนที่จะขยายการลงทุนในเวียดนาม โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างความร่วมมือกับองค์กรในประเทศและมีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย ตามบทสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์ “Tuoi tre” เปิดเผยถึงระยะเวลาในการก่อสร้างของศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ที่ฮานอย มีกำหนดการเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนกลับไปจะพบว่าในปี 2563 บริษัทซัมซุงเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ทำให้การส่งออกลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนที่จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลัง ทำให้ในปีนี้ ธุรกิจทำรายได้จากการส่งออกราว 57 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้เล็กน้อย แต่ยังถือว่าอยู่ในทิศทางเป็นบวกท่ามกลางการระบาด นอกจากนี้ ผู้อำนวยการซัมซุง กล่าวเสริมว่าเวียดนามไม่เพียงแต่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดหมายปลางทางเชิงกลุยธ์ทางด้านการวิจัยและพัฒนาของซัมซุง

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-a-strategic-destination-for-samsungs-rd-activities/197190.vnp

รมต.อาเซียน เร่งแผนฟื้นศก.หลังโควิด เน้นลดอุปสรรค-ขยายบัญชีสินค้าจำเป็น-เตรียมการค้าดิจิทัล

นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 27 ที่ประชุมเห็นชอบแผนดำเนินการสำคัญทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Priority Economic Deliverable: PED) ตามข้อเสนอของบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ ภายใต้แนวคิด “We share, We prepare, We prosper” ซึ่งมียุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการฟื้นฟู อาทิ การจัดทำเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการประกาศเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา 2) ด้านการเป็นดิจิทัล อาทิ การจัดทำแผนงานเพื่อดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ปี 2564 – 2568 และ 3) ด้านความยั่งยืน อาทิ การจัดทำกรอบการส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อย สหกรณ์ และ MSMEs ของอาเซียน ในด้านอาหาร การเกษตร และป่าไม้ การจัดทำกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูของอาเซียนภายหลังโควิด-19 เน้นการลดอุปสรรคการค้า เชื่อมโยงสินค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะตกลงขยายบัญชีสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์ เพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดด้านการไหลเวียนของสินค้าที่จำเป็นในช่วงโควิด-19 การเร่งเตรียมความพร้อมด้านการค้าดิจิทัล และหาทางให้อาเซียนขยายความสำคัญของการอยู่ในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3205639

สหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญที่สุดของเวียดนาม

ตามรายงานล่าสุดของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท แสดงให้เห็นว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ยอดส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรโดยรวม อยู่ที่ประมาณ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ หากจำแนกพบว่าการส่งออก มีมูลค่าราว 6.17 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.6% และการนำเข้า มีมูลค่า 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำให้เวียดนามเกินดุลการค้า 1.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ  ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของเวียดนามที่มีการเติบโตได้ดี ได้แก่ ยางพารา มีมูลค่า 516 ล้านเหรียญสหรัฐ (โต 9.9%) รองลงมาใบชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผัก ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ หวายและไม้ไผ่ นอกจากนี้ สหรัฐฯ เป็นลูกค้าสินค้าเกษตรของเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงฯ มุ่งเน้นไปที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า รวมถึงศึกษากฎระเบียบของตลาดและอุปสรรคทางเทคนิคในเขตการค้าเสรี (FTAs) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/us-becomes-largest-importer-of-vietnamese-agricultural-products-during-jan-feb-28790.html

เวียดนามรับข้อเสนอสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจแก่นักลงทุนต่างชาติ

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ณ กรุงฮานอย นาย Mai Tien Dung รัฐมนตรีและประธานสำนักงานรัฐบาล กล่าวต้อนรับนายลีคังอู ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัทล็อตเต้ พร็อพเพอร์ตี้ และนาย Horst Geicke ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัทโฮทรัม แซงซัวรี่ โดยภายในงานต้อนรับนั้น นายลีคังอูได้แสดงความยินดีกับรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้และเรื่องการผลิตวัคซีน ตลอดจนความร่วมมือที่มีอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ นาย Dung ยังกล่าวเสริมว่ารัฐบาลเวียดนามชื่นชมความพยายามของเกาหลีใต้ในฐานะเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ๋ที่สุดในประเทศ และทั้งสองประเทศยังมุ่งมั่นที่จะก้าวข้ามอุปสรรคการระบาดของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ กล่าวถึงปัญหาที่ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวถือว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างมาก

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-willing-to-offer-optimal-conditions-for-foreign-investors-28795.html

การปลูกมัสตาร์ดด้วยระบบน้ำใต้ดิน เพิ่มรายได้เกษตรกรในเมืองมินบู

นาง Daw Mya Kyi เผยเกษตรกรในท้องถิ่นจากหมู่บ้าน Kyauktan ในเมืองมินบู กำลังปลูกผักโดยใช้ระบบน้ำใต้ดิน โดยในปีนี้ผู้คนปลูกมัสตาร์ดและพืชผลอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งใช้เพียงสมาชิกในครัวขเรือน จึงสามารถประหยัดค่าแรงได้ ค่าใช้จ่ายมีเพียงค่าไถและค่าปุ๋ย ตอนนี้มัสตาร์ดกำลังให้ผลผลิตอย่างมากและสามารถขายได้ทุก 2-3 วัน และยังปลูกพืชอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้อีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mustard-other-crops-grown-on-manageable-scale-using-underground-water-in-minbu-township/

การส่งออกของสปป.ลาวไปยังไทยลดลงในเดือนมกราคม

มูลค่าการส่งออกสปป.ลาวไปยังไทยในเดือนมกราคมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 ซึ่งเป็นผลมาจากข้อ จำกัด ที่กำหนดไว้เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด -19 จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์สปป.ลาว พบว่าในเดือนมกราคม 2563 ลาวมีรายได้ 135 ล้านดอลลาร์ ลดลงเหลือ 89 ล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคมปีนี้ โดยมี ไฟฟ้าเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ รองจากทองแดงและผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า สินค้าทั่วไปและกล้องถ่ายรูป สินค้าอื่น ๆ

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2021/03/04/lao-exports-to-thailand-decrease-in-january

กัมพูชายืนยันได้รับวัคซีน AstraZeneca ที่จัดส่งจากสหรัฐฯแล้ว

ปัจจุบันกัมพูชาได้ทำการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับประชาชนแล้วจำนวน 324,000 โดส (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2564) โดยการจัดส่งเกิดขึ้นภายใต้พันธสัญญา COVAX Advance Market ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มระดับโลกเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีน COVID-19 อย่างเท่าเทียมกัน โดยกัมพูชาเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ได้รับวัคซีน COVID-19 ผ่านศูนย์ COVAX ซึ่งการเอาชนะสถานการณ์การแพร่ระบาดถือเป็นความท้าทายระดับโลกและสหรัฐฯ กำลังดำเนินการทั้งในและต่างประเทศเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคในครั้งนี้ โดยการสนับสนุน COVAX ของสหรัฐฯ ผ่านทางสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) จะสนับสนุนการจัดซื้อและจัดส่งวัคซีน COVID-19 ภายใต้ความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำไปจนถึงปานกลาง 92 ประเทศ รวมถึงกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820557/u-s-congratulates-cambodia-on-arrival-of-astrazeneca-vaccine/