เวียดนามคาดยอดส่งออกปี 64 แตะ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่ายอดตัวเลขการส่งออกของเวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าตัวเลขการส่งออกจะมีมูลค่าแตะ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 นาย Tran Thanh Hai รองผู้อำนวยการสำนักงานการค้าต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) กล่าวว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการรักษาการเติบโตทางการส่งออกในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามได้ลงนามไว้ โดยเฉพาะข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับความร่วมมือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP) และความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) สร้างความได้เปรียบแก่ผู้ส่งออกในประเทศและช่วยให้ผู้ประกอบการขยายไปยังตลาดใหม่ๆ นอกจากนี้ กระทรวงมุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปสถาบันและการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ตลอดจนให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการส่งออก

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-eyes-us600-billion-in-export-turnover-in-2021-858058.vov

ครม. ไฟเขียวยืดเวลาศึกษาการเข้าร่วม “CPTPP” อีก 50 วัน

ครม. ไฟเขียว กนศ. ขยายระยะเวลาศึกษา CPTPP อีก 50 วัน ก่อนกลับมาให้ ครม. พิจารณา ชี้หากเดินหน้าเจรจาจะกำหนดท่าทีและข้อสงวนในการเจรจาให้เป็นประโยชน์กับประชาชนคนไทยสูงที่สุด เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 64 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ขอขยายระยะเวลาในการศึกษาการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้า สำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วม CPTPP ได้ส่งข้อเสนอมายังรัฐบาลออกไปอีก 50 วันจากเดิมที่สิ้นสุดกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ทั้งนี้การขยายระยะเวลาในการศึกษาเนื่องจากคณะทำงาน 8 คณะที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับกรณีเข้าร่วม CPTPP ยังต้องการระยะเวลาในการศึกษารายละเอียดต่างๆให้ครอบคลุมรอบด้านในทุกประเด็นก่อนที่จะเสนอข้อมูลให้ ครม. และนายกรัฐมนตรีรับทราบ

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/652097

‘CPTPP’ เปิดโอกาสดันส่งออกเวียดนามไปตลาดสหรัฐฯ

จากงานสัมมนา “CPTPP – โอกาสส่งออกเวียดนามในตลาดสหรัฐฯ” เมื่อวันที่ 27 เมษายน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ เติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ที่มีผลบังคับใช้ในเวียดนามเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562 ซึ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกนั้น การค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐ อยู่ที่ 111.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 2562 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวในกลุ่มประเทศ CPTPP โดยเฉพาะแคนาดา ชิลี เม็กซิโกและเปรู อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีช่วยฯ แนะให้บริษัทเวียดนามทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิก เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและกระจายตลาดส่งออกและสินค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cptpp-opens-up-prospects-for-vietnams-exports-to-the-americas/200708.vnp

‘CPTPP’ ดันส่งออกเวียดนาม

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดขึ้นโดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อระดมความเห็นถึงผลลัพธ์ในช่วง 2 ปี ของการดำเนินการตามข้อตกลงความครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนการค้าภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (CPTPP) หลังจากลงนามไปเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วม 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์และเวียดนาม ทั้งนี้ สมาชิกหอฯ แสดงความเห็นว่าข้อตกลงการค้าดังกล่าว ช่วยให้การส่งออกดีขึ้น มีมูลค่าถึง 34.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 และพุ่งขึ้นแตะ 34 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก คิดเป็นสัดส่วน 12.02% ของยอดการส่งออกทั้งหมดของเวียดนามในปี 2563 นอกจากนี้ รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ เป็นกลุ่มสินค้าเติบโตที่ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cptpp-gives-boost-to-vietnamese-exports/199810.vnp

‘เวียดนาม’ ทะยานสู่ ‘เสือเศรษฐกิจแห่งเอเชีย’

โดย SME Go Inter I ธนาคารกรุงเทพ

‘เวียดนาม’ ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการจัดการได้ดีที่สุด และดูเหมือนว่าเศรษฐกิจเวียดนามที่ได้รับผลกระทบน้อย ทั้งกลับมาโตได้เร็วโดยในปี 2563 เติบโตอยู่ที่ 2.91% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 7% แต่ก็ถือว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ GDP โตสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่กำลังดิ่งเหว

ความสำเร็จในการควบคุมโรคอุบัติใหม่ครั้งนี้ คุณธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศเวียดนาม วิเคราะห์ว่า เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์การทำงานของรัฐบาลเวียดนามที่แก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก ทำให้เวียดนามเนื้อหอมสุดๆ ในยามนี้ ที่ทุกประเทศต่างหันหัวรบเข้าไปลงทุนด้วยมากที่สุด และที่สำคัญประเทศเวียดนามไม่ใช่คู่ขัดแย้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริการกับจีนเกี่ยวกับเก็บภาษีศุลกากร ทำให้นักลงทุนนานาชาติโยกย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปทั่วโลกได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค

ดังนั้นเมื่อมองภาพรวมประเทศเวียดนามหลังจากผ่านพ้นโรคโควิด คุณธาราบดี จึงยกให้ประเทศเวียดนามเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และมีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวเพราะความมีเสถียรภาพทางการเมือง เข็มทิศพัฒนาประเทศมีเป้าหมายชัดเจน ที่รัฐบาลเวียดนามเร่งผลักดันการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจคู่ขนาน เพื่อความก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ โดยพร้อมให้การสนับสนุนการลงทุนทุกมิติจากต่างประเทศให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันรัฐบาลเวียดนามยังได้ทำข้อตกลงการค้าทั่วโลก ไม่ว่าจะทำข้อตกลง FTA กับยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงเข้าร่วมใน ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP (Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership) ซึ่งทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก สร้างความได้เปรียบให้กับประเทศเวียดนามอย่างมาก

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-asian-economic-tiger

ตั้ง 8 อรหันต์ CPTPP “ประยุทธ์” ขีดเส้น ส่งการบ้านกลางเดือนเมษาฯ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบการดำเนินการจัดทำกรอบการทำงานเพื่อติดตามการจัดทำแผนงานการดำเนินการเพื่อปรับตัวของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของสภาผู้แทนราษฎร โดยหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องรวมทั้งภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง CPTPP รายประเด็น จำนวน 8 คณะ ซึ่งทั้ง 8 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ จะเร่งจัดทำกรอบการทำงานเพื่อติดตามการจัดทำแผนงาน การดำเนินการเพื่อปรับตัวของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ รวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพร้อมหรือความไม่พร้อมและเงื่อนไขในการขอเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP ของไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปภายในกลางเดือนเมษายน 2564

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-627018

เวียดนามเกินดุลการค้าพุ่ง 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) เปิดเผยว่าเวียดนามเกินดุลการค้า 754 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤศจิกายน และส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าสูงถึง 20.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน มูลค่าการส่งออก 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า 24.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 รองลงมาเครื่องนุ่งห่ม (31.9%), เครื่องจักรและส่วนประกอบ (14.1%), รองเท้า (24.6%), ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ (29.4%) และอื่นๆ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกรวม 254.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และมูลค่าการนำเข้ารวม 234.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า มองว่าผลการดำเนินงานทางการค้าของเวียดนามนั้นอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก เนื่องมาจากการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับ เช่น ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA)

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-further-expands-to-us2006-billion-in-11-months-315366.html

จุรินทร์ ชี้ไทยได้ประโยชน์จากซีพีทีพีพี หลังร่วมลงนามอาร์เซ็ป-แต่ยังเหลือขั้นตอนทำสัตยาบัน

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์​ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมครม.ว่า ในที่ประชุมวันเดียวกันนี้ จะยังไม่มีการนำเรื่องความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เข้าหารือ เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป ซึ่งหลังจากลงนามาร่วมกันเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมาแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีผลบังคับใช้ทันที ขั้นตอนต่อไปจะต้องมีการให้สัตยาบันระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ รายละเอียดขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่กำหนดไว้ สำหรับประเทศไทยต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ถ้ารัฐสภาผ่านความเห็นชอบ จึงจะสามารถแจ้งให้กับทางเลขาธิการอาร์เซ็ปทราบ ซึ่งตนจะเร่งนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาโดยเร็ว และให้ทันในสมัยประชุมนี้ มีระยะเวลาอีกเพียง 4 เดือนคือ พ.ย.2563-ก.พ.2564

ที่มา : https://www.naewna.com/business/532311

เวียดนามร่วมลงนาม ‘RECEP’ ตั้งเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก

การร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อผู้นำ 15 ประเทศ จากกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 29 ของ GDP โลก รวมถึงอาเซียน 10 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งการลงนามในครั้งนี้เป็นหนึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 โดยเวียดนามเป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะช่วยให้เวียดนามสามารถเข้าถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก และมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกไปยังตลาด ด้วยมูลค่าราว 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากข้อตกลงการค้าเสรีแล้วนั้น ยังรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา, อีคอมเมิร์ซ, การแข่งขัน, SMEs ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น เวียดนามสามารถนำเข้าชิปอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และนำเข้าวัสดุสิ่งทอจากจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกลุ่ม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าว จะช่วยให้เวียดนามเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-inks-world-s-largest-trade-pact-rcep-4192071.html

บริษัทเหล็กเวียดนาม “Hoa Phat Steel Sheet” ได้เปรียบการส่งออกจาก FTA

ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA), ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวทั้งหมด ก่อให้เกิดข้อได้เปรียบต่อบริษัทในแง่ภาษีศุลกากรจากยุโรป อาเซียน จีนและกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้ร่วมลงนามสัญญาหลายฉบับ เพื่อส่งออกสินค้าไปยังตลาดเอเชีย ยุโรปและเม็กซิโก เป็นต้น ด้วยจำนวนแผ่นเหล็ก 10,000 ตันไปยังไทย ทั้งนี้ โรงงาน Dung Quat ของหวาฟัต ประสบความสำเร็จในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตของอิตาลี นอกจากนี้ สินค้าในปัจจุบันได้วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ยุโรป ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชาและประเทศอื่นๆ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hoa-phat-steel-sheet-enjoying-export-advantages-from-ftas-417781.vov