กรมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ออกตั๋วกำกับดูแลการขนส่งน้ำมัน

กรมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมได้ออกตั๋วควบคุมการขนส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเมื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดตามระเบียบแล้วโดยในขณะคัดกรองใบสมัคร พบว่าบางส่วนเป็นเอกสารปลอมแปลงข้อมูล ส่วนใหญ่จะถูกส่งโดยนายหน้า ดังนั้นกรมจึงสนับสนุนให้ผู้สมัครส่งไฟล์ด้วยตนเองที่สำนักงานภูมิภาคและของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กรมฯ เตือนขอให้ส่งเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารไม่ปลอมไม่ว่าจะนำไปใช้ในทางใดก็ตาม นอกจากนี้ หากพวกสามารถจัดเตรียมเอกสารที่ครบถ้วนและตรวจสอบได้ ค่าธรรมเนียมตั๋วการควบคุมดูแลจะอยู่ที่ 20,000 จ๊าดเท่านั้น และระยะเวลาดำเนินการตั๋วใช้เวลาเพียงสองวันทำการ สำหรับความไม่สะดวกบุคคลทั่วไปสามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานได้ตามหมายเลขติดต่อ 067 3411282 และ 067 3411129

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pprd-issues-supervision-tickets-for-oil-transport/#article-title

การค้าชายแดนไทย-เมียนมา ทะลุ 297 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในหนึ่งเดือน

การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศเพื่อนบ้านไทยมีมูลค่า 297.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 10 พฤษภาคมของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีมูลค่าการค้า 428 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าลดลงอย่างมากถึง 131.2 ล้านดอลลาร์อย่างไรก็ดี เมียนมาดำเนินการค้าข้ามพรมแดนกับไทยผ่านทางชายแดน ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด บ้านพุน้ำร้อน และมอตอง ในจำนวนนี้ ชายแดนบ้านพุน้ำร้อน มีการค้าขายมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 185 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนที่ผ่านมา รองลงมาคือ ชายแดนเมียวดี มูลค่าการค้าอยู่ที่ 31.69 ล้านดอลลาร์, ชายแดนท่าขี้เหล็ก 23.97 ล้านดอลลาร์, ชายแดนมะริด 22 ล้านดอลลาร์, ชายแดนเกาะสอง 28.56 ล้านดอลลาร์ และชายแดนมอตอง 6.123 ล้านดอลลาร์ที่มอตอง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-hits-us297-mln-in-one-month/

‘สถาบันวิจัย’ คาดเศรษฐกิจเวียดนามปีนี้ ขยายตัว 6%

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและนโยบายของเวียดนาม (VEPR) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2567 จะขยายตัว 5.6% – 6% โดยได้ปัจจัยหนุนมาจากการส่งออก การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนแอ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปีนี้ จะเห็นได้ว่าทิศทางของเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสแรก บ่งชี้ให้เห็นสัญญาณเชิงบวก อย่างไรก็ดียังมีความไม่แน่นอนอยู่ นอกจากนี้ เวียดนามยังได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศและการผลิตของภาคอุตสาหกรรม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655818/vepr-forecasts-vietnamese-economy-growth-at-below-6-per-cent.html

กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT เพิ่มขึ้น 17% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า รองเท้า และกระเป๋าเดินทาง (GFT) มูลค่ารวม 3,763 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากมูลค่าราว 3,211 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอ มีการส่งออกมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 2,748 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ขณะที่การส่งออกรองเท้ามีการส่งออกมูลค่ารวม 453.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และการส่งออกกระเป๋าเดินทางมีการส่งออกมูลค่า 562 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งภาคอุตสาหกรรม GFT ถือเป็นแหล่งรายได้เงินด้านการส่งออกที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา ด้านธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่าภาค GFT จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตร้อยละ 5.8 ภายในปี 2024 สำหรับภาคอุตสาหกรรม GFT ยังเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ โดยมีโรงงานและสาขาประมาณ 1,680 แห่ง จ้างแรงงานราว 918,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501489411/cambodia-records-17-pct-rise-in-garment-footwear-travel-goods-export-in-first-four-months/

การส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้น 16% ใน 4 เดือน

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจครอบคลุม (RCEP) มูลค่ากว่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.2 จากมูลค่า 2.89 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งคาดว่าการเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากภาษีศุลกากรทางด้านการค้าที่ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ ส่งผลให้ผู้ส่งออกสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้า กระตุ้นให้การส่งออกและนำเข้าจากกัมพูชาปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านความตกลงเขตการค้าเสรี RCEP มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 โดยสามอันดับแรกของประเทศที่กัมพูชาส่งออกไปยัง RCEP ได้แก่ เวียดนาม ไทย และจีน โดยมีมูลค่าการส่งออก 1.25 พันล้านดอลลาร์, 958 ล้านดอลลาร์ และ 328 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่แหล่งนำเข้าของกัมพูชายังคงมาจากจีนที่มูลค่ารวม 2.53 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 6.34 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีกก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501489447/cambodias-exports-to-rcep-countries-up-16-percent-in-4-months/

ข้าวเหนียวมะม่วงไทยสุดฮอต จีน-อาเซียน ดันส่งออกมะม่วงสดโต 130%

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า “ข้าวเหนียวมะม่วง” เป็นขนมหวานไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคนานาประเทศ ล่าสุด เว็บไซต์จัดอันดับอาหารระดับโลก “TasteAtlas” ได้จัดอันดับให้ข้าวเหนียวมะม่วงไทย ติดอันดับ 2 ของโลก ในฐานะพุดดิ้งข้าวที่ดีที่สุด ทำให้สินค้าดังกล่าว รวมทั้งมะม่วงสดและข้าวเหนียว ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสทองที่ผู้ประกอบการไทยจะขยายการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ

ทั้งนี้ จากสถิติการค้าระหว่างประเทศ ไทยส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลกปริมาณเฉลี่ยกว่าปีละ 1 แสนตัน มูลค่ามากกว่า 3 พันล้านบาท โดยในช่วง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค. 2567) ไทยส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลก มูลค่า 1,626 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกไปตลาดคู่ค้า FTA มูลค่าถึง 1,580 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 130 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 97 ของการส่งออกมะม่วงทั้งหมด

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1565498

‘ข้าวเวียดนาม’ ราคาพุ่ง แต่กลับขายดี

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) รายงานว่าการส่งออกข้าวของเวียดนาม มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านตันในเดือน เม.ย. ปี 2566 คิดเป็นมูลค่ากว่า 620 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ายอดการส่งออกข้าวของเวียดนามสูงถึง 3.17 ล้านตัน มูลค่า 2.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.5% และ 33.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 644 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 22% ถึงแม้ว่าราคาข้าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ฟิลิปินส์ที่เป็นตลาดนำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่กลับซื้อข้าวปริมาณมาก

นอกจากนี้ นาย Phung Van Thanh ที่ปรึกษาการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ กล่าวว่าเวียดนามมีศักยภาพและโอกาสที่จะส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ และแนะนำว่าผู้ส่งออกข้าวเวียดนามควรร่วมมือกับผู้นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ได้ ตั้งแต่ผู้ที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงผู้ที่มีรายได้สูง

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/prices-stay-high-but-vietnam-s-rice-selling-well-2281252.html

‘เวียดนาม’ ดาวรุ่งในอินโดแปซิฟิก

สำนักงานพัฒนาการส่งออกแคนาดา (EDC) เผยแพร่บทความเรื่อง ‘การทำธุรกิจในเวียดนาม: จับตาดาวรุ่งในอินโดแปซิฟิก’ รายงานว่าเวียดนามกลายมาเป็นดินแดนแห่งมังกร รวมถึงกลายมาเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในอุดมคติ ในขณะที่จากข้อมูลของการประชุม World Economic Forum (WEF) เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 8% ต่อปีแบบทบต้นในปีที่แล้ว และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม ขยายตัว 5% โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้า จะขยายตัว 6% และ 7% ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ จากตัวเลขเศรษฐกิจจึงทำให้สำนักงานฯ เลือกเวียดนามเป็นตัวแทนดาวรุ่งในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่าถึงแม้ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้น แต่ค่าแรงของเวียดนามยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งการเติบโตของคนชนชั้นกลางเวียดนาม แซงหน้าประเทศในภูมิภาค ถึงแม้ว่าขนาดของเศรษฐกิจเวียดนามจะมีขนาดเล็กกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางแห่ง แต่ประชากรเวียดนามมีจำนวนเกือบ 100 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาว่ากลุ่มประชากรครึ่งหนึ่งมีอายุต่ำกว่า 30 ปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-rising-star-in-indo-pacific-canadian-agency-post286074.vnp