CGCC ค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs กัมพูชากว่า 113 ล้านดอลลาร์

สถาบันค้ำประกันสินเชื่อ ประเทศกัมพูชา (CGCC) ให้การค้ำประกันสินเชื่อมูลค่ารวม 113.6 ล้านดอลลาร์ แก่ภาคธุรกิจ SMEs ในกัมพูชา เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยได้ปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจเกือบ 1,300 แห่ง จนถึงขณะนี้ CGCC ได้จัดทำแผนการค้ำประกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ โครงการการรับประกันการฟื้นตัวของธุรกิจ (BRGS) ที่เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2022, โครงการการรับประกันทางการเงินร่วม (CFGS) เปิดตัวในช่วงเดือนกันยายน 2021 และโครงการการรับประกันผู้ประกอบการหญิง ซึ่งเปิดตัวในเดือนเมษายน 2022 โดยปัจจุบัน CGCC ได้ขยายระยะเวลาโครงการ BRGS นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2023 ไปจนกว่าจะครบตามวงเงินกู้ที่ได้กำหนดไว้ที่มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501278434/credit-guarantees-to-smes-reach-113-million/

รัฐบาลกัมพูชาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ภาษี ฉบับใหม่

รัฐบาลกัมพูชาได้อนุมัติร่างกฎหมายการจัดเก็บภาษีฉบับใหม่ ซึ่งคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมและยกระดับภาคธุรกิจของกัมพูชา รวมถึงเพิ่มสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนที่เอื้ออำนวย ลดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษี โดยการอนุมัติดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน เป็นประธาน ซึ่งร่างกฎหมายภาษีอากรฉบับใหม่ ประกอบด้วยตัวบทกฎหมาย 20 บท 255 มาตรา นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจกัมพูชาในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขณะที่กรมภาษีอากร (GDT) ได้รายงานการจัดเก็บภาษีในช่วงปี 2022 ที่มูลค่ารวม 3.45 พันล้านดอลลาร์ เกินเป้าหมายประจำปีถึง 2.81 พันล้านดอลลาร์ ที่ร้อยละ 22.54 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 สำหรับเป้าหมายในปี 2023 ทางการกัมพูชาตั้งเป้าจัดเก็บภาษีให้ได้ 3.57 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501266503/government-approves-new-draft-law-on-taxation/

“เวียดนาม” ตั้งเป้าจำนวนธุรกิจ 1.5 ล้านแห่งในปี 2568

รัฐบาลต้องการให้ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาประเทศ โดยตั้งเป้าว่ามีจำนวนธุรกิจ 1.5 ล้านแห่งในปี 2568 และกว่าครึ่งหนึ่งของกิจการในประเทศเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนามได้นำนโยบายในการส่งเสริมการดำเนินกิจการของธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการวางโครงสร้างพื้นฐาน เขตเศรษฐกิจและเขตอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ มูลค่าของภาคเอกชน คาดว่ามีสัดส่วน 55% ของ GDP ในปี 2568 และปรับตัวสูงขึ้น 60-65% ในปี 2573 อย่างไรก็ดี ธุรกิจส่วนใหญ่ 95%  หรือประมาณ 1 ล้านแห่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs)

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-plans-to-have-15-million-businesses-in-2025-post1011250.vov

“ผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม” ก้าวเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

แม้ว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กว่า 90% ในเวียดนาม ยังเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ บริษัท CNS AMURA Precision Company ได้ดำเนินธุรกิจสู่การเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบดิจิทัลและบริษัทมีคำสั่งซื้อใหม่กับพันธมิตรทางธุรกิจต่างประเทศ นับว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งใหม่ หลังจากที่บริษัทกลายเป็นซัพพลายเออร์เทียร์ 1 ของซัมซุง นอกจากนี้ Mr. Tran Ba Linh ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตของบริษัท Dien Quang Lamp Joint Stock Company กล่าวว่านวัตกรรมสายการผลิตโดยการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

ที่มา : https://www.sggpnews.org.vn/vietnamese-small-medium-sized-firms-carrying-out-digital-transformation-post99855.html

‘เวียดนาม’ เร่งสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจ SMEs

หอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) และบริษัท Meta Group รวมถึงผู้แทนจากกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาคมธุรกิจ ร่วมประชุมหารือแผนการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เมื่อวันที่ 9 พ.ย. โดยงานดังกล่าวหารือเกี่ยวกับความท้าทายของธุรกิจ SMEs ที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงนโยบาย แนวโน้ม โอกาส เครื่องมือและโซลูชั่นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ทั้งนี้ คุณ Bui Trung Nghia รองประธานกรรมการสภาหอการค้าเวียดนาม กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้เปิดโอกาสให้กับทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนาม มีมูลค่า 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 เพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบเป็นรายปี และคิดเป็น 5% ของ GDP ประเทศ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/measures-sought-to-speed-up-digital-transformation-in-smes-post119693.html

เจ้าหน้าที่ IMF มองเวียดนามถูกทางในการผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจ

สำนักข่าวเวียดนาม (VNA) อ้างผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ว่าเวียดนามมาถูกทางในการเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจ แต่จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นไปที่การเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ คุณ Era Dabla-Norris หัวหน้านโยบายเศรษฐกิจการเงินขององค์กร IMF ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เปิดเผยว่าหนึ่งในความท้าทายสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คือความแตกต่างของเศรษฐกิจ ธุรกิจ ภาคส่วนและแรงงาน โดยการแก้ไขปัญหาข้างต้นนั้น จำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยกระดับศักยภาพ รวมถึงนโยบายเพื่อสร้างความมั่นใจในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ที่มา : https://www.zawya.com/en/world/china-and-asia-pacific/vietnam-on-right-track-in-pushing-economic-reform-imf-official-hcaaps13

SMEs กัมพูชากว่า 1,834 ราย ได้รับเงินกู้รวมกว่า 221 ล้านดอลลาร์

ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) แห่งกัมพูชา ระบุว่ามี SME กว่า 1,834 ราย ได้รับประโยชน์จากการปลอยเงินกู้ ภายใต้กรอบโครงการทางด้านการเงินระยะที่ 1-2 (SCFS I & II) ของธนาคาร ซึ่งได้ทำการปล่อยเงินกู้วงเงินรวม 221 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 92 ของกรอบวงเงินกู้ทั้งหมดที่ 240 ล้านดอลลาร์ โดย SCFS ครั้งที่ 1 มีงบประมาณรวม 100 ล้านดอลลาร์ (50 ล้านดอลลาร์ จาก SME Bank และอีก 50 ล้านดอลลาร์จาก PFI) ซึ่งได้จัดสรรให้กับ SME ราว 753 ราย ในระหว่างเดือนเมษายน 2020 ถึงตุลาคม 2020 ในขณะที่ SCFS ครั้งที่ 2 ได้มีการจัดสรรวงเงินกู้รวม 140 ล้านดอลลาร์ (70 ล้านดอลลาร์ จากธนาคาร SME และอีก 70 ล้านดอลลาร์จาก PFI) ซึ่งเริ่มปล่อยสินเชื่อตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501089865/over-1834-smes-benefit-from-221-million-loans/

ทางการกัมพูชาช่วยค้ำประกันสินเชื่อภาคธุรกิจ 448 แห่ง

บรรษัทประกันสินเชื่อกัมพูชา (CGCC) ได้ให้การสนับสนุนภาคธุรกิจจำนวน 448 แห่ง ด้วยการค้ำประกันสินเชื่อ มูลค่ารวม 45.5 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นเงินกู้สกุลเงินในประเทศ 19.8 พันล้านเรียล และเงินกู้รวมสกุลเงินต่างประเทศ 40.56 ล้านดอลลาร์ ซึ่งวงเงินกู้อยู่ในช่วง 6,000 ถึง 1 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันได้มีการทำหนังสือค้ำประกันเงินกู้เพื่อเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 343 รายการ, ค้ำประกันเงินกู้เพื่อการขยายการลงทุน 103 รายการ และเพื่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน 2 รายการ ตามการเปิดเผยของ CGCC ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการช่วยภาคธุรกิจ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารได้ แม้ว่าจะไม่มีหลักประกันก็ตาม ถือเป็นการเปิดโอกาสให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501088564/448-businesses-benefit-under-credit-guarantee-scheme/

‘โลจิสติกส์เวียดนาม’ คุมเข้มมาตรฐานสากล

สมาคมโลจิสติกส์ธุรกิจเวียดนาม (VLA) รายงานว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามได้รับแรงกดดันเกี่ยวกับการฝึกอบรมและยกระดับความรู้ของพนักงาน ตลอดจนการติดตามมาตรฐานระดับสากล ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลครั้งล่าสุดของสมาคมฯ พบว่ากิจการส่วนใหญ่ต้องการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการบริหารงานคุณภาพที่ทันสมัย อาทิ ISO 9001, ISO 14001, ISO 17025, HACCP และ ISO 22000 เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าถึงเวลาแล้วที่เวียดนามต้องจัดตั้งระบบการจัดการคุณภาพให้ดีขึ้น และให้ครอบคลุมกับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วิธีการขนส่งและการบริโภคพลังงาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-logistics-must-keep-up-with-international-standards/227570.vnp

‘ADB’ ชี้ 3 ทางเลือกที่ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม

นายโดนัลด์ แลมเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาธุรกิจภาคเอกชนของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้เปิดเผย 3 ทางเลือกให้กับคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของนั้นกลายมาเป็นตัวเร่งให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเวียดนามมีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจกว่า 24% อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SMEs ที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการเงิน ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานจะคล้ายกับผู้ชายที่เป็นเจ้าของธุรกิจและมีโอกาสต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการชายที่ต้องการกู้เงินจากธนาคาร ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำหรับผู้ประกอบการหญิงเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นปัญหาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของธนาคาร ADB ได้เสนอทางเลือก 3 ด้านในการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ได้แก่ 1) กลยุทธ์ เจ้าหน้าที่ธนาคารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ประกอบการหญิง 2) กลยุทธ์ขององค์กรว่ามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ 3) ข้อมูลพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ โครงสร้างลูกค้า ฯลฯ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-specialist-proposes-ways-to-empower-women-owned-firms-in-vietnam-post928967.vov