เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก 250,000 ตัน มูลค่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม

ตามข้อมูลของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา รายงานว่า ในช่วงเดือนมีนาคมของปีนี้ จากบริษัท 55 แห่งของเมียนมามีการส่งออกข้าว 147,041 ตัน และการส่งออกข้าวหัก 109,996 ตัน คิดเป็นยอดรวม 257,037 ตัน สร้างรายได้จากการส่งออกทั้งหมดกว่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากยอดรวมดังกล่าวเป็นการค้าต่างประเทศอยู่ที่ 252,993 ตัน และการค้าชายแดนอยู่ที่ 4,077 ตัน ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในการส่งออกข้าวของเมียนมาโดยมีการส่งออกไป 41,000 ตัน, แคเมอรูน 28,645 ตัน, โกตดิวัวร์ 24,000 ตัน, เบลเยียม 9,000 ตัน, สเปน 8,380 ตัน และประเทศอื่นๆ 36,016 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออกข้าวหักเมียนมา ส่งออกไปยังเบลเยียม 45,022 ตัน, จีน 33,299 ตัน, สเปน 10,000 ตัน, ฟิลิปปินส์ 4160 ตัน, อินโดนีเซีย 4160 ตัน และประเทศอื่นๆ 133,55 ตันตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-250000-tonnes-of-rice-and-broken-rice-worth-us-133-mln-in-march/

อุปสงค์จากต่างประเทศที่ซบเซาส่งผลให้ราคาข้าวโพดลดลง

ตามข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา รายงานว่า เนื่องจากความต้องการในตลาดข้าวโพดลดลง ราคาข้าวโพดจึงขยับลงไปที่ประมาณ 1,000 จ๊าดต่อviss ในช่วงปลายเดือนมีนาคม หลังจากที่แตะ 1,200 จ๊าดต่อviss ในต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 โดยเมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยผ่านทางชายแดน และส่งออกผ่านช่องทางเดินเรือ ไปยัง จีน อินเดีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยที่ถือเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดชั้นนำของเมียนมา อนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้อัตราภาษีเป็นศูนย์ (พร้อมแบบฟอร์ม D) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคม โดยที่ประเทศไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 73 สำหรับการนำเข้าข้าวโพด เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ปลูกหากข้าวโพดนำเข้าในช่วงฤดูข้าวโพดของประเทศไทย นอกจากนี้ จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ระบุว่า เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปทั่วโลกจำนวน 934,883 ตัน ในปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยมีมูลค่ารวม 279.042 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยลงมากหากเทียบกับฤดูข้าวโพดปี 2565-2566 ที่เมียนมาส่งออกข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sluggish-foreign-demand-drives-corn-prices-down/

ราคายางค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาราคายางในเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยแตะระดับกว่า 1,700 จ๊าดต่อปอนด์ในตลาดยางของรัฐมอญ โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคาแตะ 1,780 จ๊าดต่อปอนด์ และราคายางตากแห้งมีราคา 1,760 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ราคายางตากแห้งมีราคาเพียง 1,640 จ๊าดต่อปอนด์ และยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคา 1,660 จ๊าดต่อปอนด์ ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าราคายางเพิ่มขึ้น 120 จ๊าดต่อปอนด์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีราคายางของเมียนมาได้รับอิทธิพลจากอุปสงค์ของยางทั่วโลก และปริมาณการผลิตยางในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอุปทานในตลาด ราคายางในรัฐมอญ ซึ่งเป็นรัฐการผลิตยางที่สำคัญในเมียนมา ก็มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับปัจจัยเหล่านั้นเช่นกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-on-gradual-rise-2/#article-title

ราคาน้ำตาลในเมียนมาพุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะแตะระดับสูงสุดใหม่

ตามรายงานของผู้ค้าน้ำตาล ระบุว่าในวันที่ 14 และ 16 มีนาคม ราคาน้ำตาลในตลาดย่างกุ้งเพิ่มขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยมีรายงานการพุ่งขึ้นอย่างมากเมื่อวันที่ 16 มีนาคม โดยแตะระดับ 4,550 จ๊าดต่อviss ซึ่งอัตราการขายส่งรายวันในตลาดย่างกุ้งในวันที่ 16 มีนาคมจะอยู่ที่ 4,340 จ๊าดต่อviss แต่ก็เพิ่มขึ้นเป็น 4,550 จ๊าดต่อviss ในช่วงเย็น แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี วิถีราคาน้ำตาลแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งจากมัณฑะเลย์ไปย่างกุ้งก็ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน โดยในย่างกุ้ง ราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้นจาก 3,930 จ๊าดต่อviss ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็น 4,400 จ๊าดต่อviss ในช่วงกลางเดือนมีนาคม ซึ่งการคาดการณ์บ่งชี้ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงปลายเดือนมีนาคม ก่อนถึงเทศกาลติงยาน นอกจากนี้ มีรายงานเพิ่มเติมว่าถึงแม้ราคาขายปลีกน้ำตาลจะสูงขึ้นแต่ราคาน้ำตาลทรายขาวในซุปเปอร์มาร์เก็ตยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยคาดว่าราคาขายปลีกน้ำตาลจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป โดยอาจถึง 5,000 จ๊าดต่อviss ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งจะเทียบเท่ากับราคาน้ำตาลโตนด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-prices-surge-expected-to-reach-new-highs/

บังคลาเทศซื้อหัวหอมของเมียนมา โดยส่งออกทางทะเลเป็นหลัก

เจ้าของศูนย์ขายส่งหัวหอมในเมียนมาให้สัมภาษณ์ ว่า บังคลาเทศซื้อหัวหอมที่ปลูกในเมียนมาเพื่อเตรียมสต็อกไว้สำหรับเดือนรอมฎอน โดยที่การซื้อส่วนใหญ่จะส่งออกทางทะเล ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม 2023 ราคาหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 2,600 จ๊าดต่อviss ในตลาดท้องถิ่น และเพิ่มขึ้น 500 จ๊าดต่อviss ในสามวัน เนื่องจากความต้องการของบังกลาเทศ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีการผลิตหัวหอมมากมายในทุกพื้นที่ ราคาจึงลดลงในตลาดท้องถิ่น และยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าราคาหัวหอมมีแนวโน้มจะลดลงอีกเท่าใด รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่านี่เป็นฤดูเก็บเกี่ยวในทุกภูมิภาคและรัฐ ผลผลิตจึงมีมากนอกจากนี้ ราคาต่อviss ที่เผยแพร่โดยศูนย์ขายส่งสินค้า Bayintnaung เมื่อวันที่ 11 มีนาคม หัวหอม seikphyu มีราคาอยู่ที่ 2800, 2700, 2600 และ 2200 จ๊าดต่อviss และหัวหอม Myingyan อยู่ที่ 2900 จ๊าดต่อviss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bangladesh-buys-myanmar-onions-exports-made-mainly-by-sea/

ราคาเนื้อหมูที่เพิ่มในเมียนมาขึ้นยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ราคาเนื้อหมูในเมียนมาเพิ่มสูงขึ้นระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม และราคาหมูทั้งตัวที่ตลาดขายส่งมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นจาก 8,000 จ๊าดเป็น 9,000 จ๊าดต่อviss โดยผู้เพาะพันธุ์หมูในเมือง Yamethin กล่าวว่า ราคาหมูในเมียนมากล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ราคาหมูสูงขึ้นไม่ได้มาจากการขนส่ง แต่เป็นผลจากอาหารสัตว์ที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันอาหารสัตว์ราคาอยู่ที่ 40,000 จ๊าดต่อถุง โดยหากเป็นอาหารสำหรับลูกหมูราคาจะยิ่งสูงขึ้นอีก อย่างไรก็ดี ราคาอาหารสัตว์เริ่มขยับเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ค้าต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงผู้บริโภคเองก็ต้องเผชิญกับราคาเนื้อหมูที่ปรับขึ้นด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rising-pork-price-expected-to-increase-further-in-coming-days/#article-title

เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ 1.48 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 11 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1.48 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1.256 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับคู่ค้าต่างประเทศในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งเป็นการส่งออกผ่านเส้นทางเดินเรือ คิดเป็นมูลค่า 1.131 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกพัลส์มากกว่า 1.338 ล้านตัน ในขณะที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางชายแดน กว่า 143,119.469 ตัน มูลค่า 124.722 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์หลากหลายประเภท ได้แก่ ถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตาไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยที่ถั่วดำและถั่วลันเตาจะถูกส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ส่วนถั่วเขียวจะถูกส่งออกไปยังจีนและยุโรป นอกจากนี้ อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วดำและถั่วลันเตาเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ซึ่งอินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตา จำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 ซึ่งสนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของถั่วพัลส์ที่อินเดียกำหนด ผู้ส่งออกของเมียนมายังมีสิทธิ์ส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควต้าประจำปีนั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-1-48m-tonnes-of-pulses-worth-us1b-in-11-months/

ผู้ค้าผลไม้เมียนมาหันมาจับตาตลาดในประเทศ ท่ามกลางการเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการส่งออก

ผู้ค้าผลไม้เมียนมา กล่าวถึง อุปสรรคในการคมนาคมในช่องทางเชียงตุง ช่องมองลา และพะโม ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วในฝั่งจีน การถูกระงับที่ชายแดนเพราะนโยบายฝั่งจีนที่มีความเค้มงวดมากขึ้น ความเสียหายของสินค้าจากการคมนาคมบนถนนที่ขรุขระส่งผลต่อคุณภาพของแตงโมที่ส่งไปยังประเทศจีน ส่งผลให้ราคาสินค้าตกต่ำลง ทำให้ผู้ค้าจึงเริ่มจับตาดูตลาดภายในประเทศ เนื่องด้วย ราคาส่งออกในปัจจุบันไม่ครอบคลุมค่าขนส่งและต้นทุนทั่วไปอื่นๆ ค่าอากรที่ด่านชายแดนอยู่ที่ 35,000-40,000 หยวนต่อรถบรรทุก ทั้งนี้ รถบรรทุกแตงโม 100 คันมุ่งหน้าสู่จีน มีเพียง 10 คันเท่านั้นที่สามารถครอบคลุมค่าขนส่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าผลไม้เน้นย้ำว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยืดเยื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน สืบเนื่องจากเมื่อปี 2021 ข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ขัดขวางการส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาไปยังจีน ระเบียบศุลกากรจีนเพิ่มความล่าช้า รถบรรทุกล่าช้าเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อคุณภาพแตงโม และมีเพียง 1 ใน 5 รถบรรทุกที่มุ่งหน้าไปยังจีนเท่านั้นที่ยังคงไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้ผู้ค้าจำเป็นต้องพิจารณาเวลาการส่งมอบ ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่ายในขณะที่พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/traders-eye-domestic-market-amid-export-loss/

รัฐบาลเพิ่มแต้มต่อสินค้าเกษตรไทยด้วย FTA ดันครองเบอร์ 1 ส่งออกในอาเซียน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งใจขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศผ่านการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อดึงดูดการค้า การลงทุนจากต่างชาติ เดินหน้าทำการค้าเชิงรุก และผลักดันให้เกิดการขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าหากเดินหน้าผลักดันความร่วมมือ FTA ให้เต็มศักยภาพจะเพิ่มตัวเลขการค้าการลงทุนได้มหาศาล ถือเป็นโอกาสสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันให้ไทยในตลาดโลก ซึ่งขณะนี้ ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ของโลก และส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 11 ของโลก ในปี 2023 โดยตลาดคู่ค้า FTA ที่มีการส่งออกขยายตัวทางการค้าสูง ได้แก่ จีน ซึ่งขยายตัว 11% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42% ของการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทย ตามมาด้วยตลาดอาเซียนที่ขยายตัว 5% ด้านสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปที่เป็นสินค้าศักยภาพที่ขยายตัวได้ดีในการส่งออกของไทยไปยังตลาดคู่ค้า FTA อันดับ 1 ยังคงเป็น ข้าว ที่มีการขยายตัวมากถึง 92% ในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

ที่มา : https://www.naewna.com/business/787985

ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาด FTA พุ่ง! ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ในอาเซียน

น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทยไปกลุ่มประเทศคู่ค้า ที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ว่า ในปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าไปกลุ่มประเทศคู่ค้า FTA คิดเป็นมูลค่า 167,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลงเล็กน้อย 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

แต่หากพิจารณากลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญ พบว่า สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA ขยายตัวได้ดี โดยสินค้าเกษตร มีมูลค่า 19,563 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4% คิดเป็นสัดส่วนถึง 73% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ถือเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออกสูง ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 1 ของอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปอันดับ 3 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 11 ของโลก

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2024/375345