เมียนมาเตรียมส่งออกหัวหอมไปบังกลาเทศ

เมียนมากำลังส่งออกหัวหอมไปยังบังกลาเทศเนื่องจากมีผลผลิตในท้องถิ่นจำนวนมากเพราะพรมแดนของจีนถูกปิดลง นาย U Khin Han ประธานศูนย์ค้าส่งบะยินเนาว์ ( Bayinnaung) กล่าวขณะหารือกับสถานทูตซึ่งการส่งออกจะต้องผ่านการเดินเรือและความจุแต่ละลำจะมีมากกว่า 150 ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละคอนเทนเนอร์สามารถบรรจุหัวหอมได้ประมาณ 14 ตัน เนื่องจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) กับจีนถูกปิดลงทำให้ไม่สามารถขนส่งสินค้าและเกิดปัญหาสต็อกหัวในประเทศเป็นจำนวนมาก ปีนี้การส่งออกหัวหอมจะอยู่ระหว่าง 15,000 ถึง 20,000 ตัน ปัจจุบันมีผลผลิตมากกว่า 15 ล้านไร่ที่ยังตกค้างอยู่ที่เกษตรกรและผู้ค้า และรถบรรทุกสามารถขนส่งหัวหอมไปศูนย์ค้าส่งได้ประมาณ 15 คันต่อวัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-may-export-onions-bangladesh.html

โครงการรถไฟสปป.ลาว – จีนกำลังดำเนินการแล้วเสร็จแม้จะมีการระบาดของ COVID-19

การก่อสร้างทางรถไฟสปป.ลาว – ​​จีนกำลังดำเนินไปตามแผนซึ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วกว่าร้อยละ 91.11 ของโครงการแม้จะมีอุปสรรคจากการระบาดของ COVID-19 ตามรายงานล่าสุดใน China Daily อุโมงค์ทางรถไฟสำหรับข้ามพรมแดนมีความยาว 9.59 กิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่แล้วเสร็จและได้รับการขนานนามว่า “อุโมงค์มิตรภาพ” ประกอบด้วยอุโมงค์ 7.17 กิโลเมตรในมณฑลยูนนานประเทศจีนและ 2.42 กิโลเมตรที่ชายแดนสปป.ลาว ในช่วงการระบาดของ COVID-19ที่ผ่านมาคาดการณ์อาจส่งผลให้โครงการมีความล่าช้า แต่จากการที่รัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะเดินหน้าก่อสร้างทางรถไฟโดยได้มีการอำนวยความสะดวกในงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แม้จะมีข้อจำกัดในการเดินทางแต่รัฐบาลได้อนุญาตให้เปิดสายการบินเที่ยวบินระหว่างเวียงจันทน์และคุนหมิงเป็นกรณีพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้างทางรถไฟและโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่กำลังดำเนินการในสปป.ลาว โครงการทางรถไฟสปป.ลาว – ​​จีน       ถือเป็นยุทธศาสตร์ของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (One Belt One Road) และแผนของสปป.ลาวในการเปลี่ยนประเทศจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นการเชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาค รัฐบาลสปป.ยังเชื่อว่าโครงการรถไฟเชื่อมต่อสปป.ลาว-จีน จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสปป.ลาวในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laosc181.php

แคมโบเดียอังกอร์แอร์กำลังกลับมาให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ

แคมโบเดียอังกอร์แอร์กลับมาให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน ที่ผ่านมาเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนเป็นต้นไปแคมโบเดียอังกอร์แอร์จะกลับมาให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศบนเส้นทางระหว่างกรุงพนมเปญและจังหวัดเสียมราฐ ดังรายงานของโฆษกสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ ซึ่งการเริ่มต้นเที่ยวบินใหม่ในครั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและเพื่อเป็นส่วนช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศอีกด้วย

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/cambodia-angkor-air-to-resume-domestic-flights-169407/

ภาพรวมราคาไก่สดและสุกรสดภายในประเทศกัมพูชา

ราคาขายไก่สดและสุกรหน้าฟาร์มในช่วงเทศกาลประชุมแบน ซึ่งมีความต้องการในท้องถิ่นลดลงเล็กน้อยในปีนี้เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ตามข้อมูลของสมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์แห่งกัมพูชา (CLRA) โดยประธานของ CLRA กล่าวว่าสภานการณ์ในช่วงปัจจุบันแตกต่างจากปีที่แล้ว ทั้งราคาปรับตัวสูงขึ้นและตลาดปลายทางเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 ในช่วงเวลาเดี่ยวกันของปีนี้ ซึ่งปีนี้ราคาหน้าฟาร์มลดลงจาก 13,000 เรียล ก่อนเทศกาลประชุมแบนสู่ 12,000 เรียลต่อกิโลกรัมสำหรับสุกร (มีชีวิต) และ ราคาไก่ลดลงอย่างมากอยู่ระหว่าง 4,000 เรียลถึง 8,000 เรียลต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อ อย่างไรก็ตามทางประธาน CLRA กล่าวว่าการลดลงของราคาไก่เป็นเพราะอุปทานที่ล้นตลาดร่วมด้วย โดยภายในประเทศบริโภคไก่ประจำวันอยู่ที่ 150,000 ตัว แต่จำนวนไก่ที่สามารถผลิตได้มีอยู่ทั้งสิ้น 200,000 ตัวต่อวัน ซึ่งเกษตรกรบางรายเริ่มกระจายการทำฟาร์มไปสู่การปลูกพืชผักแบบผสมผสานนับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764199/chicken-and-pig-farm-prices-fall/

พาณิชย์ถกสภาธุรกิจอียู-อาเซียน หาแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

“พาณิชย์” หารือสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน และบริษัทชั้นนำของยุโรปที่ทำธุรกิจในอาเซียนกว่า 50 ราย ผ่านระบบทางไกล แลกเปลี่ยนมุมมองการรับมือวิกฤตโควิด-19 และแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจ นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมหารือกับสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC) ผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองของไทยเกี่ยวกับการรับมือกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการฟื้นเศรษฐกิจในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยไทยได้ใช้โอกาสนี้สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนสหภาพยุโรปว่า ไทยให้ความสำคัญกับการยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหภาพยุโรป การอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การยกระดับมาตรฐานสินค้าส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/898079

เอดีบี ชี้เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาเอเชียหดตัวรอบเกือบ 60 ปี ฟื้นยากแบบตัว L

เอดีบี เปิดรายงาน Asian Development Outlook 2020 Update วันนี้ (15 กันยายน 2563) ว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย คาดว่าจะหดตัวในปีนี้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบหกทศวรรษ หรือตั้งแต่ปี 2503 (ต้นทศวรรษ 1960s) ที่ร้อยละ 0.7 แต่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวในปีหน้าที่ร้อยละ 6.8 เนื่องจากภูมิภาคเริ่มฟื้นตัวจากหายนะทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส (COVID- 19) สาเหตุหลักของเศรษฐกิจที่หดตังลงมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และความขัดแย้งด้านการค้าและเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อในปีนี้จนถึงปีหน้า รัฐบาลในแถบนี้ได้ใช้เงินทั้งหมด 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15% เมื่อเทียบกับตัวเลขเศรษฐกิจ (GDP) ในแถบเอเชีย ทั้งนี้ เอดีบีรายงานเกี่ยวกับประเทศไทย แม้ว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ดี แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าว ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยรายงาน ADO ล่าสุดในวันนี้ คาดว่า GDP ในปีนี้จะหดตัวที่ร้อยละ 8.0 ซึ่งหดตัวมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายนที่หดตัวร้อยละ 4.8 สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ปรับเพิ่มจากร้อยละ 2.5 ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายน

ที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-521499

ADB หั่นการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในปี 63 เหลือ 1.8%

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามลงเหลือ 1.8% ในปี 2563 จากครั้งก่อนที่ปรับลดเหลือร้อยละ 4.1 ในเดือนมิ.ย. แต่คาดว่าในปี 64 การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.3 ซึ่งสาเหตุของเศรษฐกิจที่หดตัวลงมาจากการบริโภคในประเทศลดลงและความต้องการทั่วโลกอ่อนแอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามจะยังคงได้รับประโยชน์หลายประการ ได้แก่ การย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน และผลจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-อียู (EVFTA) เป็นต้น ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 3.3 ในปี 63 และร้อยละ 3.5 ในปี 64 แต่ทว่าทางธนาคาร ADB คาดว่าเวียดนามเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่เป็นบวกภายในปีนี้ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะหดตัวร้อยละ 3.8 ในปี 63

ที่มา : http://hanoitimes.vn/adb-cuts-vietnam-gdp-growth-forecast-to-18-in-2020-314210.html

เวียดนามเผยเดือน ม.ค.-สิ.ค. เกินดุลการค้าพุ่ง 2 เท่า

ตามรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) เผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้าสูงสุดตั้งแต่เคยมีมาอยู่ที่ 13.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 150 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (5.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตัวเลขข้างต้น ยังสูงกว่าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติคาดการณ์ไว้ ประมาณ 11.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ในเดือน ม.ค.-สิ.ค. เวียดนามส่งออกรวมอยู่ที่ 175.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน และมูลค่าการนำเข้ารวมอยู่ที่ 161.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.4 ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือน สิ.ค. มีอยู่ 6 รายการ ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน รองลงมาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, เครื่องจักร อุปกรณ์, รองเท้าและผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ ในขณะที่ เวียดนามนำเข้าสินค้ามากที่สุด คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน อยู่ที่ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-more-than-doubles-in-jan-aug-314207.html

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สนับสนุนเงิน 1.7 ล้านยูโร ช่วยเหลือแรงงานในอุตสาหกรรรมตัดเย็บสปป.ลาว

ปัจจุบันคนงานกว่า 26,000 คนในโรงงานสิ่งทอในสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของสปป.ลาว ณ ขณะนี้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ 40-50 ในปีนี้ การลดลงอย่างรวดเร็วทำให้โรงงานหลายแห่งต้องลดหรือระงับการดำเนินงานชั่วคราว ส่งผลให้คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน ปัญหาดังกล่าวทำให้เยอรมนีเข้ามาสนับสนุนเงินกว่า 14.5 ล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือคนงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า 2 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การช่วยเหลือดังกล่าวจะดำเนินการผ่านโครงการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์กรดังกล่าวมีหน้าที่ในการช่วยเหลือแรงงานและส่งเสริมแรงงานในการได้รับสวัสดิภาพที่ควรจะเป็น ในประเทศบังกลาเทศ เอธิโอเปีย กัมพูชา มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย เวียดนามและหนึ่งในประเทศที่รับการช่วยเหลือด้านแรงงานคือสปป.ลาว จากเงินสนับสนุนทั้งหมด 14.5 ล้านยูโร สปป.ลาวจะได้งบประมาณในการช่วยเหลือ1.7 ล้านยูโร ในการนำไปใช้ในโครงการที่จะช่วยแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บที่กว่าร้อยละ 90 ของแรงเป็นผู้หญิง โครงการดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนกลยุทธ์ระยะยาวของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Germent_180.php

กัมพูชาส่งออกผลิตผลทางการเกษตรมากกว่า 3 ล้านตัน

สินค้าเกษตรของกัมพูชามากกว่า 3 ล้านตัน ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ณ วันที่ 11 กันยายน ตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง โดยรายงานระบุเพิ่มเติมว่ากัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกรวม 463,805 ตัน ซึ่งจำนวน 164,962 ตัน ถูกส่งออกไปยังจีน 154,287 ตัน ไปยังสหภาพยุโรป 61,700 ตัน ไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียนและตลาดอื่นๆ ที่ 83,127 ตัน นอกจากข้าวสารแล้วกัมพูชายังส่งออกมันเส้น 1.18 ล้านตัน มันสำปะหลังสด 512,350 ตัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 202,207 ตัน ข้าวโพด 193,660 ตัน กล้วยสด 213,486 ตัน มะม่วง 51,670 ตัน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลายรายการ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สหภาพยุโรป อาเซียน ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารในประเทศเพื่อลดการนำเข้าอาหารในช่วงของการระบาดใหญ่ร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764124/cambodia-has-exported-more-than-3-million-tonnes-of-agricultural-produce/