World Bank วิเคราะห์เศรษฐกิจ สปป.ลาว ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

World Bank หรือธนาคารโลก คาดการณ์เศรษฐกิจ สปป.ลาว จะเติบโตที่ร้อยละ 4.1 ในปี 2567 แต่ความท้าทายจะยังคงมีอยู่ จากผลของอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น หนี้ต่างประเทศที่สูง และขาดแคลนแรงงาน การขยายตัวทางเศรษฐกิจ สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยว บริการขนส่งและโลจิสติกส์ และการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการเติบโตต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า ตามข้อมูลของธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการบริโภคและธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือนในด้านอาหาร การศึกษา และสุขภาพลดลง อัตราเงินเฟ้อยังทำให้เงินออมลดลง ส่งผลให้หลายครอบครัวเสี่ยงต่อการตกอยู่ในความยากจน “แม้ว่าราคาสินค้านำเข้าบางชนิดในตลาดโลกจะลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อของลาวยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสูงถึงร้อยละ 26 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของราคาอาหารอยู่ที่ร้อยละ 29 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครัวเรือนที่ยากจน” นอกจากนี้ ค่าเงินของประเทศที่อ่อนค่าลงเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉลี่ยแล้ว ค่าเงินกีบที่ลดลงร้อยละ 1 จะทำให้ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงจนกว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เงินกีบอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2566 โดยมีมูลค่าลดลงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับเงินบาท และร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจนถึงเดือนตุลาคม ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศและการไหลเข้าของรายได้จากการส่งออกที่จำกัด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจลาว

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_235Laossees_23.php

สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ประกาศผ่อนคลายการตรวจสอบใบอนุญาตล่วงหน้าผู้ส่งออกสินค้าข้าว

ในขณะที่การส่งออกข้าวและข้าวหักทางทะเลและเส้นทางชายแดนกำลังชะลอตัว สมาพันธ์ข้าวเมียนมาร์ได้ประกาศว่าผู้ส่งออกข้าวที่ใช้เที่ยวบินขนส่งสินค้าจะไม่ต้องผ่านการตรวจสอบใบอนุญาตสินค้าล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยพื้นที่จัดเก็บเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะได้รับการตรวจสอบสำหรับปริมาณที่ใช้กับใบอนุญาตส่งออก แทนที่จะเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ตามประกาศดังกล่าว และไม่มีข้อกำหนดในการตรวจสอบสินค้าก่อนออกใบอนุญาตสำหรับการยื่นขอใบอนุญาตส่งออกที่มีน้ำหนักไม่เกิน 260 ตัน ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 31 ธันวาคม เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง (MSME) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวและข้าวหักคาดว่าจะสูงถึง 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566-2567 ในขณะที่มูลค่าส่งออกในช่วง 6 แรกของปี มีมูลค่า 271 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณการส่งออก 583,683 ตัน ลดลง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pre-license-cargo-inspection-eased-for-rice-exporters-in-cargo-flights-mrf-announces/#article-title

กัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงพิมพานต์ดิบและยางแตะ 1.2 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรอย่างเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบและยางพารามูลค่ารวมกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2023 ตามรายงานของทางการกัมพูชา สำหรับการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมะดิบมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 615,000 ตัน ที่มูลค่า 831 ล้านดอลลาร์ รายงานโดยสมาคมผู้ปลูกมะม่วงหิมะของกัมพูชา ซึ่งคิดเป็นการส่งออกไปยังเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมปีนี้ลดลงร้อยละ 16.7 ขณะเดียวกัน กรมการยางพารารายงานว่า กัมพูชาส่งออกยางแห้งปริมาณรวม 283,829 ตัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นด้านปริมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่คิดเป็นมูลค่า 376.6 ล้านดอลลาร์ ลดลงในแง่มูลค่าร้อยละ 7.3

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501399578/cambodia-makes-1-2-bln-from-exports-of-raw-cashew-nuts-rubber-in-10-months/

ทางการกัมพูชาวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า LNG แห่งแรกของประเทศ

กัมพูชาเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แห่งแรกใน Botum Sakor นำโดย Keo Rattanak รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ซึ่งได้เปิดเผยว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ตัดสินใจยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 700 เมกะวัตต์ ณ เกาะกง และหันไปให้ความสำคัญต่อโรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติขนาด 800 เมกะวัตต์แทน โดยโครงการนี้จะดำเนินการโดยกลุ่ม Royal Group เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชากำลังเร่งสำรวจความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเทียบ LNG (Liquefied Natural Gas) แบบติดตั้งบนบกเพื่อนำเข้าเชื้อเพลิงและเปลี่ยนกลับเป็นก๊าซสำหรับใช้ในโรงไฟฟ้าในท้องถิ่น กล่าวโดยรัฐมนตรีฯ ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศก่อนการประชุม COP28 (Convention on Climate Change) โดยเป็นการประชุมประจำปีด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UN)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501399350/cambodia-to-build-its-first-lng-gas-fired-power-plant/

ค้าชายแดน “ไทย-กัมพูชา” แสนล้านวูบ 9 เดือนแรก ลดลง 16%

นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ กล่าวว่าภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลงในปี 2566 (มกราคม-กันยายน) ภาพรวมการค้าชายแดนไทยกัมพูชาลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 1.25 แสนล้านบาท ลดลง 16.39% แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 1 แสนล้านบาท ลดลง 17.61 % และมูลค่าการนำเข้า 2.4 หมื่นล้านบาท ลดลง 10.5% โดยกันยายนเดือนเดียว มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 1.3 หมี่นล้านบาท ลดลง 22.7 % แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 1.1 หมี่นล้านบาท ลดลง 26.6% และมูลค่าการนำเข้า 2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.65 %เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขการส่งออกลดลง 9 เดือนติดต่อกัน โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบอื่นๆ เครื่องดื่มอื่นๆ และรถยนต์นั่ง

ที่มา : https://shorturl.asia/lYZL8

‘เวียดนาม’ เผย พ.ค.66 ทำสถิติใหม่ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนพฤศจิกายน 2566 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนเวียดนาม จำนวน 1.23 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ทำสถิติสูงสุดต่อเดือนในปีนี้ ในขณะเดียวกันจากข้อมูลของสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติเวียดนาม (VNAT) รายงานว่าในปีนี้ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเยือนเวียดนาม จำนวนรวมทั้งสิ้น 11.2 ล้านคน ซึ่งเกินเป้าทั้งปี 40%

ทั้งนี้ ชาวเกาหลีใต้ยังคงเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีจำนวนกว่า 3.2 ล้านคนในช่วง 11 เดือนของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วน 28.5% ของจำนวนทั้งหมด รองลงมาจีนและไต้หวัน นอกจากนี้ เวียดนามยังมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย กัมพูชา ออสเตรเลียและอินเดีย โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งหมดนั้นอยู่ในตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 อันดับแรกในช่วง 10 เดือนแรก

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/november-sets-new-record-for-international-tourist-arrivals-in-vietnam/

‘เวียดนาม’ เผย CPI พ.ย.66 เพิ่ม 3.45%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้น 0.25% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และ 3.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อเวียดนามปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ต้นทุนการให้บริการด้านสุขภาพและค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้นในส่วนของท้องถิ่น รวมถึงราคาข้าวในประเทศที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ปรับตัวขึ้น 3.22% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 4.27% โดยสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อของเวียดนามตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันปรับตัวขึ้นมาจากต้นทุนของสายการบินและความต้องการในการเดินทางที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดฤดูร้อน ตามมาด้วยค่าเล่าเรียน อาหารและค่าไฟฟ้าของภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น 7.35%, 6.67% และ 4.55% ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1637260/november-s-cpi-grows-3-45-per-cent.html

มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว-เกาหลี วางแผนจัดตั้งอุตสาหกรรมนมใน สปป.ลาว

มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (NUOL) และมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (SNU) ประเทศเกาหลีใต้ กำลังหารือกันถึงแผนการจัดตั้งฟาร์มโคนมในประเทศลาว หลังจากเปิดตัวหลักสูตรโคนมครั้งแรกในภาควิชาปศุสัตว์ที่คณะเกษตรศาสตร์ NUOL คาดว่าโครงการนี้จะใช้เวลาดำเนินการ 7 ปี ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน ภายใต้มูลค่ารวม 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขั้นแรกได้เปิดสอนหลักสูตรผลิตภัณฑ์นมที่กรมปศุสัตว์ ตามด้วยการเขียนตำราเรียนและสื่ออื่นๆ ให้นักศึกษาและคณาจารย์นำไปใช้ จากนั้นอาจารย์และนักวิจัยชาวลาวจะได้รับเชิญให้ไปเยือนเกาหลีเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยของตนสุดท้ายจะมีการสร้างฟาร์มต้นแบบและโรงงานผลิตนมที่คณะเกษตรโดยร่วมมือกับบริษัทการเกษตรในประเทศลาว เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เรียนรู้ไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของ สปป.ลาว

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_234_Lao_Korean_y23.php