กระทรวงสาธารณสุขกัมพูชายังคงไม่กำหนดแผนการสั่งซื้อวัคซีน

กระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้กำหนดแผนปฏิบัติการสั่งซื้อวัคซีน COVID-19 ล่วงหน้าแม้ว่าประเทศต่างๆทั่วโลกจะดำเนินการไปแล้วก็ตาม ทั้งยังนายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้สั่งให้เจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุขและการคลังประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนเป็นการเร่งด่วนแล้วก็ตาม โดยโฆษกกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ยังคงทำงานเพื่อติดตามประสิทธิภาพของวัคซีนก่อนที่จะทำการสั่งซื้อวัคซีนเพื่อความปลอดภัยและได้มาซึ่งการรับรองจากองค์การอนามัยโลกก่อน ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศกัมพูชากล่าวโดยกระทรวงสาธารณสุขแถลงว่าพบผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย (เดินทางมาจากต่างประเทศ) ในกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็น 359 ราย (หญิง 84 รายและชาย 275 ราย) โดย 307 คน หายแล้ว และอีกจำนวน 52 คน กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล ในกรณีนี้ประกอบด้วยชาวกัมพูชา 239 คน ฝรั่งเศส 45 คน จีน 18 คน มาเลเซีย 13 คน ชาวอเมริกัน 12 คน อินโดนีเซีย 9 คน อังกฤษ 6 คน เวียดนาม 3 คน แคนาดา 3 คน อินเดีย 3 คน ฮังกาเรียน 2 คน ปากีสถาน 2 คน เบลเยียม 1 คน คาซัคสถาน 1 คน โปแลนด์ 1 คน และจอร์แดน 1 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50792639/no-vaccine-plan-ministry-of-health-unsure-on-when-or-from-where-the-kingdom-will-get-doses/

เวียดนามอาจก้าวเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงในปี 2566

ศูนย์เพื่อการวิจัยเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (Japan Center for Economic Research – JCER) คาดการณ์เศรษฐกิจในระยะกลางในภูมิภาคเอเชีย หัวข้อ “พิษโควิด-19 ในเอเชีย” ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และส่องเศรษฐกิจในเอเชียเมื่อเทียบกับประเทศทั่วโลก ในสถานการณ์ปกตินั้น ทางศูนย์ฯ มองว่าการระบาดของไวรัสเป็นแค่เหตุการณ์ชั่วคราว ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะกลาง ภายใต้การตั้งสมมติฐานว่ามีเพียงประเทศจีน เวียดนามและไต้หวัน ที่สามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในทิศทางเป็นบวกในปี 2563 ทั้งนี้ เวียดนามมีอัตราการเติบโตร้อยละ 6 ในปี 2578 เนื่องมาจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง สิ่งนี้จะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเวียดนาม ทั้งในแง่ของขนาดเศรษฐกิจและผลักดันให้ก้าวเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย อีกทั้ง เวียดนามมีความพร้อมในเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับบนในปี 2566 โดยมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 11,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปี 2578

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-may-become-uppermiddleincome-country-in-2023-japanese-centre/193135.vnp

จุรินทร์ บุกท่าเรือแก้ ตู้คอนเทนเนอร์ ขาดแคลน 14 ธ.ค.นี้

รายงานข่าวจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันจันทร์ 14 ธ.ค.2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเดินทางไปร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนและอัตราค่าระวางเรือที่สูงขึ้น  พร้อมตรวจเยี่ยมกิจการการท่าเรือ ณอาคารที่ทำการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ด้านนางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่าปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากสายเรือมีนโยบายจัดสรรระวางตู้สินค้า (Space Allocation) และจัดสรรตู้เปล่าหมุนเวียน (Container Allocation) กลับไปยังประเทศจีนและเวียดนามมาก เนื่องจากให้อัตราค่าระวางที่สูงกว่าไทย และการระบาดของ COVID-19 รอบ 2 ในยุโรปและสหรัฐ ทำให้ตู้สินค้าตกค้างที่ปลายทางเป็นจำนวนมาก ต่อเนื่องให้ปริมาณตู้สินค้าที่ต้องหมุนเวียนกลับสู่ระบบหายไปจำนวนมาก ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงให้อัตราค่าระวางที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทางสรท.ได้ขอให้สายเรือคงอัตราค่า Local Charge เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการไทย และขอให้ภาครัฐควรพิจารณามาตรการจูงใจให้สายเรือนำตู้เปล่ามายังประเทศไทย เช่น การยกเว้นค่ายกขนตู้เปล่ากลับมาประเทศไทย การยกเว้นค่าภาระท่าเรือให้กับเรือขนส่งสินค้าเป็นการชั่วคราว และขอให้ภาครัฐเจรจาในระดับประเทศเพื่อหาแนวทางส่งตู้ส่วนเกินในประเทศที่มีการนำเข้ามากกว่าส่งออก กลับมาให้ประเทศไทย

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/911654

เศรษฐกิจปีหน้าจะโต 4% ต้องทำอะไรอีกมาก

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2564 จะออกมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าเศรษฐกิจไทยพ้นจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 ปี 2563 ที่ติดลบ 12.1% แล้วก็ตาม แต่เมื่อเข้าสู่เดือนแรกของไตรมาส 4 ปี 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่าเศรษฐกิจไทยช่วงเวลาดังกล่าวยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชน ยกเว้นการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวระหว่าง 3.5-4.5% มีค่ากลางอยู่ที่ 4.0% โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทยยังคงเป็นการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งยังไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่าจะไม่เกิดการระบาดวงกว้างรอบ 2 จนถึงระดับที่จะต้องประกาศล็อกดาวน์อีกหรือไม่ แน่นอนว่าถ้าถึงระดับดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2564 อย่างแน่นอน นอกจากนี้ การส่งออกที่มีน้ำหนักต่อเศรษฐกิจไทยสูงก็ยังต้องขึ้นกับการฟื้นตัวของการค้าโลกในปี 2564 ด้วย ซึ่งต้องส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศและกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญ ในขณะที่การท่องเที่ยวและธุรกิจบริการในระยะยาวอาจต้องลดการพึ่งพาจำนวนนักท่องเที่ยวและเปลี่ยนมาพึ่งการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้สูง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/911383

ราคาสินค้าปศุสัตว์ในกัมพูชายังคงทรงตัว

จำนวนสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์ที่เลี้ยงในกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MAFF กล่าวว่าผลผลิตในอุตสาหกรรมฟาร์มปศุสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 42.02 ล้านตัว เป็น 49.42 ล้านตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ซึ่งในปีนี้ห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของประเทศประกอบด้วยฟาร์ม 1,232 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นผู้ผลิตสัตว์ปีก 681 ราย ผลิตสุกร 547 ราย และเลี้ยงโคอีกจำนวนหนึ่ง โดยในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด กัมพูชาได้พยายามอย่างมากในการส่งเสริมการผลิตในท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับคนในภาคการเกษตร ซึ่งจากรายงานราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประจำวันที่ 4 ธันวาคม จากตลาดพนมเปญราคาเฉลี่ยเนื้อหมู 26,400 เรียล (6.6 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม เป็ด 15,600 เรียล (3.9 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม เนื้อวัว 39,800 เรียล (9.95 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม และไก่ 28,000 ดอลลาร์ (7 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม ยังไงอยู่ในระดับคงที่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50790005/livestock-prices-remain-stable/

เวียดนามเผยเกินดุลการค้าพุ่ง ถึงแม้ว่าเผชิญกับโควิด-19 ระบาด

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้าถึง 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าทำสถิติสูงที่สุด ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลก มูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาดังกล่าว อยู่ที่ 254.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 234.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 69.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาจีน มูลค่า 43.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สหภาพยุโรป อาเซียน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ เพื่อให้บรรลุตรงตามเป้าการส่งออกในปีนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้ดำเนินการให้หน่วยงานและสำนักงานที่เกี่ยวข้อง ระดมให้ความช่วยเหลือในด้านการผลิตและการดำเนินธุรกิจ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/822957/trade-surplus-surges-to-record-high-despite-covid-19.html

โรงงาน 30 แห่งในย่างกุ้งแห่ยื่นขอปิดกิจการ

จากรายงานของกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและทรัพยากรมนุษย์ เขตย่างกุ้งมีโรงงานมากกว่า 30 แห่งที่ยื่นขอปิดกิจการต่อ คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) จากสาเหตุหลากหลายประการมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 31 กรกฎาคม 63 มีโรงงาน 173 แห่งในเขตย่างกุ้งที่ปิดตัวลงปิดชั่วคราวหรือเลิกจ้างคนงาน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ว่างงาน 41,395 คน ซึ่งแผนกตรวจสอบได้ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการด้านแรงงาน เช่น ค่าจ้างเงินเดือนและการถูกเลิกจ้างจากโรงงาน 173 แห่ง หากมีการร้องเรียนเกิดขึ้นทีมประสานงานเขตเมืองและทีมเจรจาจะดำเนินการภายใต้กฎหมายระงับข้อพิพาทแรงงานที่ตราขึ้นในปี 2555 ในระลอกที่สองของการระบาดของ COVID-19 มีบริษัทกว่า 220 แห่งได้ยื่นฟ้องปิดตัวปิดชั่วคราวหรือเลิกจ้างคนงาน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-30-more-factories-in-yangon-file-for-close-down

เวียดนามส่งออกสิ่งทอลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามคาดว่าจะลดลงร้อยละ 15 เป็นมูลค่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ นับว่าเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 ปี จากผลกระทบของโรคโควิด-19 ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ไวรัสดังกล่าวยังคงรุนแรงในหลายๆประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เป็นต้น ทำให้ธุรกิจสิ่งทอประสบปัญหาขาดแคลนยอดคำสั่งซื้อ ทั้งนี้ บริษัท Dony Garment ที่ตั้งอยู่ในโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม กล่าวว่าในช่วงเริ่มต้นโควิด-19 ระบาดนั้น ทางบริษัทหันมารับคำสั่งซื้อหน้ากากหลายล้านชิ้นจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป แต่ตอนนี้คำสั่งซื้อเหลืออยู่ที่ 36,000 ชิ้น ทั้งนี้ ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) กล่าวว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RECEP) จะช่วยให้ความต้องการเสื้อผ้าที่ผลิตในเวียดนามพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ซื้อชาวจีน

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/textile-exports-to-fall-for-the-first-time-in-25-years-4201885.html

สปป.ลาวขยายเวลาล็อกดาวน์เขตเศรษฐกิจพิเศษหลวงน้ำทา

ขณะนี้การขยายเวลาล็อกดาวน์มีผลบังคับใช้ใน 2 แห่งในสปป.ลาว ได้มีการสั่งปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นในแขวงหลวงน้ำทาและแขวงบ่อแก้ว ปิดเมืองต้นผึ้งหลังจากทราบว่าชาวจีนที่ติดเชื้อโควิด -19 ทั้งสองคนได้เดินทางผ่าน โดยให้ปิดตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน ได้มีการติดตามเจ็ดคนที่มีการติดต่อโดยตรงกับชาวจีนทั้งสองคนและผู้ที่ได้ติดต่อโดยตรงกับทั้งเจ็ดคนเพื่อทดสอบไวรัส และได้รับคำสั่งให้เก็บตัวอย่างจากทุกคนที่มีอาการคล้ายโควิด -19 และทำการทดสอบ นอกจากนี้ยังขอให้ตรวจสอบทุกคนที่เข้ามาในบ่อแก้วหรือหลวงน้ำทาบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโควิด -19 อย่างเคร่งครัด ในเมืองต้นผึ้ง การเดินทางภายในเขตถูกระงั ยกเว้นการเดินทางที่จำเป็น เช่นการไปโรงพยาบาล ไปโรงเรียนและการซื้อของกิน อย่างไรก็ตามการเดินทางดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ จากสถานการณ์ดังกล่าวแขวงพงสาลีที่อยู่ใกล้เคียงได้ดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส ระงับบริการขนส่งสาธารณะไปยังหลวงน้ำทา ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและจะต้องได้รับการกักตัว จนถึงขณะนี้สปป.ลาวมีผู้ติดเชื้อโควิด -19 แล้ว 39 ราย (ไม่รวมชาวจีนสองชาติดังกล่าวข้างต้น) ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lockdown237.php

เมียนมาเล็งปั้นท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวคิดใหม่ หวังเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

จากข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบการการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา มีแผนที่จะใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรใน 5 รัฐและทั่วภูมิภาคเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหรือกิจกรรมทางการเกษตรซึ่งจะเป็นการพาเยี่ยมชมฟาร์มหรือฟาร์มปศุสัตว์ โดยจะให้ความสำคัญให้กับภูมิภาคย่างกุ้ง พะโค อิรวะดี ตลอดจนรัฐคายาห์ และรัฐชิน การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกำลังได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนเสริมของการดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ของเมียนมา กระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวยังออกแพ็คเกจทัวร์ใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงทัวร์เที่ยวบินเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทางบกตลอดจนการล่องเรือในทะเลและแม่น้ำโดยจะเริ่มเปิดตัวในเดือนนี้ ใบอนุญาตการท่องเที่ยวจะออกโดยการท่องเที่ยวคาดว่าจะเปิดอีกครั้งในต้นปี 2564 ที่ผ่านมาจากการที่สายการบินถูกระงับทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อร้านอาหารร้านค้าและการขนส่งซึ่งได้รับความสูญเสียอย่างมาก รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงกว่า 80% หรือราว 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 จากการสำรวจครอบคลุมภาคการท่องเที่ยวร่วมกับภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น สายการบินระหว่างประเทศ การขนส่งภายในประเทศ อาหารและเครื่องดื่ม ที่พักธุรกิจบันเทิงตลอดจนการช็อปปิ้งสินค้าต่างๆ พบว่ารายได้เหล่านี้มีมูลค่ารวม 543 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-looks-agritourism-other-novel-ideas-boost-revenue.html