วิกฤตการทางการเมืองเมียนมาส่งผล SME ส่อเค้าทรุดหนัก

นักธุรกิจจากเมืองเปียงมานา (Pyinmana)  ของเนปยีดอ เผยยอดขายสินค้าตั้งแต่อาหารไปจนถึงสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงอย่างมากหลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉินหนึ่งปีของกองทัพเมียนมา พบว่าผู้คนต่างจับจ่ายเฉพาะสิ่งของจำเป็นเพราะวิตกกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบันในตอนนี้ เช่น ยอดขายไข่ลดลงประมาณ 70% อีกทั้งยอดขายสัตว์ปีกและเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบอย่างหนักตามไปด้วย ขณะนี้ตลาดยังไม่เปิดเต็มรูปแบบเนื่องจาก COVID-19 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันผู้คนกังวลว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงและหลายคนเริ่มประหยัดมากขึ้น ซึ่งการใช้จ่ายที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจสตาร์ทอัพในพื้นที่และธุรกิจ SMEs ส่วน MSMEs (วิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม) ล้วนประสบปัญหามากมายช่วงการระบาดและบางส่วนถูกบังคับให้ปิด MSMEs คิดเป็น 90% ของเศรษฐกิจประเทศและหากเกิดปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจกระทบต่อการว่างงานอย่างมากในอนาคต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/growing-number-myanmar-smes-forced-fold-amid-political-crisis.html

MADB จับมือ JICA ปล่อยกู้ 500 ล้านจัตให้เกษตรกรมัณฑะเลย์

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา ธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) สาขามัณฑะเลย์ ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ปล่อยเงินกู้ประมาณ 500 จัตล้านให้แก่เกษตรกรจาก 9 เมืองในเขตมัณฑะเลย์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปซื้อเครื่องจักรการเกษตรที่ทันสมัย ผู้จัดการ สามารถเพิ่มผลผลิตการทำฟาร์มได้โดยการเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรแบบอุตสาหกรรมส่งผลให้มาตรฐานดีขึ้นต้นทุนต่ำลงและคนมีงานทำมากขึ้น รายงานล่าสุดระบุว่า JICA มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมา ซึ่งได้ลงนามข้อตกลงกับกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานเพื่อร่วมมือในโครงการห่วงโซ่คุณค่าพืชผลทางการเกษตรที่ครอบคลุมผลผลิต เช่น ผักขม ฟักทอง มะเขือเทศ แครอท และบรอกโคลี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/k500-million-loans-granted-mandalay-farmers.html

พบสินค้าที่มีเอี่ยวกองทัพเมียนมา ยอดขายดิ่งฮวบ

ยอดขายสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาลดลงอย่างมากเนื่องจากประชาชนยังคงประท้วงต่อการยึดอำนาจของกองทัพ ซึ่งแบรนด์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับกองทัพกำลังเป็นที่ต้องการน้อยลงในตลาด รวมถึงแบรนด์อย่าง Myanmar Beer, ซิมการ์ด MyTel และบัตรเติมเงิน Ruby Cigarettes และรถบัสด่วนพิเศษ เช่น Shwe Mann Thu และ Shan Ma Lay เมียนมาร์ไทม์สยังพบว่าขณะนี้ผู้ใช้จำนวนมากที่เคยใช้ซิมการ์ด MyTel และบริการไฟเบอร์ได้หันไปใช้บริการเจ้าอื่น เช่น Telenor และ Ooredoo แคมเปญต่อต้านการรัฐประหารอย่าง “Stop Buying Junta Businesses” เปิดตัวบนโลกโซเชียลมีเดียเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 หลังการยึดอำนาจเมื่อวันก่อนโดยผู้นำจากกลุ่มรุ่น 88 เพื่อสันติภาพและสังคมเปิดกว้าง” (88 Generation Peace and Open Society) ออกแถลงการณ์รณรงค์อีกครั้งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 64 ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้แคมเปญ Stop Buying Junta Businesses ได้แก่ Myanmar Beer, Dagon Beer, Mandalay Beer, MyTel SIM card และบริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์, Kantharyar Private Hospital, Shwe Mann Thu และ Shan Ma Lay express และ 7th Sense Production เป็นต้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sales-tatmadaw-linked-products-decline.html

ท่ามกลางโควิด เมียนมายันเดินหน้าโครงการเริ่มธุรกิจใหม่

สภาบริหารแห่งรัฐที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ได้พบกับสมาชิกของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา (UMFCCI) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในระหว่างการประชุมนายพลอาวุโส มินอองหล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นประธานสภากล่าวว่าธุรกิจต่างๆ จากภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ การก่อสร้าง การค้า และการผลิต จะไม่มีการระงับโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะเดียวกันยังมีการพิจารณามาตรการในการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งท่ามกลาง COVID-19 โดยมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือคนรากหญ้าในการเอาชนะความยากลำบากทางเศรษฐกิจและสังคมและการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทางด้วยรถไฟรถยนต์และทางอากาศ อีกทั้งจะมีการเปิดเจดีย์ วัด และอาคารของศาสนาอื่น ๆ และยังแนะนำว่าควรเปิดโรงงานที่ผลิตอาหารจากภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์อีกครั้ง เพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของโลก นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการเริ่มต้นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอีกครั้ง การบริการธนาคาร และการเปิดให้บริการของบริษัททัวร์และโรงแรมในประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-affirms-continuation-projects-resumption-business-amid-covid-19.html

MasterCard ยังไม่เปลี่ยนแผนทำตลาดในเมียนมา

มาสเตอร์การ์ดกำลังติดตามสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการดำเนินการต่อไป ซึ่งประชาชนมีความกังวลว่า MasterCard อาจยุติการดำเนินงานในประเทศหากมีการคว่ำบาตรจากต่างประเทศเนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ยังไม่ให้ความเห็นจะเกิดอะไรขึ้นหากมีการคว่ำบาตร Mastercard จับมือกับ CB Bank เพื่อให้บริการระบบการชำระเงินดิจิทัลเป็นครั้งแรกในเมียนมาเมื่อประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวนหนึ่งได้ระงับการหลังการยึดอำนาจของกองทัพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ส่วนการบริหารส่วนใหญ่ในประเทศยังคงเป็นไปตามปกติ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/no-plans-mastercard-initiate-changes-myanmar-yet.html

วิเคราะห์เศรษฐกิจ เมียนมา หลังรัฐประหาร

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย I กรุงเทพธุรกิจ

จากเหตุการณ์กองทัพเข้ายึดอำนาจรัฐบาลออง ซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2564 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมาและมหาอำนาจชาติตะวันตกกลับเข้าสู่สภาวะชะชักงัน และอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับประเทศเมียนมาอีกครั้ง

เป็นที่ทราบกันดีว่าความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมากับมหาอำนาจชาติตะวันตกมีพลวัตในทางที่ดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สืบเนื่องมาจากการปฏิรูปการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2554 และประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อนางออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในช่วงปลายปี 2558 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง สหภาพยุโรปประกาศให้สิทธิพิเศษทางการค้า Everything But Arms (EBA) แก่เมียนมาในปี 2556 พร้อมทั้งสหรัฐก็ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับเมียนมาในปี 2559

ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นนี้เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจเมียนมาให้เติบโตได้ในระดับสูงตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยการลงทุนจากต่างประเทศเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการส่งออก และเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจเมียนมา จากสังคมเกษตรเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับกำลังซื้อของภาคประชาชนอย่างมหาศาล

ดังนั้น การเข้ายึดอำนาจรัฐบาลของกองทัพเมียนมาในครั้งนี้ย่อมก่อให้เกิดความชะงักงันในความสัมพันธ์กับมหาอำนาจชาติตะวันตก และอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เช่น การเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปและสหรัฐ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสภาวะการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจโดยรวมของเมียนมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในด้านการค้า นับตั้งแต่เมียนมาได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป การส่งออกของเมียนมาไปสหภาพยุโรปก็เติบโตมากกว่า 10 เท่าในช่วงเวลาเพียง 6 ปี โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 208 ล้านดอลลาร์ในปี 2556 มาเป็น 3,300 ล้านดอลลาร์ในปี 2562 ส่วนการส่งออกของเมียนมาไปสหรัฐก็เติบโตขึ้น 5 เท่าภายใน 3 ปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 150 ล้านดอลลาร์ในปี 2559 มาเป็น 829 ล้านดอลลาร์ในปี 2562

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หากสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรปและสหรัฐ มูลค่าการส่งออกของเมียนมาจะหดตัวลงประมาณ 10% และคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ในกรอบ (-)0.5% ถึง (-)2.5% ในปี 2564 การเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาไม่ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออกเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย

สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย จะเกิดขึ้นผ่านทาง 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ การค้าชายแดนและการเคลื่อนย้ายแรงงานเมียนมาเข้ามาในประเทศไทย

ในประเด็นการค้าชายแดนคงต้องพิจารณาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนที่จะมีผลต่อการซื้อสินค้าของไทยผ่านพรมแดนไทยกับเมียนมาที่เป็นช่องทางหลักในการส่งออกสินค้าไทยถึงร้อยละ 75 ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปเมียนมา

ภาพรวมการส่งออกชายแดนไทยไปเมียนมาในปี 2563 ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อและการคุมเข้มการเข้าออกทั้งคนและสินค้าจากปัญหาโควิด-19 จึงฉุดให้การส่งออกทรุดตัวถึงร้อยละ (-)12.4 มีมูลค่าส่งออกต่ำกว่าแสนล้านบาทต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมีมูลค่า 87,090 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี คงต้องเฝ้าติดตามการเปิด-ปิดด่านค้าขายแดน ดังเช่นการปิดด่านอย่างกะทันหันบริเวณพรมแดนด่านแม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันจันทร์ที่ 1 ก.พ.2564 แม้ว่าในขณะนี้จะเปิดให้บริการตามปกติแล้ว แต่ก็เป็นสัญญาณถึงความไม่แน่นอนที่อาจจะมีมาตรการในการตรวจคนและสินค้าข้ามแดนเพิ่มเติมจากมาตรการคุมเข้มเดิมที่ใช้รับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน อันจะทำให้การส่งออกทางชายแดนในทุกช่องทางไม่ราบรื่น

ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจของเมียนมาที่เปราะบางอยู่แล้วจากปัญหาโควิด-19 ทั้งยังต้องรับมือกับปมการการเมืองในประเทศ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในด้านการค้าการลงทุนกับนานาชาติ ซึ่งในประเด็นนี้เองศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการส่งออกชายแดนไทยในปี 2564 แม้ในภาพรวมจะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นช่วยพยุงการค้าไว้ได้ระดับหนึ่ง แต่ความเปราะบางทางเศรษฐกิจของเมียนมาจะยิ่งส่งผลอย่างมากทำให้การผลิตและการบริโภคในภาพรวมทรุดตัวลง กดดันให้สินค้าไทยที่ส่งผ่านชายแดนไปเมียนมาในปี 2564 จะยังหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 (-)0.5% มีมูลค่าการค้าลดลงเหลือราว 86,600 ล้านบาท

ส่วนประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเมียนมาเข้ามาในประเทศไทยนั้น จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด ทำให้แรงงานเมียนมาเดินทางกลับประเทศไปไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน และยังไม่สามารถกลับเข้าไทย ประกอบกับการเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ เช่น ความเสี่ยงในการปิดด่าน หรือการใช้มาตรการตรวจเข้มพลเมืองที่เดินทางเข้าออกประเทศ

มาตรการเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อทั้งการรับแรงงานใหม่และการรับแรงงานเมียนมาเดิมให้กลับเข้ามาทำงานที่ไทยอีกครั้งอย่างถูกกฎหมาย จะส่งผลให้ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานที่ถูกกฎหมายในภาคธุรกิจต่างๆ ได้แก่ ธุรกิจเกษตรและปศุสัตว์ (25%) ธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร (17%) ธุรกิจก่อสร้าง (15%) ธุรกิจประมงและสินค้าประมงแปรรูป (10%)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/921209

ค่าเงินบาทพุ่ง กระทบผู้ค้าชายแดนนเมียวดีขาดทุนหนัก

เงินบาทของประเทศไทยมีมูลค่าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองเมียวดี ชายแดนเมียนมา – ไทยในขณะที่จัตของเมียนมากลับดิ่งค่าลงทำให้ผู้ที่ค้าขายด้วยเงินจัตต้องขาดทุนหลายแสน ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 64 ค่าเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่กองทัพประกาศภาวะฉุกเฉินในเมียนมาเมื่อสองวันก่อน ผลักดันให้ประชาชนซื้อทองคำและเงินดอลลาร์กักตุนไว้จำนวนมาก ค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นประมาณ 11% ในช่วงสองวันที่ผ่านมาซึ่งเป็นสัดส่วนที่ขาดทุน 5 ล้านจัตต่อผู้ที่ถือเงิน 100 ล้านจัต ขณะที่การค้าชายแดนเมียวดีค่าเงิน 100,000 จัตมีค่าเท่ากับ 2,310 บาท ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ราคาตัวเป็น 2,210 บาท อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 45.24 จัตต่อบาทในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 64 ซึ่งจะมีผลดีต่อผู้ส่งออกส่วนการนำเข้าจะได้รับผลกระทบพอสมควร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myawady-see-rise-in-thai-baht-value-kyat-holders-suffer-losses

คนขับรถบรรทุกร้องให้ลดข้อจำกัด COVID-19 ในเมียนมา

คนขับรถบรรทุกที่ให้เดินรถในเส้นทางย่างกุ้ง  มัณฑะเลย์ มูเซ อยู่ในระหว่างร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดข้อจำกัด COVID-19 สำหรับการขนส่งทางไกล เพราะต้องขอใบรับรองสุขภาพถึงสองครั้ง  ซึ่งจะต้องจาก 3 วันเป็น 7 วัน จากย่างกุ้งไปยังมูเซซึ่งเป็นด่านชายระว่างเมียนมา-จีน ที่ใหญ่ที่สุด และยังร้องขออนุญาตให้ขับรถเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเนื่องจากปัจจุบันถูกห้ามให้ขับรถตอนกลางคืน ทั้งนี้ยังต้องจ่าย 10,000 จัตสำหรับการทดสอบ ซึ่งรวมแล้วต้องจ่ายถึง 20,000 จัต ในการเดินทางต่อครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/truckers-seek-reductions-myanmar-covid-19-restrictions.html