‘เวียดนาม’ เผย ม.ค. ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ระลอกใหม่ 2.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ กระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค.2567 นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเวียดนาม มูลค่าเกินกว่า 2.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 40.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และมีเงินทุนจดทะเบียนใหม่ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 66.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยเม็ดเงินทุนจดทะเบียนรวมกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 59.5% ของเงินทุนทั้งหมด และเพิ่มขึ้น 72.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาญี่ปุ่นและจีน ในขณะเดียวกัน เมืองฮานอยเป็นแหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด มีเม็ดเงินทุนจดทะเบียนสูงถึง 867 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยเมืองโฮจิมินห์

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-attracts-us2-36-billion-in-new-foreign-investments-in-january/

Wanli Tyre ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตในกัมพูชา

Wanli Tyre Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองกวางโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง ได้เริ่มขยายฐานการผลิตระยะใหม่ในกัมพูชา ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตล้อยางเมื่อปีที่แล้ว โดยโครงการระยะนี้ถือเป็นระยะที่ 3 ของการจัดตั้งโรงงานในกัมพูชา ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างโรงงานสาธิตการผลิตยางรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการคาดการณ์กำลังการผลิตไว้ที่ปีละ 12 ล้านเส้น สำหรับในปี 2023 สำหรับปริมาณการผลิตและยอดคำสั่งซื้อของบริษัท Wanli ในกัมพูชา เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 18.77 และร้อยละ 19.42 ตามลำดับ ซึ่งมีกำไรเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่ากว่า 40.69 ล้านดอลลาร์ ในปีก่อน และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตยางในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501426360/wanli-tire-eyes-major-capacity-expansion-in-cambodia/

มัณฑะเลย์ไฟเขียวลงทุน 2 สัญชาติ สร้างงาน 319 ตำแหน่ง

ดร. มิน ซอ อู ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนและการบริหารบริษัทประจำภูมิภาคมัณฑะเลย์ ประกาศว่าการลงทุนของพลเมืองเมียนมา 2 รายการ ซึ่งสามารถสร้างโอกาสในการทำงานได้ 319 ตำแหน่ง ได้รับการอนุมัติในเดือนมกราคม 2567 จำนวนเงินทุนสำหรับการลงทุนใหม่อยู่ที่ 4,368.411 ล้านจ๊าด ตามที่ระบุในรายงาน อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวเน้นย้ำว่าในปี 2566 ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมาร์ได้อนุญาตธุรกิจรวม 14 แห่ง และ 10 แห่งได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการการลงทุนแห่งภูมิภาคมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ คณะกรรมการการลงทุนภูมิภาคมัณฑะเลย์ยังมีการออกใบอนุญาตสำหรับการลงทุนระดับชาติใหม่ของเมียนมาและการลงทุนจากต่างประเทศทุกเดือน ซึ่งจะสร้างโอกาสการจ้างงานมากขึ้นในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ภายใต้กฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mandalay-region-greenlights-2-citizen-owned-investments-generating-319-jobs/

‘เวียดนาม’ เผย ปี 66 ยอดลงทุนไปต่างประเทศดิ่งลงฮวบ 21.2%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในปี 2566 ยอดการลงทุนเวียดนามในต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 420.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 21.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จำแนกออกเป็นโครงการที่จดทะเบียนใหม่ 124 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 282.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ภาคการค้าส่งค้าปลีก คิดเป็นสัดส่วน 37.3% ของการลงทุนทั้งหมด รองลงมาภาคเทคโนโลยีและการสื่อสาร (28.7%) โดยแคนาดาเป็นแหล่งการลงทุนชั้นนำของเวียดนาม ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากเวียดนามอยู่ที่ 150.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยสิงคโปร์ (122.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสปป.ลาว (116.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-2023-outbound-investments-dip-21-2-y-o-y/

ADB ร่วมกับ MPWT สร้างโครงการฝังกลบในพระตะบอง มูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมมือกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) ในการก่อสร้างหลุมฝังกลบแบบควบคุมขนาด 20 เฮกตาร์ ในจังหวัดพระตะบองสำเร็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในชุมชนที่มีอยู่ราว 126,000 คน ด้วยกำลังการกำจัดขยะ 100 ตัน ต่อวันเป็นเวลา 10 ปี ด้วยเม็ดเงินลงทุนในโครงการมูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ชื่อโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองครั้งที่สองในลุ่มน้ำทะเลสาบโตนเลสาบ โดยโครงการนำร่องได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว 2 เดือน และพร้อมที่จะให้บริการแก่ชุมชนทั่วทั้งจังหวัด ซึ่งจุดฝังกลบดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลเมืองพระตะบอง 25 กิโลเมตร และห่างจากชุมชนเนื่องจากความกังวลด้านสุขภาพของประชาชนในระยะยาว โดยขยะทั้งหมดสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตก๊าซและปุ๋ยต่อไปได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501404698/adb-mpwt-build-6-28-million-landfill-project-in-battambang/

โครงการลงทุน 3 โครงการ ได้รับการอนุมัติ สร้างงาน 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

ในการประชุมที่จัดขึ้นที่สำนักงานของรัฐบาลสหภาพในกรุงเนปิดอว์ คณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 3 โครงการ ที่จะมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คิดเป็นมูลค่า 0.180 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 300 พันล้านจ๊าด ซึ่งจะสร้างโอกาสในการทำงานในท้องถิ่น 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในวันที่ 1 ธันวาคม อย่างไรก็ดี จากต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2566 ใน 52 ประเทศและภูมิภาคที่ลงทุนในเมียนมาร์ ประเทศนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ จีน และไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ ในบรรดาธุรกิจ 12 ประเภทในเมียนมาร์ ร้อยละ 28.49 ของการลงทุนทั้งหมดไหลเข้าสู่ภาคพลังงาน ร้อยละ 24.44 ลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็น และร้อยละ 14.39 เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/three-invested-businesses-approved-to-generate-744-jobs-in-industrial-agricultural-sectors/

กองทรัสต์เกือบ 700 หน่วย เข้าจดทะเบียนในกัมพูชา มูลค่ากว่า 1.22 พันล้านดอลลาร์

จำนวนกองทรัสต์ซึ่งจดทะเบียนในประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกองทรัสต์กำลังได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ด้าน Sok Dara ผู้อำนวยการทั่วไปของหน่วยงานกำกับดูแลกองทรัสต์ (TR) เปิดเผยว่า มีกองทรัสต์มากถึงกว่า 683 หน่วย ที่ได้รับการจดทะเบียนกับหน่วยงานกำกับดูแลของกัมพูชา โดยคิดเป็นมูลค่ารวม 1.22 พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายนปีนี้ โดยว่า 580 หน่วย ได้รับการจดทะเบียนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคส่วนดังกล่าวเกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นและความเข้าใจของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติตลอดจนความต้องการของภาคการธนาคารในการสนับสนุนการลงทุนของนักลงทุน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501392880/nearly-700-trusts-registered-with-1-22-billion/

นักลงทุนจีนจ่อลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา

นักลงทุนจีนเข้าลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ โดยนับเป็นโรงงานผลิตยางรถยนต์แห่งที่ 4 ในกัมพูชา หลังจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) อนุมัติโครงการลงทุนดังกล่าว ด้านนายกฯ ฮุน มาเน็ต กล่าวเสริมว่าการมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ภายในประเทศจะเป็นส่วนช่วยให้ภาคเกษตรกรรม อย่างในฝั่งของเกษตรกรผู้เพาะปลูกยางพาราในกัมพูชา ไม่จำเป็นต้องส่งออกยางไปยังตลาดต่างประเทศเนื่องจากนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ภายในประเทศ รวมถึงนายกฯ ยังได้ขอให้สถาบันซึ่งเกี่ยวข้องกับภาคเอกชน และสมาคมยางกัมพูชา จัดทำกลไกประสานการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคและปัญหาการเพาะปลูก เพื่อให้แน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานการผลิตยางรถยนต์ภายในประเทศกัมพูชาจะสมบูรณ์แบบ สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกยางแห้งปริมาณกว่า 242,304 ตัน ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน สร้างรายได้เข้าประเทศราว 320 ล้านดอลลาร์ ตามการรายงานของ General Directorate of Rubber (GDR) ปัจจุบันกัมพูชามีสวนยางพาราครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 404,578 เฮกตาร์ ซึ่งร้อยละ 78 ของพื้นที่พร้อมที่จะให้ผลผลิตน้ำยางดิบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501392268/cambodia-to-get-500m-chinese-tyre-factory/

‘GSM เปิดตัวบริการแท็กซี่ไฟฟ้าใน สปป.ลาว’ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเดินทางสีเขียวในอาเซียน

บริษัท JSC Green and Smart Mobility ของเวียดนาม (GSM) ได้เปิดตัวบริการแท็กซี่ไฟฟ้าในเวียงจันทน์ สปป.ลาว ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Xanh SM” ขยายสู่ตลาดต่างประเทศแห่งแรกถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในกลยุทธ์ “Go Green Global” ของ GSM เพื่อสร้างตัวเองในฐานะผู้ให้บริการยานยนต์ไฟฟ้าระดับสากล และส่งเสริมการนำยานยนต์สีเขียวมาใช้นอกขอบเขต ทั้งนี้ Xanh SM Laos ยอมรับแนวทางที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางของคู่ค้าชาวเวียดนาม และให้คำมั่นที่จะให้บริการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทมุ่งมั่นที่จะให้บริการลูกค้าด้วยรถยนต์ไฟฟ้าบริสุทธิ์ 100% และมาตรฐานการบริการระดับ 5 ดาว รวมถึงคุณภาพรถยนต์ระดับพรีเมี่ยม และทีมงานนักขับมืออาชีพที่ทุ่มเท ซึ่งมีส่วนในการยกระดับมาตรฐานการบริการขนส่งผู้โดยสารใน “ดินแดนแห่งล้านช้าง” นอกจากนี้ Xanh SM Laos กำลังวางแผนที่จะขยายการดำเนินงานไปทั่วประเทศ และคาดว่าจะสร้างโอกาสงานใหม่นับพันตำแหน่งให้กับผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น โอกาสเหล่านี้นำโอกาสในการพัฒนาอาชีพที่น่าสนใจโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรก ในขณะเดียวกันก็มีรายได้ที่เหมาะสมและการฝึกอบรมทางวิชาชีพด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขับขี่ Green SM จะได้รับการมุ่งเน้นให้เป็น “ทูตสีเขียว” ที่เชื่อมโยงแบรนด์กับลูกค้าโดยตรง และมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของลาว

ที่มา : https://www.taiwannews.com.tw/en/news/5036912

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอใน EEC

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรม WHA ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการที่ภาครัฐและเอกชนของไทยมีความตั้งใจในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานระดับโลก เพื่อขยายโอกาสความร่วมมือการลงทุนกับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกเหนือจากการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ครบวงจรชั้นนำของโลกในปัจจุบัน โดยถือเป็นช่วงเวลาที่ประจวบเหมาะกับการที่รัฐบาลได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติชุดใหม่ โดยมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2567-2570 นับเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนจากผู้ประกอบการรายใหม่จากทั่วโลก สอดคล้องนโยบายของรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ WHA ยังพร้อมสนับสนุนการพัฒนาในเขต EEC ควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นไปได้ในการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ อย่างมีประสิทธิภาพทั่วประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ที่จะสร้างประโยชน์ด้านการลงทุนทั้งต่อ EEC และต่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้ยั่งยืน

ที่มา : https://www.mitihoon.com/2023/11/06/415503/