“ผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม” ก้าวเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

แม้ว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กว่า 90% ในเวียดนาม ยังเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ บริษัท CNS AMURA Precision Company ได้ดำเนินธุรกิจสู่การเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบดิจิทัลและบริษัทมีคำสั่งซื้อใหม่กับพันธมิตรทางธุรกิจต่างประเทศ นับว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งใหม่ หลังจากที่บริษัทกลายเป็นซัพพลายเออร์เทียร์ 1 ของซัมซุง นอกจากนี้ Mr. Tran Ba Linh ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตของบริษัท Dien Quang Lamp Joint Stock Company กล่าวว่านวัตกรรมสายการผลิตโดยการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

ที่มา : https://www.sggpnews.org.vn/vietnamese-small-medium-sized-firms-carrying-out-digital-transformation-post99855.html

‘เวียดนาม’ ผลิตรถจักรยานยนต์ ทะลุ 3.3 ล้านคัน ปี 2565

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม ปี 2565 ผลิตได้ทั้งสิ้น 351,100 คัน ชะลอตัวลง 0.8% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน แต่ขยายตัว 4.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 รวมทั้งสิ้น 1,024 ล้านคัน ขยายตัว 19.8% จากช่วงเดียวปีก่อน สาเหตุสำคัญมาจากผู้ประกอบการปรับแผนและส่งเสริมการผลิต รวมถึงสามารแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าของตัวแทนจำหน่ายได้ เหตุผลข้างต้นบ่งบอกให้เห็นสาเหตุว่าทำไมราคารถจักรยานยนต์ถึงปรับตัวพุ่งสูงขึ้นในช่วงแรกและช่วงกลางของปีนี้ ทั้งนี้ ยอดผลิตรถจักรยานยนต์ภาพรวมทั้งปี 2565 เวียดนามผลิตรถจักรยานยนต์มากกว่า 3.32 ล้านคัน ขยายตัว 9.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1445274/more-than-3-3-million-motorbikes-manufactured-in-viet-nam-in-2022.html

“เวียดนาม” เผย 9 เดือนแรกของปีนี้ ทุ่มเงินนำเข้าน้ำมันดิบ 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 เวียดนามนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 6.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.7% ในแง่ของปริมาณและ 131.% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากพิจารณาเฉพาะในเดือนกันยายน พบว่ามีการนำเข้าน้ำมันดิบ 627,652 ตัน เพิ่มขึ้น 34.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามนำเข้ามากกว่า 627,000 ตัน เป็นมูลค่า 676 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะมีการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันดิบหลายแห่งได้ปรับลดขนาดองค์กร เนื่องจากเผชิญกับภาวะอุปทานน้ำมันขาดแคลน ในขณะที่ภาคธุรกิจค้าน้ำมันร้องเรียนว่าการคำนวณอัตราคิดลดไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-spends-over-us68-billion-importing-petroleum-over-nine-months-post976490.vov

จ.มุกดาหาร เปิดประชุมเชื่อมโยงการค้าระหว่างผู้ประกอบการค้าเวียดนาม-มุกดาหาร

ที่ โรงแรมพลอยพาเลซ จ.มุกดาหาร นายวลัยพรรณ น้อยสันเทียะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารเป็นประธานเปิดงานในนามผู้แทนจังหวัดมุกดาหารและคณะ เดินทางมาจัดการประชุมเชื่อมโยงการค้าการลงทุน ระหว่างผู้ประกอบการของจังหวัดกวางบินห์ กวางตรี เงอาน และเว้ (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) และผู้ประกอบการจังหวัดมุกดาหาร (ราชอาณาจักรไทย)

ทั้งนี้ จังหวัดมุกดาหาร เป็นเมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง ด้านตะวันออกติดกับแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 2 ที่เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 เชื่อมเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-WestEconomic Corridor : EWEC) ระหว่างไทยกับสปป.ลาว เข้าด้วยกัน ตามเส้นทาง หมายเลข 9 จังหวัดมุกดาหารจึงสามารถเชื่อมโยง“Corridor Link” ทางบกกับแขวงสะหวันนะเขต ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและยังเชื่อมโยงไปสู่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้

นอกจากนี้ จังหวัดมุกดาหารยังเป็น เป็น 1 ใน 5 จังหวัด ซึ่งอยู่ในแผนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กำหนดให้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองชายแดน มุ่งเน้นพัฒนาการลงทุนร่วมระหว่างประเทศ ในลักษณะเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนให้เป็นฐานเศรษฐกิจและประตูการค้าที่สำคัญเพื่อสนับสนุนการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว อีกด้วย มุกดาหารจึงมีศักยภาพและโอกาสขยายความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุนกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมามีมูลค่าการค้าผ่านแดนไทย – เวียดนามผ่านช่องทางจังหวัดมุกดาหาร สินค้าได้แก่ โค กระบือ สินค้าอุปโภคบริโภค เนื้อสัตว์แช่เย็น ข้าวเหนียว เป็นต้น มูลค่าการค้ารวม 47,931.70 ล้านบาท

ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG221004102051698

รัฐบาลจะให้สินเชื่อซื้อน้ามันเพื่อเชื่อเหลือผู้ประกอบการน้ำมัน

รัฐบาลจะจัดหา Letter of Credit ให้แก่ผู้นาเข้าน้ามันเชื้อเพลิงมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อน้ามันที่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ จานวนนี้สามารถซื้อเชื้อเพลิงได้ 200 ล้านลิตรซึ่งจะครอบคลุมความต้องการในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่ 100 ล้านลิตรต่อเดือน รัฐบาลจะยังคงให้สกุลเงินต่างประเทศแก่ผู้นาเข้าต่อไปในช่วงที่เหลือของปีเพื่อจัดหาเชื้อเพลิงให้เพียงพอ รัฐบาลได้ให้สินเชื่อแม้ว่าจะมีทุนสารองเงินตราต่างประเทศจากัด มูลค่าที่ลดลงของ kip ได้เพิ่มภาระให้กับผู้นาเข้าที่พยายามหาแหล่งเงินตราต่างประเทศที่เพียงพอเพื่อซื้อเชื้อเพลิงที่จาเป็นมาก ซึ่งต้องนาเข้าทั้งหมด ในระยะยาวรัฐบาลจะพิจารณาวิธีส่งเสริมการลงทุนในโรงกลั่นน้ามันในประเทศลาว ซึ่งสามารถกลั่นน้ามันดิบได้เพื่อให้มั่นใจถึงความมั่นคงของเชื้อเพลิง ปัจจุบันไม่มีโรงงานดังกล่าวเปิดดาเนินการในประเทศ

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/ FreeConten2022_Govtto120.php

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด “ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน” ซ้อน “โควิด” กระทบธุรกิจเวียดนาม

บรรดาผู้ประกอบการเวียดนามต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการส่งออกไปยังประเทศรัสเซีย ยูเครนและเบลารุส ประกอบกับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของค่าขนส่งและธนาคารของรัสเซียถูกตัดออกจากระบบสวิฟต์ (SWIFT) ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งธุรกิจจำนวนมากที่ยังคงมีปัญหาจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

ทั้งนี้ นาย Nguyen Dang Hien ผู้อำนวยการของบริษัท Tan Quang Minh Manufacturing and Trading Company Limited (TQM) เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม กล่าวว่าบริษัทอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่ยังคงดิ้นรนกับปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบัน อาทิ คู่ค้าต่างชาติปิดค้าขายในช่วงการแพร่ระบาดและการนำเข้าวัตถุดิบใช้เวลานานกว่าแต่ก่อน ผลลัพธิดังกล่าวได้ผลักดันต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่กิจการไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้มากนัก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ukraine-conflict-covid-make-it-doublewhammy-for-vietnamese-businesses/223860.vnp

‘ADB’ ชี้ 3 ทางเลือกที่ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม

นายโดนัลด์ แลมเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาธุรกิจภาคเอกชนของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้เปิดเผย 3 ทางเลือกให้กับคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของนั้นกลายมาเป็นตัวเร่งให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเวียดนามมีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจกว่า 24% อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SMEs ที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการเงิน ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานจะคล้ายกับผู้ชายที่เป็นเจ้าของธุรกิจและมีโอกาสต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการชายที่ต้องการกู้เงินจากธนาคาร ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำหรับผู้ประกอบการหญิงเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นปัญหาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของธนาคาร ADB ได้เสนอทางเลือก 3 ด้านในการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ได้แก่ 1) กลยุทธ์ เจ้าหน้าที่ธนาคารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ประกอบการหญิง 2) กลยุทธ์ขององค์กรว่ามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ 3) ข้อมูลพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ โครงสร้างลูกค้า ฯลฯ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-specialist-proposes-ways-to-empower-women-owned-firms-in-vietnam-post928967.vov

คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว

โดย ศุทธาภา นพวิญญูวงศ์ สิรีธร จารุธัญลักษณ์ และอภิชญาณ์ จึงตระกูล

สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกบทความ “คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว” โดยให้มองว่า รถไฟจีน-ลาวที่ได้เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการขนส่ง1 ทั้งนี้ การค้าจะเป็นด้านแรกที่ได้รับโอกาสและผลกระทบ จากการทะลักของสินค้าขาเข้าได้ทันที

นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟจีน-ลาวจะทำให้การขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-จีนผ่านภาคอีสานทางบกมีบทบาทสำคัญมากขึ้น จากเดิมการขนสินค้าผ่านทางถนนก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว จากประมาณร้อยละ 8 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 12 ในปี 25642 และหากมีเส้นทางรถไฟเข้ามาจะทำให้การขนส่งสินค้าเร็วกว่าทางถนนมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยกระจายความเสี่ยงด้านการขนส่งได้

ดังนั้น เส้นทางรถไฟนับว่าเป็นการเปิดประตูการขนส่งเส้นทางใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสของการค้าข้ามแดนระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย-ลาว-จีน มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับมณฑลยูนนาน บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดเส้นทางการขนส่งใหม่เส้นนี้ต่อภาคการค้าของไทยกับจีน รวมถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ในการแข่งขันบนเส้นทางที่ท้าทายนี้

โอกาสและความท้าทาย : เบื้องต้นไทยจะเผชิญกับความท้าทายของสินค้านำเข้าจากจีน แต่ในทางกลับกันไทยก็มีโอกาสในการขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดมายังมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นปลายทางรถไฟ จากเดิมที่สินค้าไทยส่วนใหญ่จะนิยมขนส่งไปทางจีนตะวันออกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางถนน รวมถึงมณฑลกวางตุ้งและอื่น ๆ ทางเรือ

ด้านการนำเข้า : ไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากสินค้านำเข้าของจีนที่จะมีมากกว่าสินค้าส่งออกจากไทย ซึ่งสินค้าจากจีนจะเข้ามาไทยผ่านทางรางเพิ่มขึ้น จากที่ไม่เคยขนส่งผ่านทางรางมาก่อน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

อย่างไรก็ดี ไทยสามารถคว้าโอกาสจากการเข้ามาของสินค้ากลุ่มนี้ได้ เนื่องจากการขนส่งผ่านทางรางทำให้ต้นทุนทั้งระยะเวลาและค่าขนส่งถูกลง ดังนี้ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

ด้านการส่งออก : ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลยูนนาน รวมทั้งมณฑลใกล้เคียง โดยระยะแรกคาดว่าสินค้าส่งออก จะเป็นสินค้าเดิมที่เคยส่งออกไปมณฑลยูนนาน หรือสินค้าที่มีการขนส่งทางถนนอยู่เดิม

 

โดยสรุปแล้ว การเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าของไทย ทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า เช่น วัถตุดิบ ผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าในช่วงแรกยังไม่สามารถดำเนินการได้สะดวก เนื่องจากยังมีการปิดพรมแดนทั้ง สปป. ลาว และจีน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1.โครงสร้างพื้นฐานใน สปป. ลาว อาทิ Vientiane Logistics Park (VLP) ซึ่งเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าใน สปป. ลาว และด่านรถไฟโม่ฮานในจีนที่ยังดำเนินการได้ไม่สมบูรณ์

2.มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของจีน เช่น ความเข้มงวดด้านการนำเข้าสินค้าของจีน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโคโรน่าไวรัส โดยเฉพาะอาหารสดและผลไม้ และ

3.มาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษีศุลกากร อาทิ ระเบียบพิธีการด้านการขนส่งทั้งใน สปป.ลาว และจีน อย่างไรก็ดี ข้อตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 ม.ค. 2565 จะมีส่วนช่วยบรรเทาข้อจำกัดด้านภาษีศุลกากรได้บ้าง และควรมีการหารือเรื่องการขนส่งร่วมกันระหว่าง สปป. ลาว และจีนเพิ่มเติม เพื่อให้การขนส่งไปจีนมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อ : https://thaipublica.org/2022/01/bot-regional-letter-china-lao-train/

‘สนง.สถิติแห่งชาติเวียดนาม’ เผยข้อมูลสำมะโน ชี้จำนวนสถานประกอบการ 683,600 แห่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยผลเบื้องต้นของการสำรวจสำมะโน พบว่าข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 เวียดนามมีสถานประกอบการจำนวน 683,600 แห่ง เพิ่มขึ้น 35.3% เมื่อเทียบกับปี 59 โดยในปี 64 การจ้างงานของสถานประกอบการ มีจำนวนมากกว่า 14.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับปี 59 ทั้งนี้ ในช่วงปี 59-63 จำนวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้น 7.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 8.7% ตั้งแต่ปี 54-59 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. กระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยผลการสำรวจสำมะโน ปี 64 พบว่าข้อมูล ณ ปี 63 หน่วยงานราชการมีจำนวน 32,300 แห่ง ลดลง 7.25% เมื่อเทียบกับปี 59

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-has-683600-operational-firms-economic-census/220572.vnp

เรื่องที่ SME ไทยควรรู้ เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้เป็นทางการ

เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เป็นดีเดย์ที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) หรือ ‘อาร์เซ็ป’ ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจะเริ่มมีผลบังคับใช้ด้วย

ซึ่ง 15 ประเทศที่ร่วมลงนามความตกลง RCEP ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

จุดมุ่งหมายของความตกลงดังกล่าว คือสลายอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน เพื่อช่วยให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก้าวทันประเทศอื่นในโลก ความตกลง RCEP เป็นความตกลงที่ทันสมัย ครอบคลุม คุณภาพสูง และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน อีกทั้งมีการเพิ่มความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นจากเอฟทีเอของอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่ก่อนหน้า

 

สินค้าประเทศไทยที่ได้รับประโยชน์จาก RCEP

1.หมวดสินค้าเกษตร เช่น แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด สินค้าประมง เป็นต้น

2.หมวดอาหาร ผักผลไม้แปรรูป น้ำส้ม น้ำมะพร้าว รวมทั้งอาหารแปรรูปอื่น ๆ

3.หมวดสินค้าอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก กระดาษ เคมีภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องแต่งกาย รวมทั้งจักรยานยนต์

4.หมวดบริการ หมวดการก่อสร้าง ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านภาพยนตร์ บันเทิง แอนิเมชัน

5.การค้าปลีก

 

โดยสมาชิก RCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น

 

ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมตัวอย่างไร?

สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ควรให้ความสำคัญในการทำการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันก็คือ การสร้างโอกาสและแต้มต่อจากการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA รวมถึงความตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ โดยผู้ประกอบการควรเร่งเตรียมความพร้อมเรียนรู้ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆ ของความตกลง RCEP อาทิ การเปิดตลาดการค้าสินค้า อัตราภาษีศุลกากร กฎเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า และสิทธิประโยชน์ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศสมาชิก RCEP

เพื่อเตรียมวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัยของสินค้าและบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ สอดรับกับสถานการณ์ใหม่แบบ New Normal’ สร้างความเชื่อมั่น – ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการ ของตน ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/sme-thai-should-know-rcep

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม