ภาคเกษตรเวียดนาม เกินดุลการค้าราว 49% ในช่วงไตรมาสแรก

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่าภาคเกษตรเวียดนาม มียอดเกินดุลการค้าราว 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าพืชสวนสำคัญอยู่ที่ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีแนวโน้มที่เหมือนกับสินค้าส่งออกป่าไม้ ประมงและปศุสัตว์ ด้วยมูลค่า 2.8, 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 109 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.13, 14 และ 21.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีสินค้าหลายรายการยังคงเติบโต ได้แก่ ข้าว สำปะหลัง ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น ในขณะเดียวกัน การส่งออกปลาสวายหดตัวอย่างมาก ลดลงร้อยละ 61.5 ด้วยมูลค่า 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมายาง (26.1%), ชา (19%) และพริกไทย (13.9%) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ตลาดสหรัฐฯ แทนที่ตลาดจีน ในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรอยู่ที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2 ของยอดส่งออกรวม รองลงมาจีน (21.4%), สหภาพยุโรป (13.1%), ญี่ปุ่น (8.9%) และอาเซียน (16.4%)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/qi-agriculture-posts-nearly-49-growth-in-trade-surplus-412069.vov

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกว่า 47,000 ล้านเยนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 โครงการ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และรัฐบาลเมียนมาลงนามตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านการปรับปรุงระบบรถไฟและระบบไฟฟ้า JICA ลงนามในสัญญาเงินกู้กับรัฐบาลโดยให้เงินกู้ ODA สูงถึง 47.94 พันล้านเยน (607.3 พันล้านจัต) สำหรับโครงการทั้งสอง จากทั้งหมด 40,600 ล้านเยนจะถูกใช้ในช่วงแรกของโครงการปรับปรุงรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ในขณะที่ระยะที่สาม 7.33 พันล้านเยนจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า หน่วยงานพัฒนาของญี่ปุ่นจะยังคงให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างต่อเนื่อง  ในเดือนมกราคม JICA ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวน 120.9 พันล้านเยนกับเมียนมาสำหรับสี่โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบท่อน้ำทิ้งย่างกุ้ง, โครงการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง, โครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในเขตเมืองและโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/japan-provide-y47-billion-two-infrastructure-projects.html

แรงงานผลิตกระเป๋าต้องการรับประกันกลับเข้าทำงานเมื่อโรงงานกลับมาเปิดใหม่

แรงงานจากโรงงานกระเป๋าหนัง 2 แห่งในย่างกุ้งที่ปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ต้องการรับประกันว่าพวกเขาจะได้กลับเข้าทำงานเมื่อโรงงานกลับมาเปิดอีกครั้ง Myanmar Muse Leather Goods ซึ่งมีคนงาน 300 คน และ Myanmar Elegant Supreme Leather มีแรงงาน  400 คน ได้ปิดตัวลงเป็นเวลาสามเดือนและจ่ายค่าแรงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างทุกเดือน โรงงานทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม Ywar Thar Gyi ในเขตการปกครอง East Dagon เป็นหนึ่งในหลายสิบโรงงานที่ปิดตัวลง ตามรายงานของกระทรวงแรงงานการตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ตั้งแต่เดือนมกราคมพบว่าโรงงานอย่างน้อย 38 มี 22 แห่งที่ปิดกิจการลง นอกจากนี้บริษัทในยุโรปได้ยกเลิกคำสั่งซื้อท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด โดยตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็น 70% ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/bag-making-workers-want-jobs-guaranteed-when-factories-reopen.html

รัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจมีอาหารและสินค้าเพียงพอความต้องการภายในประเทศ

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่ทำให้ผู้ติดเชื้อในสปป.ลาวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในขณะนี้ จนเป็นที่มาของมาตราการปิดพรหมแดนรวมถึงการให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้านตั้งแต่วันที่ 1-19 เมษายน ทำให้ประชาชนมีความกังวลถึงสินค้าและอาหารจะเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศหรือไม่ จากความกังวลดังกล่าวรัฐบาลได้ออกมาให้ความมั่นใจว่าสปป.ลาว มีแหล่งนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพียงพอถึงแม้การผลิตในประเทศจะหยุดชะงักขณะนี้ โดยสปป.ลาวจะนำเข้าสินค้าจากจีนและเวียดนามและมั่นใจว่าจะเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศแต่ถึงอย่างไรรัฐบาลได้ขอความรว่วมมือให้ประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้าเพราะนอกจากอาจขาดแคลนไปในบางช่วงแล้ว อาจทำให้ราคาสินค้าที่การปรับตัวสูงขึ้นไปตามอุปสงค์ของผู้บริโภค

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_2Arp.php

รัฐบาลสปป.ลาวเลื่อนการชำระภาษีศุลกากรออกไป

รัฐบาลจะเลื่อนการชำระภาษีศุลกากรภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ออกไปก่อ่นจาก 30 เมษายนเป็น30 มิถุนายนเพื่อบรรเทาปัญหาของแรงงานส่วนใหญ่ในช่วงนี้ที่ตกงานจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 โดยรัฐบาลได้มีการควบคุมราคาสินค้าทั่วๆ ที่เป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพที่อาจสูงขึ้นในสถานการณ์ที่อาจขาดแคลนอาหารและมีการกักตุนกัน ซึ่งสินค้าที่สำคัญอย่างมาสก์ที่เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงจะถูกกำหนดราคาราคาไว้ไม่ให้มีการปรับขึ้นตามความต้องการ แต่จะมีการจัดสรรไปให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอก่อนเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดลงจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 3 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบใชช่วงนี้ ให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนักโดยเฉพาะภาคธุรกิจที่อาจล้มละลายจากสถานการณ์ในช่วงนี้ได้ ทั้งนี้จากการแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและคาดการณ์ว่าเราต้องอยู่กับการไวรัสตัวนี้ไปอีก1-2 ปี ทำให้การเติบเศรษฐกิจอาจไม่ใช่เป้าหมายที่สำคัญ แต่รัฐบาลจะให้ความสนใจในเรื่องการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของเศรษฐกิจเป็นสำคัญในช่วงนี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt%20postpones_2Arp.php

การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 35% ในไตรมาสแรก ท่ามกลางการระงับการส่งออก

กัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 230,948 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงการเพิ่มขึ้นกว่า 35% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ชี้ให้เห็นว่าจีนเป็นตลาดหลักของข้าวกัมพูชา โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2563 มีการส่งออกข้าวกว่า44% ส่งออกไปยังประเทศจีนตามด้วยสหภาพยุโรป 30% ประเทศในกลุ่มอาเซียน 12% และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ 14% ที่ได้ระบุไว้ในรายงาน ซึ่งในเดือนมีนาคมเดือนเดียวการส่งออกข้าวสารอยู่ที่จำนวน 94,449 ตัน เพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2562 โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 620,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ ดังตัวเลขการส่งออกข้าวของกัมพูชาที่ดูเพิ่มขึ้นนี้มาจากรัฐบาลประกาศห้ามส่งออกข้าวสารและข้าวเปลือกตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้สั่งให้หยุดการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนจนกว่าจะมีประกาศ เพื่อปกป้องอุปทานภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อความกังวลของการขาดแคลนอาหารในช่วงการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50708588/cambodias-rice-export-up-35-percent-in-q1-amid-looming-ban/

การค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 33% สู่ 585 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมกราคม

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ 585 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมกราคม 2563 เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตัวเลขรายงานจากสำนักงานการค้าของสหรัฐฯแสดงให้เห็นว่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 38% เป็น 560 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐฯอยู่ที่ 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจาก 34.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาพบว่าสินค้าส่งออกของกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา ได้แก่ สิ่งทอ รองเท้า สินค้าการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตร ขณะที่สหรัฐฯส่งออกยานพาหนะ อาหารสัตว์และเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2562 การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่าอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50708596/cambodia-u-s-trade-volume-up-by-33-percent-to-us585-million-in-january/

“ฮอนด้าเวียดนาม” ระงับการผลิตชั่วคราว เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทางฮอนด้าเวียดนาม (HVN) เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ติดอันดับที่ 4 ในเวียดนาม ซึ่งจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ระงับการผลิตชั่วคราวและการประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยการระงับการผลิตข้างต้นนั้น จะดำเนินการเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-15 เม.ย. ทั้งนี้ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศของฮอนด้าในเวียดนาม ระบุว่าตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด-19 และการให้ความสำคัญด้านสุขภาพแก่พนักงานของบริษัท รวมถึงฮอนด้าได้ตัดสินใจหยุดการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชั่วคราว โดยก่อนหน้านั้น ทาง Ford Vietnam, Toyota Motor Vietnam และ TC Motor ได้ระงับกิจกรรมการผลิตแล้ว เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/honda-vietnam-suspends-production-due-to-covid19/171052.vnp

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ลดลง 40% ในช่วง 2 เดือนแรก

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามนำเข้ารถยนต์ 14,523 คัน ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 43.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งจำนวนรถยนต์ต่ำกว่า 9 ที่นั่ง และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล มีอยู่ 10,768 และ 3,425 คัน ลดลงร้อยละ 39.6 และ 53.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ เวียดนามซื้อรถยนต์ที่ประกอบจาก 2 ตลาดสำคัญ ได้แก่ ไทย (6,271 คัน) และอินโดนีเซีย (3,416 คัน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94.3 ของการนำเข้ารถยนต์รวม นอกจากนี้ ตามรายงานล่าสุดของกระทรวงฯ พบว่าเวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากเกาหลีใต้ มูลค่า 1.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (28.5%) รองลงมาญี่ปุ่น 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (18.04%) และจีน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (18%) ในขณะเดียวกัน การลดลงของสินค้าคงคลังขนาดใหญ่ ในช่วงที่เหลือของปี 2562 ซึ่งผู้นำเข้าหลายรายยังคงต้องรอคำตัดสินใจจากรัฐบาล เพื่อที่จะลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้าชิ้นรถยนต์ จากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-car-imports-plummet-over-40-percent-in-first-two-months/171048.vnp

สหภาพแรงงานเมียนมารณรงค์ให้รับค่าแรงเต็มจำนวนในเดือนเมษายนกรณีปิดโรงงาน

สหภาพแรงงานกำลังวางแผนล็อบบี้ให้รับค่าจ้างเต็มจำนวนในเดือนเมษายนกรณีที่ปิดโรงงาน หัวหน้าสหพันธ์แรงงานเสื้อผ้าของเมียนมา (FGWM) กล่าว โดยมีสหภาพแรงงานประมาณ 30 แห่งภายใต้ FGWM จะเข้าร่วมในการรณรงค์ในครั้งนี้ FGWM โดยจะมีการเจรจาล่วงหน้าที่โรงงานทุกแห่งทั้งช่องออนไลน์และการเคลื่อนไหวอย่างการตะโกนคำขวัญบนเรือข้ามฟากโดยมีประมาณ 30 โรงงานที่จะเข้าร่วม ปัจจุบันบริษัทบางแห่งตัดสินใจปิดตัวและจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนในเดือนเมษายนและบางบริษัทได้ให้กลับไปทำงานที่บ้านหรือที่จ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่ง ในวันที่ 31 มีนาคมคนงานโครงการ Yoma Central รวมตัวกันเพื่อขอลาหยุดในช่วงวันหยุดเทศกาลติงยัน ซึ่งบริษัทจะให้วันหยุดและจ่ายเงินในช่วงวันหยุด ผู้ที่ทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 9 เมษายนก่อนวันหยุดเทศกาลจะได้รับค่าตอบแทนเป็นสองเท่าและผู้ที่ไม่ต้องการทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวจะให้ออกจากงานพร้อมกับเงินเดือนครึ่งหนึ่ง หลังจากวันหยุดผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 20 ถึง 30 เมษายนจะได้รับเงินสองเท่าและผู้ที่ลาจะได้รับเงินเดือนครึ่งหนึ่ง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/worker-unions-myanmar-campaign-factory-closures-full-wages-april.html