ท่าเรือ สปป.ลาว-มาเลเซีย มองหาช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างกัน

Sake Philangam กรรมการผู้จัดการของท่าเรือบกท่านาแล้ง สปป.ลาว และ Mr. Wan Ahmad Azheed Wan Mohamad กรรมการผู้จัดการกลุ่มและซีอีโอของ Mutiara Perlis Sdn Bhd ได้จัดพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างกัน (MoC) โดยมีนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว และมาเลเซียร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีความต้องการในการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ระหว่างกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าการลงทุนต่อไปในอนาคต ขณะที่รัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งชาติลาวและการรถไฟมาเลเซีย Keretapi Tanah Melayu Berhad (KTMB) ก็ได้ลงนามใน MoC ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการขนส่งทางราง หวังเชื่อมโลจิสติกส์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งหากเกิดการเชื่อมกันอย่างสมบูรณ์จะช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนในการขนส่งลงอย่างมาก โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าไปยังจีนที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของกลุ่มประเทศอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งทุเรียนจากประเทศไทยผ่านทางรถไฟใช้เวลาเพียง 3 วัน ในการขนส่งไปยังจีน เร็วกว่าการขนส่งแบบดังเดิมถึงสองเท่า และด้วยความได้เปลี่ยนนี้คาดว่าจะถือเป็นการดึงดูดนักลงทุน เข้ามาลงทุนยังภูมิภาคมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง สปป.ลาว ยังได้เพิ่มสิ่งจูงใจในการเข้ามาลงทุนอีกมากมาย เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคล 8-16 ปี การลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น อีกทั้ง สปป.ลาว ยังมีข้อตกลงทางด้านการค้าอีกหลายฉบับกับนานาประเทศทั่วโลก

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaoMalasian125.php

บริษัทสัญชาติจีน เซ็นสัญญาพัฒนาท่าเรือ กัมปอต ในกัมพูชา

บริษัท China Harbour Engineering (CHEC) ได้รับสัญญาก่อสร้างท่าเรืออเนกประสงค์กัมปอต ในจังหวัดกัมปอต หลังจากจัดเตรียมพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานในการก่อสร้างเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่ง CHEC ได้ลงนามในสัญญาร่วมกับ Kampot Logistics and Port Company Limited (KLP) ไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมี Sun Chanthol รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ร่วมกับตัวแทนของบริษัท ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง คาดว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 เฟส ด้วยเม็ดเงินลงทุนรวมประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในเฟสแรกคาดว่าจะมีการลงทุนประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะช่วยให้ท่าเรือกำปอตสามารถรองรับปริมาณตู้คอนเนอร์ได้ที่ 300,000 TEU ภายในปี 2025 และจะเพิ่มเป็น 600,000 TEU ภายในปี 2030 โดยในโครงการจะประกอบด้วยพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เขตการค้าเสรี ศูนย์โลจิสติกส์ คลังสินค้าศุลกากร โรงงานผลิตและกระจายสินค้า เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501285979/chinese-firm-bags-kampot-port-construction-contract/

คาดการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในกัมพูชา จะเป็นส่วนในการเพิ่มขีดความสามารถของ PAS

รัฐบาลได้อนุมัติแผนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพิ่มเติมในเขตพื้นที่ ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) เพื่อเสริมขีดความสามารถในการรองรับเรือสินค้าทุกประเภท รวมถึงเป็นการลดต้นทุนการขนส่งและเวลาขนส่งทางเรือในระยะถัดไป สำหรับท่าเรือ PAS ปัจจุบัน มีความจุตู้สินค้ามากกว่า 550,000 TEUs ต่อปี ในขณะที่สินค้าผ่านแดนมีมากกว่า 750,000 TEUs ในปี 2022 ซึ่งเกินความจุของท่าเรือ โดย PAS กล่าวว่าในปี 2024 หลังจากโครงการข้างต้นแล้วเสร็จจะเพิ่มความจุในการจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์เป็น 1 ล้าน TEUs ต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.67 ล้าน TEUs ภายในปี 2029 สำหรับกัมพูชามีท่าเรือหลัก 2 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) และท่าเรืออิสระพนมเปญ (PAPP) ทั้งคู่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา สร้างรายได้เกือบ 130 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501281966/deep-water-port-construction-to-increase-pas-capacity/

ในช่วง Q4/2565 รายได้ท่าเรือสีหนุวิลล์ของกัมพูชา ลดลงกว่า 12%

Sihanoukville Autonomous Port (PAS) ซึ่งเป็นท่าเรือของรัฐบาลกัมพูชา โดยได้ประกาศผลการดำเนินการในช่วงไตรมาสที่ 4 ลดลงร้อยละ 12.16 หรือคิดเป็นมูลค่า 77.01 พันล้านเรียล เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการลดลงเป็นผลมาจากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่ลดลงกว่า 26,704 TEUs หรือคิดเป็นจำนวนรวมอยู่ที่ 159,104 TEUs ในช่วงเวลาดังกล่าว รวมถึงท่าเรือยังได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวน ในขณะเดียวกันรายได้รวมทั้งปี 2022 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.41 หรือคิดเป็นมูลค่า 343.74 พันล้านเรียล แต่ถึงอย่างไรก็ตามกำไรสุทธิลดลงปรับตัวลดลงร้อยละ 10.19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501250926/pas-q4-revenue-down-12-at-77-01b-riels/

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา รายงานรายรับในปี 2022 แตะ 126 ล้านดอลลาร์

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) รายงานรายรับในช่วงปี 2022 ซึ่งมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 126 ล้านดอลลาร์ จากการดำเนินงานท่าเรือของรัฐ 2 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือปกครองตนเองสีหนุวิลล์ (PAS) และท่าเรือปกครองตนเองพนมเปญ (PPAP) โดยกระทรวงฯ เปิดเผยตัวเลขดังกล่าวระหว่างการประชุมประจำปีที่จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานในปี 2022 และกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับปี 2023 ด้าน Sun Chanthol รัฐมนตรี MPWT ได้กล่าวเสริมถึงรายละเอียดว่าท่าเรือ PAS สร้างรายได้มูลค่า 86 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.45 จากปีที่แล้ว โดยมีการขนถ่ายสินค้าประมาณ 5.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.29 ในขณะที่ท่าเรือ PPAP สร้างรายได้มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ซึ่งได้มีการขนถ่ายสินค้าจำนวนประมาณ 4.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501239694/mpwt-earned-126-million-in-port-revenues-last-year/

‘เวียดนาม’ ปริมาณขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือ เพิ่มขึ้น 3% ช่วง 10 เดือนแรก

สำนักงานบริหารการเดินเรือเวียดนาม (VMA) เปิดเผยข้อมูลว่าในเดือนม.ค.-ต.ค. มีปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเริอเวียดนาม 608.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็น 84% ของเป้าหมายทั้งปี ในขณะที่ตามรายงานของ SSI Research ระบุว่าแนวโน้มการเติบโตของภาคการขนส่งทางทะเลยังคงไม่สดใส เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการท่าเรือส่วนใหญ่มีมีมุมมองไปในทิศทางที่เป็นบวก ถึงแม้เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/ports-see-jan-oct-cargo-throughput-rising-3-y-o-y/

ท่าเรือพนมเปญในกัมพูชายังคงเติบโตในช่วงครึ่งปีแรก

ท่าเรือพนมเปญ (PPAP) บริษัทซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา รายงานถึงรายรับในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการเติบโตของการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มและสินค้าเกษตรของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันท่าเรือได้รองรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต (TEU) จำนวน 250,000 ตู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.70 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยท่าเรือพนมเปญจะยังคงมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงการดำเนินงานให้ทันสมัย เป็นไปตามมาตรฐานโลก รวมถึงการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับท่าเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับปี 2021 ท่าเรือพนมเปญ (PPAP) สร้างรายได้ประมาณ 12 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501137620/phnom-penh-autonomous-port-maintains-growth-in-h1/

คาดเงินกู้ญี่ปุ่นกระตุ้นการขยายท่าเรือสีหนุวิลล์ในกัมพูชา

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกู้ให้กับกัมพูชาเพื่อทำการขยายพื้นที่ในการจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือสีหนุวิลล์ ด้วยวงเงินกู้ยืม 306 ล้านดอลลาร์ จากญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรี ฮุนเซน คาดหวังว่าเงินกู้ข้างต้นจะช่วยให้กัมพูชาขยายและปรับปรุงท่าเรืออิสระสีหนุวิลล์ให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญในระดับภูมิภาค ซึ่งทาง Hem Vanndy รัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา และ Kamei Haruko หัวหน้าผู้แทนสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) กัมพูชา ได้ทำการลงนามร่วมกันเกี่ยวกับสัญญาเงินกู้ดังกล่าว โดยท่าเรือแห่งนี้จดทะเบียนเป็นท่าเรือน้ำลึกเชิงพาณิชย์แห่งเดียวในกัมพูชา ซึ่งมีรายได้รวม 93.2 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันท่าเรือแห่งนี้รองรับตู้คอนเทนเนอร์ 6.9 ล้านตันในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยโครงการขยายท่าเรือมีกำหนดที่จะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2025 ระยะที่ 2 และ 3 ของโครงการ จะเริ่มในปี 2028 และ 2029 ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501128516/japan-loan-boosts-sihanoukville-port-expansion/

ท่าเรือแห้งทนาเล้งได้รับทุนสนับสนุนยกระดับตามมาตรฐานสากล

ท่าเรือแห้งทนาเล้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์โลจิสติกส์แบบบูรณาการในนครหลวงเวียงจันทน์ ได้รับเงินทุนใหม่สำหรับการพัฒนาและต้นทุนอุปกรณ์เพื่อพัฒนาให้ทันสมัยและให้บริการระดับโลก International Finance Corporation (IFC) ได้จัดเตรียมเงินจำนวน 67 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเป็นทุนในการพัฒนา ก่อสร้าง และต้นทุนอุปกรณ์ของท่าเรือแห้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Vientiane Logistics Park แบบบูรณาการแห่งแรกของประเทศ (VLP) ท่าเรือแห้งและสวนโลจิสติกส์จะกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ของลาว และช่วยขับเคลื่อนการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากการค้าทางทะเลเป็นถนนและทางรถไฟสำหรับลาวที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ด้านลอจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าใช้จ่าย จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การจัดหาเงินทุนใหม่ IFC  โครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ที่แข็งแกร่งเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของลาว ทำให้ลาวกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระดับภูมิภาค สร้างงาน และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten18_Laosinter.php

เร็วๆ นี้ รถไฟลาว-จีนจะเชื่อมท่าเรือแห้งธนาเล้ง

ทางการกำลังเตรียมเชื่อมต่อทางรถไฟลาว-จีน จากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งธนาเล้ง เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าโดยใช้รถไฟได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ถึงเมษายน 2565 ท่าเรือแห้งธนาเล้งได้ให้บริการขนส่งสินค้าลาว-จีนจำนวน 11,000 เที่ยว นับตั้งแต่เปิดทำการอย่างเป็นทางการ นายสาคน พิลังกาม กรรมการผู้จัดการท่าเรือแห้งธนาเล็ง กล่าวว่า จากตู้สินค้า 11,000 ตู้ ร้อยละ 80 ขนส่งสินค้าระหว่างทางจากจีนผ่านลาวไปยังประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย สินค้าที่จัดส่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ปุ๋ย เสื้อผ้าและสิ่งทอ ทั้งนี้เพื่อให้การขนส่งสินค้าสะดวกยิ่งขึ้น บริษัท ท่าโบกธนาเลง จำกัด ได้ลงทุนก่อสร้างรางรถไฟระยะทาง 1.2 กิโลเมตร จากทางรถไฟลาว-ไทย ไป ท่าบกธนาเลง ขณะที่ บริษัท ลาว-จีน เรลเวย์ จำกัด กำลังลงทุนในการก่อสร้าง ของทางรถไฟจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ถึงธนาเลนระยะทาง 2.8 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างลาว-จีนกับสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งทนาเล้งนั้นใช้สำหรับการขนส่งสินค้าเท่านั้น  เมื่อทางรถไฟสายใหม่เสร็จสิ้น จะช่วยให้การขนส่งสินค้าผ่านธนาเล้งจากจีนมาไทย จากไทยไปจีน ผ่านธนาเล้งได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten98_Laoschina.php