วางท่อส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในเมือง Dala ตามแนวสะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี

ตามรายงานจากคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้งจะวางท่อส่งน้ำสำหรับเมืองดาลาตามแนวสะพาน นอกเหนือจากการก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทางฝั่งดาลา โดยท่อส่งน้ำ Gyobyu จะถูกวางข้ามสะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี (Dala) ด้าน อู เมียว ตัน รัฐมนตรีสหภาพแรงงาน พร้อมด้วยอู โซ เต็ง หัวหน้าคณะรัฐมนตรีประจำเขตย่างกุ้ง ได้ตรวจสอบสถานที่ที่ได้รับเลือกให้เป็นด่านเก็บค่าผ่านทางและการก่อสร้างสะพานทางเข้าที่กำลังดำเนินอยู่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ รวมทั้ง วิศวกรที่ปรึกษาได้ชี้แจงความคืบหน้าของโครงการ แผนการดำเนินงานต่อไป และลำดับความสำคัญของงาน อย่างไรก็ดี สะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี (ดาลา) เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างขึ้นในประเทศเมียนมา โดยมีระดับน้ำผ่านสูงสุดและมีดาดฟ้าสะพานที่สูงที่สุด สะพานหลักและสะพานเชื่อมทางเข้าได้รับการออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยของยานพาหนะที่ขับขี่ด้วยความเร็ว 50 กม. ต่อชั่วโมง และ 30 กม. ต่อชั่วโมงบนสะพานลาด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/gyobyu-water-supply-pipeline-to-be-laid-along-myanmar-korea-friendship-bridge-dala-for-consumption-in-dala-township-2/

MIFER จัดตั้งศูนย์สตาร์ทอัพเพื่อเชื่อมเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน

ดร. กัน ซอ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ (MIFER) กล่าวในการประชุมที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่า จะจัดตั้งศูนย์สตาร์ทอัพเพื่อเชื่อมเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน ซึ่งจะเร่งรัดกิจกรรมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) เพื่อยกระดับภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และ MSMEs การจัดการเรื่องความพอเพียงสำหรับน้ำมันบริโภค และเพิ่มการส่งออก อย่างไรก็ดี ตามสถิติของอุตสาหกรรมเอกชนมี 24 กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนที่กระทรวง ในจำนวนนี้ประกอบด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 10,205 อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดกลาง 12,457 อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 24,457 อุตสาหกรรม รวมเป็น 47,119 อุตสาหกรรม นอกจากนี้ รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างโอกาสในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนและกระตุ้นการลงทุน รวมทั้งเรียนรู้รูปแบบที่ชัดเจนในการที่ธุรกิจต่างประเทศระดมทุนเพื่อดึงดูด FDIs เพื่อวัดผลผลิตรวมสำหรับการส่งเสริมการส่งออก และเพื่อให้การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในประเทศเพื่อสนับสนุนผลผลิตของธุรกิจการเกษตรในภูมิภาคและรัฐที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/gyobyu-water-supply-pipeline-to-be-laid-along-myanmar-korea-friendship-bridge-dala-for-consumption-in-dala-township/

สปป.ลาว จับตาการเชื่อมโยงพลังงานกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น

สปป.ลาว หวังที่จะกระชับความร่วมมือให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อเอาชนะความท้าทายในการพัฒนาพลังงานกับประเทศอาเซียนอื่นๆ โดยมีความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซึ่งจะหารือในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานของอาเซียนในเดือนมิถุนายน 2567 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังจะหารือถึงแนวทางในการเปลี่ยนผ่านไปสู่แหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ หน่วยงานด้านพลังงานของภูมิภาคจะหารือถึงความสำคัญของการบูรณาการโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียน เพื่อรับประกันเสถียรภาพด้านพลังงานระหว่างประเทศสมาชิก และความจำเป็นที่จะต้องก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หน่วยงานด้านพลังงานของลาวแจ้งให้สมาชิกอาเซียนคนอื่นๆ เกี่ยวกับแผนพลังงานที่มีลำดับความสำคัญของตนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสพิเศษด้านพลังงานของอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดหลวงพระบางเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_36_Laos_eyes_y24.php

รัฐบาล สปป.ลาว อนุมัติโครงการศึกษาสร้างท่าเทียบเรือหลวงน้ำทา

การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ พื้นที่การค้าและบริการ และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเขตเมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา โดยจะเริ่มดำเนินการหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กระทรวงการวางแผนและการลงทุน และบริษัท นิว คอนเซ็ปต์ คอนซัลติ้ง จำกัด ลงนามบันทึกความเข้าใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ หากโครงการได้รับการอนุมัติจะสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง เพื่อพัฒนาแม่น้ำโขงให้เป็นทางน้ำที่ได้มาตรฐานสากลสำหรับการขนส่งเชิงพาณิชย์ในแม่น้ำโขงและล้านช้าง โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาล สปป.ลาว และจะสร้างให้ได้มาตรฐานสากล สถานที่ก่อสร้างที่เสนออยู่ในเชียงกกและหมู่บ้านอื่นๆ อีก 11 หมู่บ้านในเขตเมืองลองและจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 44,260,311 ตารางเมตร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_36_Govt_y24.php

รมว.อุตสาหกรรมของไทยหารือร่วม JETRO และ JCC ถกแนวโน้มทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือกับนายคุโรดะ จุน ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น และนายยามาชิตะ โนริอากิ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ และคณะกรรมาธิการวิจัยทางเศรษฐกิจของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ในประเด็นเข้ารายงานสรุปผลการสำรวจแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย พบว่า แนวโน้มดัชนีเศรษฐกิจ (ID) คาดการณ์อยู่ที่ -16.0 อันเนื่องมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก และอุปสงค์การส่งออกที่ลดลง แต่มีการปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 10 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 เนื่องจากมีการขยายตัวเรื่องการท่องเที่ยว และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้ไปเยือนญี่ปุ่น มีโอกาสเข้าร่วมหารือกับกระทรวง METI เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม ใน 4 มิติ ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การกำจัดซากรถยนต์ และการศึกษาเพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเกิดโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุน

ที่มา: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/261166

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้ปี 67แรงกดดันเงินเฟ้อของเวียดนามอยู่ภายใต้การควบคุม

นาย Nguyen Duc Do รองผู้อํานวยการสถาบันเศรษฐกิจและการเงิน กล่าวว่าแรงกดดันเงินเฟ้อของเวียดนามไม่น่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนที่มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัว ถึงแม้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะมีทิศทางที่ชะลอตัว และมีผลให้การส่งออกของเวียดนามในปีนี้ขยายตัวอย่างค่อนเป็นค่อยไป ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างและเศรษฐกิจโดยรวมจะได้รับผลกระทบและคาดว่าจะขยายตัวในระดับต่ำในปีนี้ ตลอดจนตลาดอสังหาฯ ของเวียดนามที่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่าเวียดนามควรจับตามองปัจจัยต่างๆ ของภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐ และสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-inflationary-pressure-under-control-this-year-say-experts-post1077608.vov

‘Brand Finance ‘ เผยมูลค่าแบรนด์ระดับชาติของเวียดนามโตเร็วที่สุดในโลก ปี 62-66

‘Brand Finance’ บริษัทให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์และการประเมินมูลค่าแบรนด์จากสหราชอาณาจักร รายงานว่ามูลค่าของแบรนด์ระดับชาติของเวียดนามโตสูงขึ้น 102% ตั้งแต่ปี 2562-2566 นับว่าเป็นการเติบโตเร็วที่สุดในโลก และยังเป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งสูงสุดด้านมูลค่าอันดับที่ 33 ของโลก เพิ่มขึ้น 1 อันดับจากปีที่แล้ว โดยแบรนด์โทรคมนาคมของเวียดนาม มีมูลค่า 13.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 31% ของมูลค่ารวมของแบรนด์เวียดนาม 100 อันดับแรก จำแนกออกเป็น 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทเวียดเทล (Viettel), บริษัทวินาโฟน (Vinaphone) และบริษัทโมบิโฟน (MobiFone) ตามมาด้วยแบรนด์กลุ่มธนาคาร แบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าแบรนด์ชั้นนำของเวียดนามมีความก้าวหน้าอย่างมาก สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของแบรนด์ระดับโลก

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20240219/vietnams-national-brand-value-worlds-fastestgrowing-in-201923-report/78344.html