ข่าวดี สปป.ลาว ไฟเขียว หลัง “จุรินทร์” เจรจา เพิ่มรถหัวลาก-เปิดด่าน 24 ชม.ส่งออกผลไม้ไทยไปจีน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประชุมหารือกับ ดร.คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้ไทยไปยังจีน โดยในปี 2564 สปป.ลาว เป็นคู่ค้าอันดับ 7 ของไทยในอาเซียน ตัวเลขการค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว มีมูลค่า 229,572 ล้านบาท +15% และได้ตั้งเป้ามูลค่าการค้าร่วมกัน ในปี 2568 มูลค่า 363,000 ล้านบาท ซึ่ง 93.5% ของตัวเลขการค้าระหว่างกันทั้งหมดเป็นการค้าชายแดน คิดเป็นมูลค่า 214,814 ล้านบาท +13.17 % ซึ่งมูลค้าการค้าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากด่านชายแดนไทยกับ สปป.ลาว ได้เปิดการค้าระหว่างกัน ปัจจุบันเปิดแล้ว 12 ด่าน และกำลังดำเนินการในการเปิดด่านเพิ่ม

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_6972859

เมียนมาปิดถนนเมียวดี-ดอนา-ตอง-จอ กระทบค้าส่งออกชายแดนเมียนมา-ไทย หลายแสนจัต !

ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2565 การปิดถนนถนนเมียวดี-โดนา-ตอง-จอ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญบริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ส่งผลให้ชาวเมียนมาหลายแสนคนต้องกลายเป็นคนว่างงาน รถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่กว่า 1,000 คัน รวมทั้งรถยนต์นั่งต้องหยุดทำการวิ่งขณะขนส่งสินค้าเข้าจากไทยผ่านชายแดนเมียวดี ซึ่งการปิดชายแดนทำให้สินค้าเกษตรเกิดความเสียหายหลายแสนรายการในทุกๆ วัน โดยสินค้าเกษตรที่ส่งจากเมียวดีไปยังไทย ได้แก่ พริกสด ถั่วลิสง และหัวหอม ซึ่งจะเน่าเสียหายเพราะเก็บไว้ไม่ได้นาน ในขณะที่การนำเข้าน้ำอัดลมและอาหารลดลงเมื่อสองเดือนก่อน อีกทั้งจากข้อจำกัดในการนำเข้าส่งผลให้ การนำเข้าเหล็ก ดีบุก ซีเมนต์ และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ต้องลดลงไปด้วย

ที่มา : https://news-eleven.com/article/228319

‘อาคม’ เผยปมขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ไม่กระทบส่งออกอาเซียน ยัน อัตราว่างงานลดลงตามลำดับ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ในส่วนกระทรวงการคลังที่ดูแลเรื่องฐานะการเงินของประเทศ แนวนโยบายในการบริหารโควิด-19 ก็เดินคู่กับการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ เราพยายามจะรักษาสมดุลตรงนี้ไว้ เห็นได้จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ GDP แต่ละไตรมาสที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะมีโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนก็ตาม แต่ความรุนแรงไม่เท่าสายพันธุ์เดลต้า เพราะฉะนั้นกิจกรรมธุรกิจต่างๆ ยังสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ ประเด็นสำคัญคือการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจแต่ละครั้งนั้นสิ่งที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจของเราสามารถเดินต่อได้มี 2 เรื่อง คือเรื่อง ภาคเกษตร เป็นภาคที่สำคัญ เพราะกระทบต่อรายได้ของประชาชน กับเรื่อง การค้าขายชายแดน ซึ่งผมได้ลงไปในพื้นที่ชายแดนหลายจังหวัดพบว่าช่วงโควิด-19 นั้นการขนสินค้าข้ามแดนไม่ได้รับผลกระทบอะไร เพราะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของเรายังพึ่งพาสินค้าอุปโภค-บริโภคกันอยู่” นายอาคมกล่าว

 

ที่มา : https://www.matichon.co.th/politics/news_3250986

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าปี 2573 ผู้ส่งออกอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก

เวียดนามตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความสามารถการแข่งขันสูงและเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่ 15 อันดับแรกของโลกภายในปี 2573 โดยตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามตั้งเป้าที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 20 รายการที่ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ระดับโลกและมีความได้เปรียบในตำแหน่งห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลให้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนอยู่ที่ 70% ของอุปสงค์ในประเทศและกำลังผลิตในประเทศ 45% ทั้งนี้ กระทรวงฯ ร้องขอให้รัฐบาลมุ่งความสำคัญไปยังการพัฒนาเชิงคุณภาพแทนที่จะเป็นเชิงปริมาณ และใช้มาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนากำลังผลิต ซึ่งหนึ่งเป็นจุดอ่อนหลักของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ กระทรวงฯ คาดว่าในปี 2573 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมจะมีสัดส่วน 40% ของ GDP

 

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1166915/vn-aims-to-become-industrialised-world-exporter-by-2030.html

 

ส่งออกสินค้าปศุสัตว์เมียนมา ดิ่งลง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าปศุสัตว์รวมถึงวัวและควายของเมียนมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 11 มี.ค. 2565 ของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) อยู่ที่ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 11.33 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 ที่มีการส่งออก 15.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการปิดชายแดนเมียนมา-จีน โดยเมียนมาอนุญาติให้ส่งออกวัวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีน ใบรับรองสุขภาพ และใบรับรองการจดทะเบียนเกษตรกรรม ทั้งนี้วัวถือเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ซึ่งจากการสำรวจจำนวนวัวและควายในปี 2561 พบว่ามีจำนวนประมาณ 11.5 ล้านตัว แบ่งเป็นควาย 1.8 ล้านตัว และวัวอีก 9.7 ล้านตัว กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานของเมียนมา ระบุว่า วัวที่มีอยู่ในตลาดในประเทศมีประมาณ 1.1 ล้านตัว แบ่งเป็นการส่งออกจำนวน 600,000 ตัวต่อปี ที่เหลือเป็นการบริโภคในประเทศจำนวน 400,000 ตัว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

จุรินทร์ รวมพลหามาตรการดูแลผลไม้ปี’65 รุกส่งออกดันให้โต 15%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้ามาตรการแก้ไขปัญหาผลไม้ปี 2565 และการแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ว่าจากการประเมินผลผลิตผลไม้ทั่วประเทศปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 13% หรือมีปริมาณ 5.4 ล้านตัน โดยได้กำหนดมาตรการเชิงรุกในการผลักดันการส่งออกและดูแลผลไม้มี 17+1 ดูแลผลผลิตผลไม้และมีการเตรียมตลาดรองรับไว้แล้ว 450,000 ตัน ส่วนที่เหลือจะเป็นไปตามกลไกตลาด ที่เกษตรกรผลิตผลไม้ที่ได้คุณภาพ ล้งรับซื้อตามมาตรฐานและราคาที่เป็นธรรม ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกดำเนินการเตรียมการส่งออกต่อไป สำหรับผลไม้ไทย ตลาดใหญ่คือประเทศจีน ตลาดจีนส่งออกปี 2564 มีมูลค่า 163,000 ล้านบาท ปริมาณ 2,200,000 ตัน ซึ่งการส่งออกไปจีนทำได้ 3 เส้นทางหลักมีสัดส่วน คือ ทางเรือ 51% ทางบก 48% และทางอากาศ 0.54% ขณะที่เป้าหมายการส่งออกผลไม้ในปี 2565 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 15% โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 287,500 ล้านบาท

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-893317

GMAC ร่วมมือกับ Euro Cham เร่งส่งออกเสื้อผ้ากัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) และ Euro Cham ร่วมมือพัฒนาและส่งเสริมภาคการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาไปยังตลาดสหภาพยุโรป (EU) โดยปัจจุบัน Euro Cham ถือเป็นตัวแทนของแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำของสหภาพยุโรปที่มีฐานการผลิตอยู่ในกัมพูชา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของกัมพูชาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในฝั่งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น (SMEs) ซึ่งทาง Euro Cham จะเน้นการพัฒนาไปที่ห่วงโซ่อุปทานและการผลักดันกฎหมายแรงงานของสหภาพยุโรปมาปรับใช้ในกัมพูชาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกของกัมพูชา โดยในปี 2021 การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4,500 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นการส่งออกเสื้อผ้ามูลค่า 2,207 ล้านดอลลาร์, รองเท้า 383 ล้านดอลลาร์ และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวมูลค่า 93 ล้านดอลลาร์ รวมเป็นเงิน 2,683 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของปริมาณการค้าทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501042572/gmac-euro-cham-pact-set-to-boost-cambodian-garment-exports/

กัมพูชาส่งออกไปยังเกาหลีใต้ 64 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 64.5 ล้านดอลลาร์ ไปยังเกาหลีใต้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์กัมพูชานำเข้าสินค้าจกาเกาหลีใต้มูลค่าแตะ 130 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 หรือคิดเป็นมูลค่า 195.2 ล้านดอลลาร์ ผ่านข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-เกาหลี (CKFTA) ซึ่งจะมีผลบังคับในเร็วๆ นี้ โดย CKFTA คาดว่าจะครอบคลุมสินค้าของกัมพูชามากกว่า 10,000 รายการ ที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501042577/cambodian-exports-to-south-korea-reach-64m-in-two-months/

ยอดส่งออกข้าวโพดเมียนมาพุ่ง ดันราคาพุ่งแตะ 1,000 จัตต่อ viss

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung) เผย ราคาข้าวโพดในประเทศพุ่งสถึง 1,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ผลมาจากความต้องการจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง และค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลง ปัจจุบันราคา FOB ข้าวโพดอยู่ที่ 310-330 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทั้งนี้ราคาอาจพุ่งไปถึง 1,010-1,030 จัตต่อ viss ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ไทยได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับการนำเข้าระหว่างเดือนก.พ ถึงเดือนส.ค. อย่างไรก็ตามไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุดร้อยละ 73 สำหรับการนำเข้าเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ โดยเมียนมาตั้งเป้าส่งออก 1.5 ล้านตันไปยังไทยในปีการผลิต 2564-2565 ซึ้งปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา ประเทศส่งออกข้าวโพดมากกว่า 1.7 ล้านตันไปยังไทย เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตัน ส่วนใหญ่ส่งกลับไทย ที่เหลือส่งออกไปจีน อินเดีย และเวียดนาม ปัจจุบันมีการเปลูกข้าวโพดในรัฐฉาน รัฐคะฉิ่น คะยา และกะเหรี่ยง มัณฑะเลย์ ซากาย และมาเกว โดยมีการเพาะปลูกได้ทั้ 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม มีผลผลิตอยู่ที่ 2.5-3 ล้านตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/foreign-demand-kyat-depreciation-drive-corn-price-up-to-over-k1000-per-viss/#article-title

 

ม.ค. 2022 กัมพูชาส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 46

สหรัฐฯ ยังคงถือเป็นประเทศสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับการส่งออกของกัมพูชา จากการที่สหรัฐฯ ได้มอบสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ให้กับกัมพูชา ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้การค้าทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ และกัมพูชา มีมูลค่ารวม 875.5 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดือน ม.ค. ของปีก่อน โดยคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9 มูลค่า 847.6 ล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันการนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐฯ กลับลดลงร้อยละ 17.6 คิดเป็นมูลค่า 27.9 ล้านดอลลาร์ ตามการรายงานจากสำนักสำรวจสำมะโนประชากรแห่งสหรัฐอเมริก (USCB)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501038832/kingdom-exports-to-us-surge-around-46-in-january/