สปป.ลาว-เวียดนามลงนามความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ระหว่างประเทศ

ระหว่างวันที่ 2-4 มกราคม 63 นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวและนายกรัฐมนตรี​เวียดนามมีการลงนามสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยในหัวข้อที่มีการทำสนธิสัญญากันมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือเพื่อครอบคลุมผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศโดยมีการลงนามในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน สนธิสัญญาการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาว สนธิสัญญาด้านการค้าเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนรวมทั้งยังมีส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย ที่ผ่านมาเวียดนามลงทุนในโครงการในสปป.ลาว 413 โครงการมูลค่ารวม 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ตั้งแต่ปี59 ถึงปัจจุบันเวียดนามให้เงินช่วยเหลือแก่สปป.ลาวเป็นจำนวน 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นสนธิสัญญาจะเป็นข้อตกลงที่จะช่วยยกระดับมิตรภาพที่ดีและความร่วมมือที่ครอบคลุมผลประโยชน์ระหว่างประเทศทั้งความมั่นคงและเศรษฐกิจสปป.ลาว

ที่มา http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_vietnam_3.php

เวียดนามจะซื้อพลังงาน 1.5 พันล้าน kWh ต่อปีจากสปป.ลาว

Vietnam Electricity (EVN) จะซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาวประมาณ 1.5 พันล้าน kWh ต่อปีเป็นระยะเวลา 2 ปี เริ่มในปี 64 ภายใต้สัญญาที่ลงนาม Vietnam Electricity (EVN) จะซื้อไฟฟ้ามากกว่า 596 ล้าน kWh ต่อปีจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำสองแห่งของกลุ่ม  Phongsubthavy และในปี 65 จะซื้อไฟฟ้า 632 ล้าน kWh จากโรงงานสองแห่งที่อยู่ในกลุ่ม Chealun Sekong อีกทั้งในปี 64 จะเริ่มซื้อไฟฟ้า 263 ล้าน kWh ต่อปีจากบริษัทอื่น การนำเข้าได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเวียดนามเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประมาณการในปี 64 การขาดแคลน 3.7 พันล้าน kWh และเกือบ 10 พันล้าน kWh ในปีต่อไป ในปี 66 คาดว่าปัญหาการขาดแคลนจะอยู่ที่ประมาณ 15 พันล้าน kWh จากนั้นจะลดลง เนื่องจากการขาดแคลนคาดว่าจะลดลงถึง 7 พันล้าน kWh และ 3.5 พันล้าน kWh ในปี 67 และ 68 ตามลำดับ กระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าสามารถอนุรักษ์กระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 5-8% และทางออกเดียวคือการนำเข้ามากขึ้นจากสปป.ลาวและจีน แต่การซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาด้วยคลื่นความถี่และในระยะยาวมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความเร็วในการทำงานในโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-to-buy-1-5-billion-kwh-of-power-annually-from-laos-4037485.html

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของกัมพูชา

ธนาคารกลางคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของกัมพูชาจะคงอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 7% โดยมีอัตราเงินเฟ้อที่ 2.3% ในปี 2563 ตามรายงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยกล่าวว่าการคาดการณ์สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปตามการคาดการณ์ของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการส่งออกการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่เศรษฐกิจของกัมพูชา จากการเติบโตที่หลากหลายและการปฏิรูปที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน การส่งออกคาดว่าจะเติบโตมากที่สุดโดยเฉพาะการส่งออกกระเป๋าเดินทางและผลิตภัณฑ์วัตถุดิบการผลิตอื่นๆ แม้ว่าการส่งออกเสื้อผ้าจะชะลอตัวลง ซึ่งสหภาพยุโรปอาจตัดสินใจถอน EBA จากกัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ซึ่งการสูญเสีย EBA จะเพิ่มมูลค่าของสินค้าส่งออกของกัมพูชาไปยังตลาดยุโรปเนื่องจากภาษีเดิมคือ 0.1% มาอยู่ที่ 12.5% ​​ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ โดยสิ่งที่กัมพูชาต้องทำในระยะยาวคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน ปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัยและปกป้องสิ่งแวดล้อมที่มาอยู่ ซึ่งการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็มีความสำคัญเช่นกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677031/kingdoms-continued-real-growth

แผนกจังหวัดของกัมพูชาได้รับอนุญาตในการออกหนังสือรับรองหรือฟอร์มดี

กระทรวงพาณิชย์มุ่งมั่นที่จะมอบหมายการออกแบบฟอร์มดี สำหรับรับรองแหล่งกำเนิดให้กับกระทรวงพาณิชย์ทั่วประเทศภายในปีนี้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในกิจกรรมทางธุรกิจและการส่งออกตามรายงานประจำปีของกระทรวง โดยใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (CO) เป็นเอกสารอย่างเป็นทางการที่ใช้เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตและมีแหล่งที่มาจากแหล่งใด ซึ่งทั่วไปจะเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ซื้อต้องการ โดย CO ของรูปแบบ ฟอร์มดี จะต้องได้รับจากบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนจนถึงขณะนี้มีโครงการถึง 16 จังหวัด โดยจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดสามารถออกฟอร์มดีและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระดับชาติและระดับจังหวัดที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตามที่กระทรวงระบุว่าการยื่นแบบฟอร์มดีที่แผนกการพาณิชย์จังหวัดใช้เวลาเพียง 16 ชั่วโมงเทียบกับ 10 วันถึงสองสัปดาห์หากการยื่นขอนั้นอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ในกรุงพนมเปญ ซึ่งกระทรวงตั้งเป้าในปีนี้เพื่อมอบหมายการออกแบบฟอร์มดี ไปยังแผนกพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจโดยเฉพาะการส่งออก โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรประมาณ 7 ล้านตันในปี 2562 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระบุว่าเวียดนามเป็นผู้ซื้อสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50676991/provincial-departments-will-be-allowed-to-issue-d-notices

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรหลัก ลดลง 5.3% ในปี 62

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในปี 2562 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรหลักอยู่ที่ 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงและสินค้าป่าไม้ ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2.7 และ 19.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกสินค้าเกษตรกรรมสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ จีนและฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.8 ของการส่งออกสินค้าเกษตรรวม) รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น ตามลำดับ ทั้งนี้ หากจำแนกสินค้าเกษตรสำคัญ พบว่าข้าว ผักผลไม้ กาแฟและพริกไทย มีมูลค่าการส่งออกลดลง แต่ว่ามันสำปะหลังและใบชา มีมูลค่าการส่งออกขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมของเวียดนามรวมอยู่ที่ 30.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้าราว 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/export-of-main-agricultural-products-down-53-percent-in-2019-408382.vov

เวียดนามประสบความสำเร็จในการขยายตัวการท่องเที่ยว

ในปีที่ผ่านมา เวียดนามดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามามากกว่า 18 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขทางสถิติสูงที่สุดและมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 16.2 รวมไปถึงได้รับรางวัลการันตีการท่องเที่ยวระดับนานาชาติอีกด้วย จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าภายในปี 2562 เวียดนามเป็น 1 ใน 10 ประเทศทั่วโลกที่มีอัตราการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวสูงที่สุดและเป็นจุดมุ่งหมายที่ดีที่สุดในการเดินทางมายังเอเชีย ซึ่งผู้อำนวยการบริษัท Inmarc ระบุว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเวียดนาม มีศักยภาพอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศที่สวยงาม อาหารหลากหลาย และโรงแรมที่ยอดเยี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว ได้ตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 20.5 ล้านคน และนักท่องเที่ยวในประเทศ 90 ล้านคน ภายในปีนี้ โดยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เวียดนามยังคงผลักดันการใช้ IT การปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและโปรโมตการท่องเที่ยวเพิ่มมากยิ่งขึ้น

18 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขทางสถิติส

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-achieves-stellar-tourism-growth-408391.vov

พาณิชย์เปิดเจรจาการค้าไทย-บังกลาเทศ

ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า ไทย – บังกลาเทศ ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 7 – 8 ม.ค. 63 ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีการหารือในประเด็นสำคัญ เช่น การขยายการค้าและการลงทุน การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรม เกษตร ประมงและปศุสัตว์ บริการสุขภาพและสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน และความเป็นไปได้ในการจัดทำ เอฟทีเอ ไทย – บังกลาเทศ เป็นต้น เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนสองฝ่ายให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในอนาคต ซึ่งบังกลาเทศเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดที่ 6-8% ต่อปี มีประชากรกว่า 160 ล้านคน มีทรัพยากรทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ และถ่านหิน มีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน โดยบังกลาเทศได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีฝ่ายเดียว หรือ จีเอสพี จาก 47 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมีศักยภาพในการเป็นประตูการค้าสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ และประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือโอไอซี กว่า 57 ประเทศ ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองประเทศจะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น…

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/750275

สนามบินแห่งแรกของรัฐชินเปิด พ.ค.63

รัฐชินจะเปิดให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุนเข้าถึงได้มากขึ้นในปีนี้เมื่อสนามบินแห่งแรกเปิดทำการ สนามบินเซอบุ่ง ในเมืองพะล่าน ของรัฐชิน จะเปิดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม การย้ายครั้งนี้คาดจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในรัฐที่ด้อยพัฒนาที่สุดของประเทศ โครงการมูลค่า 37 พันล้านจัต โดยเชื่อมโยงชินกับรัฐอื่น ๆ อีกเจ็ดแห่ง สนามบินตั้งอยู่ทางตอนเหนือในเมืองพะล่าน ของรัฐชิน ตั้งอยู่บนเทือกเขา มีรันเวย์ยาว 1,830 เมตรและกว้าง 30 เมตรในการรองรับเครื่องบิน ATR-72 ภูมิประเทศที่เป็นภูเขาทำให้ชินเป็นรัฐที่ยากต่อการเดินทาง ทำให้เป็นรัฐที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดด้วยการขาดโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากความไม่สามารถเข้าถึงได้ในปีที่ผ่านมามีธุรกิจโรงแรมในท้องถิ่นเพียงไม่กี่แห่งที่เปิดดำเนินการและไม่มีการลงทุนจากต่างประเทศ จากการสำรวจสภาพความเป็นอยู่ในปี 60 ประชากรเกือบ 60% อยู่ในสภาวะยากจน เมียนมามีสนามบินนานาชาติ 3 แห่งและอีก 58 แห่งในประเทศซึ่งปัจจุบันมีเพียง 31 แห่งที่เปิดให้บริการ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/first-airport-chin-state-open-may.html

รายได้การส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้น 27 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปี 62-63 มีรายได้จากการส่งออกทางทะเลมีจำนวน 232.091 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 27.940 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายได้จากการส่งออกทางทะเลอยู่ที่ 482 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 57-58 รายได้ 502 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 58-59 รายได้ 652 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 59-60 มากกว่า 680 ล้านเหรียญสหรัฐจนถึง 18 มีนาคมในปี 60-61 และ 728.257 ตามข้อมูลจากกรมประมง เวียดนามติดอันดับประเทศผู้ส่งออกทางทะเลในอาเซียน รองลงมาคือ ไทย อินโดนีเซีย และเมียนมาตามลำดับ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกปลามากกว่า 40 ชนิดไปยังกว่า 40 ประเทศ ปริมาณการส่งออกทางทะเลของเมียนมาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน มีความพยายามที่จะเพิ่มการส่งออกซึ่งภาคการประมงควรให้ความสำคัญกับระบบการผสมพันธุ์มากว่าการทำประมงตามธรรมชาติ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/marine-export-earnings-increase-by-over-27-m

คาดราคาเนื้อสุกรอาเซียนพุ่งรับอหิวาต์หมูระบาดหนัก

องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ เผยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ระบาดทั่วเอเชีย โดยมี “เวียดนามและฟิลิปปินส์” แพร่รุนแรงที่สุด ส่งผลราคาเนื้อหมูในอาเซียนปรับตัวเพิ่มขึ้น สำนักข่าวบีบีซี รายงานอ้างการเปิดเผยของกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ที่ระบุว่า มีหมูเกือบ 30,000 ตัว ต้องตายลงเพราะติดเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในจังหวัดสุมาตราเหนือ จนถึงขณะนี้ การระบาดที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในจีน นาย ชาห์รูล ยาซิน ลิมโป รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย กล่าวว่าทางการกำลังรับมือกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมถึงการแยกพื้นที่ที่เป็นปัญหาเหล่านั้นออกมา ด้านสมาคมของผู้ผลิตเนื้อหมูของออสเตรเลีย ประเมินว่า การระบาดนี้อาจจะสร้างความเสียหายราว 2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือราว 4.17 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์จากอ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ กล่าวว่าในช่วงไม่กี่เดือนนี้ราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงตรุษจีน แต่ว่าความพยายามด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของจีน เริ่มเห็นผลแล้ว และคาดว่าอุตสาหกรรมเนื้อหมูในจีนได้ผ่านจุดวิกฤตมาแล้ว แต่การฟื้นตัวอย่างเต็มที่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/859450