DITP ชี้ตลาดฮาลาลบูม พร้อมแสดงศักยภาพ ยกระดับฮาลาลไทย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัด Thai Halal Pavilion เปิดโอกาสทางธุรกิจ สร้างโอกาสทางการค้า แสดงศักยภาพอาหารฮาลาลไทย ผสานนวัตกรรม ก้าวสู่ตลาดโลก ดัน Soft Power อาหารไทย ใน THAIFEX-Anuga Asia 2024 นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออก ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC) 6,246.13 ล้านบาท โดยไทยส่งออกสินค้าอาหารฮาลาล เป็นอันดับที่ 11 ของโลก อย่างไรก็ตาม อาหารฮาลาลของไทยยังมีโอกาสเติบโตได้เพิ่มขึ้น จากจุดแข็งด้านคุณภาพ วัตถุดิบที่มีความหลากหลาย มีมาตรฐาน รสชาติดี เป็นที่นิยม และมีชื่อเสียงในตลาดโลก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จึงได้สนับสนุนและส่งเสริมอาหารฮาลาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้อาหารฮาลาลไทยขยายออกไปสู่ตลาดโลกมากขึ้น และได้กำหนดให้จัด Thai Halal Pavilion ขึ้นเพื่อแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลแบบครบวงจร สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งเป็นฐานการผลิตสินค้าฮาลาลที่สำคัญ ในงาน THAIFEX-Anuga Asia 2024 งานจัดแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้ารวมกว่า 3,000 บริษัท มากกว่า 6,000 คูหา จาก 50 ประเทศ ในปัจจุบันอาหารฮาลาลไทย ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจำนวนประชากรมุสลิมมีการขยายตัวสูง ประกอบกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่มิใช่มุสลิมก็ให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารปลอดภัย และมีความเชื่อมั่นในอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลของไทยที่มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานคุณภาพตามหลักการศาสนาบัญญัติอิสลาม

ที่มา : https://www.matichon.co.th/publicize/news_4596050

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาประเทศลาว

นางสาวแสงผาสุข ไซยะวงศ์ ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว กล่าวในที่ประชุมเกี่ยวกับการจัดการการขาดแคลนน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดูเหมือนจะก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศลาว โดยภัยแล้งที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานในขณะนี้ได้ทำลายการผลิตพลังงานและพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขาดแคลนน้ำอาจสร้างความเสียหายให้กับกิจกรรมทางการเกษตรซึ่งมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สำคัญของประชากรลาว เกษตรกรที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบชลประทานอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขาดแคลนน้ำ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_98_Climate_y24.php

‘วีซ่า’ จับมือเป็นพาร์ทเนอร์อีวอลเล็ท ดันตลาดเวียดนาม

นาง Dang Tuyet Dung ผู้จัดการวีซ่าประเทศเวียดนามและสปป.ลาว กล่าวว่าวีซ่า (Visa) ผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก มีความยินดีที่จะเป็นพันธมิตรกับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในเวียดนาม ได้แก่ MoMo, VNPAY และ ZaloPay เพื่อมอบประสบการณ์การชำระเงินให้เป็นเรื่องสะดวก ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ถือบัตรวีซ่าที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงประชาชน โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของเวียดนามไปสู่สังคมไร้เงินสด โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่สามารถเสนอโซลูชั่นให้กับผู้บริโภค

นอกจากนี้ จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในเรื่องการชำระเงิน พบว่าในปี 2566 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 88% ใช้การชำระเงินดิจิทัล ในขณะที่ 62% ใช้สแกน QR Code ชำระเงิน เพิ่มขึ้น 35% จากปี 2565

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656257/visa-partners-with-e-wallets-in-viet-nam.html

‘เวียดนาม’ เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรม สัญญาณฟื้นตัว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ทำการประเมินสถานการณ์ของภาคอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ม.ค.-เม.ย. เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะสาขาการผลิตและแปรรูปที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 6.3% เนื่องจากมาตรการส่งเสริมของภาครัฐ ตลอดจนการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ในขณะที่ตลาดโลกค่อยๆกลับมาฟื้นตัวและปรับตัวจากการหยุดชะงักในปี 2565 และปี 2566 ทำให้ยอดคำสั่งซื้อส่งออกใหม่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ นาย Dao Phan Long ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องกลของเวียดนาม กล่าวว่าความพยายามของประเทศพัฒนาแล้วในการกระจายห่วงโซ่อุปทานและการลงทุน ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและการส่งออกในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก อย่างไรก็ดี จากการคาดการ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ แสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อสูง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/industrial-production-shows-signs-of-recovery-post287518.vnp

ตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง หารือเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการล่วงหน้าและที่ปรึกษา

ตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) ได้จัดการเสวนาในคณะกรรมการจดทะเบียนและแต่งตั้งที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และได้ประกาศด้วยว่า บริษัท เอเชีย แปซิฟิค บิสสิเนส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กำลังพยายามจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ YSX ด้านนาย U Myo Hein ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Myanmar Enterprise Solutions กล่าวว่า “บริษัท APC ได้แต่งตั้งให้เราเป็นเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการสำหรับคณะกรรมการจดทะเบียนหุ้น แม้ว่า YSX จะได้รับการพัฒนามาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว แต่ความสนใจของสาธารณชนยังคงต่ำ เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด บริษัทหลายแห่งจึงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจดทะเบียนล่วงหน้าก่อตั้งขึ้นในปี 2565 และในปี 2567 มีบริษัทจดทะเบียน 3 แห่ง ทั้งนี้ มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าสู่ YSX Pre-listing Board ของ APC Public Holding Limited นอกจากนี้ ภายในงานยังได้พูดคุยถึงสิ่งที่บริษัทต่างๆ ต้องเตรียมการเข้าสู่คณะกรรมการจดทะเบียนล่วงหน้า และให้ความรู้เกี่ยวกับความพร้อมของการจดทะเบียนล่วงหน้า และขั้นตอนที่บริษัทท้องถิ่นควรดำเนินการท่ามกลางการลงทุนจากต่างประเทศที่ลดลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/yangon-stock-exchange-discusses-pre-listing-board-and-consultant-appointment/

ชายแดนหมอตอง-สิงขร มีแนวโน้มที่จะเป็นด่านถาวร

อ้างอิงจากสำนักข่าวของประเทศไทย มีรายงานว่า ครม.ไทยเตรียมเปิดด่านสิงขรเชื่อมชายแดนมอตองเมียนมาเป็นด่านถาวร ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีพรมแดนติดกับเมืองมอตอง เขตตะนาวศรี จะได้รับการยกระดับให้เป็นด่านถาวรเพื่อสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดนทวิภาคี โดยผู้ค้าจากทั้งสองประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนแสดงถึงความตั้งใจให้ด่านสิงขรเป็นด่านถาวร ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและการต่างประเทศของไทยเดินทางเยือนชายแดนสิงขรเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ถือเป็นการเยือนครั้งแรกของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และมีความคาดหวังสูงว่าจะเปิดด่านสิงขรเป็นจุดตรวจถาวรเพื่อเร่งการค้าชายแดนกับเมียนมา อย่างไรก็ดี ผู้ค้าที่ทำการค้าชายแดนกับไทยที่ชายแดนมอตอง กล่าวว่า ปัจจุบันด่านสิงขรยังไม่มีการกำหนดให้ทำการค้าระหว่างประเทศ เป็นเพียงด่านชั่วคราวเท่านั้น และด้วยความคิดริเริ่มเกี่ยวกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตกของไทย ที่ได้มีการศึกษาเส้นทางการค้าหมอตอง-สิงขร-กรุงเทพฯ ช่องทางการค้าบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี หรือด่านชายแดนอื่น รวมทั้งเหตุจากความล่าช้าในชายแดนเมียวดี-แม่สอด ทำให้ทางการไทยต้องสำรวจด่านชายแดนแห่งอื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mawtaung-singkhon-border-likely-to-become-permanent-checkpoint/#article-title