เมียนมาขาดดุลงบประมาณปี 2563-2564 ประมาณ 6.8 ล้านล้านจัต

ประธานาธิบดีอู วิน หมินท์ คาดเมียนมาจะขาดดุลงบประมาณที่ 6.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 หรือ 5.4% ของ GDP  มีรายได้ประชาชาติรวม 27.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นถึง -34.6 ล้านล้านจัต ค่าใช้จ่ายจะรวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูผลกระทบจาก COVID-19 และการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงด้านศึกษาการ สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และการเกษตร การใช้จ่ายด้านประกันสังคมและสวัสดิการเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในขณะที่โครงการสำหรับคนพิการก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ในปีงบประมาณนี้รายได้จากภาษีคาดจะลดลง แต่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่วนกองทุนฉุกเฉินที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วมียอดรวม 100 พันล้านจัต เพิ่มเป็น 150 พันล้านจัต ในปี 2563-2564 ขณะเดียวกันการจัดสรรงบการใช้จ่ายสำหรับรัฐและภูมิภาคนั้นเพิ่มขึ้นจาก 267 พันล้านจัต เป็น 2.3 ล้านล้านจัต การขาดดุลคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.4% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมื่อเทียบกับ 5.9% ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2562-2563 คาดว่าจะมีรายได้รวม 25.3 ล้านล้านจัตและมีค่าใช้จ่ายรวม 32.3 ล้านล้านจัตทำให้ขาดดุล 7 ล้านล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/budget-deficit-fiscal-2020-21-myanmar-k68-trillion.html

รัฐบาลสปป.ลาวปรับเป้าหมายการเติบโตของ GDP

รัฐบาลได้ขอให้รัฐสภาอนุมัติการตัดสินใจที่จะลดเป้าหมายจีดีพีในปี 63 ให้เป้าหมายการเติบโตของจีดีพี ลดลงจาก 6.5% เหลือ 3.3-3.6% เนื่องจาก Covid-19  และยังขอลดการจัดเก็บรายได้และเป้าหมายการใช้จ่ายจาก 28,997 พันล้านกีบเป็น 22,725 พันล้านกีบและจาก 35,693 พันล้านกีบเป็น 33,043 พันล้านกีบตามลำดับ ในส่วนของค่าใช้จ่ายเสนอให้ลดงบประมาณลง 30% สำหรับองค์กรระดับกลางและลด 10% สำหรับองค์กรท้องถิ่น ยังแนะนำให้เลื่อนการชำระงบประมาณการลงทุนภาครัฐอย่างน้อย 50% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ขออนุมัติการเพิ่มขึ้นของการขาดดุลงบประมาณจาก 3.77% ของ GDP เป็น 5.87% ซึ่งจะเพิ่มจาก 6,696 พันล้านเป็น 10,318 พันล้านกีบ ทั้งนี้ยังได้แนะนำมาตรการที่รัฐบาลวางแผนที่จะดำเนินการในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามแผนการจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมการเติบโตของปริมาณเงินและสินเชื่อด้อยคุณภาพ สร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน มาตรการอื่นๆรวมถึงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุนในและต่างประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้รัฐวิสาหกิจ พัฒนาทักษะของแรงงานและบรรเทาความยากจนในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt121.php

ชายแดนสปป.ลาว – กัมพูชายังคงปิดทำการต่อไป

สปป.ลาวได้ตัดสินใจปิดด่านชายแดนลาว – ​​กัมพูชา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ผู้ว่าราชการจังหวัดสตรึงเตรง Mr.Mom Saroeun อ้างใน Khmer Times “ถึงแม้สถานการณ์ของเราจะเริ่มดีขึ้นแต่ก็ยังมีความเสี่ยงกับมาระบาดอีกครั้งทำให้รัฐบาลของเรายังคงปิดด่านชายแดนต่อไปรวมถึงสปป.ลาวที่สถานการณ์ของการระบาด COVID-19 ดีขึ้นมากแล้วก็ตาม”การปิดด่านชายแดนสร้างความเสียหาย ทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยวแก่ทั้ง 2 ประเทศถึงแม้ด้านการค้าและด้านการท่องเที่ยวกัมพูชาจะไม่ได้เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสปป.ลาว แต่หากด่านยังคงปิดต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาด Covid-19 การที่สปป.ลาวจะหันให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนอย่างอย่างไทยหรือในกลุ่ม CLMV จึงเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/24/laos-cambodia-border-to-remain-closed/

การพัฒนาพลังงานสะอาดภายในประเทศกัมพูชากับความท้าทาย

โดยมีเป้าหมายที่จะขยายการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์อีกร้อยละ 12 ภายในสิ้นปีนี้และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งกัมพูชากำลังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดตามรายงานของกองทุนเพื่อการลงทุนด้านภูมิอากาศ (CIF) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จากรายงานเรื่อง “การเปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางการพัฒนาพลังงานสะอาดของกัมพูชา” ออกมาในเดือนนี้ โดยวัตถุประสงค์ของรัฐบาลสอดคล้องกับคำแนะนำในด้านการสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นตามคำแนะนำของ CIF และ ADB ซึ่งจากรายงานกล่าวถึงปัญหาในด้านของความโปร่งใส ความเสี่ยง ราคาและบทบาทของภาคเอกชน ที่ถือเป็นความท้าทายสำหรับการกำหนดสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สำหรับภาคเอกชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนต่างประเทศกัมพูชาได้นำเสนอตลาดพลังงานใหม่ โดยมีการจำกัดความสามารถในการดำเนินการประมูล ให้อยู่บนความโปร่งใสและเปิดกว้างในภูมิภาค ปัจจุบันสวนพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของกัมพูชาสามารถแข่งขันในด้านการประมูลราคาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 0.039 ดอลลาร์ / กิโลวัตต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737288/clean-energy-development-presents-challenges/

คาดอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในกัมพูชากำลังจะเติบโต

ภาคปศุสัตว์ในกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ในปีนี้ โดยอัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปี 2564 ตามรายงานล่าสุดจากรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่โดยเฉพาะสุกรและไก่สด รวมถึงส่งผลให้คนในท้องถิ่นได้บริโภคเนื้อสัตว์ในราคาที่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีการสนับสนุนและจะช่วยสร้างงานและสร้างรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแรงงานกลุ่มที่อพยพกลับมายังประเทศรวมถึงแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ซึ่งประธานสมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชากล่าวว่าสัตว์ปีกถือเป็นกลุ่มที่มีการศักยภาพมากที่สุด โดยสังเกตเห็นว่าไก่และเป็ดประมาณ 10,000-12,000 ตัว ถูกส่งไปยังตลาดในประเทศทุกวัน รวมถึงภายในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมูอยู่ประมาณ 300 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นหมูสดประมาณ 3,000 ตัว ทำให้มองเห็นถึงโอกาสในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737483/animal-husbandry-to-rise/

ครม.เห็นชอบไทยเข้าร่วมข้อตกลงสินค้าเกษตรอาเซียน

ครม. กำหนดกรอบการเจรจาความตกลงด้านมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของอาเซียน ลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) อำนวยความสะดวกทางการค้า รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของอาเซียน ภายใต้รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ตามที่กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดท่าทีของประเทศไทยที่จะไปตกลงในเรื่องดังกล่าว เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) อำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสาระสำคัญคือ 1.กำหนดหรือพิจารณามาตรฐานของอาเซียนด้านระบบการผลิตพืช ปศุสัตว์ และประมง ในระดับฟาร์ม และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียน 2.กำหนดขอบข่ายและเงื่อนไขในการยอมรับผลการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 3.พัฒนากลไกการประสานงานของอาเซียนและการปฏิบัติตามความตกลงของประเทศสมาชิก โดยกำหนดกลไกในการดำเนินการให้การยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นไปตามเงื่อนไขในการตกลงในการนำเข้าและส่งออกในภูมิภาค 4.ประเด็นอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติความตกลงนี้ เช่น การระงับข้อพิพาท ความโปร่งใส การเพิ่มบทบาทของอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร การมีผลใช้บังคับ และการแก้ไขความตกลง รวมทั้งประเด็นอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อไทย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/886351

สมัชชาแห่งชาติปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจหลังการระบาด Covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกครั้งหลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 คณะรัฐมนตรีกำลังสรุปรายงานและคาดว่าจะลดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ของประเทศจากร้อยละ 6.4 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ตามสรุปรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติได้ส่งรายงานของเดือนเมษายนที่ระบุว่าจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ส่งผลในทุกภาคส่วนของประเทศทั้ง แรงงานที่ตกงานจนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดตัวรวมถึงภาคการท่องเที่ยวสูญเสียเงินมากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนแรกของปี 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ GDP ของสปป.ลาวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/23/national-assembly-to-address-gdp-target-amid-economic-downturn/

ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาประสบปัญหากับการเติบโตที่ต่ำลง

หนึ่งในเสาหลักทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกัมพูชาคือภาคการก่อสร้างถูกกำหนดให้มีอัตราการเติบโตติดลบในปีนี้ ซึ่งไม่เคยเห็นมาตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างปี 2550 ถึง 2552 โดยภาคนี้มีช่วงการเติบโตที่น่าประทับใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากตัวเลขอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการพิจารณาคดีการลงทุน มีมูลค่าถึง 11 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวน 5.5 พันล้านดอลลาร์ ในแง่ของผลกระทบจาก COVID-19 ภาคนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ติดลบร้อยละ 5.3 ในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.3 ในปีหน้าตามรายงานฉบับล่าสุดของกระทรวงเศรษฐกิจ และการเงิน ซึ่งภาคการก่อสร้างที่ลดลงอย่างมากนี้ส่งผลให้คาดการณ์ว่าการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงตามไปด้วย โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีมีการอนุมัติ 1,547 โครงการ เพิ่มขึ้น 322 โครงการในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีมูลค่าประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 หรือคิดเป็น 6.8 ล้านตารางเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736882/construction-suffers-from-low-growth/

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวถึงงบประมาณภายในประเทศกัมพูชา

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากัมพูชาเริ่มดำเนินงบประมาณเข้าสู่จุดสมดุล โดยรัฐบาลได้เตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉินมูลค่า 800 ล้านถึง 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากการระบาดของ COVID-19 โดยระบุว่ากองทุนจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความเหมาะสม ตามแผนงบประมาณยุทธศาสตร์ระดับชาติของรัฐบาล (2564-2566) นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ -1.9 ซึ่งรัฐบาลวางแผนที่จะลดงบประมาณของรัฐในปี 2564 ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนลดลงร้อยละ 50 จากงบประมาณของรัฐในปีนี้รวมถึงการลดลงร้อยละ 11.3 สำหรับกิจการสังคมและร้อยละ 6.4 สำหรับการบริหารทั่วไป ตามที่รัฐบาลคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะสามารถควบคุมได้ที่อัตราร้อยละ 2.8 อย่างไรก็ตามในปีหน้าอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 3.1 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในตลาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736883/pm-hun-sen-says-budget-balanced/

“ธสน.” เตือนผู้ส่งออกบริหารความเสี่ยงรับมือ “เศรษฐกิจโลก” และปัญหาผู้ซื้อต่างประเทศ

นายพิศิษฐ์  เสรีวิวัฒนา  กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ธนาคารโลก (World Bank) ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2563 เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 5.2% ต่ำสุดในรอบเกือบ 100 ปีนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) ในช่วงทศวรรษ 1930 ขณะที่การค้าโลกจะหดตัว 13.4% เป็นการหดตัวรุนแรงเกินเลข 2 หลัก (-10% ขึ้นไป) ครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2552 “EXIM BANK” คาดว่า ในปี 2563 ภาคการส่งออกของไทยจะหดตัว 5-8% สินค้าที่มีโอกาส เช่น สินค้าจำเป็นประเภทอาหาร และสินค้าตามกระแสเมกะเทรนด์ เช่น อุปกรณ์สำนักงานสำหรับทำงานจากบ้าน (Work from Home) เครื่องมือแพทย์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้  จากการคาดการณ์ของออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อทางการค้าชั้นนำของโลก Covid-19 จะส่งผลกระทบให้ธุรกิจการค้าทั่วโลกขาดทุนคิดเป็นมูลค่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งจะมีธุรกิจล้มละลายเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20% ผู้ส่งออกไทยจึงต้องบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ โดยวิธีกระจายตลาดส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังเติบโตหรือมีคนรุ่นใหม่ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่มาก เช่น ตลาดใหม่อย่าง CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เอเชียใต้ และแอฟริกา

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/439442